ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

29.08.2024

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีความเชื่อว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาของมนุษย์ทุกคน ล้วนมาจากประสบการณ์ในการพบเจอกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะเกิดการจัดการ และการปรับตัวของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลและอยู่รอด เป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาและด้านความคิดของคน ๆ นั้นต่อไป

headphones

PLAYING: ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget ชาวสวิสเซอร์แลนด์ มีความสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก โดยใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation)
  • ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นตามช่วงวัย คือ ขั้นการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage) อายุ 0-2 ขวบ, ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2-7 ขวบ, ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7-11 ขวบ และขั้นการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) ในช่วงอายุ 11 ปีขึ้นไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มาทำความรู้จัก ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget)

ฌอง เพียเจต์ หรือ Jean Piaget เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1896 และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา จบปริญญาเอกด้านชีวรักษาสัตว์ และสนใจศึกษาค้นคว้าด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังใช้ข้อมูลจากลูกของตนเองทั้ง 3 คน มาประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัย และเกิดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และหนึ่งในทฤษฎีของเพียเจต์ที่ได้รับความนิยม คือ ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจต์ (Piaget's Theory of Cognitive Development)

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีแนวคิดอย่างไร

ทฤษฎีของเพียเจต์ จะศึกษากระบวนการคิดทางด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นที่ติดตัวตั้งแต่แรกเกิด คือ การจัดการระบบภายใน (Organization) ทำให้คนมีการทำอะไรอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการต่อเนื่องเป็นเรื่องราว และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม (Adaptation) โดยการปรับตัวของคนนั้น จะประกอบไปด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ การดูดซับ (Assimilation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนกับเด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ทำให้แสดงออกพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่เคยได้พบเจอมาก่อน แต่เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้และซึมซับไปเรื่อย ๆ ตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างทางปัญญาที่อยู่ในสมองของเด็ก จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ อีกหนึ่งกระบวนการ คือ การปรับให้เหมาะ (Acommodation) เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งการปรับตัว หรือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็นกี่ขั้น

เพียเจต์ ได้แบ่งขั้นตอนการพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดตามช่วงวัย เป็นดังนี้

1. ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensorimotor Stage)

เป็นขั้นที่เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดก่อนที่จะเริ่มสื่อสารได้ ซึ่งเป็นช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 2 ปีแรก โดยในวัยนี้จะใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโดยอัตโนมัติ

 

2. ขั้นที่ 2 เตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)

ในช่วงวัยนี้จะเริ่มมีการพัฒนาในด้านการสื่อสารด้วยภาษา เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ภาพหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งต่าง ๆ แต่ยังไม่มีเหตุผลมากเพียงพอ จึงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง และไม่สามารถเข้าใจเหตุผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้

 

3. ขั้นที่ 3 คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage)

เริ่มมีเหตุและผลสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น เข้าใจระเบียบกฏเกณฑ์ อย่างมีเหตุผล สามารถเข้าใจหลักการคำนวณต่าง ๆ รวมถึงคิดย้อนกลับไปมาได้ มีจินตนาการเป็นภาพในใจ

 

4. ขั้นที่ 4 การคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage)

สามารถคิดอะไรที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา มีกระบวนการความคิด โดยการตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์หาสาเหตุจนได้ข้อสรุป สามารถเชื่อมโยงวิธีการแก้ไขปัญหากับสถานการณ์หนึ่งกับสถานการณ์อื่น ๆ ได้

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ถึงแม้ทฤษฎีของเพียเจต์จะมีอิทธิพลต่อความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการมากมาย แต่ก็อาจมีข้อดีข้อเสีย หากมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างไม่ถูกต้อง หรือมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้

  1. ทฤษฎีของเพียเจต์จะศึกษากระบวนการทางความคิดและสติปัญญาตามช่วงอายุ โดยจำกัดแค่ช่วงแรกเกิดจนถึงวัยรุ่นตอนต้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับผู้ใหญ่ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น
  2. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะพัฒนาไปตามทีละขั้น ซึ่งเพียเจต์แบ่งเป็น 4 ขั้น ซึ่งจะเป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องกัน และจะไม่มีพัฒนาการใดที่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไป แต่ในความเป็นจริงพบว่าผู้ใหญ่บางคนก็อาจจะยังไม่มีพัฒนาการในขั้นใดขั้นหนึ่งของทฤษฎีเพียเจต์
  3. เพียเจต์เชื่อว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กแต่ละคน จะประกอบไปด้วยพันธุกรรมหรือพื้นฐานเด็กที่มีมาแต่กำเนิด กับสภาพแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งในบางทฤษฎีอาจมองว่าสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้มีอิทธิพลมากกว่า อีกทั้งทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเดียวกันได้ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการถ่ายทอด ความยากง่ายให้เหมาะสมกับอายุ แต่ไม่ปิดกั้นเนื้อหาที่จะให้เรียนรู้ด้วยช่วงอายุตามหลักการของเพียเจต์

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของลูกได้จริงไหม

เนื่องจากทฤษฎีของเพียเจต์กล่าวว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการปรับตัวด้วยการส่งเสริมจากการพบเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งเด็กจะสามารถซึมซับได้ดีมากน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มศักยภาพทางสติปัญญาของลูก ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการตามช่วงวัย เช่น ในเด็กเล็กควรเน้นการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามธรรมชาติ และเพิ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองในการคิด วิเคราะห์ แบบมีเหตุและผลให้มากขึ้นตามช่วงวัย

 

กิจกรรมที่พ่อแม่สามารถนำทฤษฎีของเพียเจต์ มาปรับใช้กับลูกแต่ละช่วงวัยได้

1. อายุ 0-2 ขวบ

เป็นช่วงวัยที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะต่าง ๆ เนื่องจากพัฒนาการทางภาษายังไม่ดีนัก จึงควรเน้นกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาด้วยการเน้นการหยิบ จับ วัตถุรูปทรงต่าง ๆ การเคลื่อนไหวของร่างกายแบบซ้ำ ๆ ด้วยการกำมือหรือแบมือ และลองให้เริ่มแก้ปัญหาง่าย ๆ เช่น การหาที่ซ่อนสิ่งของ

 

2. อายุ 2-7 ขวบ

เป็นช่วงอายุก่อนมีเหตุและผล ซึ่งเด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์แทนความหมายหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เริ่มมีความเข้าใจในเรื่องการสื่อสารด้วยภาษา มีคำศัพท์ในสมองมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมด้วยการเล่นบทบาทสมมติกับลูกได้ หรือนำสิ่งของรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของอื่นที่สมมติขึ้น

 

3. อายุ 7-11 ขวบ

ช่วงวัยนี้จะเริ่มมีเหตุและผลแบบรูปธรรมอย่างชัดเจน สามารถแก้ไขปัญหาด้วยเหตุและผลได้เป็นอย่างดี สามารถแบ่งแยกและเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ กิจกรรมที่เหมาะสม อาจจะให้โจทย์เด็ก แล้วให้จินตนาการวาดรูปตามโจทย์ที่ได้รับ หรือลองศึกษาเส้นทางแบบง่าย ๆ รวมถึงการทำโจทย์คิดเลขแบบง่าย ๆ ให้ย้อนกลับไปมาได้

 

4. อายุ 11 ขวบขึ้นไป

ลูกน้อยอายุ 11 เดือน หรือ เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป เริ่มมีเหตุผลแบบนามธรรม เริ่มมีความคิดอ่านแบบผู้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้นมาก สามารถคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ คือ การตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ แยกแยะ มีความอิสระมากขึ้น โดยในวัยนี้อาจเน้นกิจกรรมที่ให้มีส่วนร่วมแสดงออกความคิดเห็นมากขึ้น

 

ทฤษฎีของเพียเจต์ เชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของแต่ละคน และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญาตามช่วงวัยออกเป็น 4 ระยะ โดยทุกคนจะต้องผ่านพัฒนาการทั้ง 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะพัฒนามาจากระยะก่อนหน้า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ระยะถัดไป โดยจะไม่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการของลูกด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัยของเด็ก และเน้นให้เรียนรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐาน, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. บทที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  3. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. บทที่ 2 ทฤษฎีและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประถมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด น้ำหนักส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด ส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกน้อยควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ แบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พ่อแม่มือใหม่ควรควบคุมน้ำหนักเด็กแรกเกิด เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด ปกติไหม แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด เป็นอย่างไร ลูกมีอุจจาระสีเหลืองทารก อาการแบบนี้ปกติไหม อาการร่วมแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ อุจจาระเป็นเม็ด พร้อมวิธีป้องกัน

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ พร้อมวิธีป้องกันเมื่อทารกอุจจาระเป็นเม็ด

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ บ่งบอกถึงอาการท้องผูกในเด็ก หากลูกมีอาการถ่ายเหลวและมีไข้ แสดงว่าลูกน้อยมีความผิดปกติของลำไส้ แม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน

ลูกอ้วก ไม่มีไข้ ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี

ลูกอ้วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ รับมืออย่างไรดี

ลูกอ้วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร บางครั้งลูกอ้วกท้องเสียมีไข้และอาเจียน อาการแบบนี้ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง สัญญาณแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก