น้ำนมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมข้อดีและประโยชน์ของนมแม่สู่ลูกน้อย

นมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยนชน์ของน้ำนมแม่สู่ลูกน้อย

25.09.2019

นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก มีคุณค่าทางโภชนาการในทุก ๆ ด้าน  ลูกน้อยควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก  นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กอย่างรอบด้าน แต่การจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จนั้น คุณแม่ก็ต้องเตรียมตัวและวางแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ประโยชน์นมแม่ยังช่วยในการสร้างความรักความผูกพันระหว่างคุณแม่และลูกน้อยจากการได้สัมผัสซึ่งกันและกันด้วย เราจึงอยากแนะนำเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถเลี้ยงดูลูกรักด้วยนมแม่ได้สำเร็จ

headphones

PLAYING: นมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยนชน์ของน้ำนมแม่สู่ลูกน้อย

อ่าน 6 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

หลังคลอด แม่ควรให้ลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด

เพราะในช่วงเวลา 3 ถึง 5 วันแรกหลังคลอดนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่แม่ผลิตน้ำนมชุดแรกที่เรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ คอลอสตรัม (Colostrum) ซึ่งอุดมไปด้วยสารภูมิคุ้มกันซึ่งจะช่วยป้องกันโรคให้แก่ทารกแรกเกิดได้  ดังนั้นเมื่อคลอดบุตรแล้ว จึงควรให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุดตั้งแต่หลังคลอด เพราะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด อย่ากังวลว่าจะไม่สามารถให้นมลูกได้ทันทีเมื่อหลังคลอด และควรให้นมลูกด้วยความถี่ประมาณทุก ๆ  2-3 ชั่วโมง หรือตามที่ลูกต้องการ เพื่อที่จะกระตุ้นน้ำนมให้เต้านมสามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้น 

 

คุณแม่มือใหม่ ควรรู้วิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง

หนึ่งในปัจจัยที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จนั้น  คือวิธีการให้นมลูก อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยคุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก ด้วยการใช้หัวนมแตะที่จมูกหรือริมฝีปากของลูก และเมื่อลูกอ้าปากแล้วก็ให้ประคองศีรษะของลูกเข้ามาที่หน้าอก ให้คางและริมฝีปากของลูกสัมผัสกับเต้านม ที่สำคัญ คุณแม่ต้องเช็กให้มั่นใจว่าลูกอมลานหัวนมได้ลึกพอกับการดูดนมหรือไม่ และต้องจำให้ขึ้นใจว่า คุณแม่ต้องเป็นฝ่ายอุ้มลูกเข้ามาหาอกแม่ ไม่ใช่คุณแม่โน้มตัวไปหาปากลูก

 

ทำไมลูกน้อย ต้องกินนมแม่เท่านั้น

อย่างที่ทราบกันว่า นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก การให้ทารกกินนมแม่ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสมควรทำให้สำเร็จ หรืออาจจะพูดว่า ทารกต้องกินนมแม่เท่านั้น  ในช่วงหกเดือนแรก ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะเด็กที่กินนมแม่นั้น มักจะมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยบ่อยเท่าเด็กที่ไม่ได้กินแค่นมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะในน้ำนมแม่นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง มีสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตมากมาย ที่สำคัญคุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว 100% ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตลูก โดยไม่มีความจำเป็นจะต้องให้ลูกกินน้ำเปล่าเลย เพราะในน้ำนมแม่มีปริมาณน้ำเป็นส่วนประกอบที่เพียงพอต่อความต้องการของลูก 
นอกจากนี้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีผลดีต่อร่างกายคุณแม่ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย เช่น มะเร็งเต้านม และยังช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขระหว่างการให้นม ช่วยเสริมสร้างสายใยแห่งความรัก ความผูกพันระหว่างแม่ลูกอีกด้วย

 

คุณแม่ควรอยู่กับลูก 24 ชั่วโมงตั้งแต่แรกเกิด

มีเหตุผลสำคัญของการที่คุณแม่ควรได้อยู่กับลูกตลอดช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอดมากมาย นอกจากจะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรักระหว่างแม่กับลูกแล้ว ในช่วงเวลานั้น ทั้งแม่และลูกจะได้ฝึกการให้นม ให้ลูกรักวัยทารกได้ดูดนมจากเต้าของแม่ พร้อมทั้งได้โอบกอดสัมผัสด้วยความอบอุ่น ซึ่งมีผลการศึกษายืนยันแล้วว่า การอยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด จะช่วยให้คุณแม่มีแนวโน้มที่จะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงเกือบ 5 เท่า นอกจากนี้ คุณแม่จะยังได้เรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูก และสามารถปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาล หากเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตามในช่วงเวลานี้ได้ด้วย

 

คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่ได้บ่อยตามที่ต้องการ

 

คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่ได้บ่อยตามที่ต้องการ

นอกจากการให้นมตามระยะเวลาแล้ว คุณแม่ก็ควรสังเกตอาการ และพฤติกรรมของลูกด้วย ถ้าหากลูกมีท่าทีต้องการดูดนมแม่ ก็ควรให้ลูกดูดนมแม่ได้บ่อยตามที่ต้องการ เพราะจะเป็นการช่วยให้ร่างกายของคุณแม่สามารถผลิตน้ำนมในปริมาณที่มากขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอาการคัดตึงของเต้านมคุณแม่ได้ด้วยเช่นกัน

 

คุณแม่ไม่ควรให้ลูกดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม

การใช้หัวนมยางหรือจุกหลอกให้ลูกดูดนั้น จะส่งผลให้ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและช่องปากในระยะยาวหลายประการ เช่น การสบฟันผิดปกติ ฟันผุ และมีโอกาสติดเชื้อราในช่องปาก และถ้าเด็กมีอาการติดจุกหลอกเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อการสบฟันและการส่งเสียงอักขระ และส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางภาษาได้

 

คุณแม่ควรได้รับการอบรมการให้นมแม่อย่างถูกวิธี

ในช่วงเวลาหลังคลอดบุตร คุณแม่ควรได้รับการอบรมการให้นมแม่อย่างถูกวิธีจากบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในหลายโรงพยาบาลจะมีการอบรมเกี่ยวกับการให้นมแม่ตั้งแต่ก่อนคลอด เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลก และ UNICEF ได้ตั้งมั่นไว้ เพื่อให้คุณแม่ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่กรมอนามัยใช้สำหรับส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงานในโรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไทย ดังนั้น หากมีคำถามสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก คุณแม่สามารถถามคุณหมอ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ได้เลย

 

คุณแม่วัยทำงานต้องวางแผนให้นมลูก

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ยุคใหม่ที่เป็น Working Mom แน่นอนว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งคุณแม่ต้องกลับไปทำงานอีกครั้ง การวางแผนให้นมลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่จะให้ลูกได้รับน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่อง และได้รับประโยชน์จากน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ โดยคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปั๊มนม และสต็อกน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะเตรียมน้ำนมให้ลูกได้อย่างเพียงพอ

 

ประโยชน์นมแม่ สำหรับลูกน้อย

สุดท้ายนี้ จะขอเน้นย้ำ และแนะนำประโยชน์ของนมแม่อีกครั้ง เพื่อให้คุณแม่ทุกคนเข้าใจ และมั่นใจอย่างเต็มที่ว่านมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ซึ่งมีประโยชน์ต่อทารกอย่างรอบด้าน

  1. นมแม่ ช่วยให้ร่างกายของลูกน้อย มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
  2. ประโยชน์ของนมแม่ คือ ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ, ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ
  3. นมแม่ ช่วยให้ระบบขับถ่ายของลูกน้อยทำงานได้ดี
  4. นมแม่ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมอง เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารที่มีชื่อว่า สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารอาหารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างไมอีลิน ปลอกหุ้มปลายประสาท ที่มีส่วนช่วยให้เซลล์สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน 1 ขวบปีแรกของชีวิต
     

ปัญหาที่คุณแม่พบบ่อยตอนให้นมลูก

  1. ท่อน้ำนมอุดตัน เกิดจากน้ำนมคั่งค้าง หรือไหลไม่สะดวกและอุดตันในท่อน้ำนม จนเกิดเป็นก้อนไตแข็งๆ ที่บริเวณเต้านม อาจพบรวมกับมีจุดขาวที่หัวนม เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บและอาจมีอาการบวมแดง หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เต้านมอักเสบ หรือกลายเป็นฝีที่เต้านมได้ วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการท่อน้ำนมอุดตัน เช่น การประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นก่อนให้นม การนวดเต้านม เป็นต้น
  2. เต้านมคัด เมื่อร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมแม่ได้มาก แล้วไม่สามารถระบายน้ำนมออกได้ทัน มักเกิดจากการเว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี หรือ ไม่ได้ระบายน้ำนมออกมาในช่วงที่ไม่ได้ให้นม จนทำให้เกิดอาการคัด บวม แข็ง ผิวแดง ลานนมตึงแข็ง หากอาการคัดรุนแรงมาก ควรปรึกษาแพทย์
  3. หัวนมเจ็บ หรือ แตก เกิดจากการท่าให้นมลูกไม่ถูกวิธี ลูกอมหัวนมและลานหัวนมได้ไม่ลึกพอ หรือ เอาหัวนมออกจากปากลูกไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการกด หรือเสียดสีที่หัวนมมากเกินไป หากมีอาการเจ็บอย่างรุนแรง หรือ หัวนมแตกจนมีเลือดไหล ควรหยุดให้นมข้างที่มีเลือดไหล และรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อคุณแม่จะได้กลับมาให้นมลูกได้ตามปกติ

 

เพราะปัจจุบันนี้ โลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตลอดเวลา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประโยชน์นมแม่ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลูกมีรากฐานสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเปิดรับทุกโอกาสสำคัญในชีวิต และก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคตที่อาจไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

บทความแนะนำ

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน