แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

08.11.2024

แผลฝีเย็บหลังคลอดไม่ติดกันดี แผลสมานไม่สนิท อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอด และอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวหลังคลอดได้ บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการของ “แผลฝีเย็บไม่ติดกัน” มาเรียนรู้วิธีสังเกตอาการ และเทคนิคการดูแลแผลฝีเย็บให้ถูกวิธี ให้แผลสมานกันดีหลังคลอด และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อให้คุณแม่กลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้เร็ว

headphones

PLAYING: แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • แผลฝีเย็บจากการคลอดลูก จะใช้เวลาหลังคลอดประมาณ 1-4 สัปดาห์ ในการสมานกันจนแผลฝีเย็บหายเป็นปกติ
  • แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณปากช่องคลอดที่มีแผลฝีเย็บบวม แดง มีหนอง และมีไข้ ทำให้แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลฝีเย็บปริออก
  • แผลฝีเย็บไม่ติดกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากการนั่งขัดสมาธิ จึงไม่แนะนำให้คุณแม่หลังคลอดที่แผลฝีเย็บยังไม่แห้งสนิทนั่งขัดสมาธิ เพราะจะทำให้แผลมีการปริแยกออกจากกันได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไร

หลังจากการคลอดลูกตามธรรมชาติ คุณแม่หลายท่านอาจพบเจอกับปัญหาแผลฝีเย็บไม่ติดกันดี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การที่แผลไม่สมานติดกันอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. การติดเชื้อ

แผลฝีเย็บที่มีการติดเชื้อ มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณปากช่องคลอดที่มีแผลฝีเย็บบวม แดง มีหนองและมีไข้ ทำให้แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลฝีเย็บแยก

 

2. การขาดโภชนาการ

ร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารในกลุ่มโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ฯลฯ การสมานแผลก็จะช้าลง

 

3. การนั่งขัดสมาธิ

หากแผลฝีเย็บยังไม่แห้งสนิท ไม่ควรนั่งขัดสมาธิ เพราะจะทำให้แผลมีการปริแยกออกจากกัน

 

4. การใช้สายฉีดชำระ

หากคุณแม่มีการทำความสะอาดแผลฝีเย็บด้วยการใช้สายฉีดชำระ หรือใช้ฝักบัวโดยตรง เสี่ยงทำให้แผลฝีเย็บฉีกขาดจากแรงดันน้ำได้

 

5. การออกกำลังหนัก/การยกของหนัก

ช่วงแรกหลังคลอดคุณแม่ควรงด หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระทบต่อแผลฝีเย็บ ทำให้แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เช่น การออกกำลังกายแบบหักโหม การยกของที่มีน้ำหนักมาก การวิ่ง การขับขี่รถจักรยานยนต์ การขี่จักรยาน เป็นต้น

 

แผลฝีเย็บไม่ติดกันเป็นยังไง คุณแม่ต้องคอยสังเกต

แผลฝีเย็บจากการคลอด ส่วนใหญ่คุณหมอจะใช้ไหมละลายในการเย็บแผลให้คุณแม่ ซึ่งจะใช้เวลาหลังคลอดประมาณ 1-4 สัปดาห์ แผลฝีเย็บก็หายเป็นปกติ แต่ถ้าหาก 2 วันหลังคลอดแล้วคุณแม่มีอาการแทรกซ้อน เช่น เจ็บแผลฝีเย็บมาก แผลฝีเย็บบวมแดงมีหนอง และปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออกหรือคุณแม่มีไข้หลังคลอดร่วมด้วย อาจเป็นไปได้ว่าแผลฝีเย็บไม่ติดกัน และอาจมีการติดเชื้อขึ้นที่แผลฝีเย็บ คุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน อันตรายไหม เมื่อไหร่ต้องพบแพทย์

โดยปกติหลังคลอดแพทย์จะเย็บแผลให้สนิทกัน การที่แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ไปกระทบกระเทือนแผลฝีเย็บ เช่น การลุกเดิน การนั่งขัดสมาธิ การยกของหนัก ฯลฯ ซึ่งหากแผลฝีเย็บปริไม่มาก และไม่ได้มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื้อขึ้นมาทำให้แผลฝีเย็บค่อย ๆ สมานติดกันได้เอง

 

แต่เมื่อใดก็ตาม ที่คุณแม่สังเกตเห็นว่าแผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลปริออกมามาก และเริ่มมีอาการบวม แดง มีหนองและมีไข้ รู้สึกปวดและเจ็บแผลฝีเย็บ อาจเป็นไปได้ว่าตรงบริเวณแผลฝีเย็บเกิดการติดเชื้อขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่ แนะนำควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที

 

วิธีดูแลแผลฝีเย็บให้สะอาด ปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ

 

วิธีดูแลแผลฝีเย็บให้สะอาด ปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ

การดูแลแผลฝีเย็บอย่างถูกวิธี เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หลังจากคลอดบุตรบริเวณแผลฝีเย็บต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน มีวิธีดูแลดังนี้

1. ทำความสะอาดเป็นประจำ ไม่สวนล้างช่องคลอด

ทำความสะอาดตรงบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งที่อาบน้ำ และหลังการขับถ่ายด้วยน้ำสะอาด จากนั้นซับเบา ๆ ให้แห้งก่อนสวมใส่ชุดชั้นใน

 

2. เช็ดจากหน้าไปหลัง ป้องกันการติดเชื้อ

ควรเช็ดทำความสะอาดบริเวณแผลฝีเย็บ โดยให้เช็ดจากตรงหัวหน่าว ลงไปยังตรงทวารหนัก ไม่แนะนำให้เช็ดย้อนขึ้นมาด้านหน้า หรือเช็ดย้อนไปมา เพราะอาจทำให้แผลฝีเย็บเกิดการติดเชื้อได้

 

3. เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2-3 ชั่วโมง

เพื่อป้องกันการเสียดสีตรงปากช่องคลอดที่มีแผลฝีเย็บ ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอด และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยผืนใหม่ทุก 2-3 ชั่วโมง

 

4. งดมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน

เพื่อป้องกันไม่ให้แผลฝีเย็บเกิดการระคายเคือง และแผลฝีเย็บไม่ติดกัน แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ช่วงแรกหลังคลอด ควรรอให้แผลฝีเย็บหายเป็นปกติดีก่อน

 

5. อย่าเบ่งอุจจาระ

แผลฝีเย็บอาจเกิดการระบม แผลฝีเย็บไม่ติดกันได้จากการเบ่งถ่ายอุจจาระ คุณแม่ควรระวังอย่าให้ท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่ให้กากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้สดสำหรับคนท้อง และดื่มน้ำเปล่าให้มาก

 

6. ฝึกขมิบช่องคลอด ช่วยให้กระชับ

ช่วยกระตุ้นให้เลือดสามารถไปเลี้ยงบริเวณแผลฝีเย็บได้ดีมากขึ้น ทำให้แผลฝีเย็บหายเป็นปกติได้เร็ว

 

7. ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

หากมีอาการผิดปกติ เช่น แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลฝีเย็บปริแยกออก ปวดและเจ็บตรงบริเวณแผลฝีเย็บ มีไข้ หรือน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น คุณแม่สามารถไปพบแพทย์ได้ทันที

 

ปัญหาแผลฝีเย็บไม่ติดกัน เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายท่านกังวลใจหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นแผลขนาดใหญ่ หรือมีการติดเชื้อร่วมด้วย สาเหตุที่ทำให้แผลไม่ติดกันมีหลายประการ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผล ทำให้การสมานตัวช้าลงหรือไม่สมานเลย การเคลื่อนไหวมากเกินไป การทำกิจกรรมหนักหรือการนั่งนาน ๆ อาจทำให้แผลฉีกออกได้ หรือภาวะขาดสารอาหาร ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสมานแผล เป็นต้น ดังนั้น คุณแม่หลังคลอดควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แผลฝีเย็บหายสนิท และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ตามมา ที่สำคัญหลังคลอดควรให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และ สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูกน้อย รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 


อ้างอิง:

  1. แผลฝีเย็บหลังคลอด ผ่านมา 1 เดือนแล้ว ยังไม่ติดกันดี ควรทำอย่างไร, POBPAD
  2. หลังคลอดปลอดภัย ดูแลกายใจให้แข็งแรง, โรงพยาบาลเปาโล
  3. ป้องกันการติดเชื้อแผลฝีเย็บหลังคลอด, บทความวิชาการ วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
  4. การป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บ, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  5. คลอดลูกได้ 2 สัปดาห์ แผลฝีเย็บฉีก หมอเย็บซ่อมให้ ผ่านมา 2 วันแผลฉีดอีก ปล่อยให้แผลหายเองได้ไหม, แพทย์หญิงสลิล ศิริอุดมภาส POBPAD
  6. 10 ความเชื่อ...จริง และ ไม่จริง กับคุณแม่หลังคลอด, โรงพยาบาลขอนแก่น ราม
  7. การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่แผลฝีเย็บติดเชื้อ, โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินเผือก เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ เผือกดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินไข่เค็ม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ไข่เค็มดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมจีน เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมจีนดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมปัง เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมปังดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินชีส เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ชีสชนิดไหนกินได้ ดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินทับทิม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ทับทิมดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินพิซซ่า เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ พิซซ่าดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก