มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

29.08.2024

ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญหรือทนทุกข์ทรมานกับภาวะมดลูกหย่อน คุณแม่คือหนึ่งในนั้นหรือเปล่า? ปกติแล้วอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก จะมีกลุ่มกล้ามเนื้อคอยยึดพยุงไว้อยู่ เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแอลงอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานอาจห้อยย้อยลงมาทางช่องคลอด ทำให้คุณแม่เกิดอาการไม่สบายตัวตามมา บางคนอาจเกิดอาการปวดท้องร่วมด้วย แล้วอาการ “ภาวะมดลูกหย่อน” คืออะไร มีอาการแบบไหน มาดูวิธีสังเกตภาวะมดลูกหย่อนด้วยตัวเองง่าย ๆ กัน

headphones

PLAYING: มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • มดลูกหย่อน (Vaginal prolapse) เป็นภาวะที่มดลูกหย่อนเลื่อนลงต่ำมาอยู่บริเวณช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่มีอายุมาก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่เคยผ่านการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน ผู้ที่เคยผ่านการคลอดลูกหลายครั้ง หรือผู้ที่ยกของหนักบ่อย ๆ
  • อาการมดลูกหย่อนจะแสดงอาการแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ เช่น อาการปัสสาวะไม่สุด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องผูกเรื้อรัง เดินไม่สะดวก มีเลือดออกจากช่องคลอด เป็นต้น
  • ภาวะมดลูกหย่อนสามารถป้องกันได้โดยการบริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ทั้งยังสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย งดการสูบบุหรี่ ไม่เบ่งอุจจาระแรง ไม่ยกของหนัก และพยายามรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

มดลูกหย่อน คืออะไร

มดลูกหย่อน (Vaginal prolapse) หรือ มดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) คือ ภาวะที่มดลูกหย่อนเลื่อนลงต่ำมาอยู่บริเวณช่องคลอด เกิดจากกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับกระดูกหัวหน่าวที่คอยยึดให้มดลูกที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานถูกทำลายไป เสื่อมสภาพลง หรืออ่อนแอลง ทำให้มดลูกเลื่อนลงหรือหย่อนคล้อยลงมายังบริเวณช่องคลอด ไม่เพียงแค่นั้น อาการมดลูกหย่อนยังส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ให้เลื่อนต่ำลงมาอีกด้วย

 

มดลูกหย่อน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมดลูกหย่อนคล้อย หรือมดลูกต่ำลง คือ

  • การคลอดลูกหลายครั้ง: คุณแม่ที่คลอดลูกหลายครั้ง หรือมีภาวะคลอดลูกลำบาก หรือคุณแม่ที่คลอดทารกที่มีขนาดตัวที่ใหญ่มักมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดมดลูกหย่อนคล้อยได้
  • น้ำหนักที่มากเกินไป: ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากที่มาจากภาวะโรคอ้วน หรือผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูก หรือซีสต์ในรังไข่ อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกย่อนคล้อยได้ง่ายเนื่องจากน้ำหนักที่คอยถ่วงกล้ามเนื้อให้ตึงมากขึ้น มดลูกจึงมีโอกาสเคลื่อนตัวต่ำลงมา
  • อายุที่มากขึ้น หรืออยู่ในวัยหมดระดู: เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมักเป็นช่วงที่เข้าสู่วัยทอง ซึ่งเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อเริ่มเสื่อมสภาพลง ฮอร์โมนน้อยลง จนทำให้ผู้หญิงหลายคนมีภาวะมดลูกลดต่ำลง
  • การยกของหนัก: เนื่องจากการออกแรงยกของหนักมาก ๆ และยกเป็นประจำ อาจส่งผลต่ออวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ และนำไปสู่ภาวะมดลูกหย่อนในที่สุด
  • เคยผ่านการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก่อน: สำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกรานทั้งสิ้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้ง่ายขึ้น

 

ภาวะมดลูกหย่อน มักจะเกิดขึ้นกับใคร

ภาวะมดลูกหย่อน สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีประวัติ ดังนี้

1. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

เนื่องจากผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นมักเกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยึดมดลูก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดที่ทำให้เนื้อเยื่อสลายตัวไป

 

2. คุณแม่ที่ผ่านการคลอดธรรมชาติ

คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ หลายครั้ง อาจทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบมดลูกเสื่อมตัวลง มดลูกของคุณแม่จึงเลื่อนตัวต่ำลงไปยังบริเวณช่องคลอด

 

3. คุณแม่ที่คลอดลูกน้อยน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกน้อยน้ำหนักตัวมากอาจทำให้กล้ามเนื้อรอบมดลูกเสื่อมสภาพลง เมื่อคุณแม่คลอดลูกน้อยที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม จึงเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้

 

4. ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง ท้องผูกเรื้อรังและยกของหนักบ่อย

ภาวะมดลูกหย่อน สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอาการไอบ่อย ๆ หรือเบ่งขณะขับถ่ายบ่อย ๆ รวมถึงการยกของหนักที่ต้องออกแรงมาก ๆ เนื่องจากการกระทำเหล่านี้จะทำให้เกิดแรงกดทับที่บริเวณอุ้งเชิงกรานซ้ำ ๆ จนส่งผลให้มดลูกหย่อนคล้อยได้ง่าย

 

5. ผู้ที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อและผู้ที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแอโดยกำเนิด

ผู้ที่มีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติของเนื้อเยื่อและเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแอมาตั้งแต่เกิดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้มากกว่าผู้อื่น

 

อาการมดลูกหย่อนในผู้หญิงเป็นแบบไหน

อาการมดลูกหย่อนจะแสดงอาการแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ ในผู้หญิงบางคนอาจไม่แสดงอาการมดลูกหย่อนเลย แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการให้เห็น ดังนี้

  • มดลูก หรือเนื้อเยื่อโผล่ออกมาจากช่องคลอด
  • มีตกขาวหรือเลือดออกจากช่องคลอด
  • มีอาการเจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเล็ด หรือปัสสาวะไม่สุด
  • คนท้องมีอาการท้องผูก
  • เดินไม่สะดวก
  • เวลานั่งแล้วเหมือนนั่งทับลูกบอลขนาดเล็ก

 

ภาวะมดลูกหย่อน ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไหม

ภาวะมดลูกหย่อน สามารถเกิดภายในครอบครัวที่มีประวัติภาวะมดลูกหย่อน และเกิดได้กับผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น หรือผู้ที่เคยผ่านการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน และผ่านการคลอดลูกแบบธรรมชาติหลายครั้ง หรือยกของหนักมาก่อน

 

ความรุนแรงของภาวะมดลูกหย่อน

ระดับความรุนแรงของภาวะมดลูกหย่อนมีด้วยกัน 4 ระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1: มดลูกหย่อนมาที่บริเวณด้านบนช่องคลอดครึ่งหนึ่ง
  • ระดับที่ 2: มดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด
  • ระดับที่ 3: มดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด
  • ระดับที่ 4: มดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เนื่องจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ

 

มดลูกหย่อนอันตรายไหม รักษาให้หายขาดได้หรือเปล่า

ภาวะมดลูกหย่อนไม่ใช่ภาวะอันตรายแต่อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวได้ เพราะอาการของภาวะนี้ได้แก่ ปัสสาวะไม่สุด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องผูกเรื้อรัง เดินไม่สะดวก และมีเลือดออกจากช่องคลอด แต่สามารถรักษาได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณหมอตรวจประเมินอาการร่วมกับการตรวจภายในจะได้ทำการรักษาตามระดับความรุนแรงของอาการมดลูกหย่อนได้ การรักษาภาวะมดลูกหย่อนสามารถทำได้ทั้งวิธีการผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด

 

หลังจากคุณแม่ได้รับการรักษาแล้วอาการจะดีขึ้นแต่อาจไม่ช่วยให้หายขาด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดมดลูกหย่อนซ้ำได้ คุณแม่จึงต้องหลีกเลี่ยงการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่จำเป็น เช่น ไม่ยกของหนัก ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก งดสูบบุหรี่เพื่อลดการไอเรื้อรัง

 

วิธีป้องกันมดลูกหย่อน ทำได้ด้วยตัวเอง

ภาวะมดลูกหย่อนสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ คือ

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์: หากคุณแม่ไม่อยากให้เกิดภาวะมดลูกหย่อนคล้อยต้องพยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป โดยคุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์พร้อมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักบ่อย ๆ: การยกของหนักที่ต้องออกแรงมาก ๆ ถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยงไปเลย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะมดลูกหย่อนในอนาคต
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายไม่ได้ช่วยแค่การป้องกันมดลูกหย่อนเท่านั้นแต่ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉงได้ดีอีกด้วย
  • งดสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดอาการไอเรื้อรังตามมา เมื่อเกิดอาการไอมาก ๆ ยิ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
  • ระมัดระวังเรื่องท้องผูก: เมื่อมีอาการท้องผูกจะทำให้เราใช้แรงเบ่งในการขับถ่ายที่มากขึ้นจนส่งผลให้เกิดการเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดภาวะมดลูกหย่อน

 

มดลูกหย่อนป้องกันได้ด้วยการบริหารอุ้งเชิงกราน

 

มดลูกหย่อน ป้องกันได้ด้วยการบริหารอุ้งเชิงกราน

การบริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการขมิบเป็นประจำ โดยการขมิบเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ 5 วินาที แล้วคลายกล้ามเนื้อ 5 วินาที ทำสลับกันแบบนี้ 4-5 ครั้ง หลังจากนั้น อาจจะเพิ่มระยะเวลาการขมิบเป็น 10 วินาทีก็ได้ และสามารถเพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้นเท่าที่สามารถทำได้ หรือตามที่สะดวกเพื่อกระตุ้นให้อุ้งเชิงกรานกระชับมากขึ้น

 

สมุนไพร ช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อนได้ไหม

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเพียงพอที่ชี้ชัดว่าสมุนไพรบางชนิดทานแล้วช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อนได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อยาสมุนไพรมาทานเอง และควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอก่อนทุกครั้ง เนื่องจากภาวะมดลูกหย่อนมีความรุนแรงหลายระดับจึงจำเป็นต้องให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาได้ตรงจุดและแม่นยำที่สุด

 

ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการคล้ายจะเป็นภาวะมดลูกหย่อนอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปโรงพยาบาลพบแพทย์ อย่าปล่อยไว้นาน เนื่องจากสุขภาพของคุณแม่เป็นเรื่องสำคัญหากปล่อยไว้นานอาการต่าง ๆ จะยิ่งแย่ลง และคุณแม่จะใช้ชีวิตได้ลำบาก ไม่สบายตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกน้อยและการพักผ่อนได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะมดลูกหย่อน ควรดูแลตัวเองอย่างไร?, โรงพยาบาลบางปะกอก
  2. มดลูกหย่อน, โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  3. อาการแบบไหน? บอกว่า 'อุ้งเชิงกราน' เริ่มหย่อน, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ภาวะการหย่อนตัวของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  5. อยากมีมดลูกแข็งแรง ต้องดูแลวิธีนี้, โรงพยาบาลเปาโล
  6. ภาวะมดลูกหย่อนในมุมมองแพทย์แผนจีน, การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562
  7. Demystifying pelvic organ prolapse, The University of Chicago Medicine

อ้างอิง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก