ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

30.09.2024

พัฒนาการด้านการพูดของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ด้วยการส่งเสียงร้องไห้ จากนั้นเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 1 ขวบ ลูกจะเริ่มพูดคำง่าย ๆ ที่มีความหมายได้เป็นคำ ๆ เช่น แม่ หม่ำ มาม๊า ปาป๊า และเมื่อลูกอายุ 2 ขวบ จะพูดได้ 2-3 คำติดกัน แต่ถ้าลูกอายุ 2 ขวบแล้วยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้ ทั้งที่เข้าใจภาษาที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคนรอบตัวพูดสื่อสารด้วย นั่นแสดงว่าอาจมีปัญหา “ลูกพูดช้า”

headphones

PLAYING: ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ลูกพูดช้า (Delayed speech) หมายถึงภาวะที่มีพัฒนาการด้านการแสดงออกทางภาษาในการพูดสื่อสารล่าช้าไม่เป็นไปตามช่วงวัย
  • ลูกอายุ 2 ขวบ หากยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ หรือพูดได้แค่คำเดียว หรือพูดสื่อสารกับพ่อแม่ และคนรอบข้างไม่ได้ถือว่าผิดปกติ
  • ลูกพูดช้า อาจมีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม โรคออทิสติก ประสาทหูพิการ และการมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกพูดช้า (Delayed speech) คือภาวะที่มีพัฒนาการด้านการแสดงออกทางภาษาในการพูดสื่อสารล่าช้าไม่เป็นไปตามช่วงวัยของเด็ก ลูกพูดช้าเป็นเรื่องที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ในหลายครอบครัวที่กำลังเจอกับปัญหานี้กังวลใจกันอยู่ไม่น้อย และต้องการคำแนะนำในการแก้ไข บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ “ลูกพูดช้า ไม่ยอมพูด” รวมถึงวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ช่วยพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกน้อยพูดคุยได้อย่างสมพัฒนาการตามช่วงวัย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า มีอะไรบ้าง

ทำไมลูกพูดช้ากว่าเพื่อน เป็นคำถามที่พ่อแม่เป็นกังวลใจเมื่อพบว่าลูกน้อยของตนเองพัฒนาการทางด้านภาษาช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย  เช่น

  1. พันธุกรรม: ลูกพูดช้าเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม ที่มีคนในครอบครัว มีประวัติพูดช้า หรือออทิสติก
  2. โรคออทิสติก: ออทิสติกในเด็ก จากเกิดความบกพร่องด้านการสื่อสารสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่เข้าใจคำสั่ง ความรู้สึกไวหรือช้าจนเกินไป ส่งเสียงหรือพูดไม่เป็นภาษา มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ รวมถึงมีปัญหาต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว
  3. หูพิการ: เพราะมีความบกพร่องทางการได้ยิน เนื่องจากประสาทหูพิการ ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาและการพูดจากการได้ยินเสียง และอาจมีปัญหาทางด้านอารมณ์ด้วย เนื่องจากไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้
  4. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา: มีพัฒนาการด้านภาษาที่ล่าช้า เนื่องจากมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 และมีปัญหาด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

 

ลูกพูดช้าแค่ไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ

ลูกพูดช้า ให้สังเกตตอนที่ลูกเริ่มอายุเข้า 2 ขวบ หากยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ พูดได้แค่คำเดียว หรือสื่อสารกับพ่อแม่และคนรอบข้างไม่ได้ถือว่าผิดปกติ เพราะพัฒนาการด้านภาษาของลูกจะเริ่มต้นพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด ที่สื่อสารด้วยเสียงร้องไห้ เสียงอ้อแอ้ และมีพัฒนาการเรื่อยมาจนสามารถที่จะพูดเป็นคำพูดได้ตอนอายุประมาณ 1 ขวบ และจะเริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย 2 คำติดกันได้ตอนอายุประมาณ 2 ขวบ จากนั้นเมื่ออายุลูกได้ 3-4 ขวบ ก็จะสามารถพูดได้เป็นประโยคที่ยาวขึ้น หากสังเกตพบว่าลูกไม่สามารถสื่อสารได้ตามช่วงวัย แนะนำให้รีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการโดยเร็ว

 

ลูกไม่พูด ส่งผลกับพัฒนาการของลูกอย่างไร

ลูกไม่พูด อาจเพราะไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หากลูกไม่ได้เล่นตามช่วงวัยกับผู้อื่น จะทำให้ไม่รู้ว่าต้องมีปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสารกับเพื่อน หรือคนรอบข้างยังไง และยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทุกด้านของลูกที่อาจไม่เป็นตามช่วงวัย เด็กในช่วงอายุ 0-7 ขวบ พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน เพราะจะทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ที่จะสื่อสาร และตอบสนองได้

 

4 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ลูกพูดช้า มีอะไรบ้าง

ลูกพูดช้า นอกจากพันธุกรรม โรคออทิสติก หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้ลูกไม่พูด พูดช้า ก็อาจมาจากพฤติกรรมเหล่านี้ ที่ไม่ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้กับลูก จนอาจทำให้ลูกพูดช้าได้เช่นกัน

  1. เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ: ให้ลูกดูทีวี เล่นมือถือ เล่นแท็บเล็ต ทำให้เด็กติดโทรศัพท์และติดทีวีมากเกินไปและทำให้พัฒนาการด้านภาษาไม่พัฒนา เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว
  2. ไม่ได้ทำกิจกรรมตามวัย: ให้ลูกเล่นคนเดียว โดยที่พ่อแม่ไม่มีเวลาเล่นหรือทำกิจกรรมตามวัยกับลูกมากเท่าที่ควร ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษา เนื่องจากลูกไม่มีคลังคำศัพท์มากพอที่จะพูดสื่อสาร
  3. ตอบสนองลูกก่อน: พ่อแม่รู้ใจลูกมากทุกอย่าง มักจะทำอะไรให้ลูกก่อน ลูกจึงไม่ได้พูดสื่อสารถึงความต้องการของตัวเองว่าต้องการอะไร ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษา เนื่องจากลูกขาดโอกาสในการกระตุ้นทักษะทางภาษา
  4. พูดสื่อสารไม่เหมาะกับช่วงวัยลูก: พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง พูดสื่อสารกับลูกมีการใช้ประโยคที่ยากหรือยาว และพูดเร็วมาก ไม่เหมาะกับพัฒนาการของลูกที่จะเรียนรู้หรือเข้าใจได้

 

ลูกอยู่หน้าจอมากเกินไป ทำให้พูดช้าได้จริงไหม

ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่แนะนำให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง หยิบยื่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเล่นมือถือ แท็บเล็ต หรือดูทีวี เพราะจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านภาษา เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้ลูกขาดการพูดคุยสื่อสารกับพ่อแม่ จึงทำให้เกิดปัญหาลูกพูดช้าขึ้นได้

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด โดยไม่ต้องบังคับ

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด โดยไม่ต้องบังคับ

หากไม่อยากให้ลูกพูดช้า พ่อแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความรักและความใส่ใจเต็มที่ ไม่ปล่อยลูกเล่นหรืออยู่คนเดียว และควรกระตุ้นให้ลูกพูดโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ: ใช้คำถามสั้น ๆ เข้าใจง่าย เพื่อให้ลูกโต้ตอบ เมื่อได้คำตอบแล้ว ควรชื่นชมลูกเพื่อเสริมกำลังใจ
  • ทำกิจกรรมร่วมกัน: เช่น อ่านนิทานหรือเล่าเรื่อง ช่วยกระตุ้นการพูดและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน
     


สภาพแวดล้อมแบบไหนทำให้ลูกพูดช้า

ลูกพูดช้า ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ไม่ได้ให้การดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสม ปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง ไม่สนใจลูกจนขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ หรือให้ลูกเล่นหน้าจอมากเกินไป ไม่มีการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยให้กับเด็ก

 

บ้านที่มีลูกพูดช้าควรทำกิจกรรมอะไรบ้าง

หากลูกพูดช้า คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีขึ้นได้ ด้วยการทำกิจกรรมสนุก ๆ ที่ช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์ให้ลูก เพื่อใช้ในการพูดสื่อสาร ได้แก่

  • อ่านนิทานให้ลูกฟัง
  • ดูหนังสือภาพ สอนลูกพูดจากภาพที่เห็นว่าคืออะไร
  • เล่นบัตรคำกับลูก ให้ลูกได้จดจำ
  • สร้างจินตนาการ ด้วยการเล่นบทบาทสมมติกับลูก
  • ชวนลูกร้องเพลงด้วยกัน

 

เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการการพูดที่แตกต่างกัน เด็กวัยเดียวกันบางคนพูดแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่พูด หรือพูดได้น้อย ดังนั้น การสังเกตพัฒนาการลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และการเอาใจใส่ ไม่ปล่อยปละละเลยลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งหากพบว่าลูกมีความผิดปกติในการพูดสื่อสารตามวัย ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และแนวทางในการรักษากระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับลูกน้อย

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท เช่น DHA ARA แอลฟา-แล็คตัลบูมิน โคลีน ไอโอดีน เหล็ก วิตามินบีต่างๆ รวมไปถึง สฟิงโกไมอีลิน ที่มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน ซึ่งเป็นฉนวนหุ้มเส้นใยประสาท ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นรากฐานสำคัญสำหรับพัฒนาการด้านการพูด การสื่อสาร และการเรียนรู้ในอนาคต
 


บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ทำไงดี? ลูกพูดช้า...ไม่ยอมพูด, โรงพยาบาลพญาไท
  2. เด็กพูดช้า...แค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ, โรงพยาบาลพญาไท
  3. พ่อแม่รับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดช้า, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  4. รู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกพูดช้า, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  5. เมื่อลูกพูดช้า...., โรงพยาบาลสินแพทย์
  6. เมื่อลูกพูดช้า หรือไม่ยอมพูด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรดี?, โรงพยาบาลพญาไท
  7. ปัญหาเด็กพูดช้า เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพัฒนาการของสมอง, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกพูดไม่ชัดเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกพูดไม่ชัด พร้อมวิธีรับมือปัญหา อาการลูกพูดติดอ่าง

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

วัยทอง 1 ขวบ คืออะไร ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการวัยทอง 1 ขวบ เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรีบมือ

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยอันตรายกับเด็กไหม เด็กก้าวร้าวกับพ่อแม่ เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอารมณ์ร้าย

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก