เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือ

เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

เด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ พร้อมวิธีรับมือ

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
เม.ย. 3, 2024
7นาที

เสียงเด็กร้องไห้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าที่ลูกร้องไห้มีสาเหตุมาจากอะไร หรือลูกร้องไห้ต้องการอะไร โดยเฉพาะในเด็กทารกการร้องไห้ในบางครั้งก็ไม่มีสาเหตุ ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความต้องการของลูกน้อย มาสำรวจสาเหตุกันค่ะว่าแท้จริงแล้วที่เด็กร้องไห้ เพราะอะไร เพื่อจะได้ช่วยให้สงบและหยุดร้องไห้ค่ะ 

 

สรุป

  • เด็กร้องไห้ ในเด็กทารกช่วงตั้งแต่แรกเกิดจะไม่ร้องกวนมากนัก เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอนหลับ จากนั้นเมื่อทารกอายุได้ 2 สัปดาห์ขึ้นไป มักจะร้องไห้มากขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
  • เด็กร้องไห้อาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น หิว ปวดท้อง ท้องอืด เจ็บปวด ผ้าอ้อมเปียกแฉะ ง่วงนอน และมีอาการไม่สบายตัวเพราะเป็นไข้
  • การเขย่าตัวเพื่อให้หยุดร้องไห้ ไม่ได้ช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ หรือสงบลง การเขย่าตัว (Shaken Baby Syndrome) โดยเฉพาะในเด็กทารก หรือเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะเป็นอันตรายต่อสมอง บาดเจ็บถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กทารกเกิดมาพร้อมกับเสียงร้องไห้ค่ะ การร้องไห้เป็นวิธีสื่อสารในการบอกคุณพ่อคุณแม่ให้ทราบว่าลูกต้องการอะไรหรือรู้สึกอย่างไร ลูกจะร้องไห้เมื่อรู้สึกหิว ผ้าอ้อมเปียกปัสสาวะ เลอะอุจจาระ ไม่สบาย หรือบางครั้งก็ร้องไห้เพราะต้องการอยากให้คุณพ่อคุณแม่อุ้ม เป็นต้น เมื่อเด็กร้องไห้ควรปลอบโยนอย่างนุ่มนวล แต่ไม่ควรเขย่าตัวเพื่อให้หยุดร้องไห้ ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่า การเขย่าตัวลูกเพื่อให้หยุดร้องไห้ ไม่ได้ช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ หรือสงบลง การเขย่าตัว (Shaken Baby Syndrome) โดยเฉพาะในเด็กทารก หรือเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะเป็นอันตรายต่อสมอง บาดเจ็บถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตได้

 

ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เป็นแบบไหน

ในเด็กทารกช่วงตั้งแต่แรกเกิดจะไม่ร้องไห้กวนมากนัก เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอนหลับ จากนั้นเมื่อทารกอายุได้ 2 สัปดาห์ขึ้นไป มักจะร้องไห้มากขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน เมื่อเด็กทารกอายุได้ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป จะร้องไห้เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน และพออายุได้ 10-12 สัปดาห์ เด็กทารกจะร้องไห้ลดลงเหลือแค่ 1 ชั่วโมงต่อวัน การร้องไห้ของทารกไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือพัฒนาการแต่อย่างใด

 

เด็กร้องไห้ไม่หยุด หรือร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไรได้บ้าง

การร้องไห้ของเด็กทารกมีได้จากหลายสาเหตุ การที่ลูกร้องไห้ออกมาก็เพื่อสื่อสารให้ได้ทราบว่าช่วงเวลา ณ ขณะนั้นลูกมีความต้องการอะไร หรือเป็นอะไร คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตเวลาที่ลูกร้องไห้

1. หิว

อย่าปล่อยให้ลูกหิว ในเด็กทารกจะต้องกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง เด็กทารกที่กินนมแม่จะหิวบ่อย เนื่องจากนมแม่ย่อยง่าย การให้ลูกกินนมแม่มีประโยชน์มาก เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย

 

2. ปวดท้อง ท้องอืด

เด็กทารกระบบย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้องขึ้นได้ ฉะนั้นเพื่อช่วยให้ลูกสบายท้อง ทุกครั้งหลังกินนมอิ่มให้อุ้มลูกเรอเอาลมออกมา

 

3. เจ็บปวด

เด็กร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บปวด อาจมาได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ หูเกิดการอักเสบ จนทำให้รู้สึกปวดภายในหู (ควรรีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที) หรือรู้สึกเจ็บ ปวด และคันจากการถูกมด แมลงกัด เป็นต้น

 

4. ผ้าอ้อมแฉะเกินไป

ผ้าอ้อมที่เปียกแฉะ หรือทุกครั้งที่มีการอุจจาระ ปัสสาวะ ทารกมักจะร้องไห้เสมอ เนื่องจากรู้สึกไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นเช็กดูผ้าอ้อมลูกว่าเต็มแล้วหรือไม่ เพื่อจะได้ถอดเปลี่ยนผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ลูก ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่เพื่อสุขอนามัยที่ดีควรทำความสะอาดผิวก้นลูกก่อน

 

5. ง่วงนอน

เวลาลูกง่วงนอน อาจมีร้องไห้กวน งอแง ซึ่งในเด็กบางคนเวลาง่วงนอนจะยังไม่ยอมหลับง่าย ๆ อาจด้วยเพราะสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน หรือในบ้านไม่เอื้อต่อการนอนหลับ พอง่วงมาก ๆ แล้วไม่หลับ จะทำให้รู้สึกเหนื่อย และร้องไห้งอแง

 

6. อาการไม่สบายตัว เพราะมีไข้

ลูกจะร้องไห้กวน งอแงมาก เวลาที่มีไข้เพราะรู้สึกไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กเบื้องต้นว่าลูกตัวร้อนมาก มีไข้ได้หรือไม่จากการใช้ปรอทวัดไข้ หากพบว่าลูกมีไข้ ควรพาไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

  • เด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน หากวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.5 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า คือมีไข้
  • เด็กอายุมากกว่า 1 เดือน หากวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.8 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า คือมีไข้

 

คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อเด็กร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

คุณพ่อคุณแม่จะรับมือกับเด็กร้องไห้ไม่หยุด ด้วยวิธีไหนดี

เมื่อลูกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติและไม่หงุดหงิดใส่ลูก แต่ควรหาสาเหตุว่าที่ลูกร้องไห้เพราะอะไร เพื่อจะได้ช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ และสงบลง

  1. การอุ้มและสัมผัสลูกอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน สามารถช่วยให้ลูกร้องไห้ลดลงได้
  2. สร้างบรรยากาศในการเลี้ยงลูก เริ่มที่ตัวของคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความผ่อนคลาย ระหว่างที่เลี้ยงลูกสามารถเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย หรือถ้าลูกร้องไห้จนเหงื่อออก อาจจะเช็ดตัวหรืออาบน้ำให้ลูกเพื่อจะได้สดชื่นขึ้น
  3. ปรับอุณหภูมิภายในบ้าน หรือห้องนอนลูก ให้ไม่ร้อนหรือหนาวเย็นเกินไป
  4. ตรวจดูผ้าอ้อมลูกว่าสกปรกจากปัสสาวะ หรืออุจจาระหรือไม่ หากผ้าอ้อมเปียกแฉะ เลอะอุจจาระให้เปลี่ยนผ้าอ้อมผืนใหม่
  5. ลูกหิวหรือไม่ หากถึงเวลากินนม ควรให้นมลูกทันที
  6. หลังกินนมอิ่มควรจับลูกเรอ ต้องอุ้มจับลูกเรอทุกครั้ง

 

เด็กร้องไห้เพราะเป็นโคลิก (Colic) หรือเปล่า

อาการร้องโคลิกเกิดขึ้นได้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด และพบมากที่สุดในเด็กอายุช่วง 4-6 สัปดาห์ มักจะร้องเป็นช่วงเวลา เช่น ช่วงเย็น หรือช่วงหัวค่ำ การร้องโคลิกจะร้องแบบไม่ทราบสาเหตุ และปลอบให้ลูกหยุดร้องไห้ได้ยาก ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการร้องไห้มาก พร้อมกับมีอาการ เช่น มีไข้ อาเจียน ท้องเสีย ไม่กินนม ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อพบกุมารแพทย์ทันที

 

การห่อตัวทารก ช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ได้จริงไหม

ในทางการแพทย์การห่อตัวทารกก็เพื่อช่วยลดอาการตื่นตกใจ สะดุ้งขณะนอนหลับ ช่วยปลอบประโลมทำให้ทารกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนกำลังอยู่ในครรภ์คุณแม่ การห่อตัวทารกจะรู้สึกเหมือนกำลังถูกคุณแม่กอด จึงทำให้สงบนอนหลับสบาย และร้องไห้น้อยลง การห่อตัวมีประโยชน์ แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการเสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก ที่เรียกว่าภาวะ SIDS เนื่องจากการห่อตัวอาจทำให้นอนหลับยาว ไม่ค่อยตื่น ลดการตื่นตัวในทารก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรห่อตัวลูกด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้ผ้าฝ้ายผืนบาง เช่น ผ้ามัสลินในการห่อตัว เวลาห่อตัวลูกควรกระชับพอดีกับตัว ไม่รัดแน่นมาก โดยเฉพาะตรงรอบสะโพก เพื่อให้ลูกสามารถขยับขาได้ และควรจัดให้นอนหงายอยู่เสมอ

 

ลูกร้องไห้ไม่หยุดแบบไหน ควรไปปรึกษาแพทย์

เมื่อลูกร้องไห้คุณพ่อคุณแม่ตรวจดูแล้วว่าที่ลูกร้องไห้ไม่ได้มาจากผ้าอ้อมเปียก ความหิว หรือง่วงนอน เป็นต้น แต่ลูกก็ยังคงร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้นานมากกว่าปกติ ร้องไห้จนเสียงแหบ แล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ตัวร้อน หายใจผิดปกติ อาเจียน หรืออุจจาระผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่ระบบย่อยอาหารหรือระบบลำไส้ของลูก แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปโรงพยาบาลพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดและให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจและรู้สาเหตุว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร ก็จะสามารถรับมือและช่วยให้ลูกสงบลงและหยุดร้องไห้ได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกร้องไห้ ต้องดูให้แน่ใจว่าที่ลูกร้องไห้ไม่ใช่เพราะไม่สบาย ซึ่งถ้าหากลูกร้องไห้มีสาเหตุมาจากไม่สบาย ลูกมีไข้ตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากลูกอาจมีอาการชักจากไข้ได้ ดังนั้นแนะนำให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. เขย่าทารก อันตรายต่อสมอง บาดเจ็บถึงขั้นพิการ เสียชีวิต, MedPark Hospital
  2. ลูกร้องไห้แบบไหน ไม่ปกติ, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. Calming Techniques for a Crying Baby, Children’s Hospital Colorado
  4. ลูกร้องโคลิค, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. วิธีห่อตัวทารก ประโยชน์ และความเสี่ยงของการห่อตัวทารก, helloคุณหมอ
  6. ลูกร้องเวลาเดิมทุกวัน เป็น “โคลิก” หรือเปล่านะ, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมไอเดียตั้งชื่อลูกชาย ตั้งชื่อเล่นลูก ชื่อเด็กชายเท่ ๆ ทันสมัย ไม่ซ้ำใคร เหมาะกับปีมังกรทอง คุณแม่ยุคใหม่คนไหนคิดชื่อลูกชายไม่ออก ตั้งตามได้เลย

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6- 7 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 6-7 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 6-7 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี
บทความ
เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารสำหรับเด็กวัย 6 เดือน มื้อแรกของลูกต้องเริ่มยังไง สำหรับเด็กเริ่มเคี้ยว ลูกน้อยต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

View details 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย
บทความ
7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

รวมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วขึ้นตามช่วงวัย คุณแม่มือใหม่ควรฝึกให้ลูกพูด พร้อมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดได้เร็ว ลดความเสี่ยงลูกพูดช้ากว่าวัย

View details ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายไหม เมื่อลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ไปดูสาเหตุและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 3 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 3 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 11 เดือน และเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

10นาที อ่าน

View details สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
บทความ
สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

ทารกสะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดสะดือทารกอย่างไร เมื่อสายสะดือทารกใกล้หลุด พร้อมวิธีทำความสะอาดสะดือทารกที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details ไอเดียแคปชั่นแม่ลูกอ่อน คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล
บทความ
ไอเดียแคปชั่นแม่ลูกอ่อน คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นแม่ลูกอ่อน คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

แคปชั่นแม่ลูก แคปชั่นแม่ลูกอ่อน สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เห่อลูกแรกเกิด เอาไว้ไปโพสต์อวดลงโซเชียล เก็บไว้เป็นความประทับใจ กลับมาอ่านกี่ครั้งก็ยังซึ้งเหมือนเดิม

6นาที อ่าน

View details เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง
บทความ
เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง

เปิดเพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้จริงไหม คุณแม่ควรเริ่มเปิดเพลงพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่เท่าไหร่

9นาที อ่าน

View details รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์
บทความ
รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

ไอเดียทรงผมลูกชายดารา ทรงผมลูกชายเท่ ๆ แบบไม่ตกเทรนด์ ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกทรงผมที่เหมาะกับลูกชายวัยกำลังโตมากที่สุด เสริมหล่อให้ลูกชายกันได้เลย

9นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก
บทความ
ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร ทารกมีผื่นสาก บอกอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ ทารกผื่นสาก เป็นอันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้
บทความ
เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

6นาที อ่าน

View details ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง
บทความ
ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

7นาที อ่าน

View details ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม
บทความ
ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

6นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด
บทความ
ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

5นาที อ่าน

View details เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก
บทความ
เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

5นาที อ่าน

View details กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน
บทความ
กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

6นาที อ่าน