พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยคุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

อ่าน 2 นาที

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 


โดยทั่วไปเด็กจะนอนหลับได้ยาวนานโดยไม่จำเป็นต้องกินนมกลางดึกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม เด็กที่อายุมากกว่า 3 เดือนก็ยังคงตื่นช่วงกลางดึกได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากความหิว คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เขานอนช่วงกลางคืนได้ยาวนานขึ้น โดยหากเขาตื่นขึ้นกลางดึก ยังไม่ควรให้นมทันที แต่ควรหาสาเหตุอื่นก่อน เช่น อุณหภูมิห้องร้อนหรือเย็นเกินไป มีเสียงดังหรือแสงสว่างมากเกินไป หรือเปียกแฉะ เป็นต้น แล้วจัดการตามสาเหตุ แต่หากไม่พบสาเหตุ ให้ลองกล่อมให้หลับต่อด้วยการตบก้นเบา ๆ ก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยให้นมเป็นวิธีสุดท้าย  นอกจากนี้อาจเปลี่ยนที่นอนโดยให้คุณพ่อนอนกั้นกลางระหว่างคุณแม่กับลูก เพื่อให้เขาไม่ได้กลิ่นนมจากตัวของคุณแม่ ซึ่งอาจยั่วยวนให้เขาอยากกินนมเมื่อรู้สึกตัวตื่น

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  


คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้เขาฝึกคว่ำโดยเมื่อเขานอนหงาย ให้นำของเล่นเด็กที่มีสีสด หรือเขย่ามีเสียงมาล่อให้เขาสนใจ แล้วนำมาวางด้านข้างให้ห่างจากตัวเขาเล็กน้อย เพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการพลิกตะแคงและคว่ำ ถ้าเขายังคว่ำเองไม่ได้ ให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยจับเขาคว่ำแล้วชูของเล่นให้สูงขึ้น เพื่อให้เขาใช้ท่อนแขนพยุงตัวให้สูงขึ้น การทำเช่นนี้จะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อหลังของลูกแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพลิกคว่ำหงายได้คล่องขึ้น

 

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


เด็กวัยนี้ควรกินนมแม่เป็นหลักเช่นเดิม เมื่อถึงช่วงวัยนี้ลูกจะมีความสามารถในการใช้มือเล่นของเล่นได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่าลูกเริ่มจะนำของเล่นในมือมามอง แทนที่จะนำมาอมเหมือนวัยก่อนหน้านี้ การกระตุ้นพัฒนาการทำได้โดยการนำของเล่นที่มีสีสด พื้นผิวสัมผัสหลากหลาย เขย่าหรือบีบแล้วเกิดเสียงหรือแสง มาให้เขาจับและฝึกเล่นของเล่นด้วยวิธีการบีบหรือเขย่า 

 

  • เคล็ดลับคุณแม่


ในวัยนี้ระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งระดับฮอร์โมนดังกล่าวในตัวคุณลูกที่ได้รับมาตั้งแต่เขาอยู่ในครรภ์ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกัน ส่งผลให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกเกิดอาการผมร่วงได้ และอาจร่วงจนผมบางลงมาก อาการนี้จะเป็นเพียงชั่วคราว ในที่สุดผมจะงอกขึ้นมาใหม่ แต่อาจใช้เวลานานประมาณ 6-12 เดือน ระหว่างนี้คุณแม่และลูกสามารถสระผมได้ตามปกติ แต่คุณแม่ยังไม่ควรดัดผม ยืดผม หรือทำสีผม อย่างไรก็ตาม หากมีอาการคันหรือมีผื่นขึ้นบริเวณหนังศีรษะ ควรไปพบแพทย์

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 3-4 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน 

 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน