พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยคุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

อ่าน 2 นาที

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน

 

  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้ 


โดยทั่วไปเด็กจะนอนหลับได้ยาวนานโดยไม่จำเป็นต้องกินนมกลางดึกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม เด็กที่อายุมากกว่า 3 เดือนก็ยังคงตื่นช่วงกลางดึกได้ แต่อาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากความหิว คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เขานอนช่วงกลางคืนได้ยาวนานขึ้น โดยหากเขาตื่นขึ้นกลางดึก ยังไม่ควรให้นมทันที แต่ควรหาสาเหตุอื่นก่อน เช่น อุณหภูมิห้องร้อนหรือเย็นเกินไป มีเสียงดังหรือแสงสว่างมากเกินไป หรือเปียกแฉะ เป็นต้น แล้วจัดการตามสาเหตุ แต่หากไม่พบสาเหตุ ให้ลองกล่อมให้หลับต่อด้วยการตบก้นเบา ๆ ก่อน ต่อเมื่อไม่ได้ผลจึงค่อยให้นมเป็นวิธีสุดท้าย  นอกจากนี้อาจเปลี่ยนที่นอนโดยให้คุณพ่อนอนกั้นกลางระหว่างคุณแม่กับลูก เพื่อให้เขาไม่ได้กลิ่นนมจากตัวของคุณแม่ ซึ่งอาจยั่วยวนให้เขาอยากกินนมเมื่อรู้สึกตัวตื่น

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  


คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้เขาฝึกคว่ำโดยเมื่อเขานอนหงาย ให้นำของเล่นเด็กที่มีสีสด หรือเขย่ามีเสียงมาล่อให้เขาสนใจ แล้วนำมาวางด้านข้างให้ห่างจากตัวเขาเล็กน้อย เพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการพลิกตะแคงและคว่ำ ถ้าเขายังคว่ำเองไม่ได้ ให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยจับเขาคว่ำแล้วชูของเล่นให้สูงขึ้น เพื่อให้เขาใช้ท่อนแขนพยุงตัวให้สูงขึ้น การทำเช่นนี้จะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อหลังของลูกแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพลิกคว่ำหงายได้คล่องขึ้น

 

พัฒนาการลูกน้อย  อายุ 4-5 เดือน

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


เด็กวัยนี้ควรกินนมแม่เป็นหลักเช่นเดิม เมื่อถึงช่วงวัยนี้ลูกจะมีความสามารถในการใช้มือเล่นของเล่นได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่าลูกเริ่มจะนำของเล่นในมือมามอง แทนที่จะนำมาอมเหมือนวัยก่อนหน้านี้ การกระตุ้นพัฒนาการทำได้โดยการนำของเล่นที่มีสีสด พื้นผิวสัมผัสหลากหลาย เขย่าหรือบีบแล้วเกิดเสียงหรือแสง มาให้เขาจับและฝึกเล่นของเล่นด้วยวิธีการบีบหรือเขย่า 

 

  • เคล็ดลับคุณแม่


ในวัยนี้ระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งระดับฮอร์โมนดังกล่าวในตัวคุณลูกที่ได้รับมาตั้งแต่เขาอยู่ในครรภ์ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกัน ส่งผลให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกเกิดอาการผมร่วงได้ และอาจร่วงจนผมบางลงมาก อาการนี้จะเป็นเพียงชั่วคราว ในที่สุดผมจะงอกขึ้นมาใหม่ แต่อาจใช้เวลานานประมาณ 6-12 เดือน ระหว่างนี้คุณแม่และลูกสามารถสระผมได้ตามปกติ แต่คุณแม่ยังไม่ควรดัดผม ยืดผม หรือทำสีผม อย่างไรก็ตาม หากมีอาการคันหรือมีผื่นขึ้นบริเวณหนังศีรษะ ควรไปพบแพทย์

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 3-4 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน 

 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็ก ลูกโตแค่ไหน

เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก 0-12 ปี ส่วนสูงเด็ก-น้ำหนักเด็ก ลูกโตแค่ไหน

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน

ลูกไอไม่หยุด ลูกไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไม่มีไข้ เป็นการตอบสนองของร่างกายตามธรรมชาติ ในบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบอกโรคที่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อยกัน

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด น้ำหนักส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด ส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกน้อยควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ แบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พ่อแม่มือใหม่ควรควบคุมน้ำหนักเด็กแรกเกิด เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด ปกติไหม แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด เป็นอย่างไร ลูกมีอุจจาระสีเหลืองทารก อาการแบบนี้ปกติไหม อาการร่วมแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องระวัง