วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

03.04.2024

ประโยชน์ของ "นมแม่" มีอยู่มากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน และภูมิคุ้มกันสำหรับลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในระหว่างเส้นทางนมแม่ คุณแม่อาจจะเจอปัญหาเกี่ยวกับเต้านมทั้งเต้านมอุดตัน และเต้านมอักเสบ ทำให้การให้นมแม่สะดุดลง สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังเผชิญปัญหานี้อยู่ เรามาดูเคล็ดลับการนวดเปิดท่อน้ำนมมาฝากกันค่ะ

headphones

PLAYING: วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเตรียมเต้านมให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ก่อนคลอดด้วยการนวดเต้านม เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมช่วยให้น้ำนมไหลสะดวกยิ่งขึ้น
  • คุณแม่ที่มีปัญหานมคัด ท่อนมอุดตัน และนมอักเสบ สามารถใช้วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมเพื่อกระตุ้นน้ำนมให้ไหลระบายออกมาได้ด้วยตัวเอง หรือใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

นวดเปิดท่อน้ำนม เริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเตรียมเต้านมให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ก่อนคลอด และสามารถบีบเอาน้ำนมเหลืองได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถขอคำแนะนำการนวดเต้านมเพื่อเปิดท่อน้ำนมเตรียมไว้หลังคลอด หรือการบีบน้ำนมเหลืองตั้งแต่ก่อนคลอดได้จากคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

 

นวดกระตุ้นน้ำนม ช่วยให้น้ำนมไหลเยอะขึ้นจริงไหม

การนวดกระตุ้นเต้านม เป็นการช่วยกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่โดยการกระตุ้นท่อน้ำนมที่อยู่ในต่อมน้ำนม ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมของคุณแม่เพิ่มสูงขึ้นผ่านการนวด ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มนวดเต้านม ควรล้างมือให้สะอาดก่อน แล้วค่อยหาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบที่เต้านมประมาณ 1-3 นาที จากนั้นค่อย ๆ นวดตามทีละขั้นตอน

 

นวดเปิดท่อน้ำนม มีข้อดีมากมาย

การนวดเปิดท่อน้ำนม คุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอดลูก ซึ่งข้อดีของการนวดเปิดท่อน้ำนม ได้แก่

ช่วยลดอาการคัดเต้า

อาการคัดเต้ามักเกิดขึ้นหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้ว อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังคลอด เพราะนมที่ถูกสร้างขึ้นมาเต็มเต้าไม่สามารถระบายออกได้ทัน ลักษณะของเต้านมคัดตึง คือ เต้านมแข็งทั้งเต้า น้ำนมไหลน้อย

 

ช่วยเคลียร์เศษไขมันที่สะสมตามท่อน้ำนมออก

คุณแม่หลายคนอาจประสบปัญหาน้ำนมค้างจนไม่สามารถระบายออกมาได้ ทำให้เกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน มีอาการปวดบวมขึ้นมา ซึ่งการนวดเปิดเต้าช่วยสลายไตหรือก้อนแข็ง ๆ ที่อยู่ตามท่อออกได้

 

ช่วยเปิดทางให้น้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการที่น้ำนมไม่สามารถระบายออกมาได้ การนวดเปิดท่อน้ำนมจึงช่วยให้น้ำนมไหลออกมาจากท่อได้ง่ายขึ้น

 

ลดโอกาสการเกิดเต้านมอักเสบ หรือเต้านมเป็นฝีได้

เมื่อคุณแม่มีอาการท่อน้ำนมอุดตันอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะถ้าปล่อยไว้อาการจะรุนแรงขึ้นจนพัฒนากลายไปเป็นเต้านมอักเสบ หรืออาจกลายไปเป็นก้อนฝี ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บและปวดมากขึ้น

 

นวดเปิดท่อน้ำนม ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือเปล่า?

การนวดเปิดท่อ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ ซึ่งลักษณะของเต้านมอักเสบ (mastitis) คือ เมื่อคุณแม่คลำที่เต้านมแล้วจะรู้สึกเป็นก้อน บวม จับแล้วเจ็บมาก บางคนมีอาการไข้และหนาวสั่น ส่วนอาการน้ำนมอุดตัน (blocked duct) คลำแล้วพบก้อนที่เต้านมและกดแล้วรู้สึกเจ็บเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกับเต้านมอักเสบตรงมีอาการไข้ ส่วนน้ำนมอุดตันไม่มีไข้ แต่อาจมีจุดขาวที่เรียกว่า white dot ที่หัวนมร่วมด้วย

 

แม่ที่มีปัญหานมคัด ท่อนมอุดตัน และนมอักเสบ สามารถใช้วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมเพื่อกระตุ้นน้ำนมให้ไหลระบายออกมา ด้วยการนวดด้วยตัวเองหรือให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการของคุณแม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ต้องการนวดเต้าด้วยตัวเองสามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอเพิ่มเติมได้


สำหรับวิธีการนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่

  • การประคบอุ่นด้วยแผ่นความร้อน
  • การอัลตราซาวด์เปิดท่อน้ำนม
  • การนวดเปิดท่อน้ำนมอย่างนุ่มนวล
  • การนวดเปิดท่อน้ำนมด้วยตนเอง

 

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนมที่คุณแม่สามารถทำตามได้เองง่าย ๆ

 

ขั้นตอนการนวดเปิดท่อน้ำนม คุณแม่ทำตามได้เลย

การนวดเปิดท่อน้ำนมคุณแม่หลังคลอด สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถลุกนั่งได้สะดวก

  • ให้เริ่มจากล้างมือให้สะอาด
  • ใช้ปลายนิ้วกดนวดที่บริเวณเต้านมเป็นรูปก้นหอย
  • ค่อย ๆ นวดจากฐานเต้านมไปจนถึงลานนม

 

สำหรับคุณแม่ที่สามารถลุกนั่งได้สะดวก ไม่มีการให้น้ำเกลือ 

ให้เริ่มจากล้างมือให้สะอาด แล้วนำผ้าไปชุบน้ำอุ่น

  • ท่าที่ 1: ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม โดยใช้มือขวาโอบบริเวณขอบรอยต่อของเต้านมกับสีข้างใต้รักแร้ หากเต้านมใหญ่มากให้ใช้มือขวาโอบเต้านมไว้ จากนั้นให้คุณแม่ใช้มือซ้ายเข้ามาวางต่อบริเวณเหนือนิ้วโป้ง แล้วค่อย ๆ บีบนวดเป็นแนวตรง ทำเป็นจังหวะช้า ๆ 8 ครั้ง
  • ท่าที่ 2: นำผ้าที่ชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม แล้วใช้มือขวาวางบริเวณข้างขอบเต้านม ใช้อุ้งมือช่วงนิ้วก้อยดันเต้านมขึ้นเป็นแนวเฉียง (ตรงข้ามกับหัวไหล่) ทำแบบนี้เป็นจังหวะช้า ๆ 8 ครั้ง
  • ท่าที่ 3: นำผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบเต้านม ใช้มือขวารองบริเวณใต้ราวนมด้านซ้าย แล้วใช้มือซ้ายรองใต้มือขวา จากนั้นใช้โคนนิ้วก้อยของมือซ้ายดันขึ้นเป็นแนวตรง ทำแบบนี้เป็นจังหวะ 8 ครั้ง

 

วิธีนวดเต้าหลังคลอด ที่คุณแม่ควรฝึกไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด

คุณแม่หลังคลอดที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันที สามารถใช้วิธีนวดเต้าเพื่อกระตุ้นน้ำนมหลังคลอดได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. ท่าผีเสื้อขยับปีก (Butterfly stroke): เริ่มจากวางมือที่เต้านมด้านในนิ้วชิดกัน แล้วค่อย ๆ นวดหมุนวนจากเต้าด้านในออกไปด้านนอก
  2. ท่าหมุนวนปลายนิ้ว (Fingertip circles): ใช้อุ้งมือข้างหนึ่งรองเต้านมโดยที่ส่วนปลายนิ้วทั้ง 4 ของมืออีกข้างวางเหนือลานนม แล้วนวดหมุนไปรอบ ๆ ทำซ้ำแบบนี้ 5 รอบ
  3. ท่าประกายเพชร (Diamond stroke): ใช้ฝ่ามือวางทาบลงบนเต้านมโดยนิ้วโป้งอยู่ด้านบน อีก 4 นิ้วที่เหลืออยู่ด้านล่าง จากนั้นบีบมือทั้ง 2 เข้าหากัน พร้อมกับค่อย ๆ เลื่อนมือลงไปที่ลานนม ทำแบบนี้สลับกันขึ้นลง
  4. ท่ากระตุ้นท่อน้ำนม (Acupressure point l): ยกมือข้างซ้ายวางไปด้านหลังบริเวณท้ายทอย แล้วใช้นิ้วชี้มืออีกข้างวางบริเวณเหนือบริเวณลานนมประมาณหนึ่งข้อนิ้ว จากนั้นกดนิ้วชี้ลงพร้อมกับวนที่ปลายนิ้วในตำแหน่งเดียวกัน
  5. ท่าเปิดท่อน้ำนม (Acupressure point ll): ยกมือข้างขวาวางไปด้านหลังบริเวณท้ายทอย โดยใช้สามนิ้วของมือข้างขวาวางทาบเหนือลานนม แล้วใช้สามนิ้วของมือซ้ายวางทาบต่อจากนิ้วสุดท้ายของมือขวา จึงจะได้ตำแหน่งการวางของนิ้วชี้ข้างซ้ายสำหรับนวด จากนั้นจึงกดและหมุนวนลงในตำแหน่งที่วัดได้คลายและกดลง ทำซ้ำแบบนี้ 5 ครั้ง
  6. ท่าพร้อมบีบน้ำนม (Final steps): ในขั้นตอนสุดท้ายต้องทำให้ครบทั้ง 4 ท่า โดยทุกขั้นตอนต้องไม่สัมผัสถูกกับหัวนมของคุณแม่ เริ่มจาก
    • ใช้อุ้งมือขวาประคองเต้า แล้วใช้นิ้วชี้ข้างซ้ายกดและหมุนวนไปโดยรอบลานนม
    • วางนิ้วมือขวาไว้บนเต้าขวา แล้วกดนิ้วเข้าหากัน พร้อมกับคลึงไปมาอย่างนุ่มนวล
    • ใช้เฉพาะนิ้วชี้วางนาบลงที่ขอบลานนมทั้งสองข้างในแนวตั้ง จากนั้นกดนิ้วทั้งสองเข้าหากันในลักษณะบีบ แล้วคลายสลับกัน
    • วางนิ้วมือขวาเต้าซ้ายแล้วกดนิ้วเข้าหากันในลักษณะบีบแล้วคลายสลับกัน

 

นมแม่มีความสำคัญต่อลูกน้อย เพราะเป็นโภชนาการเดียวที่ลูกน้อยได้รับ คุณแม่หลายคนจึงต้องพยายามให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลเพราะปัญหาของเต้านมที่อาจทำให้การให้นมแม่หยุดชะงักไป ดังนั้น เมื่อคุณแม่รู้สึกว่าน้ำนมเริ่มมีการอุดตัน อย่าชะล่าใจให้ลองใช้ผ้าอุ่นประคบก่อน หากไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นควรเข้ารับการรักษาและขอคำแนะนำจากแพทย์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. Antenatal Expressing, Sutherland Hospital
  2. เทคนิคการนวดเต้านม, โรงพยาบาลวิภาวดี
  3. นวดเปิดท่อน้ำนม และอัลตราซาวด์, โรงพยาบาลนนทเวช
  4. การนวดเต้านมด้วยตนเองเพื่อกระตุ้นน้ำนมในมารดาหลังคลอด, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. เทคนิคการนวดเต้านม, โรงพยาบาลวิภาวดี

อ้างอิง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก