ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น

ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ลูกหัวแบน ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อทารกหัวแบน

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
เม.ย. 11, 2024
6นาที

คุณแม่มือใหม่ มักมีความกังวลเรื่องลูก หัวแบน หรือ หัวเบี้ยว อาการเหมือนทรงหัวไม่เท่ากัน กังวลว่าลูกโตมาจะมีปัญหาหรือเปล่า แม้ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะลูกหัวแบนจะมักไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมอง และพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก แต่เด็กที่มีภาวะหัวแบนมักมีภาวะคอเอียงร่วมด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการเจริญเติบโตของเด็กได้ คุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกหัวแบนที่ค่อนข้างรุนแรง ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ลูกหัวแบนอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การนอนอยู่ท่าเดียวหรือหันข้างเดียวนาน ๆ หรืออาจจะเพราะสาเหตุอื่น ๆ

 

สรุป

  • อาการหัวแบนไม่ใช่ความผิดปกติที่จะมีผลต่อการพัฒนาสมอง อาศัยขยันจัดท่าทางของลูกทั้งยามนอนและพาไปไหนด้วย สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้
  • ภาวะลูกหัวแบนนั้น มีปัญหามาจากกระดูกที่มาประกอบกันเป็นกะโหลกศีรษะของทารกมีการเชื่อมติดกันผิดปกติก่อนวัย จึงส่งผลให้กระดูกกะโหลกศีรษะของทารกเกิดการผิดรูป ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ (Craniosynostosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ควรได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หากคุณแม่นั้นมีความกังวลในเรื่องสุขภาพของลูก อาจพาลูกน้อยไปให้คุณหมอช่วยยืนยันว่าอาการหัวแบนที่เห็น ว่ามีผลกระทบ หรือเป็นอันตรายหรือเปล่า
  • หากพบว่าลูกหัวแบน คุณพ่อคุณแม่อาจลองเปลี่ยนทิศ เปลี่ยนท่าทางการหันศีรษะของลูกในขณะที่ลูกนอนหลับอยู่ ด้วยการจัดท่าให้ศีรษะฝั่งที่ไม่แบนแนบลงกับหมอนแทน แต่ต้องระวัดระวังไม่ให้ลูกนอนหลับในท่าคว่ำ เพราะท่านอนคว่ำอาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะ Sudden Infant Death Syndrome หรือเกิดโรคไหลตายได้ ส่วนระหว่างวันในขณะที่ลูกยังตื่นอยู่ ควรช่วยให้ลูกได้เปลี่ยนท่าทางการนอนบ่อย ๆ อาจจะให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำตัวลง ท้องสัมผัสกับพื้น เพื่อเป็นการฝึกการชันคอของลูกด้วย หรืออุ้มลูกบ่อย ๆ และควรเปลี่ยนท่าให้นมลูกสลับกันไป เพื่อไม่ให้ลูกต้องอยู่ในท่าเดิม ๆ การจัดท่านอนที่เหมาะสมกับทารกนี้ สามารถช่วยป้องกันแก้ไขรูปทรงของศีรษะที่แบนได้
  • หมอนที่สื่อโฆษณาว่าดูแลจัดการเรื่องลูกหัวแบนได้ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ เพราะท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับทารกแรกเกิดนั้น คือท่านอนหงายโดยไม่ต้องมีหมอนหนุนเลยนะคะ และช่วงอายุที่แนะนำให้ใช้หมอนอยู่ที่ 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปีขึ้นไปค่ะ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

วิธีสังเกตว่าลูกหัวแบนหรือเปล่า

อาการหัวแบนในทางการแพทย์ สังเกตได้จาก

  • จุดที่แบนบนหัว ด้านหลังหรือด้านข้าง
  • มีขนบริเวณหนึ่งบนหัวที่น้อยลง เป็นสัญญาณเตือนถึงการกดแรง ๆ หรือทิ้งน้ำหนักบ่อยครั้งในจุดดังกล่าว
  • หูหรือหน้าผาก ด้านหนึ่งของหัวมีการเติบโตยื่นออกมาเล็กน้อยด้านหน้า

 

ลูกหัวแบน เป็นอันตรายไหม

ลูกน้อยที่มีหัวแบนอาจไม่เป็นอันตราย อาการนี้โดยมากมีผลแค่กับรูปร่างของหัวเด็กค่ะ

 

ลูกหัวแบน อันตรายไหม คุณแม่จะทำอย่างไรดี

 

ลูกหัวแบน เกิดจากการให้ลูกนอนท่าเดิมจริงไหม

  • นั่นเป็น ‘ความจริง’ การวางลูกน้อยในท่าเดียวกันทุกวัน เช่น นอนหงายหลังหรือหันหัวไปทางขวาหรือซ้าย จะทำให้เกิดแรงกดต่อส่วนเดียวกันของกะโหลกอยู่เรื่อย ๆ ลูกน้อยมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวแบน โดยในช่วงเริ่มแรกสี่เดือน ลูกน้อยยังไม่มีความสามารถในการพลิกตัวด้วยตัวเอง
  • อย่างไรก็ตาม ก็ยังแนะนำให้คุณแม่วางลูกน้อยนอนหงายหลังเสมอเพื่อลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตที่เกิดจากการขาดอาการหายใจ
  • อาจลองเปลี่ยนทิศทางการหันศีรษะของลูกในขณะที่ลูกนอนหลับ โดยการจัดท่าทางให้ศีรษะฝั่งที่ไม่แบนแนบกับหมอน แต่ไม่ควรให้ลูกนอนหลับในท่าคว่ำ เนื่องจากท่านอนคว่ำอาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงที่จะหายใจไม่ออก หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายได้

 

หัวแบน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

  • ท่านอนที่ไม่มีการจัดเปลี่ยน นอนท่าเดียวเป็นเวลานาน
  • ขนาดหัวของลูกน้อยขณะอยู่ในมดลูกมีขนาดใหญ่เลยโดนกล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว
  • ลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดหรือผ่าคลอด มีกระดูกกะโหลกที่บางและนุ่มกว่าเด็กแรกเกิดที่คลอดตามกำหนด ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดหัวแบนสูงกว่า
  • เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยทำคลอด ออกแรงกดที่ส่งผลถึงรูปหัวของลูกน้อยของคุณแม่
  • กล้ามเนื้อที่คอตึง อาจจะทำให้ยกคอลำบาก และนำไปสู่การหันด้านใดด้านหนึ่งอยู่เป็นปกติ ทำให้เกิดอาการหัวแบนได้

 

ไม่อยากให้ลูกน้อยหัวแบน ป้องกันไว้ก่อนได้ไหม

คุณแม่ไม่สามารถป้องกันการเกิดอาการหัวแบนจากทุกสาเหตุได้ แต่อย่างน้อยที่สุดคุณแม่สามารถจัดการกับท่านอนของลูกน้อยได้ เป็นวิธีป้องกันหัวแบนที่คุณแม่ทุกคนทำได้แน่นอนค่ะ

  • เปลี่ยนด้านที่วางหน้าของลูกน้อยแนบในแต่ละวัน ทำสลับกันซ้ายบ้างขวาบ้าง
  • หากไม่ได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ไม่ควรวางลูกน้อยในตอนหลับแบบคว่ำหน้า
  • ภายใน 2-3 วันหลังคลอดสามารถจับลูกน้อยนอนคว่ำหน้าตอนที่ลูกน้อยตื่นได้ โดยจับลูกนอนคว่ำหน้า 3-5 นาทีต่อครั้ง แล้วสลับมานอนหงาย สลับไปสลับมาเป็นเวลา 40-60 นาทีต่อวันค่ะ
  • เปลี่ยนท่าในการป้อนนมลูกจากที่ให้นอนบนแขนขวา ก็ให้สลับ ไปนอนบนแขนซ้ายแทนด้วยค่ะ

 

รวมเคล็ดลับและวิธีแก้ไข เมื่อลูกหัวแบน

ถ้าหัวแบนไปแล้วหรือดูทรงว่ากำลังจะมีลักษณะเช่นนั้น ก็ยังพึ่งพาการจัดท่าทางได้อยู่นะคะ แต่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

1. วิธีการปรับท่านอนของลูก

วางลูกน้อยให้หันศีรษะไปที่ด้านตรงข้ามของศีรษะที่แบนลง วางผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าพันรอบไหล่รองตัวลูกด้านหลังและสะโพก วางลูกน้อยเอียงทำมุม 45 องศาเพื่อให้มองไปที่ของเล่นหรือวัตถุที่น่าสนใจด้านตรงข้ามเตียงซึ่งวางไว้เพื่อดึงดูดความสนใจ อย่าวางผ้าใต้ศีรษะรองศีรษะทั้งหมดของลูกรัก เพราะอาจทำให้หายใจไม่ออกได้

 

2. วิธีการป้องกันการกดแรงที่ศีรษะของลูก

เมื่อป้อนอาหารตามวัย หรืออุ้มพาเคลื่อนที่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการกดแรงโดยไม่จำเป็นที่ด้านที่แบนของศีรษะ ปรับเปลี่ยนท่าและด้านที่ลูกน้อยมีการพิงตัวอยู่ตลอดค่ะ

 

ทารกหัวแบนแบบไหน ต้องพาไปพบแพทย์

อาการหัวแบนตามที่กล่าวไปแล้ว แม้อาจไม่มีอันตราย แต่ถ้าคุณแม่กังวล ก็ไม่เสียหายที่จะพาลูกน้อยไปปรึกษากับคุณหมอโดยเฉพาะถ้าอาการหัวแบนไม่คุ้นตาหรือกังวลจริง ๆ เพราะยังมีความผิดปกติที่เรียกว่า Craniosynostosis ที่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดที่จะทำให้เกิดอาการหัวแบนได้ แต่ว่าศีรษะเบี้ยว หรือสภาพหัวเบี้ยว อาจพบได้ ในเด็กทุก ๆ 2,000 ถึง 2,500 คน จะมีโอกาสที่เด็กเกิดมาพร้อมกับอาการนี้หนึ่งคนค่ะ

 

ลูกหัวแบน ควรใช้หมอนแบบไหน

  • ไม่มีหมอนที่ปลอดภัยจริง ๆ สำหรับลูกน้อย
  • อายุที่เหมาะสำหรับการใช้หมอนจริง ๆ คือเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี เมื่อลูกน้อยสามารถเคลื่อนที่ไปมา พลิกตัวเองได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใหญ่ช่วย
  • คุณหมอแนะนำว่าให้วางลูกน้อยบนฟูกที่มีความแข็งอยู่ตัวโดยไม่มีหมอน
  • ไม่มีหมอนที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่าสามารถดูแลอาการหัวแบนได้จริง ๆ
  • อาการหัวแบนเกิดขึ้นได้ และไม่มีความผิดปกติหลงเหลือให้เห็นในกรณีทั่วไปเมื่อโตขึ้น คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เมื่อลูกน้อยโตพอแล้ว ค่อยหาหมอนที่เหมาะสมให้ลูก เน้นที่ขนาดเล็กพอเหมาะและมีความแน่น นอนได้สบาย

 

คุณแม่มั่นใจได้เลยนะคะว่าอาการหัวแบนไม่เกินกว่ากำลังคุณแม่จะจัดการดูแลเบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยลงมือได้เลย เริ่มใส่ใจกับท่าทางของลูกน้อยระหว่างการนอนหลับ ส่งเสริมพัฒนาการความแข็งแรงของคอให้เจ้าตัวเล็ก ด้วยการปล่อยให้เขานอนคว่ำตัวลงตอนตื่นบ่อย ๆ แต่ถ้าสังเกตดูแล้วยังกังวลอยู่จริง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอ ยิ่งเริ่มเร็วในการดูแลจัดท่าทางการนอนให้ก็จะยิ่งดี และหลีกเลี่ยงการใช้หมอนที่โฆษณาเกินจริง ก็จะทำให้สบายใจในทุก ๆ วันที่ใช้เวลาด้วยกันกับลูกค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. An Overview of Flat Head Syndrome, Verywell Health
  2. Understanding Flat Head Syndrome (Plagiocephaly) in Babies, Healthline
  3. If Your Baby's Head Looks Flat, It Could Be A Treatable Condition Called Positional Plagiocephaly, ScienceDaily
  4. Is it safe to let a baby sleep with a pillow?, WebMD
  5. Do Not Use Infant Head Shaping Pillows to Prevent or Treat Any Medical, FDA
  6. ทำไมลูกหัวแบน ทำอย่างไรให้ลูกหัวสวย, pobpad
  7. กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ (CRANIOSYNOSTOSIS), pobpad
  8. ความหมาย โรคไหลตายในเด็ก, pobpad
  9. ท่าให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่, pobpad
  10. ควรเริ่มฝึกให้ ลูกนอนหนุนหมอน เมื่อไหร่ดี, hellokhunmor

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details 100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

100 ไอเดียตั้งชื่อเล่นลูกชายเท่ ๆ อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมไอเดียตั้งชื่อลูกชาย ตั้งชื่อเล่นลูก ชื่อเด็กชายเท่ ๆ ทันสมัย ไม่ซ้ำใคร เหมาะกับปีมังกรทอง คุณแม่ยุคใหม่คนไหนคิดชื่อลูกชายไม่ออก ตั้งตามได้เลย

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6- 7 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 6-7 เดือน พัฒนาสมองและการสื่อสาร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 6-7 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 6-7 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี
บทความ
เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารมื้อแรกของลูก 6 เดือน เริ่มยังไง กินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารสำหรับเด็กวัย 6 เดือน มื้อแรกของลูกต้องเริ่มยังไง สำหรับเด็กเริ่มเคี้ยว ลูกน้อยต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

View details 7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย
บทความ
7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

รวมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วขึ้นตามช่วงวัย คุณแม่มือใหม่ควรฝึกให้ลูกพูด พร้อมวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดได้เร็ว ลดความเสี่ยงลูกพูดช้ากว่าวัย

View details ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายไหม เมื่อลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ไปดูสาเหตุและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ทารก 3 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 3 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 3 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 11 เดือน และเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

10นาที อ่าน

View details สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
บทความ
สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด

ทารกสะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดสะดือทารกอย่างไร เมื่อสายสะดือทารกใกล้หลุด พร้อมวิธีทำความสะอาดสะดือทารกที่ถูกต้อง

7นาที อ่าน

View details วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
บทความ
วิธีห่อตัวทารก การห่อตัวทารกให้ลูกสบายตัว คล้ายอยู่ในท้องแม่

วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่

รวมวิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง สำหรับคุณแม่มือใหม่ ให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว หลับง่าย ลดการสะดุ้งตื่นเหมือนอยู่ในท้องแม่ จะมีวิธีห่อตัวทารกแบบไหนบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง
บทความ
เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง

เพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองลูก ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในท้อง

เปิดเพลงโมสาร์ทพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง ช่วยกระตุ้นพัฒนาสมองได้จริงไหม คุณแม่ควรเริ่มเปิดเพลงพัฒนาสมองให้ลูกฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่เท่าไหร่

9นาที อ่าน

View details รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์
บทความ
รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

รวมไอเดียทรงผมลูกชายดารา หล่อเท่ ไม่ตกเทรนด์

ไอเดียทรงผมลูกชายดารา ทรงผมลูกชายเท่ ๆ แบบไม่ตกเทรนด์ ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกทรงผมที่เหมาะกับลูกชายวัยกำลังโตมากที่สุด เสริมหล่อให้ลูกชายกันได้เลย

9นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก
บทความ
ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร ทารกมีผื่นสาก บอกอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ ทารกผื่นสาก เป็นอันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้
บทความ
เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

6นาที อ่าน

View details ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง
บทความ
ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

7นาที อ่าน

View details ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม
บทความ
ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสขึ้นที่มือ ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน อันตรายไหม

ตุ่มใสที่นิ้วลูก เกิดจากอะไร ลูกมีตุ่มใสที่มือคัน อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไร หากลูกมีตุ่มใส ๆ ที่มือ พร้อมวิธีบรรเทาตุ่ม ใสที่นิ้ว

6นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด
บทความ
ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ไข้สูงในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

5นาที อ่าน

View details เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก
บทความ
เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

5นาที อ่าน

View details กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน
บทความ
กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

6นาที อ่าน