ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ อุจจาระเป็นเม็ด พร้อมวิธีป้องกัน

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
ก.พ. 2, 2024
5นาที

การขับถ่ายของทารกช่วยบอกได้ว่าตอนนี้หนูน้อยมีสุขภาพดีแค่ไหน ? เพราะทารกยังพูดไม่ได้ร่างกายเลยใช้การขับถ่ายบอกสุขภาพของลูกน้อยแทน แล้วอาการทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือเป็นอาการที่ปกติไหม เกิดขึ้นจากอะไร มาดูเคล็ดลับช่วยให้ลูกถ่ายง่ายไม่ถ่ายเป็นก้อนแข็งที่ช่วยให้คุณแม่สบายใจ ลูกน้อยสบายท้องกันค่ะ

 

สรุป

  • อาการทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ เป็นหนึ่งในอาการท้องผูกในเด็ก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ลูกกินผักผลไม้ที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย มีความเครียด หรือเกิดจากการใช้ยาบางประเภทที่ทำให้เด็กเกิดการถ่ายแข็งเป็นเม็ดมะเขือขึ้น
  • วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูกในเด็ก คุณแม่ต้องเริ่มจากการฝึกพฤติกรรมเรื่องการกินและการขับถ่ายให้ลูกน้อย โดยการให้ลูกกินผักผลไม้อย่างมะละกอ ลูกพรุน ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเปล่าให้เพียงพอ และไม่ควรปล่อยให้ลูกกลั้นอุจจาระ ถ้าลูกมีอาการท้องผูกอยู่บ่อย ๆ คุณแม่ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างต่อเนื่อง เพราะนมแม่เป็นนมที่ย่อยง่าย และปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับโปรตีนในนมที่ย่อยได้ง่าย
  • หากลูกน้อยมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ ถ่ายแล้วมีมูกเลือดปน พร้อมมีไข้สูง รวมถึงอาการคลื่นไส้ และอาเจียนคุณแม่ต้องรีบพาลูกไปหาหมอทันที เพราะสัญญาณของลำไส้อักเสบที่พบได้บ่อยในเด็ก

 

อาการของทารกอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือ หรือเม็ดเล็ก ๆ คล้ายกระสุน เป็นลักษณะอาการของเด็กท้องผูก เนื่องจากอุจจาระแห้งและเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ได้ยาก ทำให้อาจมีอุจจาระค้างในลำไส้เป็นเวลานาน ลูกน้อยจึงถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดมะเขือและบางครั้งถ่ายออกมาก็มีเลือดปนมาด้วย ทำให้ลูกน้อยถ่ายอุจจาระได้ลำบากจนต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติ ลูกน้อยจึงมักร้องไห้งอแงขณะเบ่งอุจจาระเพราะรู้สึกเจ็บ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกท้องผูก

  • ในเด็กที่เริ่มทานอาหารตามวัย อาจทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไปทำให้อุจจาระแข็งหรือทารกถ่ายแข็ง เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเกิดอาการท้องผูก คุณแม่จึงควรให้ลูกทานผักและผลไม้อยู่เป็นประจำ
  • เกิดจากพฤติกรรมการขับถ่ายของลูกน้อยที่ชอบกลั้นอุจจาระอยู่บ่อย ๆ
  • การใช้ยาบางชนิดของลูกน้อยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือยับยั้งการทำงานของระบบประสาทก่อให้เกิดอาการท้องผูกในเด็ก เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • ความผิดปกติทางสรีระของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่แรกเกิด เช่น ทวารหนักที่เล็กเกินไป ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น
  • สาเหตุทางใจ เช่น ความเครียด อาการกลัวในจิตใจจากการถูกบังคับให้ลูกน้อยนั่งกระโถนเร็วเกินไป
  • ลูกน้อยดื่มนมผงที่ย่อยยาก หรือคุณแม่กินนมวัวหรืออาหารที่มีโปรตีนมากเกินไปทำให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กถ่ายยาก

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกท้องผูก

  • พาลูกกินผักและผลไม้เป็นประจำ: พ่อแม่ควรชวนลูกกินผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น กล้วยสุก มะละกอ ลูกพรุน เป็นต้น หากเจ้าตัวเล็กไม่ชอบกินผักหรือผลไม้ คุณแม่ควรเริ่มจากให้ลูกกินผักผลไม้ในปริมาณน้อยก่อนและค่อยไปเพิ่มให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มแทน เพื่อให้ลูกถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ: น้ำดื่มจะช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้สะดวก โดยเด็กที่มีอายุ 6-11 เดือน ควรดื่มน้ำวันละ 800- 1,200 มิลลิลิตร/วัน ส่วนเด็กที่อายุระหว่าง 1-3 ปี ควรดื่มน้ำวันละ 1,000-1,500 มิลลิลิตร/วัน นอกจากนี้คุณแม่อาจให้ลูกน้อยกินน้ำผลไม้ หรือโยเกิร์ตเพื่อช่วยให้สามารถขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น
  • สร้างนิสัยขับถ่ายที่ดีให้ลูกน้อย: เมื่อลูกน้อยมีอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป คุณแม่ควรเริ่มฝึกวินัยการขับถ่ายด้วยกระโถนให้ลูกน้อยในทุก ๆ วัน เพื่อป้องกันอาการกลั้นอุจจาระในเด็ก
  • ให้ลูกน้อยกินนมแม่เพียงอย่างเดียว: เนื่องจากนมแม่เป็นนมที่ย่อยได้ง่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับโปรตีนในนมที่ย่อยง่ายได้
  • นวดท้องให้ลูกน้อย: การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วยการนวด หรือการยกขาทารกขึ้นลงจะช่วยขับลมในท้องของลูกน้อยได้ดี ทั้งยังช่วยให้เด็กขับถ่ายได้คล่องมากขึ้น

 

ทำไมนมแม่ ถึงย่อยง่ายกว่านมผง

ในนมแม่ มีสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการเสริมสร้างร่างกาย สมอง และภูมิคุ้มกันในทารกกับ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่ายทำให้ลูกน้อยที่กินนมแม่ท้องอืดและท้องผูกได้ยากกว่าเด็กที่กินนมผง คือ

  • นมแม่มีไขมันที่ย่อยง่าย: ในนมแม่อุดมไปด้วยไขมันสายยาวที่ย่อยง่าย และกรดไขมันจำเป็นที่ช่วยในการเสริมสร้างสมองและระบบประสาทให้แก่ทารก
  • นมแม่มีแลคโตส (Lactose): ความพิเศษของคาร์โบไฮเดรตชนิดแลคโตส คือ สามารถดึงน้ำมาช่วยสร้างน้ำนมทำให้ในนมแม่มีน้ำอยู่จำนวนมาก ลูกน้อยจึงได้รับปริมาณน้ำที่มากเพียงพอจากการกินนมแม่โดยไม่ต้องดื่มน้ำเพิ่มแต่อย่างใด

 

ทารกอุจจาระเป็นเม็ดแบบไหน ที่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์

  • ลูกน้อยถ่ายไม่ออกมาหลายวัน
  • ถ่ายอุจจาระเป็นก้อนใหญ่แข็งหรือเป็นเม็ด มีเลือดปน
  • งอแงเมื่อต้องขับถ่าย
  • อุจจาระเล็ดกางเกง
  • ปวดท้องอยู่บ่อย ๆ

 

ลำไส้อักเสบในทารก เกิดจากอะไร

โรคลำไส้อักเสบในทารกที่พบได้ในทารกและเด็กเล็กมีอยู่ 2 สาเหตุ

  • ติดเชื้อในลำไส้: โรคลำไส้อักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เด็ก แล้วทำให้ลูกน้อยมีอาการท้องร่วงตามมา
  • เกิดจากลูกน้อยแพ้โปรตีน: ในกลุ่มของสาเหตุโรคแพ้โปรตีนในเด็กส่วนมากเป็นเพราะเด็กมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว ส่วนการแพ้โปรตีนจากไข่หรือถั่วในเด็กพบได้น้อยกว่า ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดอาการลำไส้อักเสบได้
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง: เมื่อร่างกายของลูกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้ลำไส้เกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคลำไส้อักเสบในที่สุด

 

ลำไส้อักเสบในทารก มีอาการอย่างไร

อาการลำไส้อักเสบเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ลักษณะของอาหารจึงมีความคล้ายคลึงกับโรคทางเดินอาหารในเด็กอื่น สำหรับโรคลำไส้อักเสบในทารก มีลักษณะดังนี้

  • ลูกน้อยถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ
  • ถ่ายแล้วมีมูกเลือดปน
  • มีไข้สูง
  • หากเกิดการติดเชื้อจะไอและมีน้ำมูกไหล
  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • เด็กมีอาการอ่อนเพลีย ซึม
  • หากขาดน้ำมาก ๆ จะปากแห้ง แต่ตัวเย็น

 

พฤติกรรมและอาการต่าง ๆ ของทารกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรใส่ใจเพราะลูกน้อยยังไม่สามารถสื่อสารหรือบอกเล่าอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ดังนั้น เมื่อลูกน้อยมีการขับถ่ายคุณแม่ต้องคอยสังเกตลักษณะอุจจาระของลูกน้อย และพยายามดูแลเจ้าตัวเล็กด้วยการให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง และฝึกให้ลูกขับถ่ายเป็นเวลาอยู่เสมอเพื่อที่เด็กจะได้ห่างไกลจากโรคท้องผูก รวมถึงการดูแลความสะอาดเป็นประจำ นอกจากนั้น คุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะนมแม่เป็นนมที่ย่อยง่าย และสามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเกี่ยวกับโปรตีนในนมที่ย่อยง่าย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องผูกในเด็ก เรื่อง (ไม่) เล็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้!, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. เด็กท้องผูก นอกจากเสียสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลถึงสภาพจิตใจ, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. สังเกตยังไง...ว่าลูกกำลังมีภาวะท้องผูก, โรงพยาบาลพญาไท
  4. อาหารสำหรับเด็กท้องผูก, สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับแห่งประเทศไทย
  5. Breastmilk, cow's milk and formula: Differences in composition, มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. เมื่อเจ้าตัวเล็กท้องผูก จะทำอย่างไรดี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  7. ที่ลูกน้อยร้องไห้จ้า...อาจเป็นเพราะ 5 โรคลำไส้ในเด็กเล็กนี้, โรงพยาบาลพญาไท
  8. “ลำไส้อักเสบ” โรคที่คนส่วนใหญ่คิดว่าแค่อาการท้องเสียธรรมดา, โรงพยาบาลนครธน
  9. ลักษณะของอุจจาระและการขับถ่าย บอกได้ถึงภาวะสุขภาพ, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2566

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย
บทความ
ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกท้องเสีย เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลูกท้องเสีย มีอาการอย่างไร ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง ลูกท้องเสียบ่อยอันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลับมาท้องเสียอีก

6นาที อ่าน

View details ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง
บทความ
ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด ปกติไหม แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด แบบไหนที่ต้องระวัง

ทารกอุจจาระมีมูก ลูกท้องเสียถ่ายมีมูกเลือด เป็นอย่างไร ลูกมีอุจจาระสีเหลืองทารก อาการแบบนี้ปกติไหม อาการร่วมแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องระวัง

6นาที อ่าน

View details ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง พร้อมวิธีป้องกัน
บทความ
ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง พร้อมวิธีป้องกัน

ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง พร้อมวิธีป้องกัน

ทารกท้องอืด เกิดจากอะไร เด็กแรกเกิดท้องอืด ไม่สบายท้อง คุณแม่ควรเตรียมรับมืออย่างไร ไปดูสาเหตุของอาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีแก้ทารกท้องอืดกัน

5นาที อ่าน

View details ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย
บทความ
ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย ลูกน้อยควรกินอะไรให้ขับถ่ายง่าย

ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย

ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อยผิดปกติไหม คุณแม่สังเกตลูกอย่างไร เมื่อทารกไม่ถ่าย อาหารแบบไหนที่ช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ดี พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย

9นาที อ่าน

View details ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกปวดท้องตรงสะดือแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้อันตรายไหม เมื่อลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ ไปดูสาเหตุและวิธีดูแลลูกที่ถูกต้องกัน

8นาที อ่าน

View details ลูกอ๊วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกอ๊วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี

ลูกอ๊วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี

ลูกอ้วกไม่มีไข้ท้องเสีย เกิดจากอะไร บางครั้งลูกอ้วกท้องเสียมีไข้และอาเจียน อาการแบบนี้ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง สัญญาณแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

7นาที อ่าน

View details อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้
บทความ
4 อาการแพ้แลคโตสทารก พร้อมสาเหตุของการแพ้ ที่แม่ต้องรู้

อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้

อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไร ทำไมลูกน้อยถึงท้องเสีย ถ่ายเหลวและท้องอืดบ่อย ไปดูสาเหตุอาการแพ้แลคโตสทารกหรือภาวะย่อยแลคโตสบกพร่องกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย ทำไงดี พร้อมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย
บทความ
ลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย ทำไงดี พร้อมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย

ลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย ทำไงดี พร้อมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย

ลูกท้องอืดไม่ถ่ายทำไงดี รวมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้ทารกท้องอืดไม่ถ่ายรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกรู้สึกไม่สบายท้อง

6นาที อ่าน

View details ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นปกติไหม บอกอะไรบ้าง
บทความ
ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นปกติไหม บอกอะไรบ้าง

ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นปกติไหม บอกอะไรบ้าง

ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นปกติไหม ทารกอุจจาระสีเขียว เกิดจากอะไร ลูกอุจจาระสีเขียวปนเหลือง ผิดปกติหรือเปล่า ไปดูวิธีรับมือกับสีอุจจาระทารกที่ถูกต้องกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก
บทความ
ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ ลูกท้องผูก ลูกถ่ายยากทำไงดี คุณแม่ควรหมั่นสังเกตเมื่อลูกถ่ายไม่ออก พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย เมื่อลูกท้องผูก และลูกถ่ายไม่ออก

View details พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก
บทความ
พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

Prebiotic คืออะไร พรีไบโอติกสำหรับเด็ก จุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลในลำไส้ให้ลูกน้อย พรีไบโอติกเด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่
บทความ
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ มีประโยชน์กับลูก

โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่

โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ส่งเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบสมอง

5นาที อ่าน

View details พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
บทความ
พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 1 เดือน ถึง 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

View details พัฒนาการลูกน้อย 8-9 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร
บทความ
พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน

พัฒนาการลูกน้อย 8-9 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 8-9 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ8-9 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย
 

View details 100 ไอเดียตั้งชื่อภาษาอังกฤษผู้ชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)
บทความ
100 ไอเดียตั้งชื่อภาษาอังกฤษผู้ชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

100 ไอเดียตั้งชื่อภาษาอังกฤษผู้ชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมชื่อภาษาอังกฤษลูกชาย ชื่อภาษาอังกฤษผู้ชาย ชื่อเพราะน่ารัก ไอเดียตั้งชื่อลูกชายภาษาอังกฤษ รับปีมังกรทอง ชื่อไหนเพราะ เป็นมงคล เหมาะกับลูกชาย ไปดูกัน

View details พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 7 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 7 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้
บทความ
วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

7นาที อ่าน

View details รวมเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเตรียมพร้อมเมื่อตั้งครรภ์
บทความ
รวมเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเตรียมพร้อมเมื่อตั้งครรภ์

รวมเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเตรียมพร้อมเมื่อตั้งครรภ์

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กคุณแม่มือใหม่ ควรเตรียมความพร้อมและปฎิบัติตัวอย่างไรบ้าง เมื่อเริ่มรู้แล้วว่าตัวเองตั้งครรภ์ ไปดูเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

12นาที อ่าน

View details ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
บทความ
ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืนอันตรายไหมคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกมีเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน

6นาที อ่าน