ภาวะตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร อาการลูกตัวเหลือง ที่แม่ควรรู้

23.04.2024

ภาวะตัวเหลืองในทารกสามารถพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยทารกที่คลอดครบกำหนดมีโอกาสตัวเหลือง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสตัวเหลืองถึง 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอาการตัวเหลืองมีทั้งแบบหายได้เอง และต้องได้รับการรักษา คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จัก ภาวะตัวเหลืองในทารก สาเหตุ รวมถึงวิธีสังเกตและดูแลลูกเมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว

headphones

PLAYING: ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร อาการลูกตัวเหลือง ที่แม่ควรรู้

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ภาวะตัวเหลืองในทารก มักเกิดกับทารกหลังคลอด เนื่องจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิดสารเหลืองที่เรียกว่า บิลลิรูบิน โดยจะตัวเหลืองประมาณ 3-5 วัน แล้วจะค่อย ๆ หายไปเอง
  • ลูกตัวเหลืองจะเริ่มที่ใบหน้าก่อน แล้วไล่มาที่ลำตัว ท้อง แขน ขา หากพบว่าลูกน้อยตัวเหลืองถึงบริเวณท้อง หรือคุณแม่สังเกตเห็นลูกเหลืองขึ้นมาก หรือเร็วมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • ควรให้ลูกดื่มนมแม่บ่อยที่สุด ประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน เพื่อขับสารเหลืองออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำ และไม่ควรพาลูกไปตากแดด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ค่าตัวเหลืองในทารก เป็นค่าที่ใช้วัดภาวะตัวเหลืองในทารกหลังคลอด เนื่องจากทารกหลังคลอดจะมีเม็ดเลือดแดงสูง และเม็ดเลือดแดงนี้ก็มีโอกาสแตกตัวสูงตามไปด้วย เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกจะเกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน ที่ทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองอยู่ประมาณ 3-5 วันหลังคลอด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วไล่ลงมาที่ลำตัว แล้วจึงเหลืองที่แขน ขา ตามลำดับ หากลูกตัวเหลืองมาก ควรให้แพทย์ตรวจหาค่าตัวเหลืองในทารก หรือค่าบิลิรูบิน เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง

ภาวะตัวเหลืองในทารก เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย เพื่อจะได้เตรียมรับมือได้ทัน

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ

เด็กแต่ละคนมีโอกาสตัวเหลืองมากน้อยต่างกัน ภาวะตัวเหลืองปกติเกิดเนื่องจากตับของทารกยังไม่สมบูรณ์ จึงยังกำจัดสารบิลิรูบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้สารบิลิรูบินสะสมอยู่ในร่างกาย แต่หากทารกไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ภาวะตัวเหลืองจะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 7-10 วันค่ะ

 

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  1. เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน มักพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ปโอ และลูกมีเลือดกรุ๊ปเอหรือบี หรือคุณแม่มีเลือดกรุ๊ป Rh Negative แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ป Rh Positive
  2. เป็นโรคเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคขาดเอนไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ
  3. ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน ทำให้ทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติและมีโอกาสตัวเหลืองสูงขึ้น
  4. ทารกที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอด มีโอกาสเม็ดเลือดแดงแตกตัวสูงขึ้น
  5. ทารกได้รับนมไม่เพียงพอ เกิดจากท่าอุ้มให้นมที่ไม่ถูกต้อง หรือทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้น้อย
  6. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ตับอักเสบ ท่อน้ำดีตีบ ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ติดเชื้อในกระแสเลือด ลำไส้อุดตัน เป็นต้น

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก ถ้าไม่รีบรักษา จะเกิดอะไรขึ้น

หากลูกตัวเหลืองมาก ค่าตัวเหลืองในทารกสูงกว่า 20 หากไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์สารเหลืองจะซึมเข้าสู่สมอง ทำให้สมองผิดปกติ ทารกจะมีอาการซึม ตัวอ่อน ดูดนมไม่ดี และอาการจะรุนแรงขึ้น กระสับกระส่าย ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็ง คอแอ่น หลังแอ่น ไม่ดูดนม สมองพิการ ชัก หยุดหายใจ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก รักษาวิธีไหนได้บ้าง

 

วิธีดูแลทารกตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ทำได้ไม่ยาก

เมื่อลูกมีอาการตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อย ดังนี้

  • คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่อย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอในการขับสารเหลืองออกจากร่างกาย
  • หากลูกน้อยน้ำหนักลดมากควรปรึกษาแพทย์
  • ห้ามให้ลูกดื่มน้ำเปล่าเพื่อขับสารเหลือง เนื่องจากการให้ทารกดื่มน้ำเปล่า เป็นความเชื่อที่ผิดและทำให้ภาวะตัวเหลืองรุนแรงขึ้น
  • ไม่ควรพาลูกไปตากแดด เนื่องจากไม่ช่วยให้ภาวะตัวเหลืองดีขึ้น
  • หากลูกมีอาการซึมลง ไม่ดูดนม และตัวเหลืองมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากสารเหลืองอาจซึมเข้าไปทำลายสมองลูก
  • ไม่ซื้อยาให้ลูกรับประทานเอง
  • พาลูกไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หรือหากลูกตัวเหลืองผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์

 

วิธีสังเกตภาวะตัวเหลืองของลูก เมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว

เมื่อลูกน้อยกลับไปอยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะตัวเหลืองของลูกได้เอง โดยอยู่ในห้องมีแสงส่องสว่างเพียงพอ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวลูกในส่วนต่าง ๆ จากนั้นแยกนิ้วออกจากกันแล้วสังเกตสี หากสีผิวปกติ จะเห็นเป็นสีขาว หากลูกตัวเหลืองจะเห็นเป็นสีเหลือง โดยเฉพาะถ้าตัวเหลืองไล่ลงมาจนถึงท้องควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ นอกจากนี้ หากลูกตัวเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่วมกับมีอาการซึม ไม่ดูดนม ตัวอ่อน หลังแอ่น คอแอ่น ชัก ร้องกวน อุจจาระมีสีซีด ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที

 

คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่า ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และเป็นอันตรายต่อสมองถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตลูกน้อย หากลูกตัวเหลืองมากควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะตัวเหลืองในทารก และให้การรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พ่อแม่มือใหม่ควรรู้, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. ลูกคลอดออกมา “ตัวเหลือง”นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ, โรงพยาบาลเปาโล
  3. เมื่อลูกรักตัวเหลือง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 27 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับลูกน้อย สูตรทำสไลม์แบบง่าย ๆ และปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายกับผิวลูก จะมีวิธีทำยังไงบ้าง ไปดูกัน

เด็กตั้งไข่กี่เดือน ฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหน ลูกตั้งไข่แล้วล้มผิดปกติไหม

เด็กตั้งไข่กี่เดือน ฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหน ลูกตั้งไข่แล้วล้มผิดปกติไหม

เด็กตั้งไข่กี่เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหน หากลูกน้อยฝึกตั้งไข่แล้วล้มแบบนี้ปกติไหม พร้อมวิธีฝึกลูกตั้งไข่ ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นแพ้ผ้าอ้อม

ลูกน้อยเป็นผื่นผ้าอ้อมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นแพ้ผ้าอ้อม

ลูกน้อยมีอาการผื่นผ้าอ้อมทำยังไงดี ปัญหาผื่นแพ้ที่มักเกิดขึ้นกับทารก อาการผื่นแพ้ผ้าอ้อมหายเองได้ไหม ดูแลอย่างไร พร้อมวิธีการป้องกันผื่นผ้าอ้อมลูกน้อย

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรับมือ  เบื้องต้นเมื่อลูกหัวโน

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรับมือ เบื้องต้นเมื่อลูกหัวโน

ลูกหัวโน ลูกหกล้มจนหัวปูด อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการหัวโนของลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกหกล้มหัวโน อาการแบบไหนที่ควรรีบพาลูกไปหาหมอ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก