คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

29.08.2024

อาการเท้าบวม ขาบวม เป็นอาการที่พบได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังการคลอด เกิดจากร่างกายของคุณแม่พยายามปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย ซึ่งอาการบวมที่เกิดขึ้นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่ขา เท้า หรือมือ อาการบวมนี้จะค่อย ๆ ลดลง และกลับเข้าสู่สภาวะปกติเองภายหลังการคลอดลูก ในระหว่างที่มีอาการบวมคุณแม่สามารถดูแลและลดบวมด้วยตนเองได้ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ แทรกซ้อนร่วมกับอาการบวม ควรรีบพบสูติแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

headphones

PLAYING: คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คนท้องเท้าบวม เกิดจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายมีการดูดซึมน้ำ และกักเก็บน้ำมากกว่าปกติ นอกจากนี้มดลูกที่ขยายตัวขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ จะกดทับหลอดเลือด ทำให้เลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนได้ไม่ดี และไหลย้อนกลับไปที่หัวใจ ทำให้ทำหน้าที่ไม่ดีพอ ส่งผลให้เลือดไปคั่งค้างอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมได้
  • โซเดียมคือแร่ธาตุที่พบได้มากในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น น้ำปลา คนท้องที่มือเท้าบวม อาจเกิดจากการทานอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ร่างกายคนท้องจะดูดซึมน้ำกักเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังมากขึ้น จึงทำให้เกิดการบวมได้
  • หลังการคลอด เท้า ขา และมือของคุณแม่อาจมีอาการบวมได้ เมื่อร่างกายกำจัดของเหลวที่ร่างกายกักเก็บไว้ระหว่างตั้งครรภ์ออกไป อาการบวมจะค่อย ๆ หายไปเองในเวลา 2 สัปดาห์หลังการคลอด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ และหลังคลอด สามารถลดอาการบวมของเท้าได้ด้วยตัวเอง เช่น นอนยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดไหวเวียนได้ดี , เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นกว่าเดิม เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อลดการกดทับของมดลูก หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ๆ หมั่นขยับตัวลุกเดิน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด , ลดทานอาหารที่มีรสเค็ม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 


คนท้องเท้าบวมหลังคลอด เพราะอะไร

หลังคลอดลูก คุณแม่อาจมีอาการมือเท้าบวมได้ การบวมหลังคลอดนี้เกิดจากที่ร่างกายมีฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายมีการดูดซึมน้ำ และกักเก็บน้ำมากกว่าปกติ รวมถึงคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากการตั้งครรภ์ จึงทำให้เกิดการบวมได้ คุณแม่อาจมีแนวโน้มที่จะบวมหลังคลอด บางรายบวมที่เท้าและขา บางรายบวมที่มือ อาการบวมหลังคลอดนี้จะค่อย ๆ หายไปได้เองในเวลาราว 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายนั้นได้กำจัดของเหลวที่กักเก็บไว้ระหว่างตั้งครรภ์ออกไป

 

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด ผิดปกติไหม

คุณแม่ที่มีอาการเท้าบวมหลังคลอด มักไม่เป็นอาการที่ผิดปกติและสามารถพบได้ อาการเท้าบวมเกิดจากร่ายกายปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย มีการกักเก็บน้ำมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ หลังการคลอดอาการเท้าบวมนี้ยังคงมีอยู่ และจะค่อย ๆ หายบวมได้เอง ภายใน 2 สัปดาห์

 

คนท้องเท้าบวมหายเองได้ไหม ใช้เวลานานหรือเปล่า

นอกจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายมีการดูดซึมน้ำ และกักเก็บน้ำมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการบวมแล้ว ยังมีอีกสาเหตุที่ทำให้คนท้องเท้าบวมได้ นั่นคือ การที่มดลูกขยายตัวขึ้นขณะตั้งครรภ์ ไปกดทับหลอดเลือด ทำให้เลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนได้ไม่ดี และไหลย้อนกลับไปที่หัวใจได้ไม่ดีมากพอ จึงเกิดเลือดคั่งอยู่ส่วนล่างของร่างกายคุณแม่ ทำให้เกิดการบวมได้ หลังการคลอดลูกอาการบวมนี้อาจยังคงมีอยู่ และจะค่อย ๆ หายบวมได้เอง ภายใน 2 สัปดาห์

 

คนท้องเท้าบวม สามารถแก้ไขอาการบวมได้อย่างไร

ท่านอนคนท้องหลังคลอดที่ถูกต้อง คือให้คุณแม่พยายามนอนตะแคง เวลานอนให้ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น โดยใช้หมอน หรือผ้าห่มหนุนให้สูงขึ้น ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อทำให้ระบบเลือดไหลเวียน สะดวก ลดการเกิดการกดทับของมดลูก

 

คนท้องมือเท้าบวม เพราะกินอาหารเค็มเกินไปจริงไหม

คนท้องมือเท้าบวม อาจเกิดจากการกินอาหารเค็มที่มีโซเดียมมากเกินไป โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่จะพบได้มากในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น น้ำปลา เกลือ อาหารหมักดองต่าง ๆ กะปิ เป็นต้น ปริมาณสำหรับการกินโซเดียมต่อวันนั้นไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม การทานโซเดียมมาก ๆ ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ เพราะโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเหลวในร่างกายของเรา หากร่างกายรับโซเดียมในปริมาณมากเป็นเวลานาน ๆ สามารถทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดได้

 

คนท้องเท้าบวมแบบไหนเสี่ยงอันตราย

คนท้องเท้าบวม ไม่ควรชะล่าใจและควรหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนให้ดี เพราะอาการบวมที่ผิดปกติ อาจเกิดขึ้นจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้ โดยการบวมที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษนี้จะแตกต่างจากการบวมทั่วไปคือ จะเกิดการบวมได้ที่มือ ขา หน้า เมื่อกดไปที่ผิวหนังแล้วจะบุ๋มลึกลงไปตามแรงกด รอยบุ๋มไม่คืนตัวรวดเร็ว อาการบวมนี้จะมีอาการร่วมกับโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ จะเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นกับภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอันตรายมาก อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หากคนท้องเท้าบวม แล้วมีอาการตาพร่ามัว ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ หรือปวดศีรษะร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรักษาอย่างทันท่วงที

 

วิธีลดเท้าบวมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และหลังคลอด

 

วิธีลดเท้าบวมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอด

  1. นอนยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  2. ดื่มน้ำให้พอเหมาะ การดื่มน้ำที่พอเหมาะและเพียงพอกับร่างกาย จะช่วยลดและป้องกันอาการบวมลงได้
  3. เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นกว่าเดิม เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ไม่มีการกดทับของมดลูก
  4. นอนตะแคง พยายามยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
  5. ลดอาหารที่มีโซเดียม อาหารที่มีรสเค็ม เพราะโซเดียมที่มีในอาหารรสเค็มนั้น เมื่อทานในปริมาณมากเกิน จะทำให้เกิดการบวมได้
  6. หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ๆ หมั่นขยับตัวลุกเดิน เนื่องจากการยืนนาน ๆ ทำให้เลือดและสารน้ำต่าง ๆ คั่งอยู่ที่เท้า กล้ามเนื้อที่บริเวณนั้นไม่ถูกใช้งาน จึงทำให้เกิดอาการเท้าบวม
  7. ยืดเหยียดเท้าบ่อย ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

 

ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด คุณแม่อาจพบเจอกับอาการบวมของเท้า หรือมือได้ คุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี หากพบว่ามีอาการบวมเกิดขึ้น ควรปรึกษาสูติแพทย์เพื่อศึกษาข้อมูลและเรียนรู้วิธีดูแลตัวเอง รับมือกับอาการบวมของร่างกายในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม หากคุณแม่มือ เท้าบวมมาก กดแล้วผิวหนังบุ๋มลงไป รอยยุบที่ผิวคืนตัวช้า และมีอาการตาพร่ามัว ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ หรือปวดศีรษะร่วมด้วย ให้รีบไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะหลังคลอดบุตร! การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  2. Problems in the week after the birth, Health New Zealand
  3. มือบวม เท้าบวมขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเหตุใด?, โรงพยาบาลพญาไท
  4. โซเดียม ทำให้ตัวบวม?, โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. อาการข้อเท้าบวม ตาตุ่มบวม สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  6. เท้าบวม เกิดจากอะไร, โรงพยาบาลเวชธานี
  7. เท้าบวม, Pobpad
  8. ประคบร้อน ประคบเย็น ต่างกันอย่างไร?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คนท้องกินลองกองได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินลองกองได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินลองกองได้ไหม คุณแม่อยากกินลองกอง กินเยอะเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไหม จะอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คนท้องอยากกินลองกอง กินเท่าไหร่ถึงพอดี

คนท้องกินส้มโอได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มโอได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มโอได้ไหม ในส้มโอมีสารอาหารอะไรที่ดีกับคนท้องบ้าง คนท้องกินส้มโอมากไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่กินส้มโอได้บ่อยแค่ไหน ไปดูกัน

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อาการมือชาของคนท้องขณะตั้งครรภ์ บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง อาการมือช้า นิ้วชา แบบไหนเข้าข่ายอันตรายและควรไปพบแพทย์ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินเผือก เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ เผือกดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินไข่เค็ม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ไข่เค็มดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมจีน เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมจีนดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมปัง เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมปังดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก