วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

10.05.2024

ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม ทารกแรกเกิดจะได้รับ น้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งเป็นน้ำนมที่ร่างกายผลิตออกมาในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกหลังคลอด นอกจากนี้ในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ที่เป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาสมองทารกอีกด้วย

headphones

PLAYING: วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • น้ำนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวที่เหมาะสำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน น้ำนมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกหลังคลอด และน้ำนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลาย รวมถึงสฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตของสมองของทารก
  • การบีบนมแม่ด้วยมือ ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม ลดปัญหาอาการคัดเต้า การไหลซึมของน้ำนม และลดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct) ได้
  • การบีบนมแม่ เพื่อให้ได้น้ำนมสำหรับทารก เมื่อมารดาและทารกที่ต้องแยกจากกัน หรือเมื่อทารกไม่ยอมหรือไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่ต้องรู้ ข้อดีของการบีบนมแม่

1. ช่วยกระตุ้นน้ำนม

น้ำนมจะถูกผลิตโดยเซลล์ผลิตน้ำนมแล้วไหลผ่านท่อมาเก็บที่กระเปาะน้ำนม เมื่อเซลล์ผลิตน้ำนมได้รับการกระตุ้นจะทำให้เกิดกลไกน้ำนมพุ่ง หากน้ำนมได้รับการบีบกระตุ้นจากเครื่องปั๊มน้ำนม น้ำนมจะพุ่งออกมาเหมือนสเปรย์ แต่การบีบด้วยนิ้วมือจะมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า ความรู้สึกสัมผัสระหว่างมือกับผิวหนังช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีกว่าฝาครอบพลาสติกสัมผัสกับผิวหนัง

 

2. ช่วยลดอาการคัดเต้า

อาการคัดเต้านม เกิดขึ้นได้บ่อย มักเกิดจากสาเหตุที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ หรือให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำนมไม่ไหล ออกมา น้ำนมเดิมไม่ได้ระบายออก น้ำนมใหม่ผลิตออกมา ร่วมกับการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง ทำให้เกิดอาการคัดตึงเต้านม เป็นอาการที่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด คัดเต้ามีลักษณะบวม ตึง แข็ง ผิวแดงเริ่มที่ขอบลานนม ทำให้บริเวณเต้านมร้อน หัวนมแข็ง ปวด อาการนี้อาจทำให้แม่ให้นมบางคนถึงกับมีไข้ ซึ่งการบีบนมแม่ด้วยมือช่วยลดปัญหาคัดเต้าได้ เมื่อน้ำนมไหลออกมาเต้านมจะเริ่มนิ่มขึ้น คลายมากขึ้น อาการเจ็บคัดเต้านมจะค่อย ๆ ทุเลาลง

 

3. ลดการไหลซึมของน้ำนม

คุณแม่บางคนน้ำนมเยอะ ผลิตออกมารวดเร็ว จนลูกดูดไม่ทัน ทำให้ไหลออกมาจากเต้านม การบีบนมแม่ช่วยลดปัญหาการไหลของน้ำนมได้ คุณแม่อาจใช้วิธีบีบเก็บน้ำนมแม่เป็นสต็อกไว้ให้ลูกกิน เพื่อให้น้ำนมเหลืออยู่ในเต้าไม่เยอะเกินไป และยังช่วยป้องกันการสำลักนมแม่ได้

 

4. ลดการอุดตันของท่อน้ำนม

แม่ให้นมบางคนร่างกายผลิตน้ำนมได้มาก จนทารกดูดไม่ทัน หรือทารกดูดนมไม่ถูกวิธี หรือแม่ให้นมปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านานเกินไป นอกจากนี้การใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไปทำให้น้ำนมไหลเวียนไม่สะดวก เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำนมได้ การบีบน้ำนมแม่ช่วยทำให้น้ำนมไหลเวียนสะดวกขึ้น ช่วยถ่ายเทน้ำนมออกจากเต้า

 

ขั้นตอนการบีบนมแม่ด้วยมือ

น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และเป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ในช่วงเวลาดังกล่าวควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอสำหรับทารกน้อย การบีบน้ำนมด้วยมือ ช่วยคุณแม่ได้ เพื่อป้องกันปัญหาเต้านมคัดตึง หรือท่อน้ำนมอุดตัน การบีบนมแม่ด้วยมือ ทำได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด
  • ให้คุณแม่จัดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นรูปตัว U ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน วางไว้บนเต้านม หัวแม่มือจะอยู่ที่ตำแหน่งห่างจากฐานหัวนมประมาณ 3-4 เซนติเมตร (2 นิ้วมือ) และนิ้วชี้วางใต้หัวนมห่างจากฐานหัวนม 3-4 เซนติเมตร ปลายนิ้วหัวแม่มือ ปลายนิ้วชี้ และหัวนมอยู่ในแนวเดียวกัน

 

บีบน้ำนมให้ปฏิบัติ ดังนี้

  • จังหวะที่ 1 กดเข้าหากระดูกทรวงอก
  • จังหวะที่ 2 บีบหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากัน โดยที่นิ้วอยู่หลังลานหัวนมไม่ไถไปตามผิวหนัง และเข้าไปในลานนม ลานนมต้องไม่หยุ่น หรือการหยุ่นของลานนมเวลาบีบน้ำนมเป็นปัจจัยของการเกิดรอยย่นของลานนม
  • จังหวะที่ 3 คลายนิ้วที่บีบโดยไม่ถูกยกขึ้นจากผิวหนัง
  • ย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือ รอบ ๆ ลานนม เมื่อน้ำนมไหลย้อยเพื่อบีบน้ำนมออกให้ทั่วเต้า
  • เปลี่ยนเต้าที่บีบ เมื่อน้ำนมไหลออกน้อยหรือไหลช้า

 

วิธีบีบนมด้วยมือ ใช้เวลานานแค่ไหน

ปกติแล้วการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีระยะเวลา ดังนี้

  • บีบน้ำนมแต่ละข้างออก ใช้เวลาประมาณ 5-7 นาที
  • กระตุ้นด้วยการนวด
  • คุณแม่บีบน้ำนมออกอีก ข้างละ 3-5 นาที
  • กระตุ้นด้วยการนวดอีกครั้ง
  • บีบน้ำนมออกอีก ข้างละ 2-3 นาที

 

น้ำนมที่บีบออกมาแล้ว เก็บไว้ได้นานแค่ไหน

ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่ มีระยะเวลาการเก็บรักษาที่แตกต่างกันตามอุณหภูมิของสถานที่เก็บรักษา ดังนี้

1. เก็บรักษาน้ำนมแม่ในอุณหภูมิห้อง

  • อุณหภูมิห้อง 16-26 องศาเซลเซียส เก็บรักษานมแม่ได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิห้อง 27-32 องศาเซลเซียส เก็บรักษานมแม่ได้นาน 3-4 ชั่วโมง

 

2. เก็บรักษาน้ำนมแม่ในกระติกน้ำแข็ง

  • การเก็บรักษานมแม่ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งอยู่แช่ตลอดเวลา อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บรักษานมแม่ได้นาน 24 ชั่วโมง

 

3. เก็บรักษาน้ำนมแม่ในตู้เย็นช่องธรรมดา

  • การเก็บรักษานมแม่ ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3-5 วัน ควรจัดวางถุงเก็บน้ำนมแม่ไว้ด้านในสุดของตู้เย็น เพื่อไม่ให้ปะปนกับของแช่อื่น ๆ และไม่ควรเก็บไว้ที่ประตูตู้เย็นเพราะความเย็นจะไม่สม่ำเสมอ

 

4. เก็บรักษาน้ำนมแม่ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง

การเก็บรักษานมแม่ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง มีระยะเวลาการเก็บรักษานมแม่ ดังนี้

  • ในตู้เย็นช่องแช่แข็งอุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • ในตู้เย็นช่องแช่แข็งอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3-6 เดือน
  • ในตู้เย็นช่องแช่แข็งชนิดพิเศษ อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 6-12 เดือน

 

5. การให้นมแม่ที่สต็อก ต้องละลาย/อุ่นนมอย่างไร?

  • ไม่ควรอุ่นนมด้วยไมโครเวฟ เพราะจะทำให้นมร้อนเกินไปจนทารกไม่สามารถดื่มได้ และเสียคุณค่าทางอาหาร ความร้อนจะทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมแม่
  • คุณแม่ใช้วิธีการแกว่งถุงน้ำนมในภาชนะที่ใส่น้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนจัด การแกว่งน้ำนมในน้ำอุ่น นมแม่ยังคงมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหาร ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทารกน้อยได้
  • เมื่อต้องการนำนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำลงมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน (12 ชั่วโมง) และสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งอีก

 

วิธีบีบน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนม มีข้อดีอะไรบ้าง

 

วิธีบีบน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนม มีข้อดีอะไรบ้าง

  • ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้น้ำนมแม่ไหลออกมามากขึ้น
  • ช่วยเก็บสำรองน้ำนมแม่ไว้ให้ทารก
  • ช่วยบรรเทาอาการคัดเต้านม ท่อน้ำนมอุดตัน
  • ช่วงเวลาที่แม่ปั๊มนม เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อจะได้ใกล้ชิดลูก ได้ดูแลลูกน้อยแทนคุณแม่

 

วิธีเลือกเครื่องปั๊มนมคุณภาพ

  • เครื่องปั๊มนมแบบมือ ราคาไม่แพงและมีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน เพราะปั๊มแบบมือใช้เวลาค่อนข้างนาน
  • เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า ราคาสูงกว่าแบบใช้มือ แต่ใช้งานง่ายกว่า ใช้ปั๊มแบบข้างเดียวหรือปั๊มพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้ ประหยัดเวลาของคุณแม่ และได้ปริมาณน้ำนมมากกว่าเครื่องปั๊มแบบมือ

 

นมแม่ถือเป็นอาหารชั้นเลิศ และเป็นอาหารหลักที่สำคัญสำหรับทารกช่วงวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ประโยชน์ของนมแม่มีมากมาย โดยเฉพาะน้ำนมเหลือง (Colostrum) เป็นน้ำนมที่ร่างกายของคุณแม่ผลิตออกมาหลังคลอดในช่วง 72 ชั่วโมงแรก นมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกได้ตั้งแต่หลังคลอด นอกจากนี้ในน้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของสมองทารกอีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. เหตุผลในการบีบนมแม่, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. Breastfeeding (การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. ท่อน้ำนมอุดตัน, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  4. เคล็ดลับการบีบหรือปั๊มนมแม่ การเก็บรักษานมแม่, โรงพยาบาลศิครินทร์
  5. คำแนะนำวิธีการเก็บน้ำนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  6. ปั๊มนมอย่างไรให้ถูกต้อง, pobpad
  7. เทคนิคการจัดการนมแม่ให้ลุกอิ่มหนำสำราญ, โรงพยาบาลเวชธานี
  8. วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new), breastfeedingthai

อ้างอิง ณ วันที่ 19 มกราคม 2567
 

บทความแนะนำ

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก