
เด็กนอนดึก ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก ส่งผลต่อพัฒนาการสมองไหม
ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก นอนไม่เพียงพอ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและสุขภาพโดยรวม การนอนช่วยให้ร่างกายของลูกได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทาน ทำให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใส และช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอทุกคืน เพื่อให้ลูกเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่
สรุป
- การนอนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมาก เพราะเด็ก ๆ นั้นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน ในขณะที่เด็กนอนหลับ สมองจะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่เรียนรู้มาเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การนอนหลับที่เพียงพอจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้ของเด็ก ๆ
- ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก อาจทำให้มีการเจริญเติบโตด้านความสูงช้าลงกว่าปกติ เนื่องจากฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต หรือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จะหลั่งออกมามากในช่วงกลางคืน หลังจากหลับไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าลูกนอนดึก นอนหลับไม่เพียงพอ ฮอร์โมนนี้อาจหลั่งออกมาไม่เต็มที่
- การนอนหลับช่วยให้ลูกได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทาน ช่วยให้จำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีขึ้น หากลูก 2 ขวบนอนดึกมาก ไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือด้วยการกำหนดกิจวัตรประจำวันและเวลาเข้านอนให้ชัดเจน สร้างบรรยากาศในการนอนให้เงียบสงบ ผ่อนคลาย ปรับห้องนอนไม่สว่างจนเกินไป ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป และหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในห้องนอน เช่น โทรทัศน์ เป็นต้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ความสำคัญของการนอนของเด็ก ๆ
- เด็กควรนอนกี่ทุ่ม
- ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก ส่งผลเสียอะไรบ้าง
- ลูก 2 ขวบ ไม่ยอมนอนกลางคืนแก้ยังไงดี
- วิธีกล่อมลูกนอน 2 ขวบ ให้หลับง่ายขึ้น
ความสำคัญของการนอนของเด็ก ๆ
การนอนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเด็ก เพราะฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในช่วงกลางคืนหลังจากเด็กนอนหลับไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง การนอนที่ไม่เพียงพออาจทำให้ฮอร์โมนนี้หลั่งได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้การเจริญเติบโตทางด้านความสูงช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ การนอนยังช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ และมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมาก เนื่องจากเด็กต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในทุกวัน การนอนหลับโดยเฉพาะช่วงหลับลึก เป็นเวลาที่สมองจะจัดเก็บและจัดระเบียบสิ่งที่เรียนรู้มา เพื่อให้เด็กสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการนอนที่เพียงพอจึงสำคัญมากต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
เด็กควรนอนกี่ทุ่ม
เด็กควรนอนไม่เกิน 3 ทุ่ม เพราะฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จะหลั่งมากในช่วงกลางคืนระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตี 3 ดังนั้นการฝึกให้เด็กมีนิสัยการนอนที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการนอนหลับที่เพียงพอส่งผลดีต่อการเติบโต การทำงานของภูมิคุ้มกัน พัฒนาการทางอารมณ์และพฤติกรรม เด็กที่พักผ่อนไม่เพียงพอ มักจะหงุดหงิด ใจร้อน และอาจมีปัญหาด้านการเรียน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำว่าการเริ่มกำหนดเวลานอนให้เร็วที่สุดจะช่วยสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกได้ง่ายขึ้น โดยการพาลูกเข้านอนตามตารางการนอนสำหรับเด็กวัยแรกเกิด – 12 ปี ดังนี้
ตารางการนอนตอนกลางคืน สำหรับเด็กวัยแรกเกิด - 12 ปี | ||
ช่วงอายุ | ระยะเวลาในการนอนตอนกลางคืน | ช่วงเวลาเข้านอน และตื่นนอน |
วัยแรกเกิด - 4 เดือน | 8-9 ชั่วโมง | ไม่มีเวลาที่แน่นอน |
4 - 12 เดือน | 9-10 ชั่วโมง | 19.00 น. - 05.00 น. |
1 - 2 ปี | 11 ชั่วโมง | 19.00 น. - 06.00 น. |
3 - 5 ปี | 10-13 ชั่วโมง | 19.00 น. - 07.00 น. |
6 - 12 ปี | 10-11 ชั่วโมง | 20.00 น. - 06.00 น. |

ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก ส่งผลเสียอะไรบ้าง
ลูก 2 ขวบนอนดึกมาก นอนไม่ต่อเนื่อง อาจเข้าสู่ภาวะอดนอนเรื้อรัง ส่งผลเสียในด้านพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่นิ่ง ซุกซน ขี้หงุดหงิด เด็กก้าวร้าว มีปัญหาการเรียนรู้ พัฒนาการของสมองลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อปัญหาการเจริญเติบโตด้านความสูง และอาจเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นคุณแม่ควรฝึกลูกให้นอนตั้งแต่หัวค่ำและสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี อย่างเช่น กำหนดเวลาเข้านอนให้สม่ำเสมอและสร้างบรรยากาศที่สงบก่อนนอน เพื่อให้ลูกนอนหลับเพียงพอและเติบโตได้อย่างเหมาะสม
ลูก 2 ขวบ ไม่ยอมนอนกลางคืนแก้ยังไงดี
การนอนช่วยให้ลูกได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทาน ช่วยให้จำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและมีสุขภาพที่ดี ควรให้ลูกนอนหลับเพียงพอ หากลูก 2 ขวบนอนดึกมาก ไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ควรกำหนดกิจวัตรประจำวันและเวลาเข้านอนของลูกให้ชัดเจน
- สร้างบรรยากาศในการนอนให้เงียบสงบ ผ่อนคลาย เช่น เล่านิทาน
- ปรับห้องนอนไม่สว่างจนเกินไป หรี่ไฟให้สลัว ควบคุมอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป
- หากลูกนอนตอนกลางวัน ไม่ควรให้นอนเกินเวลาบ่ายโมง และควรให้นอนในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 3 ชั่วโมง
- ชักชวนให้ลูกออกกำลังกายระหว่างวันทุกวัน
- ไม่ควรใช้ห้องนอนเป็นที่ลงโทษลูก เพราะลูกอาจกลัวห้องนอน และทำให้นอนไม่หลับ
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในห้องนอนลูก เช่น โทรทัศน์ เพราะจะทำให้รบกวนการนอนของลูก และอาจเกิดนิสัยติดดูจอก่อนนอน ทำให้ลูกนอนหลับได้ยากขึ้น
- ไม่ควรให้ลูกเข้านอนขณะที่ยังหิว คุณแม่สามารถเตรียมของว่างเบา ๆ หรือเครื่องดื่ม เช่น นมแก้วเล็ก ๆ ไว้ให้ลูกดื่มก่อนนอนได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักใกล้เวลานอน เพราะอาจทำให้ลูกนอนหลับยากขึ้น
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น ช็อกโกแลต อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะในช็อกโกแลตอาจมีคาเฟอีน ทำให้ลูกนอนหลับยาก

วิธีกล่อมลูกนอน 2 ขวบ ให้หลับง่ายขึ้น
การพาลูกเข้านอนตรงเวลาเป็นประจำจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับเวลาและหลับง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิธีกล่อมนอนอื่น ๆ ที่ช่วยให้ลูกหลับได้ดีและหลับง่ายขึ้น เช่น
- อาบน้ำอุ่นก่อนนอน: น้ำอุ่นจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้พร้อมสำหรับการนอนหลับมากขึ้น
- เตรียมตัวเข้านอน: หลังอาบน้ำให้ลูกแปรงฟันและใส่ชุดนอน หากลูกเริ่มฝึกขับถ่ายหรือเลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแล้ว ควรให้ลูกไปห้องน้ำก่อนเข้านอน เพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นมาปัสสาวะกลางดึก
- หลีกเลี่ยงการเล่น: หลีกเลี่ยงการเล่นที่ตื่นเต้นเพราะอาจทำให้ลูกนอนหลับยากขึ้น ควรเลือกกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง ร้องเพลงเบา ๆ เพื่อช่วยให้ลูกสงบผ่อนคลาย และพร้อมสำหรับเข้านอน
- สร้างบรรยากาศห้องนอน: ปิดม่านและปรับอุณหภูมิในห้องให้พอดี เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายและพร้อมสำหรับการนอนหลับ
- หรี่ไฟในห้อง: การลดแสงไฟในห้องนอนให้สลัว ๆ จะช่วยกระตุ้นการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้รู้สึกง่วงและพร้อมสำหรับการนอน
- เปิดเสียงธรรมชาติ: ลองเปิดเสียงธรรมชาติเบา ๆ เช่น เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล หรือเสียงจิ้งหรีด ซึ่งอาจช่วยให้ลูกผ่อนคลายและนอนหลับได้ดีขึ้น
การฝึกให้ลูกนอนอาจไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ในบางครั้งลูกอาจต่อต้านหรืออาละวาด เพราะยังปรับตัวไม่ได้ แต่ในบางคนอาจปรับตัวได้รวดเร็ว การสร้างกิจวัตรการนอนที่สม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็นและยึดมั่นในตารางเวลาเพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการนอนในเวลาที่เหมาะสม ความสม่ำเสมอนี้จะช่วยให้ลูกเรียนรู้และปรับตัวได้ดีในที่สุด คุณแม่สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อยเพิ่มเติมได้ที่ โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
- วัยทอง 1 ขวบ ลูกเริ่มดื้อ รับมือวัยทองเด็ก 1 ขวบ ยังไงดี
- วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี
- วัยทอง 3 ขวบ ลูกกรี๊ดเอาแต่ใจ รับมือวัยทองเด็ก 3 ขวบ ยังไงดี
- ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไขลูกพูดติดอ่าง
- อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า
- เด็กติดโทรศัพท์ ลูกติดจอก่อนวัยแก้ยังไงดี พร้อมวิธีรับมือ
- เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้
- เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณอะไรบ้าง
- เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า
- เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก
อ้างอิง:
- การนอนในเด็กสำคัญอย่างไร, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
- Here's How Much Sleep Your Kids Should Be Getting, parents
- เด็กไทยไม่นอนดึก, สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ลูกนอนดึก มีความเสี่ยง ความสูงไม่ถึงเกณฑ์และพัฒนาการไม่สมวัย, โรงพยาบาลบางปะกอก
- Insufficient Sleep in Children, Children’s Hospital Colorado
- การนอนในเด็กปฐมวัย, สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- นิทราวิทยาในเด็ก (Sleep Science in Children), ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- How to Sleep Train Your Toddler, healthline
- การนอนในเด็ก, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายขึ้น, thaibf.com มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งปประเทศไทย
อ้างอิง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง