เด็กตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลตาแฉะในทารก

เด็กตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลตาแฉะในทารก

10.10.2024

ทารกเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ อาจเติบโตยังไม่เต็มที่ คุณแม่จึงต้องคอยดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพดวงตาที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลาอาจเป็นสัญญาณของเด็กตาแฉะ หรือที่เรียกว่า “ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน” อาการเด็กตาแฉะมีอาการอย่างไร จะอันตรายกับลูกน้อยไหม? และมีวิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกับภาวะเด็กตาแฉะในทารกกัน

headphones

PLAYING: เด็กตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลตาแฉะในทารก

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการเด็กตาแฉะ เป็นอาการที่เด็กมีน้ำตาไหลออกมามากจนทำให้ลูกน้อยตาแฉะ ขี้ตาแฉะ หรือมีน้ำตาคลออยู่ตลอดเวลาทั้งที่เด็กไม่ได้ร้องไห้ พบมากในเด็กทารก โดยมักเกิดขึ้นกับเด็กทารกอายุ 1-2 เดือนหลังคลอด
  • อาการเด็กตาแฉะ เกิดจากภาวะท่อน้ำตาอุดตันเนื่องจากน้ำตาไม่สามารถระบายทางท่อน้ำตาได้ จึงเกิดอาการสะสมในถุงน้ำตาจำนวนมากทำให้ลูกน้อยตาแฉะขึ้นมา
  • เมื่อพบว่าลูกน้อยมีอาการของเด็กตาแฉะ ให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยเบื้องต้นด้วยวิธีการทำความสะอาดบริเวณเปลือกตาด้วยน้ำต้มสุกสะอาด เพื่อไม่ให้มีขี้ตามาเกาะบริเวณดวงตา เพราะอาจเกิดการหมักหมมจนนำไปสู่การติดเชื้อหรือมีการอักเสบขึ้นได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กตาแฉะ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการเด็กตาแฉะที่พบมากในเด็กทารก   อาจเกิดจากพังผืดบริเวณท่อน้ำตาไม่เปิด ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน” อาการตาแฉะมักเกิดขึ้นกับเด็กทารกอายุ 1-2 เดือนหลังคลอด เนื่องจากช่วง 1-2 เดือนแรกต่อมน้ำตาของทารกยังไม่สามารถสร้างน้ำตาได้ โดยอาจเกิดจากท่อน้ำตาที่ต่อเข้ากับบริเวณจมูกเกิดภาวะผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถเปิดเข้าสู่โพรงจมูกได้ เมื่อต่อมน้ำตาที่สร้างออกมาเพื่อหล่อลื่นดวงตาไม่สามารถระบายได้ จึงเกิดการสะสมของน้ำตาในถุงน้ำตาจำนวนมากจนตาลูกน้อยแฉะ

 

เด็กตาแฉะ อาการเป็นแบบไหน

อาการเด็กตาแฉะ เป็นอาการที่เด็กมีน้ำตาไหลออกมามาก จนทำให้ลูกน้อยตาแฉะ ขี้ตาแฉะ หรือมีน้ำตาคลออยู่ตลอดเวลา ทั้งที่เด็กไม่ได้ร้องไห้ ในเด็กบางรายอาจมีอาการตาบวมแดงด้วย โดยอาจพบอาการตาแฉะที่เป็นข้างเดียวหรือสองข้างเลยก็ได้ ซึ่งอาการนี้พบได้บ่อยในเด็กทารก โดยอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ จนถึงช่วงระยะเวลาหนึ่งอาการตาแฉะจะดีขึ้น แต่ในเด็กบางรายอาการตาแฉะอาจรุนแรงมากขึ้นหรือมีปัญหาเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเกิดการอักเสบและลุกลามเข้าไปในดวงตาถึงขึ้นติดเชื้อได้

 

ทำความรู้จัก ภาวะท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก

ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นอาการที่เด็กมีน้ำตาไหลมากจนทำให้ตาแฉะโดยที่ลูกน้อยไม่ได้ร้องไห้ สาเหตุมาจากพังผืดในท่อน้ำตาไม่เปิด หรือท่อน้ำตาอุดตัน เนื่องจากท่อน้ำตาที่ต่ออยู่กับบริเวณจมูกผิดปกติไม่สามารถเปิดออกได้ ทำให้น้ำตาที่สร้างขึ้นมาเพื่อหล่อลื่นตาล้นออกมา จึงเกิดอาการน้ำตาไหลบ่อย ๆ ขี้ตาแฉะ หรือมีอาการตาบวมแดง เมื่อปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดการสะสมของขี้ตาจนทำให้เกิดการติดเชื้อและสามารถ ทำให้ลูกน้อยมีอาการอักเสบบริเวณถุงน้ำตาได้

  • เด็กตาแฉะ: ลูกน้อยจะมีน้ำตาไหลคลอหรือเป็นหยดน้ำใสตลอดทั้งวัน
  • ขี้ตาเป็นสีเขียว: เมื่อน้ำตาไหลออกมามาก อาจเกิดการอักเสบติดเชื้อทำให้ลูกน้อยมีขี้ตาเป็นสีเขียว
  • ก้อนที่หัวตา: เมื่อลูกน้อยมีภาวะท่อน้ำอุดตัน คุณแม่อาจจะคลำเจอก้อนที่บริเวณหัวตา พอกดบริเวณก้อนจะทำให้น้ำตาทะลักออกมาจำนวนมาก
  • มีอาการบวมแดง: เมื่อน้ำตาที่สะสมอยู่จำนวนมากทำให้เกิดการระคายเคือง คุณแม่อาจเห็นว่าบริเวณดวงตาของลูกน้อยมีอาการอักเสบ บวมแดงร่วมด้วย

 

ทำความรู้จัก ภาวะท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก

 

เด็กตาแฉะ หายเองได้ไหม

อาการเด็กตาแฉะที่เกิดจากภาวะท่อน้ำตาอุดตันโดยมากสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องทำการรักษาเมื่อลูกน้อยมีอายุ 3-6 เดือน ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการตาแฉะมากสามารถดูแลได้ด้วยวิธีการนวดท่อน้ำตา เพื่อเปิดรูท่อน้ำตา โดยทั่วไปแล้วเด็กทารกกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะหายเป็นปกติ แต่ถ้ายังไม่หายแนะนำให้คุณแม่พาลูกน้อยไปหาหมอเพื่อที่คุณหมอจะได้ให้แนวทางในการรักษาภาวะท่อน้ำตาอุดตันในเด็กเช่นวิธีการแยงท่อน้ำตา หรือการใส่ท่อซิลิโคนระบายน้ำตา หากลูกน้อยมีอาการมาก เกิดการอักเสบจนเป็นหนองคุณหมออาจใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดท่อน้ำตา หรือแยงท่อน้ำตา เพื่อรักษาอาการท่อน้ำตาอุดตันในทารก

 

วิธีดูแลตาแฉะในทารกเบื้องต้น ที่พ่อแม่ทำเองได้

หากคุณแม่พบว่าเด็กตาแฉะ สามารถดูแลลูกน้อยเบื้องต้นด้วยวิธีการทำความสะอาดบริเวณเปลือกตาด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำอุ่น ดังนี้

  • เช็ดด้วยน้ำเกลือ: คุณแม่สามารถใช้น้ำเกลือทางการแพทย์ชุบกับสำลี มาเช็ดทำความสะอาดบริเวณเปลือกตาที่มีคราบน้ำตาของลูกน้อยออกได้
  • เช็ดด้วยน้ำอุ่น: คุณแม่สามารถใช้น้ำสะอาดต้มสุก มาเช็ดทำความสะอาดบริเวณเปลือกตา และขนตาให้ลูกน้อยเพื่อไม่ให้มีขี้ตามาเกาะบริเวณดวงตา เพราะอาจเกิดการหมักหมมจนนำไปสู่การติดเชื้อหรือมีการอักเสบขึ้นมาได้

 

เคล็ดลับนวดตาให้ลูก บรรเทาอาการตาแฉะ

เมื่อลูกน้อยมีอาการตาแฉะ คุณหมออาจแนะนำให้คุณแม่นวดบรรเทาอาการเบื้องต้นเพื่อระบายน้ำตาที่ค้างอยู่ในถุงน้ำตา และยังเป็นการช่วยเปิดรูท่อน้ำตาให้ขยายใหญ่ขึ้นได้ โดยมีวิธีการ คือ ให้คุณแม่นวดที่บริเวณหัวตาของลูกน้อยประมาณ 20-30 ครั้ง ทั้งเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน หากคุณแม่นวดถุงน้ำตาให้ลูกแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือนวดแล้วน้ำตาไม่ไหลแถมยังมีการอักเสบขึ้นมาอีก แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำดูแลหรือการรักษาในขั้นต่อไป

 

คุณแม่สามารถทำได้ด้วยการนำสำลีไปชุบกับน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดต้มสุก จากนั้นเช็ดทำความสะอาดที่บริเวณเปลือกตาและขนตาไม่ให้มีขี้ตาเกาะ โดยไม่จำเป็นต้องประคบที่ตาของลูกน้อย

 

เด็กตาแฉะและมีอาการร่วมแบบนี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์

  • ดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่เบาลง: หลังจากคุณแม่ได้เช็ดทำความสะอาดเปลือกตาและนวดถุงน้ำตาแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณแม่ปรึกษาคุณหมอทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบลุกลามรุนแรงไปมากกว่าเดิม
  • มีหนองที่หัวตา: หากคุณแม่ปล่อยให้อาการตาแฉะของลูกน้อยแย่ลง จนเกิดการหมักหมมของน้ำตา อาจทำให้เกิดการอักเสบจนเป็นหนอง คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อที่คุณหมอจะได้แนะนำวิธีการดูแลในขั้นตอนต่อไป
  • ตาอักเสบ ตาแดง: อาการตาอักเสบ ตาแดง ขี้ตาเยอะ เกิดจากการที่ลูกตาแฉะมาก ๆ เพราะน้ำตาไหลไม่หยุด หากไม่ได้ดูแล เช็ดทำความสะอาดขี้ตาหรือเปลือกตาที่ดีพอ อาจทำให้เด็กเกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบและติดเชื้อขึ้นมาได้ คุณแม่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที  

 

อาการเด็กตาแฉะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยของทารกช่วงแรกเกิด หากพบว่าลูกมีน้ำตาไหลมาก ตาแฉะ มีขี้ตาเกาะเยอะ อาจลองใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกสะอาด เช็ดทำความสะอาดบริเวณเปลือกตาและขนตาให้กับลูกน้อยในเบื้องต้นก่อน และอาจขอคำปรึกษา วิธีดูแลลูกน้อยด้วยการนวดจากคุณหมอ หากอาการยังไม่ดีขึ้น เป็นมากและเรื้อรัง อักเสบบวมแดงถึงขั้นเป็นหนอง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณของการอักเสบและติดเชื้อได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ท่อน้ำตาอุดตัน, โรงพยาบาลบางปะกอก 9
  2. ท่อน้ำตาอุดตัน… คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง!, โรงพยาบาลเปาโล
  3. ท่อน้ำตาตันในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรสักเกตตรวจเช็กให้ดี, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ภาวะท่อน้ำตาตันในเด็กเล็ก (Congenital NLDO), โรงพยาบาลตา หู คอ จมูก
  5. การพยาบาลผู้ป่วยท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิด, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เด็ก 10 เดือน ตาแฉะ มีน้ำตาและขี้ตาข้างเดียว เป็นประมาณ 2 สัปดาห์ เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร, Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่  22 กรกฎาคม 2567

บทความแนะนำ

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้จริงไหม มีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง ไปทำความเข้าใจทฤษฎีของเพียเจต์ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยกัน

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน ลูกนอนคว่ำช้าจะเป็นอะไรหรือเปล่า ส่งผลกับพัฒนาการลูกอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายกะปริบกะปรอย อันตรายหรือเปล่า

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอยบ่อย ๆ ทุกวัน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า อาการถ่ายบ่อยของลูกแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก