คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานไหม

21.08.2024

การดูแลทารกหลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องเอาใจใส่ แต่การดูแลร่างกายของตนเองหลังคลอดนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกของหนัก ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หลังผ่าคลอดคุณแม่จะดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร มาอ่านข้อมูลเพื่อการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีกัน

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานไหม

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การดูแลแผลผ่าคลอด ปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แผลสมานตัวได้เร็ว การละเลยไม่ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี หรือยกของมีน้ำหนักมากเกินไป อาจส่งผลให้แผลหายช้า แผลปริ ทำให้การฟื้นตัวช้า
  • หลังผ่าคลอดการยกของหนัก การออกแรงหรือเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากเกินไป จะทำให้เจ็บแผลผ่าคลอด ทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบ หรือฉีกขาดได้
  • หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรฟื้นฟูร่างกายหลังการคลอด เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ คุณแม่ปรับพฤติกรรม ระวังในการปรับเปลี่ยนท่าต่าง ๆ การยกของหนัก ไม่ดูแลตัวเอง จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดช้า
  • หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี หากแผลผ่าคลอดบวมแดง อักเสบ มีกลิ่นเหม็น เป็นหนอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

หลังจากคุณแม่ผ่าตัดคลอดมาในช่วง 3 เดือนแรก ควรงดออกแรงเยอะ ไม่ยกของหนักหรือเกร็งกล้ามเนื้อท้อง การออกแรงหรือเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องจะทำให้เจ็บแผล แผลผ่าคลอดอักเสบ หรือฉีกขาดได้

 

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่กิโลหลังผ่าคลอด

คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน และยกของหนักได้กี่กิโลกรัม แม้ว่าแพทย์ไม่ได้แจ้งน้ำหนักที่แน่ชัดว่า หลังจากการผ่าคลอดการห้ามยกของหนักนั้น สิ่งของที่ห้ามยกจะหนักกี่กิโลกรัม แต่คุณแม่ควรระมัดระวังในการยกของนั้น ๆ ว่าไม่ควรต้องใช้แรงเยอะ หรือ ยกสิ่งของใดที่มีน้ำหนัก ที่หนักกว่าน้ำหนักของลูกน้อย โดยไม่ควรยกของหนักในช่วง 3 เดือนแรก

 

คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักทันที มีผลกระทบอะไรบ้าง

1. มดลูกและแผลผ่าคลอดฉีกขาด

หลังผ่าคลอดนั้นคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บมดลูกเนื่องจากมดลูกกำลังหดตัว การดูแลแผลผ่าคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บรรเทาความเจ็บปวด และทำให้แผลสมานตัวได้เร็ว การละเลยไม่ดูแลแผลผ่าคลอดให้ดี เกิดแรงกดทับที่ท้องมากเกินไป เริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป ยกของมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้แผลปริ ส่งผลให้การฟื้นตัวของแผลผ่าคลอดหายช้า

 

2. เลือดไหลออกตรงบริเวณแผลผ่าคลอด

เนื่องจากเกิดแรงดันหรือแรงกดทับที่บริเวณแผลตรงหน้าท้องมากเกินไป ทำให้แผลเปิดได้ ฉะนั้นคุณแม่ควรพักผ่อน พักฟื้นดูแลตัวเองให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแผลปริได้

 

3. เสี่ยงต่อการปวดหลัง

การที่คุณแม่มือใหม่ตั้งครรภ์และต้องอุ้มน้ำหนักของทารกน้อยไว้ในขณะตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลัง คุณแม่ควรฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดคลอด ดูแลตัวเองหลังคลอดเพื่อสร้างความยืดหยุ่น สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ คุณแม่ควรปรับพฤติกรรม ระมัดระวังการขยับร่างกาย อิริยาบถต่าง ๆ การอุ้มลูกผิดท่า ยกของหนัก ไม่ดูแลตัวเอง จะยิ่งทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดช้า และทำให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น จนทำให้ข้อกระดูกเสื่อม หรือโครงสร้างกระดูกผิดปกติ

 

คุณแม่ผ่าคลอดต้องพักฟื้นนานแค่ไหน ถึงกลับมายกของได้

ในช่วงแรกหลังจากการผ่าตัดคลอด คุณแม่ควรระมัดระวังอย่ายกของหนัก แม้จะต้องอุ้มลูกน้อย หรือทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง แต่ก็ไม่ควรออกแรงมาก หรือเกร็งหน้าท้องมาก และไม่ควรยกของหนักในช่วง 3 เดือนแรก ควรที่จะพักฟื้นเพื่อให้ร่างกายนั้นได้ปรับตัว และสร้างคอลลาเจนให้หนาขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้บาดแผลผ่าคลอดนั้นเกิดแผลนูน หรือฉีกขาด

 

แผลผ่าคลอดปริจากการยกของหนัก คุณแม่ควรทำยังไง

 

แผลผ่าคลอดปริจากการยกของหนัก คุณแม่ควรทำยังไง

  1. เข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินอย่างละเอียดว่า มีภาวะรุนแรงขั้นไหน ควรได้รับการรักษา ทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  2. ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  3. ลุกนั่งให้ระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
  4. ล้างแผลให้สะอาดเป็นประจำ จนกว่าแผลจะแห้งสนิท
  5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำหลังผ่าคลอด งดการยกสิ่งของที่หนักจะทำให้เกิดแรงกด แรงดัน เช่น การออกกำลังกายหนัก ๆ ยืน เดินเป็นเวลานานเกินไป
  6. หลังเกิดแผลปริแตก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนบริเวณแผลที่จะอักเสบ หรือติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 6 สัปดาห์

 

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ป้องกันแผลผ่าคลอดอักเสบ

  1. อย่าให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจทำให้แผลอักเสบ ติดเชื้อ และหายช้าได้
  2. รักษาความสะอาดดูแลให้แผลแห้งเสมอ ไม่แกะ ไม่เกาแผล
  3. ห้ามยกของหนักหรือออกแรงเยอะ เพื่อลดการออกแรง เนื่องจากแรงยึดจะทำให้แผลตึงหรือแผลปริได้
  4. คุณแม่ควรขยับตัวบ้างเพื่อป้องกันพังผืด แม้ว่าหลังผ่าคลอดจะทำให้ปวดแผลบ้าง แต่การเริ่มขยับตัวตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้แผลไม่เกิดพังผืดยึดเกาะ และจะทำให้แผลฟื้นตัวได้เร็ว
  5. ใส่ผ้ารัดพยุงท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลที่ผ่าตัดคลอดถูกรั้งจากผนังหน้าท้องที่หย่อน การใส่ผ้ารัดพยุงท้องหลังผ่าคลอดจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลผ่าตัด
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารหลังผ่าคลอดที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่
  7. ขยับตัว เดิน ยืน ลุก นั่ง อย่างช้า ๆ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดตึงเกินไป
  8. ตรวจแผล ล้างแผล ดูแลแผลผ่าคลอดตามที่แพทย์นัด หากแผลผ่าคลอดบวมแดง อักเสบ มีกลิ่นเหม็น เป็นหนอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

คุณแม่ที่คลอดลูกแล้ว หรือวางแผนว่าจะผ่าตัดคลอด อาจมีความกังวลใจในการผ่าตัดคลอดและกังวลว่าผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือนและผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมทำความเข้าใจ และดูแลแผลหลังผ่าตัดคลอดให้ถูกวิธี ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์ได้แนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดนั้นติดเชื้อ และควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองให้ดี หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับแผลผ่าคลอด ไม่ควรชะล่าใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต
  2. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  3. การดูแลตัวเองหลังคลอด (Postpartum Self-Care), โรงพยาบาลMedpark
  4. แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, HelloKhunmor
  5. แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, pobpad
  6. การดูแลหลังผ่าคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. “ปวดหลังหลังคลอด” สัญญาณร้าย...ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม!, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก