โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ มีประโยชน์กับลูก

โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่

02.04.2024

โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของร่างกายมนุษย์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันกับร่างกายมนุษย์ คอยทำหน้าที่ย่อยสารอาหารบางชนิดที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ และตอบแทนร่างกายมนุษย์ด้วยการควบคุมสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ติดเชื้อในระบบย่อยอาหารได้ยากขึ้น ลดโอกาสการติดเชื้อ ลดโอกาสการเกิดการอักเสบได้ 

headphones

PLAYING: โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • โพรไบโอติก เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดมีประโยชน์ หรือบางแหล่งอาจจะเรียกว่า จุลินทรีย์สุขภาพ โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ในร่างกายของมนุษย์อยู่แล้ว มีหน้าที่ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายของเราให้สมดุลอยู่เสมอ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ปกติ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย
  • อาหารของ โพรไบโอติก คือ พรีไบโอติก (Prebiotics) ที่ส่วนมากเป็นสารอาหารประเภทไฟเบอร์บางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่ โพรไบโอติกในลำไส้ใหญ่และระบบทางเดินอาหารสามารถย่อยและใช้เป็นอาหารได้ เมื่อร่างกายมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค ก็จะทำให้ร่างกายสุขภาพดี แข็งแรง และมีโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ยากขึ้น
  • โพรไบโอติก โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์หมักของนม ถั่วเหลือง ผักต่าง ๆ เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ กิมจิ มิโสะ เทมเป้ น้ำผลไม้ เป็นต้น แต่ โพรไบโอติกเองก็มีในนมแม่เช่นกัน เพื่อเพิ่มปริมาณโพรไบโอติกในร่างกายของทารกแรกเกิด ชดเชยที่เด็กทารกไม่สามารถรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกได้
  • โพรไบโอติกเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่เราต้องได้รับ โพรไบโอติก และ พรีไบโอติกให้เพียงพอและสมดุลกัน รวมไปถึงรับประทานอาหารให้มีสารอาหารครบถ้วนด้วย เพื่อจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งบุคคลทั่วไป และรวมไปถึงคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์หรือในช่วงให้นมบุตรก็ตาม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โพรไบโอติก (Probiotics) คืออะไร

โพรไบโอติก เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรืออาจจะเรียกว่า จุลินทรีย์สุขภาพ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์อยู่แล้ว คอยย่อยสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายย่อยไม่ได้ และควบคุมจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารให้สมดุลอยู่เสมอ โดยกลุ่ม โพรไบโอติก โดยทั่วไปเป็นจุลินทรีย์กลุ่ม Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งจุลินทรีย์ตัวหนึ่งที่สำคัญคือ B. lactis ที่พบมากในนมแม่ จะเป็นหนึ่งในโพรไบโอติกที่สำคัญสำหรับเด็กทารกแรกเกิด

 

ความแตกต่างกันของ โพรไบโอติก และ พรีไบโอติก

โพรไบโอติก นั้น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือก็คือเป็นจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่าที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ สามารถย่อยสารอาหารบางชนิดที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้

 

พรีไบโอติก นั้น โดยมากมักเป็นสารอาหารประเภทไฟเบอร์บางชนิด และ Oligosaccharides บางชนิดที่เป็นอาหารให้กับ โพรไบโอติกในร่างกายมนุษย์ได้ โดยคนเราควรได้รับ โพรไบโอติกและพรีไบโอติก ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพรไบโอติก

โพรไบโอติก มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเมื่อเรามีจุลินทรีย์กลุ่มนี้มากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค โพรไบโอติกจะคอยควบคุมและแย่งที่อยู่ของจุลินทรีย์ก่อโรค เราก็จะป่วยจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารได้ยากขึ้น นอกจากนี้การมีจุลินทรีย์สุขภาพในร่างกายอย่างเหมาะสม เป็นการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกทางหนึ่ง

 

โพรไบโอติก เหมาะกับใครบ้าง

แม้ในร่างกายของคนเราเองจะมี โพรไบโอติก อยู่แล้ว แต่ปริมาณก็อาจจะลดลงจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาหารที่รับประทานได้ ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนควรได้รับโพรไบโอติก ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อคงสภาพระบบทางเดินอาหารให้สมดุล และสุขภาพดี ไม่เว้นทั้งในเด็กหรือผู้ใหญ่ คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ในช่วงให้นมบุตร หรือแม้แต่ในผู้สูงอายุก็ตาม

 

ข้อควรระวังในการทานอาหารที่มี โพรไบโอติก

  • เนื่องจากโพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานพร้อมกับแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด เพราะจุลินทรีย์อาจจะตายเสียก่อน
  • ควรรับประทาน โพรไบโอติกที่ยังไม่ผ่านกรรมวิธีที่ใช้ความร้อน รวมทั้งไม่ควรกินเปล่า ๆ ขณะท้องว่าง ควรรับประทานพร้อมมื้ออาหาร เพื่อให้จุลินทรีย์มีชีวิตรอดจากความร้อนและน้ำย่อยลงไปถึงระบบทางเดินอาหารได้มากขึ้น
  • การรับประทานโพรไบโอติกมากกว่าที่ร่างกายต้องการก็มีผลเสียเช่นกัน โดยอาจจะมีอาการ ท้องอืดท้องเฟ้อหรือมีลมในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนั้นอาจจะมีผลข้างเคียง เช่น โอกาสในการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรืออาจเกิดอาการต้านยาปฏิชีวนะได้
  • อาหารเสริมโพรไบโอติกในรูปแบบยาเม็ด ผง เยลลี่ หรือแคปซูลนั้น ควรเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจาก อย. หรือขอคำปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้านก่อนจะเลือกซื้อมารับประทานเป็นอาหารเสริม
  • โพรไบโอติกนั้น ไม่ใช่อาหารหลัก ไม่จำเป็นต้องรับประทานเสริมหากรับประทานอาหารอย่างเพียงพอครบ 5 หมู่ และได้รับโพรไบโอติกจากมื้ออาหารมากพอแล้ว

 

โพรไบโอติก มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

โพรไบโอติกโดยทั่วไปจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์หมักดองต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านความร้อนหรือกรรมวิธีทำให้ปลอดเชื้อก่อน เช่น นมเปรี้ยวโยเกิร์ต กิมจิ เทมเป้ มิโสะ คีเฟอร์ น้ำผลไม้ เป็นต้น

 

โพรไบโอติกส์ มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

 

โพรไบโอติก แม้จะไม่ใช่สารอาหารจำเป็น และเป็นจุลินทรีย์ด้วยซ้ำ แต่ก็มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยส่งผลป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งส่งเสริมการทำงานของระบบคุ้มกันของร่างกาย และส่งเสริมระบบขับถ่ายด้วย ซึ่งไม่ว่าในคนวัยไหนก็ต้องการโพรไบโอติกในร่างกายให้มีปริมาณเพียงพออยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายสุขภาพดี แข็งแรง ซึ่งการรับประทานอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์หมักดองที่ไม่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อก็เป็นแหล่งสำคัญของโพรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว มิโสะ กิมจิ สำหรับในเด็กทารกแรกเกิดที่ไม่สามารถรับประทานอาหารดังกล่าวได้ ก็สามารถรับ โพรไบโอติกพร้อมสารอาหารต่าง ๆ เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม ได้จากนมแม่โดยตรง โดยในนมแม่นั้นพบว่ามีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงโพรไบโอติกตัวหนึ่งที่สำคัญคือ B. lactis อยู่เป็นจำนวนมากเลยทีเดียว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. Probiotics 101: A Simple Beginner’s Guide, healthline
  2. Benefits of probiotics, Medicalnewstoday
  3. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร ?, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  4. ‘โพรไบโอติกส์’ เสริมภูมิคุ้มกัน แนะนำอาหารโพรไบโอติกสูงที่ควรทาน, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 26 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกี่วันหาย อาการแบบไหนเรียกรุนแรง

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง แบบไหนเรียกรุนแรง

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง ลูกท้องเสียบ่อยอันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลับมาท้องเสียอีก

สังเกตอาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีป้องกันและวิธีแก้ทารกท้องอืดในทารก

ทารกท้องอืด ลูกไม่สบายท้อง ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ทารกท้องอืด

ทารกท้องอืด เกิดจากอะไร ลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง คุณแม่ควรเตรียมรับมืออย่างไร ไปดูสาเหตุของอาการทารกท้องอืด พร้อมวิธีแก้ทารกท้องอืดกัน

ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม อึทารกสีเขียวบ่งบอกอะไรได้บ้าง

ลูกอุจจาระสีเขียวอันตรายไหม ทารกอุจจาระสีเขียว บอกอะไรได้บ้าง

ลูกอุจจาระสีเขียวขี้ม้าเหม็นอันตรายไหม ทารกอุจจาระสีเขียวเกิดจากอะไร ลูกอุจจาระสีเขียวปนเหลือง ผิดปกติหรือเปล่า ไปดูวิธีรักษาและวิธีรับมือที่ถูกต้องกัน

วิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย สำหรับลูกน้อยที่ท้องผูก ไม่ยอมถ่ายหลายวัน

ลูกท้องผูก ลูกท้องอืดไม่ถ่ายทำไงดี พร้อมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย

ลูกท้องอืดไม่ถ่ายทำไงดี รวมวิธีนวดท้องให้ทารกถ่าย ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้ทารกท้องอืดไม่ถ่ายรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกรู้สึกไม่สบายท้อง

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก