บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง

บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลัง ปลอดภัยไหม

20.01.2024

การคลอดลูกด้วยวิธีผ่าคลอด จะมีขั้นตอนเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัดที่เรียกว่าการบล็อกหลัง Spinal anesthesia เป็นการฉีดยาชาเข้าไปที่ช่องไขสันหลัง ซึ่งผู้ที่ดูแลทำการบล็อกหลังให้คุณแม่คือวิสัญญีแพทย์ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการให้ยาชาระงับความรู้สึกกับคุณแม่ในช่วงก่อนผ่าตัด และตลอดการผ่าตัดจะเฝ้าระวังให้ในเรื่องของความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ระดับออกซิเจนของคุณแม่ให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติ รวมถึงหลังผ่าตัดคลอดเสร็จจะเช็คความปลอดภัยของคุณแม่อย่างละเอียดก่อนส่งกลับไปที่ห้องพักฟื้น

 

headphones

PLAYING: บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลัง ปลอดภัยไหม

อ่าน 3 นาที

 

สรุป

  • การบล็อกหลังผ่าคลอด คือการฉีดยาชาระงับความรู้สึก เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด
  • การบล็อกหลัง Spinal anesthesia เป็นการฉีดยาชาเข้าไปที่ช่องไขสันหลังโดยวิสัญญีแพทย์ และหลังจากฉีดยาชาคุณแม่จะเริ่มไม่มีความรู้สึกตั้งแต่ช่วงกลางลำตัวไปจนถึงช่วงล่าง ไม่สามารถขยับร่างกายและขาทั้งสองข้างได้
  • ผลข้างเคียงที่เกิดจากการบล็อกหลัง คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดหลัง และมีอาการคันผิวตามร่างกาย
  • การบล็อกหลังเพื่อลดความเจ็บปวด สามารถทำได้กับคุณแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีการคลอดธรรมชาติ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การบล็อกหลัง จะทำให้เกิดการชาขึ้น และไม่มีความรู้สึกตั้งแต่บริเวณช่วงกลางลำตัวล่างลงไปจนถึงขา ซึ่งทางวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ที่ทำการฉีดยาชาระงับความรู้สึกให้ทางช่องไขสันหลังของคุณแม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ก่อนการผ่าคลอด คุณแม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
  2. พยาบาลสวนอุจจาระ และโกนขนตรงบริเวณหัวหน่าวให้คุณแม่
  3. เจาะเลือดนำไปตรวจก่อนการผ่าตัดคลอด
  4. เจาะหลังมือเปิดเส้นเพื่อใส่เข็มให้น้ำเกลือ
  5. เมื่อเข้ามาในห้องเตรียมผ่าตัดคลอด วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะจัดคุณแม่ให้อยู่ในท่านอนตะแคง คุณแม่นอนงอตัวโดยจะต้องก้มศีรษะลงจนคางชิดกับหน้าอก
  6. วิสัญญีแพทย์ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดผิวตรงบริเวณตำแหน่งที่จะลงเข็มฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก
  7. วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มฉีดยาชาระงับความรู้สึกเข้าไปที่หลังส่วนล่างจนลึกถึงช่องไขสันหลัง
  8. วิสัญญีแพทย์จะทำการทดสอบเช็คระดับความชา ซึ่งถ้าหากคุณแม่ไม่มีความรู้สึกใด ๆ คุณหมอก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดคลอด

 

หลังจากฉีดยาบล็อกหลัง ยาชาจะออกฤทธิ์ทันทีหรือไม่

วิสัญญีแพทย์จะใช้เวลาไม่นานในการแทงเข็มฉีดยาชาระงับความรู้สึกที่หลังให้กับคุณแม่ จากนั้นยาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลังก็จะเริ่มค่อย ๆ ออกฤทธิ์จนร่างกายส่วนล่างของคุณแม่ไม่สามารถขยับได้ การบล็อกหลังผ่าคลอดจะทำให้เกิดความชาไม่มีความรู้สึกแค่เฉพาะจุด ซึ่งคุณแม่จะยังคงรู้สึกตัวรับรู้ตลอดเวลาที่อยู่ในห้องคลอด

 

คุณแม่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ สามารถบล็อกหลังได้หรือไม่

 

คุณแม่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ สามารถบล็อกหลังได้หรือไม่

การบล็อกหลังให้กับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติสามารถทำได้ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บครรภ์หนักมากจนไม่สามารถทนได้ไหว สาเหตุอาจด้วยมาจากมดลูกบีบตัวรุนแรง ซึ่งทางการแพทย์จะมีวิธีระงับความเจ็บปวดระหว่างคลอดให้กับคุณแม่อยู่หลายวิธี และหนึ่งในนั้นก็จะระงับความเจ็บปวดให้คุณแม่คลอดธรรมชาติด้วยวิธีการบล็อกหลัง

 

บล็อกหลังผ่าคลอด ส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์หรือไม่

การบล็อกหลังผ่าคลอดเป็นการฉีดยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะจุด ที่อยู่ในความดูแลของวิสัญญีแพทย์ซึ่งมีความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์

 

ข้อดีของการบล็อกหลังผ่าคลอด

  1. คุณแม่ไม่มีความเจ็บปวดขณะผ่าคลอด
  2. หลังผ่าคลอดเสร็จคุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกเจ็บแผลในทันที

 

ข้อเสียของการบล็อกหลังผ่าคลอด

  1. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังคลอด
  2. คุณแม่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะหลังคลอดประมาณ 12 ชั่วโมง
  3. หลังผ่าคลอดมีอาการปวดหลัง

 

ผลข้างเคียงหลังจากการบล็อกหลัง

  • ขาสองข้างขยับไม่ได้ 2-4 ชั่วโมง
  • มีอาการปวดหลัง
  • มีอาการปวดศีรษะ
  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีอาการคันผิวตามร่างกาย
  • ระบบหายใจผิดปกติ
  • เกิดอาการความดันเลือดต่ำ
  • ผิวหนัง และช่องไขสันหลังอาจมีการติดเชื้อ

 

หลังจากบล็อกหลังผ่าคลอดเสร็จ ต้องติดตามอาการข้างเคียงภายในกี่ชั่วโมง

เมื่อคุณหมอผ่าตัดคลอดให้คุณแม่เสร็จเรียบร้อย คุณแม่จะถูกย้ายจากห้องคลอดไปยังห้องสังเกตอาการในการติดตามสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังผ่าตัดคลอดอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ภายใต้การดูจากวิสัญญีแพทย์อย่างใกล้ชิด หากไม่พบความผิดปกติใด ๆ แล้วก็จะย้ายคุณแม่กลับไปที่ห้องพักฟื้น คุณแม่ที่ผ่าคลอดลูกจะใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 3 คืน 4 วัน จากนั้นคุณหมอก็จะอนุญาตให้คุณแม่กลับบ้านได้ และเมื่อกลับไปที่บ้านเพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ หรือเกิดการอักเสบขึ้น ห้ามโดนน้ำที่แผลผ่าตัด และคุณแม่ต้องไม่ทำกิจกรรมที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง

 

กลุ่มเสี่ยง ที่ไม่แนะนำให้บล็อกหลังผ่าตัด

  • เลือดมีการแข็งตัวไม่เป็นปกติ
  • บริเวณหลังมีการติดเชื้อจนไม่สามารถใช้เข็มฉีดยา
  • เกิดมีภาวะพร่องน้ำ และเลือด
  • กะโหลกศีรษะมีความดันเกิดขึ้นภายใน
  • ป่วยโรคระบบประสาท
  • ป่วยโรคหัวใจ

 

คุณแม่ท้องหรือในบุคคลทั่วไปที่ไม่สามารถบล็อกหลังผ่าตัดได้ วิสัญญีแพทย์จะเปลี่ยนจากการบล็อกหลังมาเป็นการดมยาสลบ หลังคลอดลูก เมื่อคุณแม่กลับมาพักฟื้นต่อที่บ้าน แพทย์จะนัดเพื่อติดตามอาการหลังคลอดของคุณแม่ แผลผ่าคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ตามนัด หากคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น จะได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างทันถ่วงที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  • ผ่าคลอด! ดมยาสลบหรือบล็อกหลังดี?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  • วิสัญญีแพทย์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • ขั้นตอนการบล็อกหลัง, โรงพยาบาลวิภาวดี
  • วิสัญญีเพื่อทุกชีวิตปลอดภัย, โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ, โรงพยาบาลสมิติเวช
  • ข้อดีข้อเสียของการคลอดแบบล็อกหลัง, โรงพยาบาลศิครินทร์
  • ข้อเสียของการบล็อกหลัง, โรงพยาบาลวิภาวดี
  • 8 วิธีดูแลแผลผ่าคลอดให้หายไว แผลสวย ทิ้งรอยแผลเป็นน้อย, โรงพยาบาลวิมุต
  • ข้อห้ามของการบล็อกหลัง, โรงพยาบาลวิภาวดี
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก