โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี

โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี ลูกวัยนี้กินอะไรดีนะ

15.06.2020

สำหรับช่วงวัยทารกขวบปีแรก หรือ วัย 0-1 ปีแรกของลูกนั้น การได้รับโภชนาการที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม มีส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การเสริมอาหารของลูกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับลูกตั้งแต่แรกเกิด (0 เดือน) จนถึง 1 ขวบปีกัน

headphones

PLAYING: โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี ลูกวัยนี้กินอะไรดีนะ

อ่าน 4 นาที


 โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี


สารอาหารที่สำคัญสำหรับวัยทารก 0-1 ปี

พลังงานและโปรตีน : แหล่งอาหารที่ดีที่สุดในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนคือนมแม่ หลังจากนั้นควรเพิ่มเติมเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่นเนื้อหมู เนื้อไก่ และปลา เป็นต้น

ธาตุเหล็ก :  แหล่งของธาตุเหล็กที่สำคัญได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น ดังนั้น หลังอายุ 6 เดือน ทารกที่ทานแต่นมจึงเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก

ไอโอดีน :  ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยในการพัฒนาสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย  ควร ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร

แคลเซียม :  จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน พบได้มากในนม 

สังกะสี : มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พบได้มากในเนื้อสัตว์ 

วิตามินเอ : เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในการมองเห็น แหล่งอาหารที่สำคัญได้แก่ตับ   ไข่แดง  ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเหลืองแสด

อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมแก่ลูกวัย 0-1 ปี

  • วัยแรกเกิด (0 เดือน) – 6เดือน อาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับลูกในวัยนี้คือนมแม่ เพราะธรรมชาติได้จัดสรรให้นมแม่นั้นมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมกับทารกมากที่สุด อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกเติบโตได้ดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสมอง ที่สำคัญในนมแม่นั้นยังมีสารอาหารสำคัญที่มีชื่อว่า สฟิงโกไมอีลิน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ไมอีลิน ปลอกหุ้มแขนงประสาทนำออก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองของลูกสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 7 เดือน ในวัยนี้แนะนำให้กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 1 มื้อ เช่นข้าวบดละเอียดกับน้ำแกงจืด เพิ่ม เนื้อปลา และเนื้อสัตว์บด ผักหั่น และผลไม้
  • 8-9 เดือน กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 2 มื้อ ชนิดของอาหารไม่ต่างจากช่วงวัย 7 เดือนนัก แต่ให้เพิ่มปริมาณให้มากขึ้น และทำให้เนื้อของอาหารบดนั้นข้น หนืดขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกการกลืน
  • 10-12 เดือน ให้ลูกกินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 3 มื้อ เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นกว่าเดือนก่อน ๆ และแนะนำให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลายชนิดมากขึ้น โดยเนื้อสัมผัสของอาหารควรหยาบและเพิ่มเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • 1 ปี ให้ลูกได้กินอาหาร 3 มื้อ และเสริมด้วยนมสำหรับเด็ก 1 ขวบ อีก 3 มื้อ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมือนกับผู้ใหญ่ แนะนำให้อาหารปรุงสุกอ่อนนุ่ม เป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เคี้ยวได้ ในวัยนี้ลูกจะเริ่มใช้ช้อนตักเองได้แต่อาจจะยังหกหรือเลอะเทอะอยู่ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ช่วยตัวเองในการหัดตักอาหารและให้ลูกได้ร่วมโต๊ะอาหารกับผู้ใหญ่บ่อย ๆ เพื่อฝึกวินัยและมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โภชนการลูกวัย 1-2 ปี

โภชนาการลูกวัย 2-3 ขวบ 

กินอะไรให้ลูกฉลาด 

อาหารตามวัย บำรุงร่างกายและสมองลูก

อ้างอิง

1.https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1325

2.http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf

3.https://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf
 

บทความแนะนำ

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดีต่อสุขภาพ

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยฟื้นฟูร่างกาย

แม่หลังคลอดกินผลไม้อะไรได้บ้าง ผลไม้ชนิดไหนช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและกระตุ้นน้ำนมให้ไหลดี มีคุณภาพ ช่วยให้สารอาหารส่งถึงลูกโดยตรง ไปดูกัน

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ มีประโยชน์กับลูก

โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่

โพรไบโอติกเด็ก (นมที่มี Probiotics) จุลินทรีย์ที่พบได้ในนมแม่ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ส่งเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบสมอง