ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

30.09.2024

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง ความผิดปกติด้านการพูดนี้ พบได้ในวัยเด็กที่ฝึกพูด ลูกพูดติดอ่าง พูดไม่ชัด หากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะมีปัญหาในพัฒนาการด้านการพูด การสื่อสาร ควรพาลูกไปพบแพทย์ ตรวจรักษาและฝึกพูดอย่างถูกวิธี เพื่อที่ลูกจะได้มีพัฒนาการทางด้านการพูดที่ดีเหมาะสมกับช่วงวัย

headphones

PLAYING: ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

อ่าน 11 นาที

 

สรุป

  • พูดติดอ่าง คือ การพูดที่ลมหายใจไม่สัมพันธ์กับการพูด มีความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะผิดปกติ พูดซ้ำคำ พูดซ้ำเสียง พูดติดขัด ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้
  • อาการของ พูดติดอ่าง คือ จะพูดลากเสียงยาว , พูดซ้ำพยางค์ ซ้ำเสียง พูดซ้ำคำ , พูดแทรกคำไม่เหมาะสม , พูด และ หยุด อย่างไม่เหมาะสม
  • พูดติดอ่าง มักพบในเด็กวัย 3-8 ขวบ เป็นวัยที่กำลังพัฒนาทักษะการใช้ภาษา การพูด เด็กที่มีพ่อแม่มีประวัติ มีอาการพูดติดอ่างมาก่อน อาจทำให้เด็กมีโอกาสในการพูดติดอ่าง
  • พูดติดอ่าง สามารถแก้ไขให้หายได้ หากสังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่าง พูดไม่ชัด ควรรีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ พาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนโต การรักษาล่าช้าอาจทำให้การพูดติดอ่างเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของลูกได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กพูดติดอ่าง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม

การพูดติดอ่าง อาจมีสาเหตุจากความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม เด็กที่มีพ่อแม่มีประวัติ อาการพูดติดอ่างมาก่อน อาจทำให้เด็กมีโอกาสในการพูดติดอ่างได้ พูดติดอ่าง เกิดจากความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะผิดปกติ พูดซ้ำคำ พูดซ้ำพยางค์ พูดซ้ำเสียง พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ หรือสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดติดอ่าง มีอะไรบ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดูไม่ควรมองข้าม และควรหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อทำให้อาการพูดติดอ่างของลูกดีขึ้น ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกมีปัญหาในด้านการพูดติดอ่าง มีดังนี้

  • การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม: การเลี้ยงดู, สภาพแวดล้อม, และการตอบสนองของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูสามารถมีผลต่อการพูดไม่ชัดของลูกในวัยเด็ก
  • อารมณ์และจิตใจ: ความตึงเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพูดอาจส่งผลให้เด็กพูดไม่ชัด
  • ปัญหาระบบประสาทและสมอง: ลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีความล่าช้าในการพัฒนาทางภาษาอาจเกิดจากความล่าช้าของพัฒนาการสมองซีกซ้ายซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูดและการสื่อสาร

 

เด็กพูดติดอ่าง มีอาการอย่างไร

การพูดติดอ่าง จะมีลักษณะอาการอยู่ 2 แบบคือ

1. อาการหลักของเด็กพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะที่ผิดปกติ พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้ตามต้องการ เด็กจะพูดลากเสียงยาว พูดซ้ำ ๆ พยางค์ ซ้ำคำ พูดแทรกคำ พูดและหยุดอย่างไม่เหมาะสม อาการหลัก หรืออาการเด่นชัดของเด็กที่แสดงถึงการพูดติดอ่าง ได้แก่

  • พูดลากเสียงยาว:  เด็กอาจลากเสียงของพยางค์หรือคำให้ยาวกว่าปกติ เช่น "มมมแม่" แทนที่จะพูด "แม่" สั้น ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเริ่มพูดต่อไปแต่พบอุปสรรค
  • พูดซ้ำพยางค์ ซ้ำเสียง:  เด็กอาจพูดพยางค์หรือเสียงซ้ำหลายครั้ง เช่น "บาบาบา" หรือ "ทีทีที" ก่อนที่จะสามารถพูดคำเต็มได้ ซึ่งเกิดจากความยากในการเริ่มต้นคำ
  • พูดซ้ำคำ:  เด็กอาจพูดคำเดียวกันซ้ำหลายครั้ง เช่น "อยากอยากกิน" แทนที่จะพูด "อยากกิน" เพื่อให้ลูกได้เวลาในการควบคุมการพูด
  • พูด และ หยุด อย่างไม่เหมาะสม:  เด็กอาจพูดคำหรือประโยคแล้วหยุดกะทันหัน ทำให้ประโยคไม่สมบูรณ์ เช่น "ฉันจะ...ไปสวนสัตว์" หยุดกลางประโยค
  • พูดแทรกคำอย่างไม่เหมาะสม:  เด็กอาจใส่คำหรือเสียงเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น เช่น "เอ่อ... ฉันจะไปซื้อ... แพนเค้ก" ทำให้การพูดฟังดูไม่ลื่นไหล
  • พูดแบบไม่มีเสียงออกมา:  เด็กอาจพยายามพูดคำหรือประโยค แต่ไม่มีเสียงออกมาเลย เช่น พยายามพูด "น้ำ" แต่ไม่มีเสียงออกมาเลยซึ่งเป็นสัญญาณของความพยายามที่ไม่สำเร็จ

 

การพูดติดอ่างเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กเล็กวัยกำลังพัฒนาทักษะด้านภาษา และมักจะดีขึ้นเมื่อพัฒนาการด้านการพูดและภาษาของเด็กเจริญเติบโตขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นปัญหาเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประเมินและการช่วยเหลือเพิ่มเติมแต่เนิ่น

 

2. อาการรองของเด็กพูดติดอ่าง

เด็กที่พูดติดอ่างอาจแสดงออกร่วมกับอาการหลักขณะที่พูดติดอ่าง เพื่อจะให้คำพูดนั้น ๆ เปล่งเสียงออกมาได้

  • พูดอ้อม ๆ หลีกเลี่ยงคำ:  เด็กอาจพยายามใช้คำอื่นแทนคำที่พูดติดอ่าง หรือคำที่ยากเพื่อหลีกเลี่ยงการติดขัด เช่น ใช้คำว่า "สิ่งของ" แทน "กระเป๋า" เพื่อไม่ให้ติดอ่าง
  • กระทืบเท้า กระพริบตาถี่ ๆ ขมวดคิ้ว:  เด็กอาจมีพฤติกรรมที่ทำร่วมกับการพูดติดอ่าง เช่น กระทืบเท้าหรือขมวดคิ้ว เพื่อช่วยให้การพูดคล่องขึ้น
  • ไม่สบตา ไม่มองหน้าผู้ที่สนทนาด้วย:   เด็กอาจหลีกเลี่ยงการสบตาหรือมองหน้าผู้ที่พูดด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความตึงเครียดที่เกิดจากการพูดติดอ่าง
  • เม้มปาก เกร็งปาก อ้าปากค้าง:  เด็กอาจแสดงอาการทางกายภาพ เช่น เม้มปาก เกร็งปาก หรืออ้าปากค้าง เพื่อพยายามทำให้การพูดเป็นไปได้
  • ประหม่า กลัว เครียด อาย โกรธ ขาดความมั่นใจในตัวเอง:  อารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้อาจเพิ่มความรุนแรงของการพูดติดอ่าง เช่น ความเครียดหรือความกลัวเมื่อพูด
  • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม มีปมด้อย:  เด็กอาจหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือพูดในที่สาธารณะเนื่องจากรู้สึกไม่มั่นใจหรือมีปมด้อยจากการพูดติดอ่าง

 

หากลูกพูดแล้วไม่มีความมั่นใจ หลีกเลี่ยงการใช้คำ ไม่กล้าสบตา ประหม่า กลัว หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ลูกควรได้รับการประเมิน และการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ   ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

 

ลูกพูดไม่ชัดกับติดอ่างต่างกันอย่างไร

 

ลูกพูดไม่ชัดกับติดอ่างต่างกันอย่างไร

ลูกพูดไม่ชัดแตกต่างจากลูกพูดติดอ่าง การพูดติดอ่างนั้น เป็นการพูดที่ลมหายใจไม่สัมพันธ์กับการพูด มีอาการผิดปกติของจังหวะการพูด พูดซ้ำคำ พูดซ้ำพยางค์ พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนอาการของการพูดไม่ชัดคือ  เปล่งเสียงคำนั้น ๆ ออกมาไม่ชัดเจน จนนำเสียงใด ๆ มาทดแทน เช่น สวย ออกเสียง เป็น จ๋วย สาเหตุเกิดจากโครงสร้างที่ ลิ้น ฟัน ปาก ผิดปกติ หรือ การพูดไม่ชัดด้วยตัวเอง โดยปกติเด็ก ๆ จะออกเสียงพยัญชนะได้ชัดตามช่วงวัย คือ

  • เด็กอายุ 2.1-2.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ม น ห ย ค อ
  • เด็กอายุ 2.7-3 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ว บ ก ป
  • เด็กอายุ 3.1-3.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะเพิ่ม  ท ต ล จ ผ
  • เด็กอายุ 3.7-4 ปี ออกเสียงเพิ่ม  ง ค
  • เด็กอายุ 4.1-4.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ฟ
  • เด็กอายุ 4.7-5 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ช
  • เด็กอายุ 5.1-5.6 ปี  ออกเสียงพยัญชนะ  ส
  • เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป ออกเสียงพยัญชนะ  ร

 

หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่า ลูกพูดชัด หรือไม่ชัด ให้สังเกตตามช่วงอายุของลูกว่า ออกเสียงพยัญชนะในช่วงอายุนั้น ๆ ได้ชัดไหม หากลูกออกเสียงพยัญชนะไม่ชัด สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ อาจมีแนวโน้มว่า ลูกมีความเสี่ยงที่จะพูดไม่ชัด ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษา ฝึกฝนในการพูดอย่างถูกวิธี

 

พูดติดอ่าง ส่งผลเสียยังไงกับลูกบ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด หากไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม หรือปล่อยปัญหานี้ทิ้งไว้นาน อาจส่งผลเสียในชีวิตประจำวันให้กับลูกหลายอย่าง ดังนี้

  • ปมด้อยและความมั่นใจ:  ลูกอาจรู้สึกไม่มั่นใจและประหม่าเมื่อต้องพูด อาจเกิดปมด้อยและความกลัวในการสื่อสาร
  • ความเครียดและอาย:  ลูกอาจรู้สึกเครียด คับข้องใจ และอายที่จะพูด ทำให้ไม่กล้าสื่อสารกับผู้อื่น
  • การหลีกเลี่ยงสังคม:  การมีประสบการณ์การพูดที่ไม่ดี อาจทำให้ลูกหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ
  • การตอบสนองช้า:  ลูกอาจตอบคำถามช้า เพราะพยายามเลือกคำที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการติดอ่าง
  • การหลีกเลี่ยงการพูด:  ลูกอาจเลือกที่จะไม่พูดเลยเพื่อลดความกังวลใจ ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาการพูดติดอ่าง
  • การถูกล้อและปัญหาสังคม:  ลูกอาจถูกล้อจากเพื่อนหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม

 

พูดติดอ่างจะเกิดขึ้นกับเด็กกี่ขวบ

พูดติดอ่าง มักพบในเด็กวัย 3-8 ขวบ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาทักษะการพูดและภาษาเป็นส่วนใหญ่ เด็กจะมีความผิดปกติทางการพูด พูดซ้ำ ๆ ออกเสียงตะกุกตะกัก ติด ๆ ขัด ๆ ไม่สามารถสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการพูดของลูกให้ดี หากลูกพูดติดอ่างบ่อยขึ้น พบเห็นอาการติดอ่างของลูกมากขึ้น ควรรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

ลูกพูดติดอ่าง พ่อแม่รับมือยังไงได้บ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด สามารถพัฒนาแก้ไขให้หายติดอ่างได้ เมื่อสังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่างตั้งแต่แรก ไม่ควรปล่อยให้ลูกพูดติดอ่างจนโต คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแก้ไขการพูดติดอ่างนี้ให้ลูกได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก และความเข้าใจ  และให้เวลากับลูก ดังนี้

  • ฟังอย่างตั้งใจ:  ฟังลูกอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัด ไม่พูดแทรกลูก แสดงให้ลูกเห็นว่า ให้ความสำคัญเมื่อพูดกับลูกเสมอ
  • ไม่เร่งเร้า:  เวลาฟังลูกพูด ไม่เร่งเร้าให้ลูกพูด ไม่หงุดหงิดเมื่อลูกพูดติดอ่าง
  • มองหน้าธรรมชาติ:  มองหน้าลูกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ลุ้นมากจนลูกอึดอัด หรือรู้สึกกดดัน
  • พูดทวนซ้ำ:  พูดทวนซ้ำในประโยคที่ลูกพูดอย่างช้า ๆ และผ่อนคลาย
  • รอเวลาก่อนตอบ:  หลังจากลูกพูดจบ ให้รอเวลาก่อนจะตอบโต้ ด้วยการพูดช้า ๆ ผ่อนคลาย เช่น  “พูดใหม่อีกครั้งสิลูก”  “พูดให้ช้าลงนะลูก”
  • ใส่ใจเนื้อหา:  ใส่ใจในสิ่งที่ลูกพูด มากกว่าวิธีพูดของลูก เมื่อตั้งคำถามกับลูก ควรให้เวลาลูกในการตอบ
  • บรรยากาศสนุกสนาน: ทำให้บรรยากาศในการพูดคุยกับลูกสนุกสนาน ไม่เครียด ควรพูดในสิ่งที่ลูกสนใจ ชวนลูกอ่านหนังสือ อ่านนิทาน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ลูกฟัง
  • เป็นแบบอย่างที่ดี: คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการพูดให้กับลูก ไม่พูดแทรก ไม่พูดตัดบท ไม่พูดเร็ว พูดช้าลง
  • ลดการออกคำสั่ง:  ลดการออกคำสั่งให้ลูกพูดเองตามธรรมชาติ
  • แสดงความรัก:  แสดงความรู้สึกให้ลูกรู้ว่า รักลูก แม้ลูกจะพูดติดขัด หรือพูดติดอ่าง
  • แสดงความรู้สึกอื่น:  แสดงความรู้สึกกับลูกโดยวิธีการอื่น เช่น ลูบที่ตัวลูก ยิ้มให้ลูก
  • ลดความเครียด:  ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน ลดการตำหนิ สร้างวินัยให้ลูกแทนที่จะบังคับ
  • ชื่นชม:  ชื่นชมลูก เมื่อลูกทำได้ เมื่อลูกพูดได้ไม่ติดขัด
  • ไม่คาดหวัง:  ไม่คาดหวังในตัวลูกมากเกินไป ให้เวลาในการเรียนรู้ ฝึกพูด
  • พูดคุย:  หมั่นพูดคุย ทำความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัว ว่าไม่ให้ขัดขวางในการพูดของลูก
  • ทำกิจกรรมร่วมกับลูก:  หากิจกรรมทำร่วมกับลูก เช่น ทำอาหาร เล่นของเล่น ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลดความกังวลในการพูด

 

ลูกพูดติดอ่าง แก้ให้หายขาดได้ไหม

อาการพูดติดอ่าง เป็นความผิดปกติทางการพูดที่สามารถแก้ไขให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่างตั้งแต่แรก ๆ ไม่ควรปล่อยให้ลูกพูดติดอ่างทิ้งไว้จนโต เพราะการรักษาล่าช้าอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของลูกได้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

เป็นผู้ฟังที่ดีให้ลูก ช่วยแก้อาการพูดติดอ่างได้จริงไหม

การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นวิธีในการช่วยเหลือในการพูดติดอ่างได้ คุณพ่อคุณแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ ให้ความสำคัญในการสนทนากับลูก ทำให้ลูกมั่นใจ รู้สึกปลอดภัยที่จะพูดให้ฟัง ไม่ควรพูดขัดจังหวะ พูดแทรก ในขณะที่ลูกพูด ไม่แสดงความหงุดหงิดเมื่อลูกพูดติดขัด ไม่เร่งรัดให้ลูกรีบพูด เพื่อช่วยลดความตื่นเต้น ความกังวลเมื่อลูกพูดได้

 

การพูดติดอ่างหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับการพูดการสื่อสารของลูกนั้น เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขและพัฒนาให้ลูกได้ โดยใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตและไม่ควรล่าช้าในการปรับแก้ให้ลูก ฝึกให้ลูกพูดด้วยการใช้เวลา ไม่เร่งรัด ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าโดนบังคับหรือจ้องจับผิด ไม่ตำหนิลูก ควรฟังลูกอย่างตั้งใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับลูกแค่ไหน เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลดความกังวล และมั่นใจที่จะพูด

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. การฝึกพูดในผู้พูดติดอ่าง, สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  2. จ้อได้ จ้อดี ไม่มีติด, ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. ลูกพูดไม่ชัด ปัญหาที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม!, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ลูกพูดช้า พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง พ่อแม่อย่าชะล่าใจ, สถาบันราชนุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  5. จิตเวช: ทำอย่างไรดี ? เมื่อลูกพูดติด...ติด...อ่าง, โรงพยาบาลพระราม 9
  6. Stuttering, Webmd      
  7. เด็กพูดไม่ชัด สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา, HelloKhunmor
  8. การพูดติดอ่าง, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

วัยทอง 1 ขวบ คืออะไร ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการวัยทอง 1 ขวบ เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรีบมือ

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยอันตรายกับเด็กไหม เด็กก้าวร้าวกับพ่อแม่ เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอารมณ์ร้าย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก