พัฒนาการลูกน้อย อายุ 5-6 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย 5-6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

04.03.2020

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 5-6 เดือน อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย คุณพ่อ คุณแม่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการอะไรลูกได้บ้าง 

headphones

PLAYING: พัฒนาการลูกน้อย 5-6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

อ่าน 2 นาที
  • ลูกเป็นอย่างไรในวัยนี้  

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยนี้เด็กหลายคนจะเริ่มกลัวคนแปลกหน้าไม่หัวเราะอย่างสนุกสนานกับทุกคนที่
เข้ามาเล่นด้วยเหมือนเมื่อก่อน เมื่อพาไปเยี่ยมคุณปู่ย่าตายายที่ไม่ค่อยได้เจอหน้ากัน เด็กอาจร้องไห้จ้า แทนที่จะหัวเราะร่าเริงแจ่มใสเหมือนเวลาอยู่ที่บ้าน ซึ่งอาจทำให้ญาติผู้ใหญ่ (รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่) แอบผิดหวังอยู่ลึก ๆ ความจริงแล้ว พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมปกติตามวัย เกิดขึ้นเพราะเด็กมีความจำที่ดีขึ้น สามารถจำคนที่คุ้นเคยได้ ดังนั้นเขาจึงเริ่มไม่ไว้ใจคนแปลกหน้าที่เข้ามาเล่นด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ด้วยการแจ้งข้อมูลให้ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่จะเข้ามาเล่นกับเด็กทราบก่อนว่าช่วงนี้ลูกกำลังกลัวคนแปลกหน้า และให้เวลาเด็กสร้างความคุ้นเคยก่อน โดยค่อย ๆ ให้ญาติผู้ใหญ่ที่เด็กไม่คุ้นเคยเข้ามาพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่และเด็กในขณะที่เด็กอยู่ในอ้อมกอดของคุณพ่อหรือคุณแม่ก่อน อย่าเพิ่งให้ความสนใจเด็กมากหรือขออุ้มทันที และหลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้าเด็กนาน ๆ เมื่อเด็กเริ่มคุ้นเคยแล้ว จึงค่อย ๆ นำของเล่นมาเล่นด้วย หรือสัมผัสตัวเด็ก 

 

  • กระตุ้นพัฒนาการลูกได้อย่างไร  

 ในวัยนี้เด็กจะรู้จักชื่อของตนเองและหันตามได้เมื่อถูกเรียก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเรียกชื่อลูกจากทางด้านข้าง เพื่อให้เขาหันหา และเมื่อเขาหันมาแล้ว ควรส่งของเล่นให้หรือยิ้มเล่นกับเขา เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เขาหันอีกเมื่อถูกเรียกในครั้งถัด ๆ ไป เด็กวัยนี้เมื่อนอนคว่ำจะสามารถยืดแขนตึงและยันตัวได้สูง คุณพ่อคุณแม่ควรกระตุ้นให้เขาทำท่านี้บ่อย ๆ ด้วยการใช้ของเล่นล่อ เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น เมื่อถึงช่วงวัยถัดไปที่จะเริ่มนั่ง เขาจะได้นั่งหลังตรงขึ้น นอกจากนี้เมื่อจับเขานั่งหรือเมื่อเขาอยู่ในท่านอนหงาย คุณพ่อคุณแม่ควรนำของเล่นมาล่อให้เขาสนใจในระยะที่เขาเอื้อมถึง อย่าเพิ่งส่งของเล่นให้เขากับมือ เพื่อให้เขาฝึกเอื้อมหยิบของเล่นด้วยตนเอง

 

  • อาหารอะไรเหมาะกับลูก


อาหารที่เหมาะสมที่สุดในวัยนี้คือนมแม่ เด็กวัยนี้ชอบส่งเสียงคล้ายเสียงกรี๊ดเวลาดีใจ เป่าปากเล่นน้ำลาย เขาจะสนุกกับการเลียนแบบเมื่อคุณพ่อคุณแม่เดาะปาก จุ๊ปาก เดาะลิ้น เมื่อเขาทำตามได้ดีขึ้น จะเป็นพื้นฐานของการส่งเสียงพยัญชนะ เช่น “ปะ” “มะ” ในระยะต่อมา

 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 5-6 เดือน
  • เคล็ดลับคุณแม่


ระยะเวลาในการปรับตัวกับคนแปลกหน้าของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนปรับตัวเร็ว ในขณะที่บางคนปรับตัวได้ช้า ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตท่าทีว่าลูกยอมรับการเข้ามาใกล้ของคนแปลกหน้าได้มากน้อยเพียงใด และให้เวลาลูกปรับตัว ในที่สุดเมื่อเขาคุ้นเคยแล้ว เขาจะแสดงความน่ารักสดใสดังเดิม

 


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 3-4 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 2-3 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน

 

 

อ้างอิง

บทความโดย แพทย์หญิงพัฎ  โรจน์มหามงคล 
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  โรงพยาบาลศิริราช

บทความแนะนำ

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน