เปลี่ยนชื่อลูกทำยังไง เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร มีขั้นตอนอย่างไร

เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

07.08.2024

ชื่อดีเป็นศรีแก่ตัว การตั้งชื่อลูก เปลี่ยนชื่อให้ลูก เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่า จะช่วยให้ลูกเติบโตได้อย่างมีความสุข มีชีวิตที่ดี แต่ถ้าหากตั้งชื่อลูกแล้ว อยากเปลี่ยนชื่อให้ลูกใหม่ การเปลี่ยนชื่อนั้นจะมีขั้นตอนแบบไหน การเปลี่ยนชื่อลูกในใบสูติบัตรจะทำได้หรือเปล่า หากไม่ว่างออกไปที่เขตสามารถเปลี่ยนชื่อทางออนไลน์ได้ไหม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มาอ่านข้อมูลในการเปลี่ยนชื่อไปด้วยกัน

headphones

PLAYING: เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตรทำยังไง มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

อ่าน 5 นาที

สรุป

  • หากต้องการขอเปลี่ยนชื่อลูก สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนได้ ควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ยื่นคำขอเปลี่ยนชื่อได้ที่สำนักงานเขต ที่มีชื่ออยู่ในอำเภอ หรือเขตนั้น ๆ ตามทะเบียนบ้าน ไม่สามารถทำข้ามเขต หรือยื่นเรื่องแบบออนไลน์
  • พ่อแม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย สามารถทำเรื่องเปลี่ยนชื่อแทนลูกในกรณีลูกเป็นผู้เยาว์ ลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูณ์) ได้
  • การเปลี่ยนชื่อลูก มีอัตราค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน 50 บาท
  • การเปลี่ยนชื่อลูกและนามสกุลใหม่ มีข้อควรระมัดระวังหลายประการ อาทิเช่น มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม, ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม, ไม่เป็นชื่อที่ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม, ต้องไม่มีคำหยาบคาย, ต้องมีคำแปล ความหมายที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองบุตร ผู้มายื่นเรื่อง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของลูกที่ต้องขอเปลี่ยนชื่อตัว (กรณีอายุ 7 ปีขึ้นไป)
  3. ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
  4. ใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อลูก
  6. เอกสารเปลี่ยนนามสกุล (ถ้ามี)

 

เปลี่ยนชื่อลูกต้องทำที่ไหน ทำในออนไลน์ได้ไหม

หากต้องการขอเปลี่ยนชื่อลูก ให้คุณพ่อคุณแม่ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือที่สำนักงานเขต ที่มีชื่ออยู่ในอำเภอ หรือเขตนั้น ๆ ตามทะเบียนบ้าน ต่อนายทะเบียน ณ ท้องที่นั้น ๆ ไม่สามารถทำข้ามเขต หรือทำเรื่องออนไลน์

 

สรุปขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร

เปลี่ยนชื่อลูกเพื่อความมงคล สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารทะเบียนราษฎร (เอกสารทะเบียนราษฎร ได้แก่ ทะเบียนบ้าน สูติบัตร เป็นต้น) ในกรณีที่ลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำร้องแทน ยื่นคำร้องได้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือสำนักทะเบียนอำเภอ หลักฐานที่ใช้ในการแก้ไขเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร คือ

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองผู้ยื่นคำร้อง ในกรณีที่ลูกไม่บรรลุนิติภาวะ
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของลูก (ในกรณีที่มีบัตรประชาชน)
  3. เอกสารการเปลี่ยนชื่อ
  4. เอกสารทะเบียนราษฎรที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงชื่อ
  5. หลักฐานรับรองว่าเป็นผู้ปกครองของเด็ก ตามกฏหมาย

 

ขั้นตอนการดำเนินการของสำนักทะเบียน

  1. แจ้งความจำนงค์ ยื่นเอกสารคำร้อง พร้อมหลักฐานครบถ้วนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบเอกสารที่ต้องการยื่นคำร้อง ก็นำเสนอต่อนายทะเบียนของแต่ละท้องที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ

 

ขั้นตอนการดำเนินการของสำนักทะเบียน

 

เปลี่ยนชื่อลูกมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  • การเปลี่ยนชื่อลูก มีอัตราค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน 50 บาท
  • การจดทะเบียนตั้งชื่อลูก มีอัตราค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน 100 บาท
  • การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุผลอื่นเช่น ร่วมใช้ชื่อสกุล มีอัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท
  • การออกใบแทนหนังสือสำคัญ มีอัตราค่าธรรมเนียม 25 บาท

 

คุณพ่อคุณแม่ ทำเรื่องเปลี่ยนชื่อลูก ได้จนถึงอายุเท่าไหร่

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเรื่องเปลี่ยนชื่อแทนลูก ในกรณีที่ลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูณ์)ได้ หากเป็นผู้เยาว์ให้คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้ยื่นคำขอแทนได้

 

เปลี่ยนชื่อลูกและนามสกุลใหม่ มีเงื่อนไขสำคัญอะไรบ้าง

  1. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  2. ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
  3. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
  4. เป็นชื่อที่ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
  5. ไม่มีเจตนาไปในทางทุจริต
  6. ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล หากไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล
  7. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
  8. กรณีลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้ชื่อนามสกุลเดิมของบิดา มารดาเป็นชื่อรองได้
  9. ไม่ให้ระบุชื่อ ประกอบกับคำเชื่อมอักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ใด ๆ ที่ไม่ได้กำหนดในระเบียบ กฎหมาย
  10. ต้องมีคำแปล ความหมายที่อยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  11. ห้ามเอานามพระมหานคร หรือ ศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธย ใช้เป็นชื่อสกุล
  12. เป็นพยางค์ หรือคำเดียวกัน เว้นวรรคไม่ได้

 

การเปลี่ยนชื่อลูก และนามสกุลนั้น มีข้อควรปฏิบัติ มีวิธีการ ขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และต้องใช้เอกสารประกอบในการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียน การที่จะเปลี่ยนชื่อลูกตามชื่อพ่อแม่ อาจต้องเตรียมความพร้อมจัดเตรียมเอกสารในการยื่นคำร้องเปลี่ยนชื่อตัว เปลี่ยนชื่อสกุลให้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว หากคุณพ่อคุณแม่มีคำถามหรือปัญหาที่ต้องการปรึกษาในด้านงานทะเบียน สามารถโทรศัพท์ติดต่อ สอบถามสำนักบริหารงานทะเบียน ได้ที่เบอร์ 1548

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

อ้างอิง:

  1. การขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง, สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
  2. ทะเบียนชื่อบุคคล การขอเปลี่ยนชื่อตัว, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  3. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  4. งานทะเบียนทั่วไป, สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
  5. ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน, GCC

อ้างอิง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก