นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

25.03.2024

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก่อนผ่าคลอดคงหาข้อมูล เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจผ่าคลอดมานับไม่ถ้วน แต่คุณแม่หลายคนอาจไม่ทราบถึงโอกาสเสี่ยงในการพัฒนาภูมิคุ้มกันเริ่มต้นที่อาจช้ากว่าและโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ที่สูงขึ้นในกลุ่มเด็กผ่าคลอด เราจะดูแลและช่วยพัฒนาระบบกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด ด้วยนมแม่ซึ่งเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับเด็กผ่าคลอดกันค่ะ

headphones

PLAYING: นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เด็กที่คลอดธรรมชาติจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันเริ่มต้นได้เร็วกว่าเด็กผ่าคลอด เนื่องจากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากช่องคลอด ที่จะเข้าไปตั้งรกรากในลำไส้ร่วมกันกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดอื่น ๆ ที่ได้จากนมแม่เพิ่มเติมไปสู่ลำไส้ของเด็ก
  • จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลาย ๆ ชนิดที่พบได้ในนมแม่ (เช่น B. lactis) รวมถึงอาหารต่าง ๆ ของแบคทีเรียเหล่านั้น (เช่น 2'FL) ที่สามารถพบได้ในนมแม่เช่นกัน จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างระบบคุ้มกันของลูกน้อยให้สามารถป้องกันและต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในเด็กผ่าคลอด

 

ในนมแม่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ มากกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม ดีเอชเอ รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) ที่ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน (Myelination) ที่ช่วยให้การเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทมีประสิทธิภาพ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ความแตกต่างของเด็กผ่าคลอดและเด็กคลอดธรรมชาติ

เด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีในระหว่างคลอดผ่านทางช่องคลอด เนื่องจากลูกน้อยจะกลืนเอาจุลินทรีย์ดีที่อยู่บริเวณช่องคลอด ซึ่งจุลินทรีย์ที่ดีในบริเวณนี้มีความสามารถในการช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารก ปกป้องลูกน้อย จากเชื้อโรค หรือ โรคติดเชื้อต่าง ๆ ในขณะที่เด็กที่ผ่าคลอดกจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน จึงมีโอกาสที่ลูกน้อยจะเจ็บป่วยได้มากกว่า ดังนั้นเด็กผ่าคลอดควรได้รับนมแม่ ซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์สุขภาพที่หลากหลาย

 

การผ่าคลอด ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไป และมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะไม่มีประวัติทางกรรมพันธุ์หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ตาม แต่ยังพบว่าเด็กผ่าคลอดเป็นโรคติดเชื้อและภูมิแพ้กันมากมาย

 

นอกจากนี้ สมองของเด็กผ่าคลอด กับเด็กที่คลอดธรรมชาติยังมีความแตกต่างกัน จากการศึกษาภาพสแกนสมองของ Deoni S.C. et al., 2019 พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดที่มีอายุ 2 สัปดาห์ มีการเชื่อมโยงการทำงานที่น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ และยังพบว่ามีเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินในสมองได้น้อยกว่า ดังนั้น เด็กผ่าคลอดอาจมีการพัฒนาสมองแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ

 

จุลินทรีย์ชนิดดี บริเวณช่องคลอดของแม่ มีผลดีต่อลูกอย่างไร

ลูกน้อยได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะเข้าไปรวมกันกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่ได้รับผ่านนมแม่ บริเวณภายในลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร สังเคราะห์วิตามิน และป้องกันลูกน้อยจากเชื้อโรคในลำไส้ให้ลูกแข็งแรง ทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ในทารกให้น้อยลงด้วย

 

จริงหรือไม่ ที่เด็กผ่าคลอดต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอด

 

ทำไมเด็กผ่าคลอด ควรได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด

คุณแม่ที่ผ่าคลอดทางหน้าท้องควรพยายามให้ลูกน้อยเริ่มกินนมแม่ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะใน 1-3 วันแรกหลังคลอด เพราะในนมแม่ช่วงนี้จะเป็นน้ำนมเหลือง หรือที่เรียกว่า “คอลอสตรัม (Colostrum)” เป็นน้ำนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารคุณประโยชน์สูงมากมาย เช่น แคลเซียม วิตามิน ที่ช่วยให้ร่างกายเติบโตสมวัย มีสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) ที่ช่วยเสริมสร้างสมองให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานที่รวดเร็วของเซลล์สมองและระบบประสาท และยังมีสารภูมิคุ้มกันจากแม่ที่จะส่งผ่านไปยังลูกน้อย เพื่อปกป้องลูกจากเชื้อโรคหรือโรคติดเชื้อหลาย ๆ ชนิด ลูกน้อยจึงมีสุขภาพที่ดี

 

โภชนาการ สารอาหารและสิ่งมีประโยชน์ในนมแม่ที่เด็กผ่าคลอดควรได้รับ

นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างร่างกาย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มและเสริมสร้างสมองให้มีการทำงานที่ไวขึ้น ซึ่งสารอาหารสำคัญในนมแม่ เช่น

  • สฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin): เป็นหนึ่งในไขมันที่พบได้ในนมแม่ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลิน (Myelination) ในสมองให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้สมองของลูกน้อยเกิดการเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทที่มีประสิทธิภาพ เด็กจึงเกิดพัฒนาการทางสมองที่ดี
  • จุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis): เป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่พบในนมแม่ทำหน้าที่ในการผลิตกรดแลคติก มีส่วนช่วยย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร และต่อต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคได้ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ลดอาการลำไส้แปรปรวน และลดการร้องไห้งอแงในเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับอาการไม่สบายท้องได้
  • 2′-Fucosyllactose (2′-FL): เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) พบมากในนมแม่ที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ลำไส้ ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ และป้องกันการติดเชื้อ จึงช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันเด็กได้ดี ซึ่ง 2'FL เป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

 

สารอาหารในนมแม่ที่เด็กผ่าคลอดควรได้รับ

 

ภูมิคุ้มกันเด็กผ่าคลอด เริ่มได้ตั้งแต่ลูกแรกเกิด

เด็กผ่าคลอดกับเด็กที่คลอดธรรมชาติจะมีรูปแบบของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่แตกต่างกัน มีการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า เด็กผ่าคลอดจะมีการตั้งต้นของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ อีกทั้งยังพบว่า จุลินทรีย์สกุลบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของทารกยังสามารถเชื่อมโยงการทำงานกับสมองได้ เพราะสามารถผลิตสารสื่อประสาทที่มีผลในการทำงานของระบบประสาทและสมอง จึงส่งผลต่อพัฒนาการระบบประสาทของเด็ก

 

ดังนั้น แม่ผ่าคลอดจะต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) ที่เป็นโพรไบโอติกส์ (Probiotic) ช่วยลดจำนวนเชื้อก่อโรคในเด็ก ช่วยลดระยะเวลาหรือความรุนแรงของอาการท้องเสียในทารก ช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก และยังช่วยเพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ของเด็กด้วย

 

นอกจากนี้ ในนมแม่ยังมี 2′-Fucosyllactose (2′-FL) ซึ่งเป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs) ที่เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) มาช่วยเสริมการเติบโตของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร และช่วยดักจับเชื้อก่อโรคให้ขับออกไปผ่านทางอุจจาระด้วย เด็กผ่าคลอดเสี่ยงต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปและมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ง่ายกว่า รวมถึงอาจมีการพัฒนาสมองแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ

 

นมแม่ ” จึงเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับเด็กผ่าคลอด ด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ทั้งโปรตีน ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุแล้ว ยังมีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) อย่างบีแล็กทิส (B. lactis) และ 2′-FL ที่เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs) ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กได้ และมีสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) หนึ่งในไขมันที่พบได้ในนมแม่ที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลินขึ้นมา เมื่อลูกน้อยกินนมแม่จึงทำให้มีปริมาณไมอีลินที่เพิ่มขึ้น เด็กจึงมีพัฒนาการสมองที่ดี เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทที่มีประสิทธิภาพ เด็กผ่าคลอดจึงเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วพร้อมกับมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. 10 Benefits Of Normal Delivery, medicover hospitals
  2. Supporting your newborn's health: Intestinal colonization after elective cesarean section, Harvard Medical School
  3. Breastfeeding and the Microbiome Mother's milk provides health benefits that last a lifetime, The Moore Institute School of Medicine
  4. Benefits for mother and unborn child by choosing Normal delivery, pranaam hospitals
  5. Microbiome: The first 1,000 days, Harvard Medical School
  6. น้ำนมแม่ ภูมิต้านทานที่ดี ช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับลูก, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. Bifidobacterium Animalis Subsp. Lactis - Uses, Side Effects, and More, webmd
  8. Role of Bifidobacteria on Infant Health, pubmed
  9. ผ่าคลอด... ลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ !, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  10. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.
  11. Sprenger N, et al. Eur J Nutr. 2017 Apr;56(3):1293-1301
  12. Gueimonde M, et al. Neonatology 2007;92:64–66

อ้างอิง ณ วันที่ 23 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีไข้หลังคลอด

คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ ไข้หลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่หลังคลอดมีไข้หนาวสั่น ควรดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลไขที่หัวทารกได้อย่างไรบ้าง

ไขบนหัวทารก เกิดจากสาเหตุอะไร ไขที่หัวทารกอันตรายไหมกับลูกน้อยไหม ไขที่หัวทารกกี่วันถึงหายไป ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์ไหม พร้อมวิธีดูแลและทำความสะอาดไขบนหัวลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก