พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ทารก 5 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ทารก 5 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

05.03.2024

ทารกอายุ 5 เดือน วัยนี้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ มากขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตมากขึ้น กระดูกและข้อต่อต่าง ๆ แข็งแรง นั่งตัวตรงมากขึ้น พลิกคว่ำพลิกหงายได้คล่องแคล่วมากขึ้น ในวัยนี้ทารกน้อยสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว จดจำ เลียนแบบ ส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ วัยแห่งการเรียนรู้จึงมักชอบหยิบจับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเข้าปาก ควรดูแลเรื่องความสะอาดและจัดสถานที่แวดล้อมให้ปลอดภัย

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ทารก 5 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

อ่าน 9 นาที

สรุป

  • พัฒนาการทารก ทารกอายุ 5 เดือน ทารกในวัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ มากขึ้นจาก 1-4 เดือน ที่ผ่านมา ร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้น  นั่งตัวตรงได้มากขึ้น พลิกคว่ำพลิกหงายได้ สนใจ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น จับ หยิบ คว้า สิ่งของต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
  • กระตุ้นพัฒนาการทารกอายุ 5 เดือน พูดคุยกับลูกน้อยบ่อย ๆ ทารกกำลังจดจำและเลียนแบบท่าทางจากคุณพ่อคุณแม่ เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ เปิดเพลงให้ลูกโยกตัวตามไปมา อ่านนิทานภาพประกอบสีสันสวยงาม สายตาของทารกอายุ 5 เดือน มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน จดจ่อกับสิ่งของที่สนใจได้นานขึ้น
  • ทารกอายุ 5 เดือน สามารถพลิกคว่ำพลิกหงายได้ ต้องระมัดระวังการตกเตียงหรือที่สูงจากพื้น ระมัดระวังเรื่องการหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ เข้าปาก ควรเก็บสิ่งของภายในบ้านที่อาจเกิดอันตราย เช่น ของมีคม สารเคมี รวมถึงปิดรูปลั๊กไฟเพื่อความปลอดภัยของทารกน้อย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกอายุ 5 เดือน กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น กระดิกเท้า เหยียดแข้งเหยียดขา หรือเตะไปมาไม่อยู่นิ่ง นิ้วมือหยิบจับสิ่งของได้ถนัด กำ-แบนิ้วมือได้ ยกศีรษะขึ้นสูงเมื่อนอนคว่ำ และพยายามดันตัวโดยใช้มือทั้งสองข้างจนข้อศอกเหยียดตรง ท้องและหน้าอกยกสูงพ้นจากพื้นเพื่อทรงตัวได้มากขึ้น

 

พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ด้านการสื่อสาร

ในวัยนี้ทารกอายุ 5 เดือน เริ่มมีพัฒนาการด้านการสื่อสารอย่างเห็นได้ชัด ออกเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่มาทักทายเล่นด้วย ออกเสียงพูดออกเป็นคำ ๆ เช่น มา-มา แม-แม แต่ทารกยังไม่เข้าใจความหมายเพียงแต่พยายามเลียนเสียงพูดที่ได้ยิน สนใจเสียงต่าง ๆ รอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเรียกจะหันศีรษะไปตามเสียง สื่อสารความต้องการได้มากขึ้น ร้องไห้เวลาถูกขัดใจหรือไม่พอใจ เอามือปัดหากไม่ชอบ หรือไม่ต้องการ ส่งเสียงเรียกให้พ่อแม่อุ้ม

 

พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ด้านการเรียนรู้

ทารกวัย 5 เดือน มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้มากขึ้น สนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว สามารถแยกเสียงและใบหน้าของคนที่ไม่คุ้นเคยกับคนที่รู้จักได้ สนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จดจ่อกับสิ่งที่ตนเองสนใจได้นานขึ้น หยิบ จับ คว้าสิ่งของที่สนใจนำมาใส่ปาก มองดูนิ้วมือ การขยับนิ้วมือของตนเอง เริ่มรับรู้และเข้าใจที่มาของเสียงได้มากขึ้น เช่น เสียงเห่าของสุนัข เสียงเพลง เลียนแบบท่าทาง เช่น เป๊าะปาก จุ๊บปาก

 

พัฒนาการเด็ก 5 เดือน ด้านอารมณ์

ทารกวัย 5 เดือน แสดงออกด้านอารมณ์ได้มากขึ้น แสดงออกด้วยท่าทาง เช่น ร้องไห้ สะบัดตัว เอามือปัด เมื่อรู้สึกไม่พอใจ จะยิ้ม หัวเราะ หรือออกเสียง แสดงท่าทางเมื่อต้องการสิ่งใด เช่น ชูแขนให้อุ้ม ส่งเสียงเรียกให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่คุ้นเคยอุ้ม

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงเด็ก 5 เดือน

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงเด็ก 5 เดือน

1. เลือกของเล่นที่มีความปลอดภัย ไม่คม หรือเป็นอันตรายกับลูก

ทารกวัย 5 เดือน วัยที่เริ่มสนใจและสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยการหยิบ จับ คว้า และนำมาใส่ปาก เพื่อความปลอดภัยควรจัดวางสิ่งของในห้องหรือบริเวณที่ทารกอยู่ ปราศจากของมีคม สิ่งของที่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตราย วัสดุที่ขนาดเล็ก เช่น กระดุม ยาเม็ด เงินเหรียญ ลูกปัด เพราะทารกอาจนำเข้าปากจนเกิดอันตรายได้

 

2. ของเล่นมีเสียง สีสันสวยงามกระตุ้นพัฒนาการ

การเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ ของทารกอายุ 5 เดือน ควรเลือกของเล่นที่มีเสียง เคลื่อนไหวได้ หรือมีสีสันสวยงาม เพราะทารกในวัยนี้กำลังพัฒนาทักษะการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดวงตาสามารถแยกสีสันความแตกต่างได้ชัดเจน เสียงของคุณพ่อคุณแม่ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารให้กับทารกได้อย่างดี ทำได้ด้วยการพูดคุยกับทารกบ่อย ๆ อ่านนิทาน ทำเสียงประกอบการอ่านนิทาน เด็กวัยนี้กำลังเลียนแบบเสียงและท่าทางจากพ่อแม่ และเริ่มเข้าใจเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงสุนัขเห่า เสียงปรบมือ แต่ทารกยังไม่เข้าใจความหมายของเสียง

 

3. ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการคลานของลูก

พัฒนาการกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารกอายุ 5 เดือน มีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วว่องไว พลิกตัวไปมาได้คล่อง คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังหากทารกนอนเตียงหรือนอนในระดับสูงกว่าพื้นอาจหล่นลงมาได้รับอันตราย นิ้วมือของทารกหยิบ จับ คว้าสิ่งของใกล้ตัวได้เอง ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย จัดวางสิ่งของรอบตัวที่อาจเกิดอันตราย เช่น ของชิ้นเล็ก ๆ หรือของมีคม ให้ห่างมือทารก

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการทารก 5 เดือน

1. ใช้เสียงเพลงในการเลี้ยงลูก

ในช่วงวัยอายุ 5 เดือน พัฒนาการด้านการได้ยินของทารกพัฒนาขึ้นมา การได้ยินสัมพันธ์กับการเรียนรู้ การใช้เสียงเพลงจังหวะช้า ๆ เบา ๆ ทำให้ทารกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย โดยเฉพาะเวลาฟังเสียงเพลง คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกน้อยโยกตัวไปมาตามจังหวะเสียงทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย นอกจากนี้การอ่านนิทานเพิ่มความสนุกด้วยการทำเสียงเล็กเสียงน้อยหรือส่งเสียงร้องตามสัตว์ในนิทาน ทำให้ทารกเรียนรู้ จดจำไปพร้อม ๆ กับรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ หรือเครื่องดนตรีแบบเขย่า ๆ เป็นของเล่นที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินและการเคลื่อนไหวข้อมือให้ทารกได้

 

2. นิทานเสริมพัฒนาการทารก

การอ่านหนังสือนิทานช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ทารกอายุ 5 เดือนอย่างดี ส่งเสริมการได้ยิน ฝึกประสาทสัมผัส พัฒนาการฝึกทักษะด้านความคิด ความจำ แนวทางการเลือกนิทานสำหรับทารก มีดังนี้

  • หนังสือนิทานอาจเป็นหนังสือนุ่มนิ่ม หนังสือที่มีพื้นผิวสัมผัสแตกต่างกัน หรือหนังสือที่เป็นกระดาษแข็ง มีขนาดใหญ่พอประมาณ มีภาพประกอบมีสีสันสวยงาม ทำจากวัสดุที่ทนทาน ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเอาเข้าปาก หยิบจับแล้วไม่เกิดอันตราย สามารถใช้นิ้วมือพลิกเปลี่ยนหน้าได้ง่าย
  • ภาพประกอบขนาดใหญ่ ไม่มีรายละเอียดมากนัก เนื้อเรื่องสั้น ๆ ง่าย ๆ ช่วยในการมองเห็นและการจดจำ
  • นิทานที่มีรูปคน รูปสัตว์ หรือสิ่งของที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน อ่านออกเสียงเน้นย้ำ ฝึกความจำ ฝึกการแยกแยะบุคคล สัตว์ และสิ่งของ

 

3. เล่น “จ๊ะเอ๋” ฝึกการอดทนรอคอยให้ทารก

เล่น “จ๊ะเอ๋” การเล่นง่าย ๆ ที่ช่วยฝึกพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้ทารก ข้อดีของการเล่นจ๊ะเอ๋สำหรับทารก นอกจากช่วยฝึกการอดทนรอคอย รอว่าพ่อหรือแม่จะเปิดหน้าออกมา ยังมีข้อดีอื่น ๆ ดังนี้

  • ฝึกการจดจำ  ทารกจะได้เรียนรู้ว่า คุณพ่อคุณแม่จะโผล่หน้ามาทางไหน
  • เรียนรู้ว่าบางสิ่งแม้มองไม่เห็นแต่ยังมีอยู่ เวลาที่พ่อแม่เอามือหรือเอาผ้าปิดหน้า แล้วให้ทารกเปิดออก ทารกจะเรียนรู้ว่า มีใบหน้าพ่อแม่อยู่ตรงนี้
  • ฝึกทักษะด้านการสื่อสาร การสื่อสารสำหรับทารก เพียงแค่ได้ยิ้ม หัวเราะ มองตา กับคนที่เล่นด้วย พูดคุยด้วย ถือเป็นการฝึกฝนด้านการสื่อสาร
  • สายสัมพันธ์ ช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เป็นช่วงเวลาที่ลูกเป็นศูนย์กลาง ความสนุก รอยยิ้ม เสียงหัวเราะชอบใจ ช่วยกระชับสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นให้ทารกและคนในครอบครัว

 

4. ใช้แขนยันฝึกการทรงตัว

ทารกวัย 5 เดือน มีพัฒนาการทางร่างกาย กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น เริ่มฝึกฝนการทรงตัวด้วยตนเอง เช่น เวลานอนคว่ำทารกจะยกศีรษะด้วยตนเองได้ รวมถึงใช้แขนสองข้างยันตัวเองเพื่อฝึกการทรงตัวเมื่อต้องนอนคว่ำหน้า

 

5. ให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ

การนอนหลับมีความสำคัญต่อทารกมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด-ขวบปีแรก ทารกอายุ 5 เดือน การนอนหลับที่เพียงพอมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ทารกน้อยควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 12-16 ชั่วโมงต่อวัน ตารางการนอนของทารก และวิธีที่ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  • อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น สบาย ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป
  • จัดที่นอนให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสิ่งของวางเกะกะ
  • ห้องนอนเงียบสงบ ปราศจากเสียงรบกวน
  • แสงไฟสลัว ๆ ไม่มืดสนิท หรือสว่างเกินไป
  • ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้เหมาะสมไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป
  • อ่านนิทาน ร้องเพลงกล่อม หรือเปิดคลอเบา ๆ
  • พาทารกเข้านอนในเวลาเดิมทุกวัน

 

พัฒนาการของทารกอายุ 5 เดือน จะมีพัฒนาการที่เหมาะสมได้ ประกอบด้วยปัจจัยการเลี้ยงดูเป็นสำคัญ อาหารและโภชนาการที่ดีมีประโยชน์ การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ความใส่ใจดูแลและกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารก จะช่วยส่งเสริมให้ทารกเจริญเติบโตสมวัย

 

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการลูกน้อยตามวัย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  2. พัฒนาการเด็กแรกเกิด - 1 ปี และวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลพริ๊น สุวรรณภูมิ
  3. พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน และวิธีเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม, hellokhunmor
  4. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  5. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  6. พัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย, pobpad
  7. พัฒนาการเด็ก อายุ 5 เดือน, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  8. ‘จ๊ะเอ๋’ กิจกรรมง่ายๆ เสริมพัฒนาการลูก, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  9. การนอนหลับกลไกพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกน้อย, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 17 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก