โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

20.05.2024

อาการไข้ ลิ้นเป็นฝ้าขาว มีตุ่มในคอหรือตามตัว คุณแม่อาจเคยได้ยินคนกล่าวถึงว่าเป็นอาการของโรคซางมาก่อน แต่พอคุยกับคุณหมออาจจะตกใจก็ได้ เพราะคุณหมอในวงการแพทย์แผนปัจจุบันอาจไม่ได้มองโรคนี้ในแบบเดียวกับคุณแม่ ถ้ามองต่างกัน การตีความเพื่อรักษาและป้องกันก็ต้องแตกต่างออกไปด้วย คุณแม่มีความรักขณะที่คุณหมอมีความรู้ ทั้งความรักและความรู้ต้องใช้ร่วมกันจึงจะสร้างเกราะคุ้มกันทางสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับลูกน้อย

headphones

PLAYING: โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ในเอกสารของแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ซาง เป็นคำอ้างอิงจากพระคัมภีร์ปฐมจินดา ในภาษาบาลี แปลตรง ๆ ว่าโรคในเด็ก
  • ซางที่แปลว่าโรคในเด็ก เป็นคำกว้าง พบว่าในแผนแพทย์ปัจจุบันได้พยายามกำหนดขอบเขตนิยามคำว่า ซาง ว่าเป็น โรคที่เกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหาร มีพยาธิในลำไส้ หรือโรคพุงโรก้นปอด
  • การดูแลโรคซาง ควรทำทั้งในแง่ของการป้องกันและการรักษาร่วมกัน คุณแม่ควรจัดอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนให้ลูกน้อยในปริมาณที่เหมาะสม ปรึกษากับคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยจนทนอยู่เฉยให้บรรเทาเองไม่ได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

รู้หรือไม่ โรคซาง ไม่มีอยู่จริงทางการแพทย์

  • ซาง ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่าเป็น” ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณ เป็นโรคที่เป็นในเด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัว ตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางน้ำ ซางขโมย ซางโจร ซางโค”
  • จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว็บไซต์ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ก็จะไม่พบข้อมูลของโรคซาง
  • ในคลังความรู้ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่เผยแพร่โดยกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก มีคำว่า ซาง ให้ความหมายว่า ซาง เรียบเรียงความหมายได้ว่า โรคในเด็ก พบในเด็กอายุน้อย มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปากแห้ง อาเจียน ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ท้องเสีย มีตุ่มเกิดขึ้นในปาก ลำคอ และลิ้นขุ่นขาว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ซางเจ้าเรือน และ ซางจร ชนิดที่สองนี้แสดงอาการแตกต่างกันตามวันเกิดของเด็ก

 

ทำไมเมื่อก่อนถึงเรียกกันว่า “โรคซาง”

  • ซาง ในตำราแพทย์แผนโบราณ อ้างอิงถึงคัมภีร์ปฐมจินดาที่บันทึกโรคในเด็กวัยแรกเกิดถึง 12 ปี
  • โรคซาง ปรากฏในพระคัมภีร์ปฐมจินดาที่ให้กำเนิดการรู้จักโรคซางนั้นว่าเป็นความรู้ที่ชีวกโกมารภัจจ์ หรือแพทย์สมัยพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ทางศาสนา ได้รับมาอีกต่อจากพระดาบสชื่อว่า ฤทธิยาธรดาบส ซึ่งเป็นอาจารย์
  • หากพิจารณาดูจากการกำเนิดของชื่อ และเทียบกับภาษาบาลีที่เคยรุ่งเรืองในอินเดีย จะพบคำศัพท์ ซาง แปลว่า “กุมารคลโรค” หรือโรคที่เกิดในเด็ก ในพจนานุกรมสำหรับผู้เรียนภาษาบาลี
  • ดังนั้นที่เมื่อก่อนเรียกโรคในเด็กว่า “โรคซาง” ก็เพราะอิทธิพลการใช้พระคัมภีร์ปฐมจินดาของแพทย์แผนโบราณในการรักษาโรคต่าง ๆ

 

อาการของโรคซางในเด็ก มีอะไรบ้าง

  • สรุปโดยทั่วไป โรคซางในเด็ก คือ เม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน
  • ในการศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคหละ ละอองซางในเด็ก อาการของโรคซางจะมีแผลในปาก ปากเปื่อย ออกเม็ดออกผื่นตามร่างกาย บางทีก็ท้องเสีย  ท้องผูก  ปวดบิดถ่ายเป็นมูกเลือด
  • สรุปอาการให้แคบลง ตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน   เป็นอาการขาดสารอาหารและพุงโรก้นปอดเพราะพยาธิลำไส้

 

โรคซางในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่

1. หมอพื้นบ้าน

เชื่อว่า ซางเกิดจากคุณแม่ของลูกน้อยเลือกกินของที่แสลง ซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กที่ดื่มนมแม่ รองลงไปเป็นเพราะกรรมพันธุ์ หรือธรรมชาติที่ทำให้เกิดผลของโรค ทั้งนี้เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น

 

2. อาการซางเจ้าเรือนแบ่งตามความเชื่อดั้งเดิม

  • ซางไฟ มีไข้ เจ็บตามเนื้อตามตัว ไม่อยากอาหาร กรณีถ้าอาการแย่ลง กลางลิ้นจะเป็นสีดำ ขอบลิ้นเป็นสีแดง ถ้ามีเลือดออกจะถึงตายได้ มีตุ่มพองเหมือนไฟลวก เป็นถุงหนองที่ผิวหนัง ท้อง เข่า แข้ง ทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ ถ่ายเป็นมูก เป็นเลือด เป็นหนอง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น อาเจียนอาหารออกมา
  • ซางน้ำ  มีไข้ ท้องโต กินอาหารได้มาก มีผื่นสีแดงบนผิวหนัง บริเวณหลัง ราวคาง แขน กลางทรวงอก ป่วยแล้วไม่ถึงตาย ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ ขับถ่ายมีกลิ่น
  • ซางแดง มีไข้ กินอาหารได้ ถอนหายใจยาว กรณีอาการหนักจะถ่ายเป็นมูกเลือด  เป็นหนอง ที่ผิวหนังแถวกระหม่อม สันหลัง คอ คาง ขาหนีบ และรักแร้จะมีตุ่มสีแดง มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่สะดวก
  • ซางสะกอ มีไข้ กินอาหารได้ ถอนหายใจยาว กรณีอาการหนักจะถ่ายเป็นมูกเลือด เบลอมึน อยู่ไม่นิ่ง มีตุ่มที่ผิวหนังบริเวณรอบสะดือ ทวารหนัก กระหม่อม หลัง และเหงือก ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ ปัสสาวะและอุจจาระติดขัด อาเจียนปกติ และมีอาเจียนเป็นลม หลังแข็ง ตัวเหลือง ตัวแห้ง
  • ซางวัว มีไข้ เจ็บตามร่างกาย สะอึก หายใจติดขัด ตัวแดง ผิวหน้าสาก เมื่ออาการหนักจะถ่ายและอาเจียน บนตัวมีผดผื่น ที่ต้นลิ้นและข้างลิ้นมีตุ่มขึ้น ปากและลิ้นเปื่อย ไอ มีความผิดปกติในทางเดินหายใจ
  • ซางช้าง มีไข้ เจ็บที่มือและเท้า ไม่รับประทานอาหาร  ก้าวร้าวกัดเต้าคุณแม่ ถ้าอาการหนักจะไอ อาเจียนเป็นลม เจ็บคอ คอบวม รอบ ๆ คอจะเปื่อยเน่า ถ่ายเป็นมูกเลือด ผิวหนังบริเวณท้องถึงอก คอ ลิ้น ปาก เท้า หัวหน่าว ชายโครง มีเม็ดขึ้น คันไปทั้งตัว ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย มีอาการท้องผูก
  • ซางขโมย มีไข้ รับประทานอาหารได้ รู้สึกเสียดแทงไปทั่วทั้งตัว อาการหนักจะถ่ายเป็นน้ำเหม็นและมีมูกเลือด ผิวหนังเป็นเกล็ดแห้ง การมองเห็นไม่ค่อยดี ผิวหนังบริเวณสันหลัง กระหม่อม ปาก ลิ้น มีเม็ดตุ่มขึ้น ตัวลายเหมือนปลากระทิง มีแผลเปื่อยเป็นขุมทั้งตัว ปากและคอเปื่อย ปากแตก มีความผิดปกติในทางเดินอาหาร เจ็บหัวหน่าว ปวดมวน
  • หากมองเป็นโรคในเด็ก อาจจะต้องดูตามอาการ ต้องได้รับคำวินิจฉัยจากคุณหมอ เพื่อระบุหาสาเหตุของโรค
  • มองกรอบความเป็นไปได้ที่แคบลง สาเหตุหลักอาจเป็นอาการขาดสารอาหาร และพุงโรก้นปอดเพราะพยาธิลำไส้
  • ทั้งหมดนี้ไม่ได้มากจากความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเป็นเพียงความเชื่อสืบต่อกันมาจากอดีต หากลูกมีอาการป่วยใด ๆ ที่คล้ายซาง ควรพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 

โรคซางคืออะไร คุณแม่จะป้องกันลูกน้อยจากโรคซางอย่างไรได้บ้าง

 

เราสามารถป้องกันโรคซางไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกได้ไหม

ดูแลลูกรักผ่านการรับประทานอาหาร

 

การดูแลเบื้องต้นนี้สอดคล้องกับคำแนะนำของแพทย์แผนปัจจุบันให้ดูแลเรื่องโภชนาการ และบันทึกอาการของโบราณาจารย์ ที่ว่าเด็กเป็นซางนั้นเกิดจากเด็กกินอาหารสกปรก ติดเชื้อโรค เป็นบิด เป็นมูก ท้องเดิน บางคนมีอาการท้องอักเสบ เป็นไข้เพราะเชื้อโรค อุจจาระบ่งบอกสุขภาพที่ไม่ดี และเด็กบางคนก็เป็นซางเพราะกินอาหารสกปรก ติดไข่หรือตัวพยาธิไส้เดือนเข้าไป ทำให้ไม่เติบโตสมวัย เด็กจะหิวโหยอยากกินของแปลก ๆ เพราะความหิวโหย ผิวพรรณหม่นหมอง ไม่มีแรง จิตใจซึมเศร้า เสียงเบา มีฝี มีหนอง ต่อมทอนซิลอักเสบ สำรอกหรืออ้วก และความผิดปกติอื่น ๆ เด็กอาจจะชัก และหอบในบางทีด้วย

 

คุณหมอมีวิธีรักษาโรคซางในเด็กอย่างไรบ้าง

แพทย์จะตรวจร่างกายหาสาเหตุ และวินิจฉัยอาการหรือโรค ร่วมกับแนะนำการจัดการเลือกสรรอาหารและดูแลโภชนาการ รวมถึงสุขอนามัยของอาหาร เพื่อลูกรัก

 

ซาง เป็นคำจำกัดความอาการผิดปกติในเด็กที่ตกทอดมาแต่โบราณ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาแบบไทยที่พยายามรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และรักษาด้วยการเรียนรู้ผิดถูกจากการใช้ยาสมุนไพร แต่อาจเพราะไม่ได้จำกัดความไว้แต่ต้นเป็นกรอบแคบ เมื่อพูดถึงการรักษาในทางการแพทย์สมัยใหม่ที่มีระเบียบแยกแยะโรคตามอาการ จึงไม่ม ีการยอมรับ ซาง เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หากคุณแม่สังเกตพบอาการผิดปกติใดเกิดขึ้นกับลูก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

 

 

อ้างอิง:

  1. คำว่า "ซาง", พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
  2. รายชื่อโรค, กรมควบคุมโรค
  3. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (DICTIONARY), กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรคซาง, หมอชาวบ้าน
  5. การศึกษาความถี่ของสมุนไพรจากตำรับยารักษาโรคหละละออง ซาง ในคัมภีร์ปฐมจินดา, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  6. พระคัมภีร์ปฐมจินดา อายุรเวทศึกษา, โรงเรียนสิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
  7. พจนานุกรม ไทย-บาลี, โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย
  8. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค หละ ละอองซางในเด็ก, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  9. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค หละ ละอองซางในเด็ก, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  10. ซางที่มีความรุนแรงในเด็ก, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  11. ว่าด้วยยารักษาโรคเด็ก, หมอชาวบ้าน

อ้างอิง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่จริงไหม อาหารแบบไหนช่วยลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ได้ ไปดูอาหารคนแพ้ท้องที่ปลอดภัยกัน

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำยังไงดี ลูกกัดเต้าจนหัวนมแม่เป็นแผล คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม ทำไมลูกถึงชอบกัดหัวนมแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกกัดเต้าเป็นแผล

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

นม UHT เด็ก ความแตกต่างของนมยูเอชที พร้อมสารอาหารสำคัญ

นม UHT เด็ก ความแตกต่างของนมยูเอชที พร้อมสารอาหารสำคัญ

นม UHT สำหรับเด็ก นมกล่อง UHT ที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก พร้อมความแตกต่างของนมยูเอชทีแต่ละประเภทและสารอาหารสำคัญในนม UHT ที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก