DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

10.07.2023

เราต่างคุ้นเคยกันดีว่า DHA คือชื่อของสารอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่ง  แต่รู้ไหมว่า แท้จริงแล้วสารอาหารนี้มีประโยชน์อย่างไร และมีความสำคัญกับสมองของลูกน้อยมากแค่ไหน บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก DHA ผ่านเรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับ DHA ไปพร้อมกัน

headphones

PLAYING: DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

อ่าน 9 นาที

 

สรุป:

  • DHA เป็น กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็นของทารก และระบบประสาท
  • ร่างกายไม่สามารถผลิต DHA ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องได้รับอาหาร พบมากในน้ำนมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาทู สาหร่ายทะเล เมล็ดตระกูลวอลนัต เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

DHA เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

Docosahexaenoic Acid หรือ DHA คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา รวมถึงมีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็น และระบบประสาท โดยพบในเซลล์สมอง 40% และพบในประสาทตา 60% นอกจากนี้ DHA มีทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน มีผลต่อโครงสร้างของตัวรับสัญญาณและคุณภาพของตัวรับสารสื่อประสาท หากระบบสมองขาด DHA การส่งข้อมูลต่าง ๆ จะหยุดชะงัก

 

ร่างกายไม่สามารถสร้าง DHA ได้ด้วยตัวเอง

DHA เป็นสาอาหารที่มีความสำคัญ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองและจำเป็นต้องได้รับจากแหล่งของสารอาหารภายนอก โดย DHA เป็นสารสำคัญที่พบมากในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ยังพบมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย หรือปลาทู สาหร่ายทะเล เมล็ดพืชตระกูลวอลนัต เป็นต้น

 

DHA คืออะไร สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย

 

ทารกต้องการ DHA ตั้งแต่ในครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ที่มี DHA เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด และช่วยส่งเสริมด้านพัฒนาการทางด้านสมอง การมองเห็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  นักวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของ DHA ในสมองเด็กได้รับมาแต่แรกเกิด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะได้รับมาเมื่ออายุขวบปีแรก 
ดังนั้นคุณแม่จึงควรได้รับ DHA ที่เพียงพอต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยรับประทานปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง 
 

DHA สร้างสมองฉลาดให้ลูกน้อย

DHA มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะในส่วนของความจำ และการเรียนรู้ เพราะสาร DHA จะเข้าไปเสริมสร้างความเจริญเติบโตของปลายประสาทที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น 
ดังนั้นในช่วง 3 ขวบปีแรกที่สมองจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ลูกน้อยจึงควรได้รับ DHA รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการสมองและพัฒนาการทุกด้านได้อย่างสมวัย

 

DHA สร้างสมองฉลาดให้ลูกน้อย

 

DHA ในนมแม่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก

เนื่องจากลูกน้อยไม่สามารถสร้าง DHA ได้ด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มี DHA เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญ ซึ่งทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม เพื่อให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

 

DHA มีประโยชน์หลายด้านที่ดีต่อลูกน้อย

  • DHA ช่วยให้ลูกน้อยมองเห็นได้ดี เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา การมองเห็นที่ชัดเจนส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ ช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น
  • DHA ลดความเสี่ยงสมาธิสั้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพของทักษะกระบวนความคิดของลูกน้อย
  • DHA ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • DHA เพิ่มความสุขได้ โดยกรดไขมัน DHA มีหน้าที่ควบคุมสารสื่อประสาทในสมองใหทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เพิ่มสารแห่งความสุข เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายและจิตใจ

 

ปริมาณ DHA ที่เหมาะสมต่อวันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ดังข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า DHA เป็นสารอาหารที่สำคัญยิ่งต่อทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรรับประทานปริมาณ DHA ให้เพียงพอต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์บริโภค DHA อย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเป็นการบริโภคอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

 

DHA คู่ สฟิงโกไมอีลิน สู่การเรียนรู้ที่ดีกว่า

DHA และ สฟิงโกไมอีลิน เป็นสารสำคัญที่อยู่ในนมแม่ โดย DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและจอตา รวมถึงมีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง การมองเห็น และระบบประสาท ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน มีผลต่อโครงสร้างของตัวรับสัญญาณและคุณภาพของตัวรับสารสื่อประสาท
ส่วน สฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และมีไขมันที่มีความจำเพาะต่อการสร้างไมอีลินโดยเฉพาะ ไมอีลินนี้เป็นส่วนของหุ้มเส้นใยประสาทที่จะมาเชื่อมโยงเส้นประสาทต่างๆ อันส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาทและการประมวลผลภายในสมอง สมองเด็กที่มีไมอีลินมากกว่าจะเรียนรู้ได้ไวกว่า โดยเฉพาะเด็กที่ได้นมแม่จะมีการสร้างไมอีลินที่มากกว่า
เมื่อลูกน้อยได้รับ DHA และ สฟิงโกไมอีลิน คู่กันก็จะช่วยในการทำงานของสมอง การสื่อสัญญาณประสาท ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ ความจำ และพัฒนาที่ดีไปตามวัย

 

DHA คู่ สฟิงโกไมอีลิน สู่การเรียนรู้ที่ดีกว่า

 

สารอาหารในนมแม่มีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไรสำหรับลูกน้อย

องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของลูก ดังนี้


โปรตีน
ในน้ำนมแม่มีโปรตีนมากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งกว่า 60% เป็นโปรตีนชนิดที่เรียกกันว่า “เวย์โปรตีน” ที่มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ช่วยให้ไตทำงานน้อย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และป้องกันการติดเชื้อได้ดี ไม่มีเบต้าแลกโตโกลบุลินที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ รวมทั้งช่วยในการพัฒนาสมองอีกด้วย


ไขมัน
นมแม่จะมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 4 กรัมต่อน้ำนม 100 มิลลิลิตร อุดมด้วยโอเมก้า 3, 6 คือ DHA และ AA มีคอเลสเตอรอลสร้างเส้นใยประสาท และมีน้ำย่อยไขมันไลเปสช่วยในการย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ดี ไขมันในนมแม่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของลูก พร้อมมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และยังช่วยในการดูดซึมวิตามิน กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานอย่างสมบูรณ์


คาร์โบไฮเดรต
ในน้ำนมแม่มีน้ำตาลนม (แล็กโตส) สูง ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง รวมถึงมีน้ำตาลเชิงซ้อนกว่า 200 ชนิดที่เรียกว่า โอลิโกแซคคาไรด์ ในปริมาณสูงมาก โดยทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก ช่วยส่งเสริมสุขภาพของลำไส้ของลูก และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและลดความเสี่ยงของการอักเสบของสมองได้อีกด้วย


วิตามินและแร่ธาตุ
วิตามินในน้ำนมแม่มีทั้งวิตามินที่ความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K แต่ปริมาณวิตามินจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินที่แม่ได้รับ ดังนั้นแม่ที่ให้นมบุตรจึงควรทานอาหารอย่างหลากหลาย ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียม เพียงพอกับลูกวัยแรกเกิด – 6 เดือน ถึงแม้อาจจะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็สามารถดูดซึมได้ดีกว่าโดยเฉพาะธาตุเหล็ก (ดูดซึม 50 – 75%) สังกะสีและแคลเชียม

 

สารป้องกันเชื้อโรคและภูมิคุ้มกัน

น้ำนมช่วงแรกหลังคลอดที่เรียกกว่า “น้ำนมเหลือง” หรือ Colostrums น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณสารภูมิคุ้มกันสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อของทารกแรกเกิดได้ มีเม็ดเลือดขาวเป็นส่วนประกอบ 2,000-3,000 เซลล์/มิลลิลิตร มีปริมาณไลโซไซม์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย สูงกว่านมอื่นๆ ถึง 5,000 เท่า จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ได้รับการเปรียบเปรยว่านมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนแรกของลูก 
    
น้ำนมแม่อุดมด้วยสารที่ช่วยการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่างๆ โดยมี สฟิงโกไมอีลีน ดีเอชเอ และสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่ดีตามวัย เติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง นอกเหนือจากสารอาหารต่างๆ กว่า 200 ชนิดแล้ว ในนมแม่ยังมีน้ำย่อย เช่น น้ำย่อยไขมันและแป้ง รวมถึงมีฮอร์โมนนานาชนิด ที่มีผลดีต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกน้อย

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง

  • ทําไมต้องเป็น. "ไข่โอเมก้า 3”, ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กินปลาสมองดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การรับประทาน โอเมก้า 3 ดีเอชเอ อาจป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้, หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เรื่องปลา....ปลา..., คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • "น้ำมันปลา" บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจ, mgronline
  • ส่วนประกอบและคุณค่าของน้ำนมแม่, มูลนิธิศูนย์น้ำนมแม่แห่งประเทศไทย
  • สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, megawecare
  • Omega-3 Fatty Acids and Pregnancy, National Library of Medicine
  • งานวิจัยล่าสุดชี้ “สฟิงโกไมอีลิน” หนึ่งในสารอาหารในนมแม่ที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมองที่ดีกว่า, thairath
  • เลี้ยงลูกให้แข็งแรงด้วยนมแม่, รพ.กรุงเทพ
  • เปิดส่วนประกอบ "นมแม่" ใน 1 หยดมีสารอาหารอะไรบ้างนะ, รพ.พญาไท
  • “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ, กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2566
 

บทความแนะนำ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด

ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการที่ลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน