เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

11.09.2024

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและร่างกายของเด็กทารก ส่วนใหญ่เริ่มเรียนรู้ที่จะคลานได้นั้น จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากการที่ลูกน้อยเริ่มมีการใช้มือและเข่าพยุงตัวขึ้นเพื่อช่วยในการทรงตัวและเริ่มคลานไปหาพ่อแม่ หรือของเล่นที่ลูกน้อยสนใจได้

headphones

PLAYING: เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • การคลานเป็นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและร่างกายของเด็กทารก และจะเริ่มเรียนรู้ที่จะคลาน จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 12 เดือน
  • เด็กเริ่มคลานกี่เดือน เด็กทารกจะเริ่มคลานตอนประมาณ 8 เดือน
  • การคลานของเด็กทารกมีท่าในการคลานประมาณ 6 แบบ ได้แก่ ท่าคลานแบบปกติ ท่าคลานแบบหมี ท่าคลานแบบปู ท่าคลานด้วยท้อง ท่าคลานด้วยก้น และ ท่าคลานแบบกลิ้ง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การคลาน คือโอกาสแรกของลูกน้อยที่จะได้เคลื่อนที่ด้วยตัวเอง การคลานเป็นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและร่างกายของเด็กทารก เป็นหนึ่งในพัฒนาการสำคัญของลูกน้อย เด็กทารกจะประสานการเคลื่อนไหวของแขนและขา เพื่อเสริมสร้างพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณแขน ไหล่ และขา การคลานทำให้ลูกน้อยได้สำรวจโลกใบใหม่รอบตัว เด็กเริ่มคลานกี่เดือน คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตสัญญาณของการคลานได้อย่างไร พบคำตอบได้ในบทความนี้

 

เด็กควรเริ่มคลานเมื่อไหร่ เด็กเริ่มคลานกี่เดือน

การคลานเป็นหนึ่งในพัฒนาการสำคัญที่แสดงถึงการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของทารก โดยทั่วไปแล้ว เด็กทารกจะเริ่มคลานได้เมื่ออายุประมาณ 8 เดือน และจะมีความคล่องตัวมากขึ้นเมื่ออายุ 9 เดือนขึ้นไป พัฒนาการนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัว รวมถึงช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการสำรวจสิ่งรอบตัวของเด็กด้วย

 

ลำดับพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย

ปีแรกของชีวิตลูกน้อยเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่รวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นความก้าวหน้าของลูกในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่พัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึง 1 ปี มาดูกันว่ามีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างในแต่ละช่วง

1. แรกเกิด – 2 เดือน

ในช่วงแรกของชีวิต ลูกน้อยเริ่มทำความรู้จักกับโลกใบใหม่ผ่านการมองและฟัง คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการลูกน้อยได้ ดังนี้

  • มองหน้า สบตา: ลูกน้อยจะเริ่มมองหน้าคนใกล้ชิดและสบตา เป็นการเริ่มต้นของการสร้างความผูกพัน
  • ส่งเสียงอ้อแอ้: ลูกเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ เป็นสัญญาณของการสื่อสารเบื้องต้น
  • เริ่มชันคอ: เมื่อลูกอยู่ในท่าคว่ำ จะพยายามชันคอขึ้นมาเล็กน้อย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อคอและหลัง

 

2. 3 เดือน – 5 เดือน

พัฒนาการของลูกน้อยช่วงนี้เริ่มมีการตอบสนองกับคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น และเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีขึ้น

  • ส่งเสียงโต้ตอบกับพ่อแม่: ลูกจะเริ่มส่งเสียงตอบสนองเมื่อพ่อแม่พูดคุยด้วย เป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสาร
  • เริ่มไขว่คว้าสิ่งของ: ลูกจะเริ่มใช้มือจับและคว้าสิ่งของรอบตัว เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือและประสาทสัมผัส
  • เริ่มคืบ และพลิกตัว: ลูกจะเริ่มคืบไปข้างหน้า พลิกคว่ำและพลิกหงาย เป็นขั้นตอนแรกของการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนขึ้น

 

3. 6 เดือน – 8 เดือน

พัฒนาการของลูกน้อยในช่วงนี้หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอย่างใกล้ชิด จะพบว่าลูกน้อยเริ่มมีความคล่องตัวมากขึ้น และเริ่มเข้าใจสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น

  • หันหาเสียงเรียกชื่อ: เมื่อลูกได้ยินเสียงเรียกชื่อ จะหันไปหา เป็นการแสดงถึงการจดจำและการตอบสนองต่อเสียง
  • เริ่มนั่งทรงตัว: ลูกน้อยจะเริ่มนั่งได้เองโดยไม่ต้องพยุง เป็นการพัฒนาความสมดุลและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
  • ตามองตามสิ่งของ: ลูกจะเริ่มมองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ เป็นการพัฒนาทักษะการมองเห็นและการติดตามวัตถุ

 

4. 9 เดือน – 12 เดือน

ในช่วงท้ายของปีแรก ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวและสื่อสารได้มากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตดูพัฒนาการลูกน้อยอย่างใกล้ชิดก็จะพบว่า

  • คลาน: ลูกจะเริ่มคลานไปมารอบบ้าน เป็นการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  • เกาะยืน เกาะเดิน: ลูกจะพยายามยืนและเดินโดยเกาะยึดสิ่งของ เป็นการเตรียมตัวสำหรับการเดินได้เองในอนาคต
  • ตั้งไข่: ลูกน้อยจะเริ่มพยายามตั้งไข่หรือยืนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพยุง เป็นสัญญาณของการพัฒนากล้ามเนื้อขา
  • พูดคำเดี่ยวๆ: ลูกจะเริ่มพูดคำง่ายๆ เช่น "หม่ำ" หรือ "จ๊ะ" เป็นการเริ่มต้นของการใช้ภาษา
  • ก้าวเดิน: ลูกจะเริ่มก้าวเดินด้วยตัวเอง เป็นก้าวแรกของการเดินอย่างมั่นคงในอนาคต

 

แต่ละขั้นตอนเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา ทั้งทางร่างกายและการเรียนรู้ของลูกน้อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนเพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างสมบูรณ์

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมคลาน

เด็กจะเริ่มคลานตอนเด็กอายุ 8 เดือน เวลาที่ลูกเล่นอยู่บนพื้นให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตสัญญาณต่อไปนี้ที่บอกว่าลูกน้อยกำลังจะเริ่มคลาน

  • ลูกสามารถพลิกตัวจากคว่ำไปหงายและหงายไปคว่ำได้
  • ลูกสามารถดันตัวขึ้นนั่งจากท่าคว่ำได้เอง
  • ลูกจะพยายามดันตัวขึ้นโดยใช้มือกับเข่าเพื่อการทรงตัวแล้วโยกไปมา

 

ทารกคลานกี่เดือน สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมคลาน

 

ท่าคลานแบบต่าง ๆ ของลูกน้อย

การคลานของเด็กทารกเป็นการคลื่อนไหวร่างกายจากจุดที่อยู่เพื่อไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเด็กทารกจะมีท่าคลานหลายแบบ ได้แก่

1. คลานแบบปกติ

เป็นท่าคลานที่ลูกจะใช้มือและเข่าในการคลาน โดยที่ท้องจะลอยอยู่เหนือพื้น

 

2. คลานแบบหมี

การคลานแบบหมีคล้ายกับการคลานแบบปกติ โดยใช้มือและเข่าในการเคลื่อนไหว แต่ต่างกันตรงที่เข่าและศอกจะยกขึ้นจากพื้น และแขนขาเหยียดตรง

 

3. คลานแบบปู

เป็นการคลานในท่านั่ง โดยใช้มือและเท้าในการเคลื่อนไหวไปด้านข้างหรือถอยหลัง

 

4. คลานด้วยท้อง

เป็นท่าคลานที่คล้ายกับท่าหมอบคลานของทหาร ท้องของลูกจะราบไปกับพื้นและใช้แขนดันตัวไปข้างหน้า

 

5. คลานด้วยก้น

เป็นการคลานด้วยท่านั่ง ลูกจะเคลื่อนตัวจากด้านล่าง โดยจะใช้ขาและเท้าเพื่อดันตัวไปข้างหน้า ลูกอาจจะกางแขนออกเพื่อช่วยในการทรงตัว

 

6. คลานแบบกลิ้ง

เป็นการคลานแบบกลิ้งไป ลูกจะเคลื่อนย้ายร่างกายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยการพลิกตัวกลิ้งไป

 

ลูกไม่คลาน แต่เดินเลยได้ไหม

เด็กทารกบางคนอาจข้ามพัฒนาการการคลานไปและเริ่มเดินทันที โดยดึงตัวขึ้นมายืนและเดินไปมาด้วยการเกาะเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของรอบตัวที่สามารถจับยึดเพื่อช่วยในการทรงตัวและการเดิน แม้จะไม่ได้คลาน แต่ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่ปกติในเด็กบางคน

 

เด็กคลานกี่เดือน ถึงเรียกว่าพัฒนาการช้า

คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าเด็กเริ่มคลานกี่เดือน โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มคลานได้เมื่ออายุประมาณ 8 เดือน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยอายุครบ 1 ปีแล้วยังไม่เริ่มคลาน ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอย่างเหมาะสม

 

สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้ลูกไม่ยอมคลานสักที

หากลูกน้อยอายุ 9-11 เดือนแล้วยังไม่ยอมคลาน อาจมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ เช่น การปล่อยให้ลูกอยู่ในรถเข็น เปล หรือเบาะนั่งแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนนานเกินไป ทำให้ลูกไม่มีโอกาสได้เล่นหรือเคลื่อนไหวบนพื้น ส่งผลให้พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้า เด็กจึงไม่สามารถคลานได้ตามวัยที่ควรจะเป็น

 

กิจกรรมช่วยลูกฝึกคลานในบ้านอย่างปลอดภัย

ก่อนจะฝึกลูกคลานเพื่อให้มีพื้นที่ในการฝึกคลานที่ปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรต้องเคลียร์พื้นที่ในบ้าน ห้องนั่งเล่นและห้องนอนของลูก เอาสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายออกไป ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่จะให้ลูกฝึกคลานนั้นปลอดภัยจริง ๆ จากนั้นลองฝึกลูกคลานด้วยกิจกรรมสนุก ๆ เพื่อกระตุ้นลูกในการคลานให้สามารถคลานได้เร็วขึ้น ได้แก่

1. ทำ Tummy Time

การทำ Tummy Time คือการให้ลูกนอนคว่ำแล้วขยับตัวบนท้อง ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อช่วงคอ ไหล่ แขน และลำตัวของลูกแข็งแรง การทำ Tummy Time ก็เพื่อช่วยพัฒนาการเริ่มคลาน

 

2. จูงใจลูกด้วยของเล่น

วางของเล่นชิ้นโปรดให้ห่างจากมือลูก เป็นการกระตุ้นให้ลูกเอื้อมมือและขยับตัวคลานเพื่อไปหยิบของเล่น

 

อยากฝึกลูกคลาน ควรจัดบ้านแบบไหน

การฝึกลูกคลานบนพื้นภายในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ต้องเช็กอย่างละเอียดทุกซอกทุกมุม ต้องเป็นพื้นที่ที่สะอาดและปลอดภัยจากอุปกรณ์ของใช้ที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

  • บันได: ตรงบริเวณบันไดทั้งด้านบนและด้านล่าง ควรติดประตูนิรภัยที่แข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกคลานไปถึง เพราะจะล้มลงตกบันไดไปได้
  • ของหนักและเฟอร์นิเจอร์: ควรติดตั้งอุปกรณ์ยึดติด เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของนั้น ล้มหรือหล่นลงมาทับลูก เช่น โทรทัศน์ ชั้นหนังสือ และของหนักอื่น ๆ
  • ปลั๊กไฟ: ควรปิดฝาครอบเต้าเสียบปลั๊กไฟในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแหย่นิ้วเข้าไป และเกิดอันตรายจากการถูกไฟดูด

 

การคลานเป็นพัฒนาการสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้และเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ การให้กำลังใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และการสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ลูกน้อยก้าวผ่านช่วงวัยนี้ไปได้อย่างมีความสุขและมีพัฒนาการที่ดี ทั้งนี้หากพบว่าลูกอายุ 1 ขวบแล้วแต่ยังไม่เริ่มที่จะคลาน ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 


อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 9 เดือน, Unicef Thailand
  2. When Do Babies Start Crawling?, Healthline
  3. 7 กิจกรรมที่สามารถช่วยให้ลูกคลานได้เร็วขึ้น (Top tip to teach baby to crawl), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  4. เด็กทารกอายุ 8 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ?, Pobpad
  5. When do babies start crawling?, Babycenter
  6. พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย แบบไหนเข้าข่าย “พัฒนาการล่าช้า”, โรงพยาบาลสุขุมวิท
  7. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  8. เทคนิคการฝึกลูกนอนคว่ำ หรือ การทำ Tummy Time (Guide to Tummy Time), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

อ้างอิง ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ สูตรทำสไลม์สำหรับเด็ก พร้อมส่วนผสมที่ปลอดภัยกับผิวลูก

วิธีทำสไลม์ ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับลูกน้อย สูตรทำสไลม์แบบง่าย ๆ และปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายกับผิวลูก จะมีวิธีทำยังไงบ้าง ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก