เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

08.11.2024

เด็กขาโก่ง ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติของเด็กเล็ก และเมื่อโตขึ้นภาวะขาโก่งนี้จะหายได้เอง จนละเลยการสังเกตถึงความผิดปกติของกระดูก รวมถึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพและสรีระของลูกเมื่อโตขึ้น เด็กขาโก่งหากไม่ได้รับการรักษาจะอันตรายแค่ไหน เด็กขาโก่งดูยังไง เรามาหาคำตอบจากบทความนี้กัน

headphones

PLAYING: เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่
  • เด็กขาโก่ง สามารถแบ่งสาเหตุหลักออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติซึ่งเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติได้เอง และภาวะขาโก่งที่เป็นโรคจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  • การป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะขาโก่ง โดยการควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์, ไม่เร่งให้เด็กเดินได้ก่อนวัยที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) เพราะอาจทำให้เด็กเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่งได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร

การสังเกตว่าลูกมีภาวะขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากลักษณะของเข่าทั้ง 2 ข้างว่ามีการโค้งแยกออกจากกันหรือไม่ โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งว่าเด็กมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ หรือเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ได้ดังนี้

1. เด็กขาโก่งตามธรรมชาติ

เด็กแรกเกิดโดยทั่วไป จะมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติอยู่แล้ว และเมื่อโตขึ้นอายุประมาณ 2 ปี อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาตรงมากขึ้น จนถึงอายุ 3 ปี ขาอาจจะเริ่มเกออกอีกครั้ง และกลับมาตรงเป็นปกติตอนอายุ 7 ปี ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายเด็ก

 

2. เด็กขาโก่งจากความผิดปกติ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากขาโก่งไม่ดีขึ้น เมื่อเด็กอายุ 2 ปี แล้ว หรือบางครั้งอาจดูมีภาวะขาโก่งมากขึ้น ซึ่งอาจถือเป็นขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูก ที่เรียกว่า โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) ส่วนมากเกิดจากเด็กที่มีน้ำหนักเยอะ จนไปกดทับด้านในของเข่า จนทำให้แผ่นเยื่อเจริญกระดูกเติบโตได้ไม่เต็มที่ หรืออาจเป็นขาโก่งที่เกิดจากการขาดวิตามินดี

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่สังเกตยังไงได้บ้าง

ลูกขาโก่งดูยังไง การสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่ ซึ่งภาวะขาโก่งอาจเกิดขึ้นได้จากการขดตัวขณะอยู่ในครรภ์คุณแม่ หรือหากเด็กเดินเร็วเพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคง หรือกรณีเคยเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกแตกหัก จนกระดูกเปลี่ยนรูปจนเกิดขาโก่งได้

 

ภาวะขาโก่ง ส่งผลยังไงกับลูก

หากลูกมีภาวะขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติ หรือเป็นโรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมามากมาย ดังนี้

  • เสียบุคลิก: ลูกขาโก่ง อาจทำให้เสียบุคลิก เนื่องจากมีสรีระที่ผิดปกติ ทำให้เดินขาโก่งตลอดเวลา
  • ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง: จากการที่เดินขาโก่งจนคนภายนอกสังเกตได้ชัดเจน
  • ปวดเข่าตลอดเวลา: เพราะขณะที่เดินขาโก่ง จะส่งผลต่อเอ็นข้อเข่าให้ยืดออกไปด้วย จนทำให้ปวดเข่าเรื้อรังได้

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดขาให้ลูก

 

เด็กขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาให้ลูกไหม

ความเชื่อเกี่ยวกับการดัดขา เมื่อพบว่าลูกขาโก่งนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ขาที่เคยโก่งจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติจนตรงในที่สุดตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่บางครอบครัวทำการดัดขา หรือใช้ผ้ารัดขาให้เข้ารูปตั้งแต่ก่อนอายุ 2 ปี จนเข้าใจว่าการดัดขาช่วยให้ลูกหายขาโก่งได้

 

ซึ่งในความเป็นจริงอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดหรือกระดูกหักได้หากมีการดัดขาหรือรัดขาแน่นจนเกินไป ดังนั้นหากลูกอายุเกิน 2 ปีแล้ว และยังมีภาวะขาโก่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยไม่ต้องดัดขา

 

3 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะเด็กขาโก่งในเด็ก

เด็กขาโก่ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กวัยเริ่มหัดเดิน หรืออายุประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจเกิดได้จากอาการตามธรรมชาติ และจะดีขึ้นได้เองเมื่อติบโตขึ้น หรือเกิดจากความผิดปกติจนถือว่าเป็นโรค ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษาให้ถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การใส่อุปกรณ์ดามขาหรือการผ่าตัด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการขาโก่งและอายุด้วย ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่อยากป้องกันความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเกิดภาวะขาโก่ง สามารถทำได้ ดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์

หากเด็กมีน้ำหนักมากจนเกินมาตรฐาน อาจส่งผลให้กระดูกมีการกดทับบริเวณด้านในข้อเข่าจนทำให้เกิดอาการขาโก่ง

 

2. ไม่ต้องเร่งรีบสอนลูกเดินเร็วเกินวัย

จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เดินเร็วเกินวัย อาจทำให้เกิดภาวะขาโก่งได้ง่าย เพราะด้วยวัยที่ยังไม่พร้อมเดิน ทำให้เด็กเดินได้ไม่มั่นคงเพียงพอ

 

3. ใช้รถเข็นหัดเดินอย่างระมัดระวัง

เพราะอาจเสี่ยงต่อการผลัดล้มหรือพลิกคว่ำของการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) และยังสร้างลักษณะการเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่ง

 

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการยืนและการเดินของลูกตั้งแต่ต้น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะขาโก่งของลูก เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี จนสามารถกลับมาหายเป็นปกติ ทำให้ลูกเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด และมีความมั่นใจในสรีระ ตลอดจนบุคลิกภาพที่ดีของตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. ลูกน้อยขาโก่งอย่าชะล่าใจ อาจโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ลูกขาโก่ง ภัยอันตรายแฝงเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลสินแพทย์
  3. ภาวะขาโก่งในเด็ก (Bowed leg), โรงพยาบาลสินแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก