ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็ก ลูกโตแค่ไหน

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

23.02.2024

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในช่วงปีแรก ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงแรกของทารก ลูกน้อยจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่แต่ในแต่ละวัน แต่ละเดือนลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ อยู่ ทำให้พ่อแม่อาจไม่ทันสังเกตถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นของลูกน้อย มาติดตามพัฒนาการของทารกรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดกันเถอะ

headphones

PLAYING: น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • พันธุกรรม โภชนาการ การออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมรอบตัว ล้วนมีบทบาทในการกำหนดความสูงของเด็ก คุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย และจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
  • การจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงมีความสำคัญสามารถช่วยติดตามพัฒนาการของเด็กได้ หากลูกน้อยมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์การประเมินแสดงว่าเด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์ เพียงพอและมีการเจริญเติบโตที่ดี
  • ทารกในแต่ละคนมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่ต่างกัน เด็กบางคนมีพัฒนาการที่เร็ว เด็กบางคนมีพัฒนาการที่ช้าออกไปแต่ไม่ควรช้าไปกว่าลำดับขั้นพัฒนาการของเด็ก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ปัจจัยที่ทำให้เด็กแต่ละคน มีน้ำหนักส่วนสูงแตกต่างกัน

  1. พันธุกรรม: ความสูงสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ หากคุณพ่อคุณแม่สูงลูกมักจะสูงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณพ่อคุณแม่ตัวไม่สูงมากลูกอาจจะมีความสูงไม่มากนัก
  2. อาหาร: โภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมลูกน้อยให้ได้ทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน ในแต่ละวันคุณแม่ควรจัดให้ลูกได้กินทั้งแป้ง ไขมัน โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ พร้อมเสริมนมกล่องเด็ก ที่เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกน้อยมีกระดูกที่แข็งแรงและมีความสูงตามเกณฑ์
  3. การออกกำลังกาย: พ่อแม่ควรปลูกฝังให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย และการเล่นกีฬาจะช่วยให้ลูกน้อยมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและตัวยืดสูงได้ดีโดยเฉพาะกีฬาจำพวกแบดมินตัน หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
  4. สิ่งแวดล้อมรอบตัว: สภาพแวดล้อมส่งผลต่อความสูงของลูกน้อยได้เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ทั้งอาหาร การพักผ่อน และพื้นที่ในการได้ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ คุณพ่อคุณแม่จึงควรคอยสนับสนุนให้ลูกน้อยมีสภาพแวดล้อมในการเติบโตที่ดี
  5. การนอนหลับพักผ่อน: การนอนมีความสำคัญกับเด็ก ๆ มาก เด็กทุกคนควรมีการนอนที่ดีมีคุณภาพ เพราะในช่วงเวลาที่ลูกน้อยหลับจะเป็นเวลาที่ฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งออก ซึ่งสารตัวนี้เองที่ช่วยให้เจ้าตัวเล็กเติบโตได้ดี

 

คุณพ่อคุณแม่ควรจดบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของลูกน้อย

เด็กเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากพลาดโอกาสในการติดตามพัฒนาการของลูกน้อยควรมีการจดบันทึกน้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงเป็นประจำ เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าลูกน้อยได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ ลูกน้อยขาดสารอาหารหรือเปล่า อีกทั้งการจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงยังสามารถใช้ประเมินดูว่าเจ้าตัวเล็กมีการเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ สำหรับวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องมีดังนี้

  • การชั่งน้ำหนัก: คุณแม่ควรเลือกตาชั่งที่ละเอียดถึง 100 กรัม หรือ 0.1 กิโลกรัม ก่อนวัดคุณแม่ต้องตรวจสอบก่อนว่าหน้าปัดอยู่ที่เลข 0 หรือไม่ ในกรณีที่ลูกน้อยอยู่ในวัยทารกคุณแม่สามารถอุ้มลูกแล้วขึ้นชั่งน้ำหนักพร้อมกัน จากนั้นคุณแม่ค่อยขึ้นชั่งน้ำหนักคนเดียว แล้วนำน้ำหนักของแม่และลูกมาลบกับน้ำหนักของคุณแม่ก็จะได้เป็นน้ำหนักของทารก สำหรับเด็กเล็กคุณแม่ควรให้ลูกน้อยถอดรองเท้าและสวมเสื้อผ้าแบบบางเบาเพื่อจะได้ทราบน้ำหนักที่แท้จริงของเจ้าตัวเล็ก
  • การวัดส่วนสูง: สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี คุณแม่อาจจะใช้วิธีการให้ลูกน้อยนอนเหยียดตรงแล้วใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดวัดความสูงของเด็ก เมื่อลูกน้อยอายุ 2 ปีขึ้นไป คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยยืนวัดโดยใช้ที่วัดส่วนสูงแบบติดผนังได้เลย
  • จดบันทึกและนำไปเปรียบเทียบ: คุณแม่สามารถจดบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงของลูกไว้ในคู่มือสุขภาพแม่และเด็ก จากกรมอนามัย จากนั้นนำไป เปรียบเทียบกับกราฟแสดงตามเกณฑ์อายุของเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อดูว่าเจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการอย่างไรเป็นไปตามเกณฑ์ปกติหรือไม่

 

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี

Download As PDF

 

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กชาย ช่วงอายุ 0-5 ปี

Download As PDF

 

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี

Download As PDF

 

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กหญิง ช่วงอายุ 0-5 ปี

Download As PDF

 

วิธีอ่านกราฟแสดง น้ำหนัก และความยาวหรือความสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีดังนี้

  1. ตัวเลขตามแนวนอน: จะแสดงอายุของลูกน้อย เป็น จำนวน เดือน
  2. ตัวเลขตามแนวตั้ง: จะแสดงน้ำหนักวงเล็บกิโลกรัม และ ความยาวหรือส่วนสูงวงเล็บเซนติเมตร
  3. พื้นที่สีในกราฟ: คือ เกณฑ์การเจริญเติบโตของเด็ก แบ่งเป็น 5 ระดับคือ

 

ตารางแสดงความหมายของกราฟน้ำหนักเด็ก

พื้นที่สี่ในกราฟ

เกณฑ์แบ่งการเจริญเติบโต

ความหมาย

สีน้ำตาลน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เด็กขาดสารอาหาร
สีเขียวอ่อนน้ำหนักค่อนข้างน้อยเด็กเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร
สีเขียวน้ำหนักตามเกณฑ์เด็กเจริญเติบโตได้ดี
สีเขียวเข้มน้ำหนักค่อนข้างมากคุณแม่ควรควบคุมอาหารให้ลูกน้อย
สีขาวน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ต้องนำน้ำหนักไปเปรียบเทียบกับส่วนสูงของเด็ก เพื่อดูว่าลูกเข้าข่ายเป็นเด็กอ้วนหรือไม่

 

ตารางแสดงความหมายของกราฟส่วนสูงเด็ก

พื้นที่สี่ในกราฟ

เกณฑ์แบ่งการเจริญเติบโต

ความหมาย

สีน้ำตาลเตี้ยเด็กขาดสารอาหารมานาน หรือป่วยบ่อยพ่อแม่จำเป็นต้องเร่งดูแลอย่างเร่งด่วน
สีเขียวอ่อนค่อนข้างเตี้ยเด็กเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร พ่อแม่ควรใส่ใจอาหารของเด็กเพิ่มขึ้น
สีเขียวสูงตามเกณฑ์เด็กได้รับสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย
สีเขียวเข้มค่อนข้างสูงเด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี
สีขาวสูงกว่าเกณฑ์เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีมาก

 

พัฒนาการตามเกณฑ์ของลูกน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ

  • แรกเกิด: ทารกแรกเกิดสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ และสามารถมองจ้องหน้าได้นาน 1-2 วินาที
  • 1 - 2 เดือน: ลูกน้อยสามารถนอนคว่ำแล้วยกศีรษะขึ้นตั้งได้ 45 องศา นาน 3 นาที สามารถมองหน้าพ่อแม่หรือคนที่พูดด้วยนาน 5 วินาที สามารถมองตามวัตถุผ่านกลางลำตัวได้ ทั้งยังสามารถทำเสียง “อู” “อา” ในลำคอ และยิ้มตอบพ่อแม่หรือคนที่พูดด้วยได้แล้ว
  • 3 - 4 เดือน: ลูกน้อยสามารถนอนคว่ำยกศีรษะและช่วงอกได้พ้นพื้นแล้ว สามารถมองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เป็นมุม 180 องศา สามารถหันตามเสียงได้แล้ว ทั้งยังสามารถยิ้มทักและทำเสียงสูงต่ำเพื่อแสดงความรู้สึกได้ด้วย
  • 5 - 6 เดือน: ลูกน้อยเริ่มรู้จักยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำโดยที่แขนเหยียดตรงทั้งสองข้าง พร้อมทั้งยังสามารถนอนหงายแล้วเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของ และถือของไว้ได้ นอกจากนี้ยังหันตามเสียงได้ดี สนุกกับการเลียนแบบเสียง และสนใจกับคนพูดและของเล่น
  • 7 – 8 เดือน: ตอนนี้ลูกน้อยเริ่มนั่งได้มั่นคงและใช้มือเล่นของเล่นได้อย่างอิสระ สามารถเกาะยืนได้ เมื่อพ่อแม่เปิดหนังสือลูกจะมองไปที่หนังสือได้นาน 2-3 วินาที สามารถเลียนเสียงพูดและสนุกกับการเล่นจ๊ะเอ๋
  • 9 เดือน: ลูกน้อยสามารถลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้แล้ว สามารถหยิบจับของจากพื้นและถือไว้ได้ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ หยิบจับไว้ แต่พอยืนขึ้นยังต้องอาศัยมือในการยึดเกาะอยู่ สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ รู้จักแสดงท่าทางว่าปฏิเสธสิ่งของหรือการช่วยเหลือได้และสามารถเลียนเสียงพูดได้อย่างน้อย 1 เสียง เช่น “แม่” “หม่ำ”
  • 10 – 12 เดือน: ลูกน้อยสามารถยืนได้นานกว่า 2 นาที สามารถใช้นิ้วมือหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ได้ สามารถโบกมือตามคำสั่ง ใช้ท่าทางแสดงความต้องการ และเล่นของเล่นตามประโยชน์ของสิ่งของได้ เช่น เล่น หวีผม หรือป้อนอาหาร เป็นต้น

 

โดยทั่วไปแล้วพัฒนาการเด็กมี 4 ด้านด้วยกัน คือ พัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การสื่อสาร และการเข้าสังคม พัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กจะเชื่อมโยงกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย หากเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กด้วย ดังนั้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตพัฒนาการของลูกน้อย ถ้าพบว่าลูกมีพัฒนาที่ผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ลูกน้อยจะได้มีพัฒนาสมวัยได้ไม่ต่างจากเด็กคนอื่น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกจะสูงเท่าไร คำนวณความสูงลูกง่ายนิดเดียว, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. 3 สิ่งต้องทำ ถ้าอยากให้ลูกตัวสูง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. อยากสุขภาพดี ต้องมี 3 อ. สำหรับเด็กเล็ก, โครงการจัดการความรู้ ผ่านสื่อและเทคโนโลยีเทคโนโลยีออนไลน์มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  4. กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กอายุ 0-5 ปี, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  5. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ฉบับภาษาไทย ปี 65, กรมอนามัย
  6. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM), กรมอนามัย
  7. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  8. Newborn Development: 0-1 month, Children's Hospital of Orange County

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร ลูกน้อยกัดเล็บตัวเองบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อในปากหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อรู้ว่าเด็กชอบกัดเล็บตัวเอง

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก