Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

25.10.2024

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจสงสัยว่าการให้นมลูกบ่อยจะทำให้ลูกมีปัญหาสุขภาพหรือไม่ การป้อนนมลูกบ่อยและมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Overfeeding ขึ้นได้ มาดูกันว่าอาการแบบใดที่บ่งบอกถึงภาวะ Overfeeding รวมถึงการให้ลูกได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสมในช่วง 1 ขวบปีแรก ควรกินนมปริมาณต่อวันเท่าไหร่

headphones

PLAYING: Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • Overfeeding คือการที่เด็กทารกกินนมมากเกินไป จนทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สามารถย่อยนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เด็กทารกที่มีอาการ Overfeeding ลักษณะของช่วงท้องจะป่องออกมา พุงกางเป็นทรงน้ำเต้า แน่นท้อง บิดตัวเยอะ
  • การให้ปริมาณนมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อย จะช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะ Overfeeding

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

นมแม่ช่วยให้ลูกน้อยมีร่างกายที่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่ดีสมวัย องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟแนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนแรกหลังคลอด และให้ควบคู่ไปพร้อมกับอาหารเสริมตามวัยไปจนลูกอายุ 2 ขวบ หรือนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่ดี ควรให้ลูกได้รับนมแม่ปริมาณที่พอดี เพราะการให้กินนมในปริมาณที่เยอะเกินไปอาจเกิดภาวะ Overfeeding หรือ Over Breastfeeding ขึ้นได้

 

Overfeeding คืออะไร

Overfeeding คือการที่เด็กทารกกินนมมากเกินไป จนทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สามารถย่อยนมที่กินเข้าไปได้หมดอย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะ Overfeeding หรือ Over Breastfeeding เกิดขึ้นได้กับเด็กที่กินนมแม่จากเต้าหรือกินนมจากขวดก็ได้เช่นกัน

 

อาการ Overfeeding เป็นอย่างไร

ในเด็กทารกที่มีอาการ Overfeeding คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ ดังนี้

  • นอนร้องงอแงเสียงเป็นแพะ (แอะแอะ)
  • อาเจียน ทารกแหวะนม สำลักนม หรือมีน้ำนมไหลออกมาจากปากและจมูก
  • ท้องป่อง พุงกางเป็นทรงน้ำเต้า แน่นท้อง ทารกบิดตัวเยอะ
  • ไม่ยอมดูดนม และรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว
  • น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากกว่าปกติ

 

คุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกมีภาวะ Overfeeding

 

คุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกมีภาวะ Overfeeding

ภาวะ Overfeeding ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากน้ำหนักตัวของลูก ซึ่งหากน้ำหนักตัวมีการเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็วกว่าปกติ คือน้ำหนักตัวต่อวันปกติของเด็กทารก ควรจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 20-60 กรัมต่อวัน

 

วิธีป้องกันภาวะ Overfeeding ในเด็ก

การป้องกันภาวะ Overfeeding ให้กับลูกน้อย ให้คุณแม่สังเกตสัญญาณจากลูกที่บอกว่าลูกอิ่มนม แล้ว ได้แก่ ดูดนมช้าลง ปัดขวดนม หรือเบือนหน้าหนีจากเต้านมคุณแม่ หรือขวดนม ให้หยุดป้อนนมทันที

 

ลูกมีภาวะ Overfeeding คุณแม่ต้องให้นมลูกแบบไหน

ทารกจะกินนมทุก 3 ชั่วโมง โดยให้ลูกเข้าเต้าดูดนมแม่ข้างละ 10-15 นาที สำหรับระยะเวลาการดูดนมในเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เมื่อลูกได้รับน้ำนมเพียงพอแล้วหลังกินนมอิ่มจะสงบ ผ่อนคลาย และหลับได้หลังดูดนม

 

ให้นมลูกเป็นเวลา ช่วยป้องกัน Overfeeding ได้

การให้นมลูกเป็นเวลา ช่วยป้องกันการเกิดภาวะ Overfeeding ได้ ซึ่งในเด็กทารกจะกินนมทุก 3 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมง (กลางวันและกลางคืน) คุณแม่สามารถเริ่มให้นมลูกได้ตามเวลานี้ ได้แก่

 

ตางรางเวลาให้นมลูกน้อยกินนม

เวลา 06.00 น.

กินนม

เวลา 09.00 น.

กินนม

เวลา 12.00 น.

กินนม

เวลา 15.00 น.

กินนม

เวลา 18.00 น.

กินนม

เวลา 21.00 น.

กินนม

เวลา 24.00 น.

กินนม

เวลา 03.00 น.

กินนม

หมายเหตุ: เป็นเพียงตัวอย่างเวลาในการให้นมเด็กทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง การเริ่มเวลาให้นมในเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้สามารถยึดตามคำแนะนำจากคุณหมอเด็กที่ดูแลประจำตัวลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่

 

ปริมาณนมที่เด็กควรกินต่อวันตามช่วงวัย

การให้ปริมาณนมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกน้อย จะช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะ Overfeeding และนี่คือปริมาณนมเบื้องต้นที่ลูกควรได้รับต่อวันตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ทั้งนี้ในเด็กแต่ละคนอาจมีความต้องการปริมาณนมที่ไม่เท่ากัน แนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์ถึงปริมาณนมที่เด็กควรได้รับเฉพาะบุคคลอีกครั้ง

  • หลังคลอดวันที่ 1-2

ปริมาณน้ำนมที่ให้กับลูก คือ 1 ช้อนชาหรือ 5 ซีซี ต่อครั้ง โดยให้ 8-10 ครั้ง/วัน

  • หลังคลอดวันที่ 3 ถึง 1 เดือน

ปริมาณน้ำนมที่ให้กับลูก คือ 1-1.5 ออนซ์ต่อครั้ง โดยให้ 8-10 ครั้ง/วัน

  • อายุ 1 เดือน

ปริมาณน้ำนมที่ให้กับลูก คือ 2-4 ออนซ์ต่อครั้ง แต่จะลดจำนวนครั้งเหลือ 7-8 ครั้ง/วัน

  • อายุ 2-6 เดือน

ปริมาณน้ำนมที่ให้กับลูก คือ 4-6 ออนซ์ต่อครั้ง โดยให้ 5-6 ครั้ง/วัน

  • อายุ 6-12 เดือน

ปริมาณน้ำนมที่ให้กับลูก คือ 6-8 ออนซ์ต่อครั้ง โดยให้ 4-5 ครั้ง/วัน

  • อายุ 1 ขวบขึ้นไป

ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับ คือ 6-8 ออนซ์ต่อครั้ง โดยให้ 3-4 ครั้ง/วัน

 

การให้นมลูกมากเกินไปจนเกิดภาวะ Overfeeding อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยได้หลายประการ ดังนั้น การสังเกตอาการและปรับปริมาณนมที่ลูกกินให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลลูกน้อยให้ได้รับนมแม่ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา หากคุณแม่ให้นมลูกอย่างเพียงพอและมีปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกในระยะยาว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกกินนมแบบไหนเรียก Over breastfeeding, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. นมแม่แน่แค่หกเดือน จริงหรือ?, Unicef Thailand
  3. Overfeeding วิธีสังเกตว่าลูกดื่มนมเยอะเกินไป, POBPAD
  4. กระเพาะน้อง กะ ช้อนตวง (STOMACH & SPOON), ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย
  5. ลูกแหวะนมเกิดจากอะไร พ่อแม่มือใหม่รับมืออย่างไรดี, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  6. คำแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท
  7. การให้นมแม่แก่ลูกน้อย, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

อ้างอิง ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดต้องมีอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเดินทางไปแจ้งเกิดลูกน้อย รวมทุกคำตอบเกี่ยวกับเอกสารแจ้งเกิดที่ควรรู้

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้าที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ดีกับระบบขับถ่ายลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส ช่วยพัฒนาระบบสมอง

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก