ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

10.05.2024

นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม ดีเอชเอ และสฟิงโกไมอีลิน ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกน้อย คุณแม่จึงควรให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และสามารถให้นมแม่ได้นานถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น คุณแม่หลายคนจึงวางแผนให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุด ในบางกรณีที่คุณแม่ต้องฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด เรามาดูเคล็ดลับดี ๆ กันเลย!!!

headphones

PLAYING: วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • ลูกน้อยไม่ยอมดูดนมแม่จากขวดเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ลูกน้อยรู้สึกอิ่มนมแม่อยู่ จุกนมไม่เหมาะกับเด็ก ลูกติดเต้าคุ้นชินกับการกินนมจากเต้ามากกว่า หรือลูกน้อยรู้สึกไม่สบาย เป็นต้น
  • การให้ลูกฝึกดูดนมแม่จากขวดจะช่วยให้คุณแม่สามารถออกไปทำธุระได้สะดวก หรือกลับไปทำงานได้หลังจากวันลาคลอดหมดแล้ว โดยไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะไม่ได้กินนมแม่
  • วิธีฝึกลูกดูดนมแม่จากขวดมีหลายวิธี คุณแม่ต้องค่อย ๆ ฝึกลูกน้อยค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากลองให้คุณพ่อป้อนก่อน ในระหว่างนั้นอาจสลับให้ลูกเข้าเต้าบ้าง ลองให้ลูกได้ฝึกดูดจุกนมเพื่อให้ลูกมีความเคยชิน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ลูกน้อยไม่ยอดดูดนมแม่จากขวด

  1. ลูกน้อยอิ่มนมแล้ว
  2. มีอาการไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว
  3. คุ้นเคยกับการกินนมจากเต้า
  4. รสชาติของนมที่เปลี่ยนไป
  5. ลักษณะของจุกนม

 

ควรฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดนม ตอนไหนดี

ในกรณีที่คุณแม่มีปริมาณน้ำนมมาก คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยได้รู้จักขวดนมได้ก่อน 1 เดือน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ได้ โดยเริ่มจากการให้ลูกเข้าเต้าสลับกับการให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดวันละ 1-2 มื้อ เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมของคุณแม่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่ให้ลูกได้ดูดนมแม่จากขวดเพียงอย่างเดียวในช่วง 3-4 สัปดาห์แรกหลังคลอดอาจเร็วเกินไป เพราะทำให้น้ำนมของคุณแม่ถูกกระตุ้นได้ไม่ดีมากนัก ซึ่งส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่อาจลดลงได้ ในทางตรงกันข้าม หากคุณแม่เริ่มต้นให้ลูกดูดนมช้าไปอาจทำให้ลูกติดเต้าพออยากให้ลูกน้อยเริ่มดูดนมแม่จากขวดอาจทำได้ยาก



ลูกติดเต้า ไม่ดูดขวด มีข้อเสียอะไรบ้าง

 

ลูกติดเต้า ไม่ดูดขวด มีข้อเสียอะไรบ้าง

เมื่อลูกน้อยติดเต้าไม่ยอมกินนมแม่จากขวดอาจส่งผลต่อการกินนมของลูกในอนาคต เพราะถ้าลูกติดเต้ามาก ๆ เมื่อคุณแม่ไม่ว่างมีความจำเป็นต้องออกไปทำธุระทำให้คุณแม่ไม่สามารถทิ้งลูกน้อยไปได้ ในกรณีที่คุณแม่เจ็บป่วยขึ้นมาแล้วไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ หรือคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานอาจทำให้ลูกน้อยได้รับนมไม่เพียงพอต่อความต้องการได้

 

วิธีให้ลูกดูดขวด ฝึกลูกได้ไม่ต้องบังคับ

การที่จะให้ลูกน้อยดูดนมแม่จากขวดทันทีอาจเป็นเรื่องที่ยาก คุณแม่จะต้องเริ่มจากการค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมการกินนมของลูกน้อยเพื่อให้เด็กสามารถเปลี่ยนจากการดูดนมจากเต้าแล้วไปดูดนมแม่จากขวดแทน ซึ่งวิธีการฝึกลูกดูดนมแม่จากขวด มีดังนี้

  • ลองให้คนอื่นป้อนดู: บางครั้งที่ลูกไม่ยอมดูดนมแม่จากขวดเพราะเห็นคุณแม่และคาดหวังว่าจะได้กินนมจากเต้า คุณแม่ลองเปลี่ยนให้คุณพ่อหรือคนที่ช่วยเลี้ยงให้ป้อนนมลูกน้อยแทน ช่วงแรกลูกอาจร้องไห้งอแงไม่ยอมดูดนมแต่คุณแม่ต้องอดทนรอเวลาก่อน พอลูกหิวนม มาก ๆ แล้วแม่ไม่ยอมมาจะช่วยให้ลูกเริ่มดูดนมแม่จากขวดได้
  • สลับให้นมจากเต้า และนมขวด: คุณแม่ควรค่อย ๆ ให้ลูกน้อยได้ทำความรู้จักกับการดูดนมแม่จากจุกยางก่อน โดยการให้ลูกกินนมจากเต้าแล้วสลับกับดูดนมแม่จากจุกยางหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และปรับตัวให้คุ้นชินกับการดูดนมทีละน้อย
  • ให้ลูกดูดนมขวดตอนหิวมาก ๆ : หากคุณแม่ลองมาหลายวิธีแล้ว ลองพยายามให้ลูกกินนมแม่จากขวดเมื่อลูกน้อยรู้สึกหิวมาก ๆ เพราะอาจทำให้เด็กยอมดูดนมแม่จากขวดได้
  • เปลี่ยนจุกนม: บางครั้งลักษณะของจุกนมหรือขนาดของจุกนมอาจไม่ตอบสนองต่อการดูดนมของลูกน้อยได้ คุณแม่ลองเปลี่ยนจุกนมที่มีเนื้อสัมผัสคล้ายกับหัวนมแม่ก่อนอย่างจุกนมที่ทำจากยางธรรมชาติ เพราะมีความนิ่มและมีขนาดรูที่เล็กเหมาะสำหรับลูกน้อย เพื่อที่จะช่วยให้ลูกสามารถเริ่มต้นดูดนมจากจุกได้ดีขึ้น
  • จัดท่าให้นม: ถ้าลูกน้อยไม่ยอมดูดนมจากขวดคุณแม่ลองเปลี่ยนท่าให้นมก่อน โดยพยายามจัดท่าให้ตัวเองนั่งตัวตรง อุ้มลูกให้ศีรษะแนบชิดกับอก และถือขวดนมให้ขนานกับพื้น หรือในกรณีที่ลูกนอนอยู่ให้คุณแม่จัดท่าลูกน้อยในลักษณะนอนแนวตรง แล้วเอียงขวดนมเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เด็กดูดอากาศเข้าไป

 

การเลือกจุกขวดนมที่ถูกใจลูก ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ประเภทของจุกนมและขนาดของจุกนมล้วนมีความสำคัญมาก คุณแม่จึงควรเลือกจุกนมที่เหมาะสมกับลูกน้อยมากที่สุด เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันปัญหาการสำลักนมเนื่องจากนมไหลเร็วเกินไป วิธีเลือกจุกนมให้ลูกน้อย มีดังนี้

ประเภทของจุกนม

มีทั้งแบบยางและซิลิโคน หากคุณแม่ต้องการจุกนมที่นุ่มแนะนำให้เลือกยางเพราะมีทั้งความนิ่มและการยืดหยุ่นได้ดี แต่ข้อเสียคือมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า ในขณะที่จุกนมซิลิโคนจะมีความคงทนมากกว่า แน่นกว่า จึงใช้งานได้ยาวนานกว่า

 

ลักษณะของจุกนม

โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบ คือ จุกนมปลายมนคล้ายระฆัง เป็นจุกนมธรรมดาทั่วไป หากลูกน้อยติดเต้าแนะนำให้เลือกใช้จุกนมปลายเรียบแบน ซึ่งจะมีฐานที่กว้างคล้ายกับการดูดนมจากเต้าของคุณแม่มากกว่า ในกรณีที่แม่อยากให้ลูกดูดนมได้ดียิ่งขึ้นอาจเลือกใช้จุกนมแบบปลายแหลมแบนที่ออกแบบมารองรับบริเวณเพดานปาก เหงือก และลิ้นของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

 

ขนาดของรูจุกนม

คุณแม่ควรเลือกขนาดของรูจุกนมตามช่วงวัยและความเหมาะสมกับเด็ก หากลูกน้อยอยู่ในวัยทารกควรเลือกรูจุกนมขนาดเล็กเพื่อชะลอการไหลของนมให้ช้าลง ลูกจะได้ไม่เกิดการสำลักนม เมื่อลูกน้อยโตขึ้นมาคุณแม่ค่อยเปลี่ยนมาใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้น้ำนมไหลทันตามความต้องการของลูกน้อย

 

ควรฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดกี่สัปดาห์ก่อนแม่กลับไปทำงาน

คุณแม่ที่มีวันลาจำกัดและจำเป็นต้องกลับไปทำงาน แนะนำให้คุณแม่ควรเริ่มฝึกลูกดูดนมและควรวางตารางปั๊มนม ล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนเริ่มกลับไปทำงาน เพื่อเตรียมสต๊อกน้ำนมแม่ไว้ให้ลูกน้อย ในระหว่างนั้นคุณแม่ควรอยู่ให้ห่างจากลูกในช่วงเวลาให้นมแล้วให้คนดูแลมาคอยป้อนนมให้ลูกแทน เพื่อที่ลูกจะได้ค่อย ๆ ปรับตัวให้คุ้นชินเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

 

การฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดคุณแม่ไม่ควรเริ่มต้นช้าเกินไปเพราะอาจทำให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กติดเต้าได้ แต่ก็ไม่ควรเริ่มต้นฝึกลูกเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้คุณแม่ได้รับการกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่น้อยเกินไปจนทำให้ปริมาณน้ำนมเริ่มลดน้อยลงได้ หากคุณแม่ไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำในการเริ่มฝึกลูกดูดนมแม่จากขวดในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกไม่ยอม ดูดนมจากขวด จะรับมืออย่างไรดี, hellokhunmor
  2. ไม่อยากเฝ้าแต่ลูกติดเต้าทำไงดี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  3. กินนมขวด เทคนิคสำคัญสำหรับการฝึกให้ลูกกินนมขวด, hellokhunmor
  4. Here’s How to Bottle-Feed Your Baby, whattoexpect
  5. จุกนมทารก เลือกให้ถูก ทำความสะอาดให้เป็น, pobpad
  6. Planning to Be Away from Your Baby: Introducing a Bottle, stanford medicine childrens health

อ้างอิง ณ วันที่ 18 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก