ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง
ถ้าลูกน้อยตื่นมาอย่างกะทันหัน ไม่ว่าตอนกลางวันหรือกลางคืน โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่หรือคุณพ่อจะกังวลใจ ท่าทีที่เหมือนไม่สบายตัว แถมบางครั้งยังดูหวาดกลัวอีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีคำอธิบายอยู่ บทความนี้จะไขข้อข้องใจและเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
สรุป
- ร่างกายของลูกน้อยแรกเกิดมีกลไกกระตุกตอนนอน เป็นท่าทีปกป้องตัวเองของลูกน้อย และสร้างสมดุลตัวตนของเขาในโลกนอกมดลูกคุณแม่
- อาการกระตุก ผวา และอาจร้องไห้งอแงจนคุณแม่ตกใจ จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงประมาณ 3 เดือน
- หากการกระตุกมีบางสิ่งแปลก ๆ เช่น กระตุกแบบไม่สมมาตร มีด้านหนึ่งไม่กระตุก หรือกระตุกจนน่ากลัว ควรปรึกษาคุณหมอเพราะมีความผิดปกติอย่างอื่นแทรกซ้อนที่คุณแม่อาจไม่ทราบ เช่น ปัญหาระบบประสาท ออทิสติก โรคสมาธิสั้น และความผิดปกติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร
- ทารกนอนสะดุ้ง เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า
- คุณแม่ติดกาแฟ เครื่องดื่มคาเฟอีน ก็ทำให้ทารกนอนสะดุ้งได้
- วิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง คุณพ่อคุณแม่รับมือได้ไม่ยาก
- ไม่อยากให้ทารกนอนสะดุ้ง ให้นอนท่าไหนดีที่สุด
- อาการลูกนอนผวาร้องไห้แบบนี้ ควรไปปรึกษาคุณหมอ
ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร
อาการสะดุ้ง หรือมีชื่อเรียกกันทางการแพทย์ว่า อาการสะดุ้งแบบโมโร (Moro reflex) เป็นการตอบสนองในทารกแรกเกิดต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น เสียงดัง การพูด หรือความรู้สึกเหมือนกำลังตกจากที่สูง มักเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยของคุณแม่หลับ แต่ถ้าสังเกตก็จะพบว่าเกิดขึ้นในขณะที่ตื่นอยู่ได้เช่นกัน
- การแสดงออกนั้น ลูกน้อยจะเกร็งหลัง เหวี่ยงแขนขึ้นและกวาดออก มีการแบมือออก ก่อนจะดึงเข่ากับแขนมาชิดตัวและกำหมัดแน่น จากนั้นการสะดุ้งตกใจที่เกิดขึ้นเป็นกลไกในร่างกายของลูกน้อยก็จะจบลง อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยอาจจะร้องไห้ไม่หยุด สร้างความกังวลใจให้บ้าง
- แรก ๆ คุณแม่หลายคนอาจไม่สบายใจที่ช่วยลูกน้อยให้นอนหลับอย่างสบายไม่ได้ ตรงนี้ต้องมองกันอีกมุม ท่าทีการแสดงออกของน้องที่น่ากังวลนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นข้อบ่งชี้ว่าเขามีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาเป็นไปอย่างที่ควร
- อยากให้คุณแม่พิจารณาว่าลูกนอนผวาร้องไห้เป็นรูปแบบของความพยายามเริ่มแรกของลูกน้อยที่จะปกป้องตัวเอง และการเรียนรู้ถึงการคงอยู่ของลูกน้อยนอกครรภ์ ความรู้สึกเหมือนตกจากที่สูงที่รับรู้ได้ และลูกน้อยรับมือกับมันได้
ทารกนอนสะดุ้ง เป็นสัญญาณอันตรายหรือเปล่า
- ไม่ต้องกังวล กรณีของการสะดุ้งแบบโมโรจะไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อลูกน้อยของคุณแม่ และอาการที่ทำให้คุณแม่กังวลใจนี้จะหายไปภายในไม่กี่เดือน
- ข้อเสียประการหนึ่งก็คือ ลูกน้อยแรกเกิดมักสะดุ้งตื่น และใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้รู้สึกว่าตนเองปลอดภัยแล้ว บางครั้งก็ถึงกับร้องไห้หนักมาก เพิ่มความกังวลใจให้กับคุณแม่อย่างมาก
- การที่ลูกน้อยนอนสะดุ้ง แล้วร้องไห้หนักมาก ส่วนใหญ่ลูกน้อยมักจะไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และสุดท้ายก็หลับไป
- ทารกนอนสะดุ้งจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเดือนแรก และหายไปใน 2-4 เดือน ก่อนอาการจะไม่ปรากฏหลัง 6 เดือน โดยทั่วไปในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์ ลูกน้อยก็จะเริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตนอกครรภ์ของคุณแม่และรู้สึกปลอดภัยกับสิ่งรอบตัวมากขึ้น
- อย่างไรก็ตาม ตามหลักการสะดุ้งแบบโมโร ลูกน้อยควรจะมีการขยับตัวที่ดูเป็นสมมาตร มีบันทึกว่าถ้าแขนของลูกน้อยเหยียดไปแค่ข้างเดียวแต่อีกข้างไม่เหยียดไปด้วย ก็อาจจะเป็นสัญญาณของประสาทที่มีความเสียหายหรือการแตกหักของกระดูกไหปลาร้าได้ หากพบอาการผิดปกติควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
- การเกิดมาของลูกน้อยโดยปราศจากอาการสะดุ้งแบบโมโรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก และถ้าเกิดขึ้น คือสิ่งที่น่ากังวลใจ เพราะจะเป็นสัญญาณของสิ่งผิดปกติอื่น ๆ เช่น การได้รับบาดเจ็บจากตอนเกิด การติดเชื้อหรือปัญหาทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
คุณแม่ติดกาแฟ เครื่องดื่มคาเฟอีน ก็ทำให้ทารกนอนสะดุ้งได้
- มีคนบอกกับคุณแม่ให้จำกัดการดื่มกาแฟ หรือเลิกกาแฟระหว่างให้นมเลยหรือเปล่า จริง ๆ แล้ว ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของคาเฟอีนที่จะเข้าสู่นมที่ใช้เลี้ยงลูกน้อย และปริมาณที่น้อยมากเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในกรณีทั่วไป
- แต่ลูกน้อยของคุณแม่บางท่านอาจจะไวต่อคาเฟอีน นี่ไม่ใช่กรณีทั่วไป ลูกน้อยอาจจะกระสับกระส่ายและขยุกขยิกได้ เบื้องต้นในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟคาเฟอีนในน้ำนมแม่อยู่ในระดับสูงสุด ควรสังเกตอาการของลูกน้อยหากกินน้ำนมแม่ในช่วงนี้ ถ้าเห็นมีท่าทีตอบสนองผิดปกติไป ก็อาจจะต้องงดดื่มกาแฟ
- จำกัดการดื่มไว้ที่ไม่ควรเกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าการดื่มกาแฟ 1-2 แก้ว ถ้าดื่มมากกว่า 10 แก้วต่อวัน อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการกระวนกระวาย เพราะคาเฟอีนที่ได้รับก็มากด้วยตามจำนวนแก้ว
- กรณีคุณแม่ติดกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่น ๆ ได้แก่ ชาเขียว ชาดำ ชาขาว น้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน และผลิตภัณฑ์โกโก้และช็อกโกแลต ปริมาณที่รับเข้าไปเกิน 200 มิลลิกรัม จะทำให้ลูกน้อยนอนสะดุ้งได้ เพราะแบบนั้นควรทานลดลง คือน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม เพื่อช่วยให้ลูกรักหลับหรืออยู่สบายตัว สดใสทั้งคุณแม่และลูกน้อย
วิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง คุณพ่อคุณแม่รับมือได้ไม่ยาก
การสะดุ้งนั้นหลายครั้งจะเกิดขึ้นตอนที่คุณแม่วางตัวลูกน้อยลง การที่ตัวลูกน้อยอยู่ในท่าโน้มเอียงตัวลงนอน คือคุณแม่กำลังจะวางลูกน้อยลงไว้กับที่นอน จะให้ความรู้สึกเหมือนกับจะตก และจะปลุกให้ลูกน้อยสะดุ้งขึ้นได้แม้ว่าจะนอนหลับสนิทอยู่ เพราะแบบนั้นเบื้องต้นในตอนวางลูกน้อยลงนอน คุณแม่อาจจะลองทำแบบนี้
1. ทิ้งตัวลงนอนด้านข้างด้วย
ให้ลูกน้อยกระชับร่างอยู่กับคุณแม่ อยู่ข้างตัวลูกน้อยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้หลังเขาอยู่กับที่นอนชั่วครู่ใหญ่ ๆ แล้วถึงจะผละไปได้ ตรงนี้จะทำให้ลูกน้อยไม่ประสบกับความรู้สึกเหมือนตัวเองจะร่วงหล่น และจะไม่ไปกระตุ้นให้เกิดการสะดุ้งแบบโมโร
2. ห่อตัวลูกน้อยของคุณแม่ไว้
ผ้าห่อตัวทำให้อบอุ่นและทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเหมือนตอนอยู่ในมดลูก ช่วยให้ลูกน้อยของคุณแม่นอนหลับได้นานขึ้นด้วย กรณีที่ลูกนอนอยู่ และอยากแก้ไม่ให้ลูกน้อยนอนสะดุ้ง วิธีการที่ใช้ร่วมด้วยคือจัดการกับสิ่งที่อาจไปกระตุ้นให้เขาสะดุ้ง
- ให้ลูกน้อยนอนในห้องที่ไม่มีเสียงรบกวน
- ไม่ปล่อยให้มีแสงสว่างมากเกินไปในห้องที่ลูกน้อยใช้พักผ่อน
ไม่อยากให้ทารกนอนสะดุ้ง ให้นอนท่าไหนดีที่สุด
- คุณหมอแนะนำว่าท่านอนที่เหมาะสมที่สุด คุณแม่ควรจัดวางลูกน้อยลงนอนโดยไม่มีหมอน ขณะนอนหลับ ให้นอนหงายเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการขาดอากาศหายใจ
- เพื่อไม่ให้นอนสะดุ้ง การให้นอนหงายโดยห่อตัวลูกน้อยไว้เป็นคำตอบไขข้อข้องใจ ขั้นตอนในการห่อตัวลูกน้อย
- ใช้ผ้าห่มผืนใหญ่และบาง วางผ้าห่มไว้บนพื้นผิวเรียบ
- พับมุมหนึ่งเข้าเล็กน้อย ค่อย ๆ วางลูกน้อยของคุณแม่หงายหน้าบนผ้าห่มโดยให้ศีรษะอยู่ที่ขอบมุมที่พับไว้
- นำผ้าห่มมุมหนึ่งมาพาดตัวทารกแล้วสอดไว้ข้างใต้
- พับผ้าห่มผืนล่างขึ้น โดยเหลือพื้นที่ให้เท้าและขาของลูกน้อยขยับได้
- นำมุมสุดท้ายของผ้าห่มมาพาดตัวทารกแล้วสอดไว้ข้างใต้ จะเหลือเพียงศีรษะและคอเท่านั้น
- ลูกน้อยที่ห่อตัว คุณแม่ควรให้นอนหงายเท่านั้น และหมั่นคอยตรวจสอบเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยไม่รู้สึกร้อนจนเกินไป ถ้ามีคำถามเรื่องการห่อตัว นำไปปรึกษากับคุณหมอที่ดูแลลูกน้อยได้
อาการลูกนอนผวาร้องไห้แบบนี้ ควรไปปรึกษาคุณหมอ
เสียงร้องทำให้คุณแม่กังวล แต่สิ่งที่น่าวิตกต้องสังเกตจากลักษณะการเคลื่อนไหว รูปแบบการนอนผวาที่ชวนให้เป็นห่วงและต้องพาลูกน้อยไปหาคุณหมอเพื่อตรวจอาการ นำเสนอข้างต้น มีลักษณะอาการดังนี้
1. การกระตุกแบบไม่สมมาตร
การกระตุกเกิดขึ้นเพียงซีกเดียวของร่างกาย อาจเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรือการแตกหักที่กระดูกไหปลาร้า อาการนี้แนะนำไปแล้วข้างต้น
2. การกระตุกแบบรัว ๆ น่าตกใจ
เกิดการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อการเคลื่อนไหว เสียง หรือการสัมผัสอย่างกะทันหัน อาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ยากที่เรียกว่า Hyperekplexia
3. การกระตุกที่ยาวนานเกินไปกว่า 6 เดือน
อาจเป็นสัญญาณว่าจะมีพัฒนาการล่าช้าหรือเป็นอาการของปัญหาระบบประสาท ออทิสติก โรคสมาธิสั้น และความผิดปกติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
ร่างกายของคนเรามหัศจรรย์มาก อาการสะดุ้ง ผวา และร้องไห้ในลูกน้อยเป็นอาการหนึ่งที่ชวนให้กังวลมากคุณแม่รู้ความจริงเบื้องหลังอย่างนี้แล้ว ก็หวังว่าคุณแม่จะโล่งใจขึ้น สามารถหลับไปกับลูกน้อยได้อย่างสงบด้วยความรู้สึกปลอดภัยและไม่ต้องหวาดระแวง
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
- สฟิงโกไมอีลิน คืออะไร สำคัญต่ออย่างไรต่อสมองของลูกน้อย
- DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย
- 2’-FL คืออะไร ? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)
- น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก
- ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ คุณแม่รับมือภูมิแพ้ในเด็กได้อย่างไร
- ลูกอ้วก ไม่มีไข้ ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี
- อาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีป้องกันและวิธีดูแลทารกท้องอืด
- สีอุจจาระทารก สีแบบไหนปกติ สีแบบไหนที่คุณแม่ต้องระวัง
- ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง
- ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกี่วันหาย อาการแบบไหนเรียกรุนแรง
- ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย ลูกน้อยควรกินอะไรให้ขับถ่ายง่าย
- ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ อุจจาระเป็นเม็ด พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น
- ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
- วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน
- ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกปวดท้อง
อ้างอิง:
- What to know about the Moro reflex, What to Expect
- The Moro Reflex: What Makes Babies Startle and How to Calm the Reflex, The Bump
- Can you drink coffee while breastfeeding?, Medical News Today
- What Every Parent Should Know About Baby Tremors, Verywell Family
- How Long Does the Startle Reflex in Babies Last?, Healthline
- Understanding Flat Head Syndrome (Plagiocephaly) in Babies, Healthline
- What Is the Moro Reflex?, WebMD
- คาเฟอีน ผลเสียต่อทารกในครรภ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ้างอิง ณ วันที่ 26 เมษายน 2567