ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง
ไข้ไม่ใช่ชื่อโรค แต่ไข้คือ อาการที่เกิดขึ้นร่วมกับการเจ็บป่วย ไข้มักเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในเด็ก โดยเฉพาะเมื่อลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลเป็นห่วง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูล เตรียมความพร้อมในการรับมือดูแล เมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืนอย่างถูกวิธีและปลอดภัย เพื่อลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมาได้
สรุป
- ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ เป็นเพราะไข้ขึ้นง่ายในตอนกลางคืน เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานหนัก เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จึงทำให้ไข้สูงขึ้น
- หากวัดไข้ให้ลูกแล้วลูกมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะถือว่ามีไข้ หากมีอุณหภูมิ 37.5-38.4 องศาเซลเซียส คือไข้ต่ำ อุณหภูมิ 38.5-39.4 องศาเซลเซียส คือไข้สูง
- คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือ ดูแลลูกมีไข้ตอนกลางคืน หรือมีไข้สูงอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยบรรเทาให้ไข้นั้นลดลง เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ดูแลไม่ถูกวิธีแล้ว อาจทำให้ลูกน้อยมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือมีอาการชักจากไข้ ตามมาได้
- เพื่อป้องกันภาวะชักจากไข้ การเช็ดตัวลดไข้ เป็นวิธีลดไข้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดไข้ให้ลูกได้ เพื่อระบายความร้อน ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ลูกมีไข้ตอนกลางคืน เกิดจากสาเหตุอะไร
- อาการไข้สูงในเด็กอาจเกิดจาก
- อุณหภูมิเท่าไหร่ เรียกว่าลูกมีไข้สูง
- คุณแม่วัดไข้ลูกน้อยยังไงให้ผลแม่นยำ
- ลูกมีไข้ตอนกลางคืน คุณแม่ดูแลลูกยังไงได้บ้าง
- ขั้นตอนการเช็ดตัวลูกน้อย ช่วยให้ลูกไข้ลดเร็ว
- เด็กมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหน ควรไปหาหมอ
ลูกมีไข้ตอนกลางคืน เกิดจากสาเหตุอะไร
ลูกมีไข้สูง ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ เป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันนั้นกำลังตอบสนองต่อสู้กับเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย สาเหตุที่ไข้ขึ้นง่ายในตอนกลางคืน เพราะตอนกลางวันระดับฮอร์โมน คอร์ติซอลในร่างกายนั้นจะสูงกว่ากลางคืน ทำให้กดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระดับของไข้นั้นไม่สูง เมื่อถึงเวลากลางคืนระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดลง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานหนัก เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ไข้ก็จะมีระดับที่สูงขึ้น
อาการไข้สูงในเด็กอาจเกิดจาก
อาการไข้สูงในเด็ก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ได้ เช่น
- โรคระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง มีไข้ คลื่นไส้ ถ่ายเหลว
- โรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีไข้ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด
- โรคไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการปวดเมื่อย มีไข้ มีน้ำมูก ไอ
- โรคปอดอักเสบ มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย
- โรคคออักเสบ มีไข้ และมีอาการ เจ็บคอ ไอร่วมด้วย
- โรคไข้เลือดออก มีไข้สูงลอย ไข้สูงไม่เกิน 7 วัน มีจุดแดงตามตัว กินน้อย เกล็ดเลือดต่ำ ปวดท้องบริเวณขวาบน
ลูกมีไข้สูง ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ รวมถึงมีอาการแทรกซ้อน หากดูแลอาการไข้ให้ลูกแล้วยังไม่ดีขึ้น เพื่อความปลอดภัยของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรักษาให้ถูกโรค อย่างทันท่วงที
อุณหภูมิเท่าไหร่ เรียกว่าลูกมีไข้สูง
ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ ลูกมีอุณภูมิสูงแบบไหน เรียกว่ามีไข้ โดยทั่วไปแล้ว หากวัดไข้แล้วลูกมีอุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะถือว่ามีไข้
- อุณหภูมิปกติ 35.4-37.4 องศาเซลเซียส
- มีไข้ต่ำ 37.5-38.4 องศาเซลเซียส
- มีไข้สูง 38.5-39.4 องศาเซลเซียส
- มีไข้สูงมาก มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
คุณแม่วัดไข้ลูกน้อยยังไงให้ผลแม่นยำ
เมื่อลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ การวัดอุณหภูมิของร่างกายลูกนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้รู้ว่า ค่าอุณหภูมิที่วัดได้นั้น บ่งบอกว่าลูกมีไข้ระดับไหนหรือมีไข้สูงหรือไม่ เพื่อที่คุณแม่จะได้รับมือเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืนได้อย่างถูกวิธี
- ก่อนการวัดไข้ทุกครั้ง ควรสลัดปรอทให้มีค่าต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียสก่อน จึงค่อยวัด
- วัดไข้ทารกแรกเกิด ให้ใช้ปรอทวัดไข้ทางทวารหนัก โดยสลัดปรอทให้มีค่าต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส แล้วใส่ปรอทเข้าไป ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร นานประมาณ 1 นาที
- วัดไข้ลูกที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้ใช้ปรอทวัดใต้รักแร้ หนีบไว้แน่น ๆ ตรงกลางของรักแร้ เพราะวัยนี้ยังไม่สามารถอมปรอทนิ่ง ๆ ได้ ควรใช้เวลาในการวัดไข้ประมาณ 3-5 นาที แล้วอ่านค่าอุณหภูมิลูก เมื่อวัดไข้ได้ค่าเท่าไหร่ให้บวกเพิ่มอีก 0.5 องศาเซลเซียส ยกตัวอย่างเช่น วัดไข้ลูกอ่านค่าได้ 38.5 บวกเพิ่ม 0.5 เท่ากับไข้อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล ไม่ต้องบวกอุณหภูมิเพิ่ม ให้อ่านค่าตามที่วัดได้เลย
- วัดไข้ลูกที่มีอายุมากกว่า 6 ปี หรือเด็กโต ก่อนวัดไข้ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อนก่อนวัดไข้ เพราะอาจทำให้ค่าอุณหภูมิของลูกคลาดเคลื่อนได้ ให้ใช้ปรอทใส่ไว้ที่ใต้ลิ้นเพื่อวัดอุณหภูมิ รอประมาณ 1 นาที แล้วจึงอ่านค่าที่วัด
ลูกมีไข้ตอนกลางคืน คุณแม่ดูแลลูกยังไงได้บ้าง
วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด เมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน ด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยบรรเทาให้ไข้ลดลง เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ดูแลไม่ถูกวิธี อาจทำให้ลูกน้อยมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
- ให้สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย ไม่ห่มผ้าหนา ๆ ไม่ใส่เสื้อผ้าแขนขายาว หรือใส่เสื้อผ้าหนา ๆ อยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ ควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อขับความร้อนออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
- ให้นอนหลับให้เต็มอิ่ม การให้ลูกนอนพักผ่อน จะช่วยลดการทำงานของระบบเผาผลาญอาหาร เมื่อขยับตัวน้อย จะลดการใช้แรง ทำให้อุณหภูมิไม่สูง
- เช็ดตัวลดไข้ให้ลูก ควรใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดตัวลูกบ่อย ๆ เพื่อเป็นการลดไข้ เช็ดตั้งแต่ปลายเท้า ปลายมือ เช็ดเข้าหาลำตัว โดยเช็ดแรงมากกว่าปกติ และควรวางผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ วางไว้ตามข้อพับต่าง ๆ เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากตัวลูก
- ทานยาลดไข้ตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรสั่ง เมื่อเช็ดตัวและทานยาลดไข้แล้ว รอจนครบเวลา 30 นาที จึงวัดไข้ต่อ
ขั้นตอนการเช็ดตัวลูกน้อย ช่วยให้ลูกไข้ลดเร็ว
การเช็ดตัว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยระบายความร้อน และลดไข้ให้ลูกมีไข้ตอนกลางคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ และมีวิธีเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการระบาย ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย และลดอุณหภูมิของร่างกาย ป้องกันภาวะชักจากไข้ ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้กับลูก
อุปกรณ์สำหรับเช็ดตัวให้ลูก
- กะละมังสำหรับใส่น้ำเช็ดตัว
- ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-3 ผืน
- ผ้าขนหนูผืนใหญ่ สำหรับเช็ดซับตัว
- น้ำอุ่น
วิธีเช็ดตัวลดไข้ให้ลูก
- เตรียมน้ำอุ่น และอุปกรณ์สำหรับเช็ดตัวให้พร้อม
- ถอดเสื้อผ้าให้ลูก ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำ บิดหมาด
- เช็ดหน้า เช็ดแขนและขาให้ครบทั้งสองข้าง โดยใช้ผ้าขนหนูเช็ดย้อนรูขุมขน จากปลายเท้า ปลายมือเข้าสู่ลำตัว ออกแรงถูมากกว่าปกติ เพื่อช่วยระบายความร้อน
- เช็ดศีรษะ หน้าผาก แล้วเอาผ้าวางพักไว้ตรงซอกคอ ซอกรักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ และศีรษะ เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนออกจากร่างกายของลูก
- เช็ดลำตัวด้านหน้า แล้วต่อด้วยเช็ดตัวด้านหลัง โดยให้ลูกพลิกตัวในท่านอนตะแคง
- เมื่อเช็ดตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่ที่ใช้เช็ดตัว ซับน้ำที่ตัวลูกให้แห้งสนิท
- ให้ลูกสวมเสื้อผ้าสบาย ๆ ระบายอากาศ
เด็กมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหน ควรไปหาหมอ
เด็กมีไข้ตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ หากดูแลลดไข้เบื้องต้นให้ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแล้วอาการไม่ดีขึ้น ไข้ไม่ลดลง อาเจียน กินอาหารกินน้ำไม่ได้ หายใจเหนื่อยหอบ หรือมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเสี่ยงทำให้ลูกเกิดอันตรายได้
- เด็กอาเจียน หากลูกอาเจียนไม่หยุด ดื่มน้ำไม่ได้จนอาเจียนออกมา อาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง เพราะไม่สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ หรือดื่มน้ำได้เลย ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หรืออักเสบลุกลามไปบริเวณอื่นได้
- ไม่ยอมกินอาหาร ซึมลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะน้อยลง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
- ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด หรือถ่ายไม่หยุด ลูกท้องเสีย อาจบ่งบอกว่า มีความผิดปกติที่เกิดจากการอักเสบของลำไส้ และจากสาเหตุอื่น ๆ
- หายใจหอบ ลักษณะอาการหายใจหอบนี้ อาจมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หรืออาจเป็นอาการของโรคหอบหืดรุนแรง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ไม่ควรรอช้าแม้แต่วินาที อาจส่งผลแก่ชีวิตได้
- มีไข้สูงขึ้น ไข้ไม่ลดลงหากลูกเช็ดตัว ทานยาลดไข้ตามที่แพทย์สั่งอย่างถูกวิธีแล้ว แต่ลูกยังมีไข้สูงขึ้น และไข้ไม่ยอมลด ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพราะหากปล่อยให้อาการไข้สูงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้
- มีไข้ติดต่อกันเกิน 5-7 วัน อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอาการไข้ต่ำก็ตาม อาจเกิดจากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด
อาการเจ็บป่วยของลูก อาจเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการไข้ และอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ดี หากพบว่า เด็กมีไข้ตอนกลางคืน มีความผิดปกติของร่างกาย หรือส่งสัญญาณสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้น ไม่ควรชะล่าใจหรือรีรอ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- โกนผมไฟให้ลูก ใช้อะไรบ้าง พิธีโกนผมไฟ มีขั้นตอนอย่างไร
- การมองเห็นของทารก ในแต่ละช่วงวัย ลูกน้อยมองเห็นอะไรบ้าง
- ท่านั่ง w-sitting ทำไมเด็กเล็กชอบนั่ง เรื่องอันตรายควรรู้
- ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว
- ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง
- ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
- ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี
- ลูกอ้วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี
- ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม
- วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน
อ้างอิง:
- Why Do Some Illnesses Make You Feel Worse at Night?, Healthline
- ลูกมีไข้สูง 38-39 ตอนกลางคืนมา 4 วัน แต่ตอนกลางวันตัวเย็นมาก เป็นอาการอะไร ต้องไปหาหมอไหม, Pobpad
- วิธีเช็ดตัว “ลดไข้” ที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร ?, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ไข้สูงในเด็ก คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไรดี?, โรงพยาบาลศิครินทร์
- เมื่อลูกน้อยมีไข้สูงตอนกลางคืน ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลเปาโล
- 7 อาการเฝ้าระวังของลูกน้อย ที่ต้องรีบไปพบแพทย์, โรงพยาบาลเปาโล
- ลูกน้อยมีอาการตามนี้...พบหมอทันที, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
- อาการป่วยแบบไหนที่ต้องพาลูกน้อยมาแอดมิท, โรงพยาบาลเปาโล
อ้างอิง ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2567