พรีไบโอติกส์ สำหรับเด็ก สารอาหารสำคัญ ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

23.04.2024

พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ร่างกายไม่ได้ย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็ก แต่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์มีประโยชน์ หรือ โพรไบโอติก (Probiotics) ในลำไส้ใหญ่ ทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกายเจริญเติบโตได้ดี และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย โดยส่วนมากจะเป็นสารในกลุ่มไฟเบอร์บางชนิด ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ หรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิดพรีไบโอติกที่มีมากเพียงพอมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและทำงานของจุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกาย ส่งผลให้การทำงานของร่างกายดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือปรับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายอีกด้วย

headphones

PLAYING: พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิดที่สามารถผ่านกระบวนการย่อยโดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่
  • ประโยชน์ของ พรีไบโอติก ต่อร่างกายมีมากมายโดยนอกจากจะมีผลต่อสุขภาพของคนทั่วไปแล้ว สำหรับในเด็กเล็ก หรือทารกแรกเกิดเอง พรีไบโอติก เช่น 2’-FL (2’- ฟูโคซิลแลคโตส, 2’-Fucosyllactose) ที่มีมากในนมแม่ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่เจริญเติบโตได้ดี และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในลำไส้ได้
  • อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง เช่น ถั่ว มะเขือเทศ ต้นหอมและหัวหอม กระเทียม ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี และแน่นอน นมแม่ก็มีมากเช่นกัน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร

พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้เอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นสารประเภทไฟเบอร์หลายชนิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบในอาหารที่สำคัญที่ช่วยให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ (โพรไบโอติก) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคนเราเจริญเติบโตได้ดี ถึงร่างกายของเราจะไม่สามารถย่อยและดูดซึมพรีไบโอติกได้ แต่สำหรับจุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกายแล้ว นี่คืออาหารที่จะทำให้พวกมันเจริญเติบโตทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคไม่สามารถเติบโตแข่งได้ดี ร่างกายของเราจึงมีสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีและแข็งแรงตามไปด้วย

 

ความแตกต่างของ พรีไบโอติก และ โพรไบโอติก

พรีไบโอติก จากที่กล่าวมาข้างต้นและเป็นส่วนประกอบในอาหาร แต่โพรไบโอติกคือเหล่าจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตอยู่ภายในลำไส้ใหญ่และทางเดินอาหารในร่างกายของเรา ซึ่งถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ให้คุณต่อร่างกายของเรา โดยหากร่างกายของเรามีโพรไบโอติกมากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค ก็จะมีส่วนช่วยทำให้เราเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ยากขึ้น อีกทั้งโพรไบโอติกบางชนิด สามารถกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้นได้อีกด้วย

 

ความสำคัญของ พรีไบโอติก สำหรับลูกน้อย

สำหรับในกลุ่มเด็กเล็กหรือทารกแรกคลอด พรีไบโอติกเองก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนประกอบในอาหารอื่น ๆ เนื่องด้วยในเด็กเล็กนั้น แม้จะได้รับโพรไบโอติกจากนมแม่อยู่แล้ว แต่เด็กแรกเกิดไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกจำนวนมาก เช่น ถั่ว ผักชนิดต่าง ๆ โดยเด็กแรกเกิดควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน โดยในนมแม่นั้นมี พรีไบโอติกตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า HMOs (Human Milk Oligosaccharides) และหนึ่งในสารกลุ่มนี้คือ 2’- FL หรือ 2’- ฟูโคซิลแลคโตส ซึ่งพบว่าสามารถเป็นอาหารให้กับโพรไบโอติกตามธรรมชาติในร่างกายของเด็กทารก ทำให้เด็กทารกมีสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายดีขึ้น ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารในวัยแรกเกิดได้อีกด้วย

 

พรีไบโอติกในนมแม่

จากหัวข้อข้างต้นได้อธิบายไว้คร่าว ๆ แล้วว่า ในน้ำนมแม่โดยเฉพาะในช่วงแรกคลอดนั้น นอกจากจะมีสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายลูกน้อยต้องการอย่างเพียงพอ ยังมีภูมิคุ้มกันแรกเกิด และ HMOs บางชนิดที่เป็นพรีไบโอติก ตามธรรมชาติที่ถูกสร้างให้เจ้าตัวน้อยอีกด้วย เพื่อชดเชยในช่วงที่ทารกยังไม่สามารถทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่ รวมถึงผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก เด็กทารกก็จะได้รับสารอาหารเหล่านี้ผ่านทางนมแม่แทน

 

นมแม่ นอกจากมีพรีไบโอติกแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมองทารก

นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น วิตามิน แคลเซียม และ สฟิงโกไมอีลิน รวมทั้ง 2'-FL ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่า ทารกได้รับนมแม่ที่มี 2'-FL ในช่วงหนึ่งเดือนแรก สัมพันธ์กับสติปัญญาที่ดีกว่าเมื่อเด็กอายุได้ 2 ปี
2' -FL จึงมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ที่ดีของเด็กเล็ก นอกเหนือจากการพัฒนาสมองแล้ว 2'-FL ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กแข็งแรงอีกด้วย นอกจากนั้น สฟิงโกไมอีลิน ยังเป็นสารอาหารอีกตัวหนึ่งที่พบได้ในนมแม่ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองในเด็กเล็ก เพราะสารนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างโครงสร้างของเซลล์ประสาท ซึ่งในวัยแรกเกิดนั้นร่างกายมีการพัฒนาเครือข่ายเส้นประสาทจำนวนมาก ส่งผลถึงการพัฒนาของสมองอีกด้วย

 

พรีไบโอติกส์ มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

 

พรีไบโอติก มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

พรีไบโอติก เป็นอาหารสำคัญสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ พบมากในอาหารประเภทผัก ธัญพืช อาทิ

  • ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์
  • ถั่ว
  • กล้วย
  • หัวหอมและต้นหอม
  • มะเขือเทศ
  • น้ำผึ้ง
  • นมวัว
  • กระเทียม

 

หากจะกล่าวง่าย ๆ พรีไบโอติก คือ อาหารของโพรไบโอติก ซึ่งถ้าร่างกายได้รับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน การกินนมแม่จึงสำคัญ เพราะเด็กทารก จะได้รับ พรีไบโอติก ในกลุ่ม HMOs เช่น 2’-FL รวมถึงสารอาหารสำคัญอื่น ๆ จากนมแม่ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน เพื่อพัฒนาการที่ดี พร้อมต่อยอดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. You’ve Heard of Probiotics — But What Are Prebiotics? All You Need to Know, healthline
  2. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร?, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  3. Foods High in Prebiotics, WebMD
  4. 2’-FL คืออะไร? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs), S-mom club
  5. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร และต่างกันยังไงนะ, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

อ้างอิง ณ วันที่ 25 มกราคม 2567 
 

บทความแนะนำ

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็วเป็นอย่างไร ลูกฉลาดเกินวัย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเด็กปกติคือเด็กอัจฉริยะหรือเปล่า พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหน ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน แบบไหนเรียกผิดปกติ คุณแม่หลังคลอดดูแลตัวเองยังไงให้ร่างกายกลับมาปกติเร็วที่สุด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก