ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
ส.ค. 29, 2024
8นาที

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีความเชื่อว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาของมนุษย์ทุกคน ล้วนมาจากประสบการณ์ในการพบเจอกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเกิดการจัดการ และการปรับตัวของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลและอยู่รอด เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาและด้านความคิดของคน ๆ นั้นต่อไป

 

สรุป

  • ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget ชาวสวิสเซอร์แลนด์ มีความสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก โดยใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นตามช่วงวัย คือ ขั้นการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage) อายุ 0-2 ขวบ, ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ขวบ, ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ขวบ และขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) ในช่วงอายุ 11 ปีขึ้นไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มาทำความรู้จัก ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget)

ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1896 และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา จบปริญญาเอกด้านชีวรักษาสัตว์ และสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และหนึ่งในทฤษฎีของเพียเจต์ที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีแนวคิดอย่างไร

ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) ทำให้คนมีการทำอะไรอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการต่อเนื่องเป็นเรื่องราว และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation) โดยการปรับตัวของคนนั้น จะประกอบไปด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ การดูดซับ (Assimilation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนกับเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ทำให้แสดงออกพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่เคยได้พบเจอมาก่อน แต่เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้และซึมซับไปเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างทางปัญญาที่อยู่ในสมองของเด็ก จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ อีกหนึ่งกระบวนการ คือ การปรับให้เหมาะ (Acommodation) เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งการปรับตัว หรือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็นกี่ขั้น

เพียเจต์ ได้แบ่งขั้นตอนการพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดตามช่วงวัย เป็นดังนี้

1. ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage)

เป็นขั้นที่เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดก่อนที่จะเริ่มสื่อสารได้ ซึ่งเป็นช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก โดยในวัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโดยอัตโนมัติ

 

2. ขั้นที่ 2 เตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)

ในช่วงวัยนี้จะเริ่มมีการพัฒนาในด้านการสื่อสารด้วยภาษา เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ภาพหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ แต่ยังไม่มีเหตุผลมากเพียงพอ จึงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และไม่สามารถเข้าใจเหตุผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้

 

3. ขั้นที่ 3 คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

เริ่มมีเหตุและผลสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น เข้าใจระเบียบกฏเกณฑ์ อย่างมีเหตุผล สามารถเข้าใจหลักการคำนวณต่าง ๆ รวมถึงคิดย้อนกลับไปมาได้ มีจินตนาการเป็นภาพในใจ

 

4. ขั้นที่ 4 การคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage)

สามารถคิดอะไรที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา มีกระบวนการความคิด โดยการตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์หาสาเหตุจนได้ข้อสรุป สามารถเชื่อมโยงวิธีการแก้ไขปัญหากับสถานการณ์หนึ่งกับสถานการณ์อื่น ๆ ได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ถึงแม้ทฤษฎีของเพียเจต์จะมีอิทธิพลต่อความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการมากมาย แต่ก็อาจมีข้อดีข้อเสีย หากมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้

  1. ทฤษฎีของเพียเจต์จะศึกษากระบวนการทางความคิดและสติปัญญาตามช่วงอายุ โดยจำกัดแค่ช่วงแรกเกิดจนถึงวัยรุ่นตอนต้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับผู้ใหญ่ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น
  2. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะพัฒนาไปตามทีละขั้น ซึ่งเพียเจต์แบ่งเป็น 4 ขั้น ซึ่งจะเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน และจะไม่มีพัฒนาการใดที่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไป แต่ในความเป็นจริงพบว่าผู้ใหญ่บางคนก็อาจจะยังไม่มีพัฒนาการในขั้นใดขั้นหนึ่งของทฤษฎีเพียเจต์
  3. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแต่ละคน จะประกอบไปด้วยพันธุกรรมหรือพื้นฐานเด็กที่มีมาแต่กำเนิด กับสภาพแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งในบางทฤษฎีอาจมองว่าสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้มีอิทธิพลมากกว่า อีกทั้งทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเดียวกันได้ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการถ่ายทอด ความยากง่ายให้เหมาะสมกับอายุ แต่ไม่ปิดกั้นเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ด้วยช่วงอายุตามหลักการของเพียเจต์

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

เนื่องจากทฤษฎีของเพียเจต์กล่าวว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการปรับตัวด้วยการส่งเสริมจากการพบเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งเด็กจะสามารถซึมซับได้ดีมากน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มศักยภาพทางสติปัญญาของลูก ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัย เช่น ในเด็กเล็กควรเน้นการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามธรรมชาติ และเพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองในการคิด วิเคราะห์ แบบมีเหตุและผลให้มากขึ้นตามช่วงวัย

 

กิจกรรมที่พ่อแม่สามารถนำทฤษฎีของเพียเจต์ มาปรับใช้กับลูกแต่ละช่วงวัยได้

1. อายุ 0-2 ขวบ

เป็นช่วงวัยที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะต่าง ๆ เนื่องจากพัฒนาการทางภาษายังไม่ดีนัก จึงควรเน้นกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้วยการเน้นการหยิบ จับ วัตถุรูปทรงต่าง ๆ การเคลื่อนไหวของร่างกายแบบซ้ำ ๆ ด้วยการกำมือหรือแบมือ และลองให้เริ่มแก้ปัญหาง่าย ๆ เช่น การหาที่ซ่อนสิ่งของ

 

2. อายุ 2-7 ขวบ

เป็นช่วงอายุก่อนมีเหตุและผล ซึ่งเด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์แทนความหมายหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เริ่มมีความเข้าใจในเรื่องการสื่อสารด้วยภาษา มีคำศัพท์ในสมองมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมด้วยการเล่นบทบาทสมมติกับลูกได้ หรือนำสิ่งของรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของอื่นที่สมมติขึ้น

 

3. อายุ 7-11 ขวบ

ช่วงวัยนี้จะเริ่มมีเหตุและผลแบบรูปธรรมอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาด้วยเหตุและผลได้เป็นอย่างดี สามารถแบ่งแยกและเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ กิจกรรมที่เหมาะสม อาจจะให้โจทย์เด็ก แล้วให้จินตนาการวาดรูปตามโจทย์ที่ได้รับ หรือลองศึกษาเส้นทางแบบง่าย ๆ รวมถึงการทำโจทย์คิดเลขแบบง่าย ๆ ให้ย้อนกลับไปมาได้

 

4. อายุ 11 ขวบขึ้นไป

ลูกน้อยอายุ 11 เดือน หรือ เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป เริ่มมีเหตุผลแบบนามธรรม เริ่มมีความคิดอ่านแบบผู้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้นมาก สามารถคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ คือ การตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ แยกแยะ มีความอิสระมากขึ้น โดยในวัยนี้อาจเน้นกิจกรรมที่ให้มีส่วนร่วมแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้น

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ เชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละคน และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยออกเป็น 4 ระยะ โดยทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทั้ง 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะพัฒนามาจากระยะก่อนหน้า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ระยะถัดไป โดยจะไม่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการของลูกด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัยของเด็ก และเน้นให้เรียนรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐาน, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. บทที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  3. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. บทที่ 2 ทฤษฎีและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประถมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมไอเดียตั้งชื่อลูกชาย ตั้งชื่อเล่นลูก ชื่อเด็กชายเท่ ๆ ทันสมัย ไม่ซ้ำใคร เหมาะกับปีมังกรทอง คุณแม่ยุคใหม่คนไหนคิดชื่อลูกชายไม่ออก ตั้งตามได้เลย

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6- 7 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 6-7 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 6-7 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี
บทความ
เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารสำหรับเด็กวัย 6 เดือน มื้อแรกของลูกต้องเริ่มยังไง สำหรับเด็กเริ่มเคี้ยว ลูกน้อยต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

View details 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย
บทความ
7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

รวมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วขึ้นตามช่วงวัย คุณแม่มือใหม่ควรฝึกให้ลูกพูด พร้อมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดได้เร็ว ลดความเสี่ยงลูกพูดช้ากว่าวัย

View details ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายไหม เมื่อลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ไปดูสาเหตุและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 3 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 3 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 11 เดือน และเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

10นาที อ่าน

View details สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
บทความ
สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

ทารกสะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดสะดือทารกอย่างไร เมื่อสายสะดือทารกใกล้หลุด พร้อมวิธีทำความสะอาดสะดือทารกที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
บทความ
วิธีห่อตัวทารก การห่อตัวทารกให้ลูกสบายตัว คล้ายอยู่ในท้องแม่

วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่

รวมวิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง สำหรับคุณแม่มือใหม่ ให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว หลับง่าย ลดการสะดุ้งตื่นเหมือนอยู่ในท้องแม่ จะมีวิธีห่อตัวทารกแบบไหนบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย
บทความ
แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

แจกเพลย์ลิสต์เพลงกล่อมนอนเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองให้ลูกน้อย

เพลงกล่อมนอนเด็กทารก นอกจากช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และเคลิ้มหลับง่ายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการด้าน IQ และ EQ ให้ลูกน้อยด้วย

7นาที อ่าน

View details ไอเดียแคปชั่นคนท้อง คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล
บทความ
ไอเดียแคปชั่นคนท้อง คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นคนท้อง คำคมคนท้อง สำหรับคุณแม่สายโซเชียล

แคปชั่นคนท้อง คำคมคนท้องน่ารักสำหรับคุณแม่ที่ตื่นเต้นและเฝ้ารออยากจะเจอเจ้าตัวเล็ก มีทั้งแคปชั่นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้คุณแม่มาเลือกไปโพสต์ลงโซเชียลได้เลย

7นาที อ่าน

View details ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ บางครั้งมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและคัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเป็นอะไร ไปดูวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้

7นาที อ่าน

View details แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้
บทความ
แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

9นาที อ่าน

View details น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที
บทความ
น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

น้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

7นาที อ่าน

View details ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายบ่อย อันตรายแค่ไหน
บทความ
ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายบ่อย อันตรายแค่ไหน

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม ลูกถ่ายบ่อย อันตรายแค่ไหน

ลูกถ่ายวันละ 3-4 ครั้งปกติไหม หากลูกถ่ายกะปริบกะปรอยบ่อย ๆ ทุกวัน อันตรายกับลูกน้อยหรือเปล่า อาการถ่ายบ่อยของลูกแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์

9นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด
บทความ
ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

5นาที อ่าน

View details เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก
บทความ
เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

5นาที อ่าน

View details กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน
บทความ
กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

6นาที อ่าน