นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน เก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

05.02.2024

เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่นั้นดีที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะการให้ลูกกินนมจากเต้า แต่ในกรณีที่คุณแม่ต้องทำงานประจำไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา แต่อยากให้ลูกน้อยได้กินนมแม่นานที่สุด สามารถใช้วิธีการปั๊มนมเก็บสต็อกได้ ดังนั้นการเก็บรักษานมแม่ให้ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ และทำความเข้าใจกันว่า นมแม่นั้นอยู่ได้กี่ชั่วโมง นมแม่เก็บได้นานแค่ไหน และวิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้องนั้น ควรเก็บอย่างไร

headphones

PLAYING: น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุในการจัดเก็บนมแม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา เช่น ถ้าตั้งอยู่ในอุณหภูมิห้อง จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในตู้เย็น จะสามารถอยุ่ได้นาน 3-5 วัน เป็นต้น
  • เมื่อนำนมแม่ที่เก็บสต็อกมาให้ลูกดื่มแล้ว ควรทานให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมเหลือจากการป้อนลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1 – 2 ชั่วโมง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เพราะอาหารที่ดีที่สุดของลูก คือ นมแม่ พราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย และด้วยไลฟ์สไตล์ของคุณแม่ในยุคปัจจุบัน ที่อาจไม่ได้ว่างอยู่บ้านให้นมลูกจากเต้าตลอดเวลา ดังนั้นการจัดเก็บรักษานมแม่ให้ถูกวิธี คือสิ่งสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้ ซึ่งคุณแม่หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ซึ่งเป็นคำถามที่ดี และคำตอบที่เหมาะสมกับคำถามนี้คือ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยระยะเวลาเฉลี่ยของอายุในการจัดเก็บนมแม่ที่ถูกสต็อกออกมานั้น จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ชั่วโมง จนไปถึง 12 เดือน ดังนั้น เราจะมาดูกันว่า วิธีใดบ้างที่สามารถเก็บรักษานมแม่ได้ และแต่ละวิธีมีอายุในการจัดเก็บนมแม่เท่าไร

 

การเก็บนมแม่สำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการเก็บนมแม่นั้น ก็เพื่อเป็นการสต็อกน้ำนมไว้ให้ลูกดื่มอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงไลฟ์สไตล์ของคุณแม่หลังคลอดแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป เช่น หากเป็นคุณแม่ Full Time ที่สามารถอยู่บ้าน อยู่กับลูกได้ตลอดเวลา การสต็อกน้ำนมก็อาจไม่ต้องเก็บเยอะ ไม่ต้องใช้วิธีที่เก็บได้นานมากนัก เพราะสามารถให้นมลูกได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นคุณแม่ที่ไปทำงานเช้ากลับเย็น ต้องห่างลูกในช่วงเวลาทำงาน ก็ต้องวางแผนการเก็บน้ำนม ให้เพียงพอในแต่ละวัน เป็นต้น เพราะอาหารที่ดีที่สุดของลูก คือ นมแม่

 

วิธีการเก็บรักษานมแม่

สำหรับวิธีการเก็บรักษานมแม่ หรือการสต็อกนมแม่นั้น มีอยู่หลากหลายวิธีได้แก่

  • เก็บในอุณหภูมิห้อง ซึ่งหมายถึงการปั๊มนมออกมา พร้อมให้ลูกดื่มได้เลย
  • เก็บในกระติกน้ำแข็ง
  • เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
  • เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  • เก็บในตู้แช่แข็ง

 

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง

คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง อย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่า อายุในการจัดเก็บนมแม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา ได้แก่

  • อุณหภูมิห้อง ที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส (ประมาณ 27-32 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิห้อง ที่น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส (ประมาณ 16-25 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  • กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็ง (ประมาณ 15 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  • ตู้เย็นช่องแช่ธรรมดา (ประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 3-5 วัน
  • ช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว (ประมาณ -15 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  • ช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูแยก (ประมาณ -18 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 3-6 เดือน
  • ช่องแช่แข็งเย็นจัดของตู้เย็นชนิดพิเศษ Deep Freezer (ประมาณ -20 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นาน 6-12 เดือน

 

นมแม่แช่ตู้เย็นได้ไหม

แน่นอนว่านมแม่นั้น สามารถเก็บในตู้เย็นได้ และควรเก็บในตู้เย็นด้วย ส่วนจะเก็บแบบใด ในส่วนไหนของตู้เย็นนั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการสต็อกนม หรือไลฟ์สไตล์ในการให้นมของคุณแม่ แต่ถ้าต้องการจัดเก็บน้ำนมในตู้เย็นให้ดีที่สุด คุณแม่ควรจัดเก็บน้ำนมแม่ที่สต็อกออกมาแล้ว นำเข้าแช่ในตู้เย็น ช่องแช่แข็ง หรือตู้แช่แข็งทันทีหลังจากการปั๊มนม

 

วิธีเก็บนมในตู้เย็นทำอย่างไร

การจัดเก็บน้ำนมแม่ในตู้เย็นอย่างถูกต้องและปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเสียหรือหมดอายุนั้น มีขั้นตอนที่เราอยากแนะนำ ดังนี้

  • ตู้เย็นช่องแช่ธรรมดา ช่วงเวลาในการจัดเก็บที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรเกิน 4 วัน และคุณแม่ควรจัดเก็บน้ำนมแม่ไว้ในบริเวณด้านหลังที่ลึก และเย็นของตู้เย็น
  • ช่องแช่แข็ง เช่นเดียวกับช่องแช่ธรรมดา คุณแม่ควรเก็บน้ำนมในบริเวณด้านหลังของช่องแช่แข็ง แต่ควรระวังเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บ เนื่องจากถุงเก็บน้ำนมแม่จะขยายตัวเมื่อน้ำนมแม่เป็นน้ำแข็ง ไม่ควรเก็บจนมากเกินไป

 

การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้

วิธีการนำน้ำนมแม่ที่จัดเก็บในตู้เย็นออกมาใช้อย่างถูกต้องนั้น คุณแม่ควรนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นออกมาอุ่นด้วยการนำมาใส่ในขวดนม จากนั้นนำไปวางไว้ในชามที่บรรจุน้ำอุ่นไว้ ไม่แนะนำให้นำไปอุ่นในไมโครเวฟ

 

วิธีละลายนมแม่

สำหรับวิธีละลายนมแม่ ที่ถูกจัดเก็บในช่องแช่แข็งนั้น ขอแนะนำให้คุณแม่นำถุงจัดเก็บน้ำนมแม่ที่เป็นน้ำแข็งออกมาเก็บในช่องแช่ธรรมดาข้ามคืนเพื่อให้คืนสภาพ ละลายไม่เป็นน้ำแข็ง จากนั้นให้นำมาเทใส่ขวด แล้วจึงแช่ในน้ำอุ่น ไม่แนะนำให้อุ่นนมแม่ในไมโครเวฟ

 

ลูกกินนมแม่ไม่หมด สามารถเก็บนมแม่ไว้กินในมื้อต่อไป ได้หรือไม่

ควรทานนมแม่ให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากการกินเหลือในครั้งแรก หากเกิน 2 ชั่วโมงแล้ว ควรทิ้งน้ำนมแม่ที่ลูกกินเหลือ เพื่อความปลอดภัย

 

สารอาหารสำคัญในน้ำนมเหลือง

ในน้ำนมแม่นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมากมาย โดยเฉพาะในน้ำนมเหลือง ซึ่งหมายถึงน้ำนมแม่ในระยะแรก ที่ร่างกายของคุณแม่จะสร้างขึ้นในช่วงเวลา 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น ซึ่งในน้ำนมช่วงนี้ จะมีสารอาหารที่สำคัญต่อลูก เช่น

  • แลคโตเฟอร์ริน สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของภูมิคุ้มกันของลูก
  • แอนติบอดี้ สารอาหารประเภทโปรตีน หรือที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน เป็นสารอาหารที่ถูกนำไปใช้โดยระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคแบคทีเรีย และไวรัส

 

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ที่ถูกต้องนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรเลือกวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันของตัวเอง เพื่อให้การจัดเก็บมีประสิทธิภาพตอบโจทย์มากที่สุด สารอาหารในนมแม่ที่สำคัญมีหลากหลาย ทำให้ลูกได้รับสารอาหารสำคัญในนมแม่ที่มีมากกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการสร้างไมอีลิน ที่ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทของลูกรักดีขึ้น ทำให้สมองของลูกได้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลที่รวดเร็ว เกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น และมีพัฒนาการที่ดี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. คำแนะนำวิธีการเก็บนมแม่, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. วิธีเก็บสต็อกนมแม่ ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  3. How Long Can Breast Milk Sit Out?, Healthline
  4. Tips for Freezing & refrigerating Breast Milk, healthychildren
  5. Proper Storage and Preparation of Breast Milk, CDC
  6. น้ำนมแม่ ภูมิต้านทานที่ดี ช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับลูก, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. What Is Colostrum? Nutrition, Benefits, and Downsides , healthline

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดดีไหม แม่ผ่าคลอดดูแลแผลผ่าคลอดยังไงดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดดีไหม แม่ผ่าคลอดดูแลแผลผ่าคลอดยังไงดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดน่ากลัวไหม คุณแม่ผ่าคลอดดีไหม มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการผ่าคลอดบ้าง พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีดูแลแผลแม่ผ่าคลอดให้หายไว

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างในบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ในระยะยาวไหม ไปดูวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นกัน

หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้

หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้

หัวนมบอด คืออะไร คุณแม่หัวนมบอดและหัวนมสั้น สามารถให้นมลูกได้ปกติไหม ลูกจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือเปล่า ไปรู้จักอาการหัวนมบอดที่แม่ควรรู้กัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก