ภาวะตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร อาการลูกตัวเหลือง ที่แม่ควรรู้

23.04.2024

ภาวะตัวเหลืองในทารกสามารถพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยทารกที่คลอดครบกำหนดมีโอกาสตัวเหลือง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสตัวเหลืองถึง 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอาการตัวเหลืองมีทั้งแบบหายได้เอง และต้องได้รับการรักษา คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จัก ภาวะตัวเหลืองในทารก สาเหตุ รวมถึงวิธีสังเกตและดูแลลูกเมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว

headphones

PLAYING: ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร อาการลูกตัวเหลือง ที่แม่ควรรู้

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ภาวะตัวเหลืองในทารก มักเกิดกับทารกหลังคลอด เนื่องจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิดสารเหลืองที่เรียกว่า บิลลิรูบิน โดยจะตัวเหลืองประมาณ 3-5 วัน แล้วจะค่อย ๆ หายไปเอง
  • ลูกตัวเหลืองจะเริ่มที่ใบหน้าก่อน แล้วไล่มาที่ลำตัว ท้อง แขน ขา หากพบว่าลูกน้อยตัวเหลืองถึงบริเวณท้อง หรือคุณแม่สังเกตเห็นลูกเหลืองขึ้นมาก หรือเร็วมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • ควรให้ลูกดื่มนมแม่บ่อยที่สุด ประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน เพื่อขับสารเหลืองออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำ และไม่ควรพาลูกไปตากแดด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ค่าตัวเหลืองในทารก เป็นค่าที่ใช้วัดภาวะตัวเหลืองในทารกหลังคลอด เนื่องจากทารกหลังคลอดจะมีเม็ดเลือดแดงสูง และเม็ดเลือดแดงนี้ก็มีโอกาสแตกตัวสูงตามไปด้วย เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกจะเกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน ที่ทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองอยู่ประมาณ 3-5 วันหลังคลอด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วไล่ลงมาที่ลำตัว แล้วจึงเหลืองที่แขน ขา ตามลำดับ หากลูกตัวเหลืองมาก ควรให้แพทย์ตรวจหาค่าตัวเหลืองในทารก หรือค่าบิลิรูบิน เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง

ภาวะตัวเหลืองในทารก เกิดได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย เพื่อจะได้เตรียมรับมือได้ทัน

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ

เด็กแต่ละคนมีโอกาสตัวเหลืองมากน้อยต่างกัน ภาวะตัวเหลืองปกติเกิดเนื่องจากตับของทารกยังไม่สมบูรณ์ จึงยังกำจัดสารบิลิรูบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้สารบิลิรูบินสะสมอยู่ในร่างกาย แต่หากทารกไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ภาวะตัวเหลืองจะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 7-10 วันค่ะ

 

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  1. เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน มักพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ปโอ และลูกมีเลือดกรุ๊ปเอหรือบี หรือคุณแม่มีเลือดกรุ๊ป Rh Negative แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ป Rh Positive
  2. เป็นโรคเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคขาดเอนไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ
  3. ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน ทำให้ทารกมีจำนวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติและมีโอกาสตัวเหลืองสูงขึ้น
  4. ทารกที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอด มีโอกาสเม็ดเลือดแดงแตกตัวสูงขึ้น
  5. ทารกได้รับนมไม่เพียงพอ เกิดจากท่าอุ้มให้นมที่ไม่ถูกต้อง หรือทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้น้อย
  6. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ตับอักเสบ ท่อน้ำดีตีบ ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ติดเชื้อในกระแสเลือด ลำไส้อุดตัน เป็นต้น

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก ถ้าไม่รีบรักษา จะเกิดอะไรขึ้น

หากลูกตัวเหลืองมาก ค่าตัวเหลืองในทารกสูงกว่า 20 หากไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์สารเหลืองจะซึมเข้าสู่สมอง ทำให้สมองผิดปกติ ทารกจะมีอาการซึม ตัวอ่อน ดูดนมไม่ดี และอาการจะรุนแรงขึ้น กระสับกระส่าย ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็ง คอแอ่น หลังแอ่น ไม่ดูดนม สมองพิการ ชัก หยุดหายใจ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ภาวะตัวเหลืองในทารก รักษาวิธีไหนได้บ้าง

 

วิธีดูแลทารกตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ทำได้ไม่ยาก

เมื่อลูกมีอาการตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อย ดังนี้

  • คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่อย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอในการขับสารเหลืองออกจากร่างกาย
  • หากลูกน้อยน้ำหนักลดมากควรปรึกษาแพทย์
  • ห้ามให้ลูกดื่มน้ำเปล่าเพื่อขับสารเหลือง เนื่องจากการให้ทารกดื่มน้ำเปล่า เป็นความเชื่อที่ผิดและทำให้ภาวะตัวเหลืองรุนแรงขึ้น
  • ไม่ควรพาลูกไปตากแดด เนื่องจากไม่ช่วยให้ภาวะตัวเหลืองดีขึ้น
  • หากลูกมีอาการซึมลง ไม่ดูดนม และตัวเหลืองมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากสารเหลืองอาจซึมเข้าไปทำลายสมองลูก
  • ไม่ซื้อยาให้ลูกรับประทานเอง
  • พาลูกไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หรือหากลูกตัวเหลืองผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์

 

วิธีสังเกตภาวะตัวเหลืองของลูก เมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว

เมื่อลูกน้อยกลับไปอยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะตัวเหลืองของลูกได้เอง โดยอยู่ในห้องมีแสงส่องสว่างเพียงพอ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวลูกในส่วนต่าง ๆ จากนั้นแยกนิ้วออกจากกันแล้วสังเกตสี หากสีผิวปกติ จะเห็นเป็นสีขาว หากลูกตัวเหลืองจะเห็นเป็นสีเหลือง โดยเฉพาะถ้าตัวเหลืองไล่ลงมาจนถึงท้องควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ นอกจากนี้ หากลูกตัวเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่วมกับมีอาการซึม ไม่ดูดนม ตัวอ่อน หลังแอ่น คอแอ่น ชัก ร้องกวน อุจจาระมีสีซีด ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที

 

คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่า ลูกตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และเป็นอันตรายต่อสมองถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตลูกน้อย หากลูกตัวเหลืองมากควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะตัวเหลืองในทารก และให้การรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พ่อแม่มือใหม่ควรรู้, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. ลูกคลอดออกมา “ตัวเหลือง”นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ, โรงพยาบาลเปาโล
  3. เมื่อลูกรักตัวเหลือง, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 27 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก