กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน
กระหม่อมหน้า กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กังวลเรื่องกระหม่อมลูกน้อยกันอยู่หรือเปล่า กระหม่อมทารกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัยว่าควรปิดเมื่ออายุเท่าไหร่ ถึงจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ กระหม่อมปิดเร็วไปหรือช้าไป จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไรบ้าง มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกัน กับบทความนี้ที่รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกระหม่อมทารก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจและดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง
สรุป
- กระหม่อมจะมีอยู่ 2 อันบนกะโหลกศีรษะของทารกเป็นช่องว่างที่ปกคลุมด้วยผิวหนัง ซึ่งมีแผ่นกะโหลกศีรษะมาบรรจบกัน กระหม่อมด้านหน้าอยู่ที่ด้านบนของศีรษะทารก ส่วนกระหม่อมด้านหลังจะอยู่บริเวณด้านหลังศีรษะทารก
- กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมหลังทารกมักจะปิดลงเมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน
- กระหม่อมหลัง (Anterior Fontanelle) จะอยู่บริเวณด้านหลังของศีรษะทารก จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- กระหม่อมทารก คืออะไร
- กระหม่อมหน้า กระหม่อมหลัง ต่างกันยังไง
- กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน สังเกตอย่างไร
- กระหม่อมทารกปิดช้ากว่าปกติ เกิดจากโรคอะไรบ้าง
- กระหม่อมทารกปิดเร็วกว่าปกติ ลูกเสี่ยงพัฒนาการช้า
- วิธีดูแลกระหม่อมทารกที่ยังไม่ปิด
- ลักษณะกระหม่อมทารกผิดปกติ ที่ต้องรีบไปพบแพทย์
กระหม่อมทารก คืออะไร
กระหม่อมทารก (fontanelle) คือ จุดอ่อนที่อยู่ตรงกลางศีรษะระหว่างกระดูกศีรษะ เป็นส่วนพิเศษที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติของสมองทารก กระหม่อมจะมีอยู่ 2 อันบนกะโหลกศีรษะของทารก เป็นช่องว่างที่ปกคลุมด้วยผิวหนัง ซึ่งมีแผ่นกะโหลกศีรษะมาบรรจบกัน
- กระหม่อมด้านหน้า (Anterior Fontanelle): อยู่ที่ด้านบนของศีรษะ และเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่าด้านหลัง
- กระหม่อมด้านหลัง (Posterior Fontanelle): อยู่บริเวณด้านหลังศีรษะและมีขนาดเล็กกว่า
กระหม่อมช่วยให้กะโหลกศีรษะของทารกสามารถยืดหยุ่นได้เมื่อผ่านช่องคลอด และยังช่วยให้สมองของทารกขยายและเติบโตตามพัฒนาการ การสัมผัสบริเวณกระหม่อมควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะยังไม่มีกระดูกแข็งมาปกป้องสมองอย่างเต็มที่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความระมัดระวังในการสัมผัสตรงกระหม่อมลูกน้อยมากเป็นพิเศษ
กระหม่อมหน้า กระหม่อมหลัง ต่างกันยังไง
กระหม่อม เป็นส่วนหนึ่งของศีรษะเด็กทารกที่ยังไม่เชื่อมติดกันอย่างสมบูรณ์ กระหม่อมหน้ากับกระหม่อมหลังจะเป็นช่องว่างที่ถูกปกคลุมไว้ด้วยผิวหนังและจะมีแผ่นกะโหลกมาบรรจบกันไว้ สำหรับลักษณะของกระหม่อมหน้า กับกระหม่อมหลังนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. กระหม่อมทารกด้านหน้า (Poster Fontanelle)
กระหม่อมทารกด้านหน้า จะอยู่ด้านบนของศีรษะเหนือหน้าผากเป็นช่องว่างนุ่ม ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สำหรับกระหม่อมหน้าทารก จะปิดสนิทตอนที่ทารกอายุได้ประมาณ 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี
2. กระหม่อมทารกด้านหลัง (Anterior Fontanelle)
กระหม่อมทารกด้านหลัง จะอยู่บริเวณด้านหลังของศีรษะทารก จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม จะปิดสนิทตอนที่ทารกอายุได้ 6 เดือน
กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน สังเกตอย่างไร
กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมหลังของทารกจะปิดสนิทเมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน กระหม่อมที่ปกติของทารกจะมีลักษณะมีความนุ่มและแบนราบ หากสัมผัสที่กระหม่อมลูกเบา ๆ จะรู้สึกได้ถึงการเต้นตุบ ๆ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดรอบสมองซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
กระหม่อมทารกปิดช้ากว่าปกติ เกิดจากโรคอะไรบ้าง
กระหม่อมทารก คือช่องว่างบนกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมทารกทั้งกระหม่อมหน้า และกระหม่อมหลังจะค่อย ๆ ปิดลงเมื่อทารกเติบโตขึ้น แต่ในเด็กบางคนที่กระหม่อมไม่ปิดตามเวลาที่กำหนด อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- โรคไทรอยด์ต่ำ: เป็นภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำหรือขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ
- ดาวน์ซินโดรม: เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่กำเนิด เกิดความผิดปกติของการแบ่งเซลล์โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา ทำให้มีความบกพร่องของเชาว์ปัญญา
- ความดันภายในสมองสูง: อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในสมอง หรือภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic increased intra cranial pressure)
- โรคกระดูกอ่อน: เกิดจากขาดแร่ธาตุที่ใช้ในการสร้างกระดูก คือแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่บริเวณแผ่นการเติบโต (growth plate) เป็นการเจริญเติบโตของกระดูกที่ไม่ปกติ กระดูกไม่แข็งแรง
- ศีรษะใหญ่ทางพันธุกรรม: เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ทำให้ศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่ากระหม่อมของลูกน้อยทั้งสองจุดยังไม่ปิดตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสม
กระหม่อมทารกปิดเร็วกว่าปกติ ลูกเสี่ยงพัฒนาการช้า
กระหม่อมของทารกอาจปิดก่อนกำหนด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง) หรือภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง)
ทั้งนี้ หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีภาวะกระหม่อมปิดเร็วกว่าปกติ แพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยให้โดยละเอียดก่อนว่าพัฒนาการของลูกเป็นไปตามวัยหรือไม่ ซึ่งการสังเกตกระหม่อมลูกน้อยจำเป็นต้องใส่ใจอย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกเกิด ด้วยการพาลูกไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
วิธีดูแลกระหม่อมทารกที่ยังไม่ปิด
กระหม่อมทารกเป็นส่วนที่เปราะบาง จำเป็นต้องสัมผัสและได้รับการดูแลอย่างอ่อนโยน การดูแลกระหม่อมของลูกน้อยให้ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก
1. ไม่จำเป็นไม่ควรจับ
กระหม่อมทารกเป็นบริเวณที่หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรไปจับหรือสัมผัสโดน แต่หากจำเป็นต้องสัมผัสเพื่อดูความผิดปกติ จะต้องจับสัมผัสกระหม่อมทารกอย่างเบามือที่สุด
2. ไม่เขย่า
ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี คุณพ่อคุณแม่หรือพี่เลี้ยงไม่ควรเขย่าตัวเด็ก เพราะเป็นอันตรายต่อสมองที่อาจได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการ และเสียชีวิตได้
3. หมั่นเช็กอาการผิดปกติ
โดยปกติตรงบริเณกระหม่อมไม่ควรไปจับสัมผัสหากไม่จำเป็น การสำรวจความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกระหม่อมทารก คุณแม่อาจคลำดูอย่างเบามือที่สุด เพื่อดูว่ากระหม่อมบุ๋มลึกลงผิดกว่าปกติหรือเปล่า ซึ่งหากไม่แน่ใจว่ากระหม่อมของลูกมีความผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยแนะนำให้พาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างถูกวิธี
ลักษณะกระหม่อมทารกผิดปกติ ที่ต้องรีบไปพบแพทย์
กระหม่อมทารก เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายทารกที่พ่อแม่หลายคนกังวลใจ เพราะเป็นบริเวณที่ดูบอบบางและมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมอง แต่รู้หรือไม่ว่าลักษณะของกระหม่อมสามารถบอกอะไรให้ทราบได้บ้าง และเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
- บุ๋มกว่าปกติ: หากกระหม่อมบุ๋มลงไปมากผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของการขาดน้ำรุนแรง
- นูนกว่าปกติ: ถ้ากระหม่อมโป่งตึงและแข็ง อาจมีความผิดปกติขึ้นในสมอง ติดเชื้อในสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือสมองอักเสบ
- อาการผิดปกติร่วม: เช่น ซึม ลูกท้องเสีย และอาเจียน เป็นต้น
กระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมหลังทารกมักจะปิดเร็วกว่ากระหม่อมหน้า โดยทั่วไปจะปิดสนิทเมื่ออายุ 6 เดือน แต่ระยะเวลาที่กระหม่อมหลังปิดอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับกระหม่อมของลูก เช่น กระหม่อมบุ๋มลึก กระหม่อมนูนผิดปกติ หรือทารกมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ซึม อาเจียนบ่อย ควรพาลูกไปโรงพยาบาลปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำที่เหมาะสม
เมื่อหลังคลอดลูกเพื่อให้มีพัฒนาการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียมและสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิดที่ดีกับสุขภาพร่างกาย และพัฒนาการสมองการเรียนรู้ของลูกน้อย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
- กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม
- ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
- วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
- โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า
- ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น
- วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน
- จุกหลอก ดีกับลูกน้อยจริงไหม จุกนมหลอก ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
- วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด อาการทารกเป็นไข้ ทารกตัวร้อน พร้อมวิธีวัดไข้
- นิทานเด็กทารกสำคัญกับลูกไหม คุณแม่ควรอ่านเรื่องอะไรให้ลูกน้อยฟังดี
อ้างอิง:
- About the fontanelle, Pregnancybirth&baby
- กระหม่อม(เด็ก) นั้น สำคัญไฉน, รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
- กระหม่อมของทารก, คลินิกเด็ก แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรุตติรักษ์
- ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- อาการเสี่ยง ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
- ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) สาเหตุ อาการ การรักษา, MedPark Hospital
- ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์
- เขย่าทารก อันตรายต่อสมอง บาดเจ็บถึงขั้นพิการ เสียชีวิต, MedPark Hospital
- “ลักษณะทั่วไปของทารกแรกเกิด” สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้..เพื่อดูความผิดปกติ, โรงพยาบาลพญาไท
- โรคกระดูกอ่อนในเด็ก, โรงพยาบาลศิครินทร์
อ้างอิง ณ วันที่ 9 กันยายน 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง