6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ ก่อนครบกำหนดคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ ก่อนคุณแม่ครบกำหนดคลอด

09.05.2023

คุณแม่มือใหม่อาจสงสัยในการนับอายุครรภ์ เพราะคุณแม่แต่ละท่านจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ใช้เวลาช้าเร็วแตกต่างกันไป การคำนวณอายุครรภ์ให้แม่นยำเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพื่อให้ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วง รวมถึงกำหนดคลอดได้ ต่อไปนี้คือเทคนิคการนับอายุครรภ์ที่เข้าใจง่ายสำหรับคุณแม่ทุกคน

headphones

PLAYING: วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ ก่อนคุณแม่ครบกำหนดคลอด

อ่าน 9 นาที

สรุป

  • การนับอายุครรภ์มักจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีการตั้งครรภ์ จนถึงวันคลอดลูก (ประมาณ 40 สัปดาห์)
  • อัลตราซาวนด์ช่วยตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ นับอายุครรภ์ ดูจำนวนทารก ดูการเต้นหัวใจ อีกทั้งช่วยกำหนดช่วงวันคลอดได้อย่างแม่นยำ 

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำความรู้จักกับการนับอายุครรภ์ เพื่อคำนวณอายุครรภ์อย่างมั่นใจ

การนับอายุครรภ์ คือ การคำนวณอายุการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้คุณแม่อายุครรภ์เท่าไร และทารกในครรภ์ควรจะมีพัฒนาการอย่างไร ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย วางแผนการตรวจครรภ์ และแจ้งกำหนดวันคลอดคร่าว ๆ ได้ รวมไปถึงยังสามารถตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย ปกติแล้วอายุครรภ์โดยรวมจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีการตั้งครรภ์ไปจนถึงวันคลอดลูก โดยจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน หรือที่รู้จักกันคือตั้งครรภ์ 9 เดือน

 

วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด ก็นับอายุครรภ์ได้

วิธีการนับอายุครรภ์แบบง่าย ที่คุณแม่มือใหม่สามารถทำได้เอง คือ จำวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุดให้ได้ เพราะการนับอายุครรภ์จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของแรกประจำเดือนครั้งล่าสุด และมีหน่วยการนับเป็นวันและสัปดาห์ แต่ที่เราเห็นมีการบอกอายุครรภ์เป็นเดือนนั้นก็มาจากการนับสัปดาห์แล้วคำนวณเป็นเดือนนั่นเอง

 

วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด ก็นับอายุครรภ์ได้

 

6 วิธีการนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์คุณแม่

โดยปกติแล้วอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยนับได้หลายวิธี และใช้เกณฑ์วัดเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้คุณแม่เข้าใจวิธีการเกี่ยวกับการนับอายุครรภ์มากขึ้น โดยมีหลายวิธีดังนี้

 

1.การนับอายุครรภ์ที่นับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย

วิธีนี้เป็นการนับอายุครรภ์ตามรอบ 28 วัน โดยอิงจากประจำเดือนของคุณแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากหากคุณแม่สามารถจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ เพราะการนับอายุครรภ์วิธีนี้จะเริ่มนับอายุครรภ์โดยเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน) ซึ่งจะยึดวันนี้เป็นวันที่ 0 ของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มีนาคม และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28 - 29 มีนาคม ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มีนาคม กรณีจำประจำเดือนไม่ได้ คุณหมอ หรือพยาบาลจะซักประวัติตามสถานการณ์ที่ใกล้เคียง เพื่อประมาณคร่าว ๆ ของอายุครรภ์

 

2. การนับอายุครรภ์เป็นรายสัปดาห์

เพื่อให้ง่ายต่อการนับอายุครรภ์และการติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ คุณหมอจะใช้เกณฑ์การนับเป็นรายสัปดาห์หรือรายวีค แต่วิธีการนับอาจทำให้คุณแม่เกิดความสับสนเล็กน้อย เนื่องจากว่าการนับอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็น “วันที่ 0” แล้วจะนับวันต่อไปเป็นวันที่ 1 จนถึงวันที่ 6 เราเรียกสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ที่ที่ 0 – 6 ว่า “สัปดาห์ที่ศูนย์ของการตั้งครรภ์” ส่วนสัปดาห์ต่อมาเราจะนับวันที่ 7 -13 เป็น “สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์”

 

3. การนับอายุครรภ์ตามวันที่ปฏิสนธิ

การนับอายุครรภ์ตามวันที่ปฏิสนธิจะมีความซับซ้อนมากกว่าการนับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพราะต้องใช้ข้อมูลหลายส่วนประกอบกัน การนับวิธีนี้เป็นการนับอายุจริงของทารกในครรภ์ที่คำนวณจากอายุครรภ์ที่นับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย กับวันที่ผู้หญิงกำลังมีวันตกไข่หรือวันที่มีการปฏิสนธิ โดยปกติแล้วไข่จะตกก่อนประจำเดือนรอบใหม่มา 2 สัปดาห์ ทำให้อายุครรภ์ตามวันที่ปฏิสนธิช้ากว่าอายุครรภ์ตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย 2 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า 

  • อายุครรภ์ที่นับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Gestational Age) = อายุครรภ์ตามวันที่ปฏิสนธิ (Fertilization age) + 2 สัปดาห์ 

 

4. การนับอายุครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์

การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้คำนวณอายุครรภ์มากที่สุด เพราะให้ความแม่นยำสูงสามารถคำนวณอายุครรภ์รายสัปดาห์ได้อย่างคร่าว ๆ ในช่วงแรกของตั้งครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่ทราบวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย  โดยแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง วัดคำนวณจากขนาดศีรษะของเด็ก ความยาวของกระดูก และขนาดหน้าท้อง เป็นต้น 

 

6 วิธีการนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์คุณแม่

 

5. การนับอายุครรภ์ตามเดือนและไตรมาส

แม้จะนับอายุครรภ์ตามสัปดาห์เพื่อความละเอียด แต่อย่างไรก็ดี ในแต่ละเดือนจะมีจำนวนสัปดาห์ที่ไม่เท่ากัน บางเดือนมี 4 สัปดาห์ และบางเดือนมี 5 สัปดาห์  เมื่อคุณแม่ทราบอายุครรภ์แล้ว คุณแม่ก็จะสามารถตรวจสอบพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ไตรมาสได้อีกด้วย การคำนวณอายุครรภ์สามารถระบุระยะการตั้งครรภ์ได้ โดยการตั้งครรภ์จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ 

  • ไตรมาสที่ 1: สัปดาห์ที่ 1-สัปดาห์ที่ 13 (ประมาณเดือนที่ 0-เดือนที่ 3) 
  • ไตรมาสที่ 2: สัปดาห์ที่ 14-สัปดาห์ที่ 27 (เดือนที่ 4-เดือนที่ 6) 
  • ไตรมาสที่ 3: สัปดาห์ที่ 28-สัปดาห์ที่ 42 (เดือนที่ 7-เดือนที่ 9)

 

การนับอายุครรภ์ คุณแม่ต้องนับอย่างไร?

ไตรมาสที่เดือนสัปดาห์
111 - 4
25 - 8
39 - 13
2414 - 17
518 - 22
623 - 27
3728 - 31
832 - 35
936 - 40

 

6. การนับอายุครรภ์ คำนวณจากที่แม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเป็นครั้งแรก

วิธีการนับอายุครรภ์ ให้นับจำนวนวันจากลูกดิ้นครั้งแรก (quickening) จนถึงวันที่ต้องการคำนวณ จะได้อายุครรภ์เป็นจำนวนวัน แล้วหารด้วย 7 จะได้อายุครรภ์เป็นจำนวนสัปดาห์จากนั้นบวกด้วยอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์สำหรับท้องแรก และบวกด้วยอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์สำหรับท้องหลัง แต่การคิดอายุครรภ์และกำหนดวันคลอดจากประวัติลูกดิ้นครั้งแรกนี้ จะมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว


อย่างไรก็ดี การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์ สามารถบอกถึงสุขภาพหรือความผิดปกติของลูกน้อยได้ โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกดิ้นน้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังและอยู่ในภาวะอันตราย อาจเกิดจากน้ำคร่ำน้อย หรือ สายสะดือผูกเป็นปมได้ 

 

ไขข้อข้องใจ จำประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ จะนับอย่างไร

คุณแม่บางท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีรอบเดือนทุก ๆ 28 วัน หรือจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ คุณแม่สามารถเข้าพบสูตินารีแพทย์ เพื่อนับอายุครรภ์ด้วยการอัลตราซาวนด์ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบขนาดของถุงตั้งครรภ์ (Gestational Sac) หรือความยาวของทารก (Crown Rump Length) และคำนวณอายุครรภ์ของคุณแม่ได้เช่นกัน 
วิธีการนี้จะให้ผลแม่นยำที่สุดเมื่อใช้ตรวจช่วงหลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 3 เดือนหรือประมาณ 12 สัปดาห์ นอกจากนี้การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ยังช่วยตรวจพัฒนาการและการเติบโตของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย

 

การตรวจอัลตราซาวนด์บ่งบอกอะไรได้บ้าง

การอัลตราซาวนด์นอกจากเป็นการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ ตรวจเพื่อนับอายุครรภ์แล้ว ยังเป็นการตรวจเพื่อดูจำนวนทารก ดูการเต้นหัวใจ รวมถึงตรวจดูความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกหรือท้องลม อีกทั้งยังสามารถกำหนดช่วงวันคลอดได้อย่างแม่นยำ 
คุณแม่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุกไตรมาส เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ทั้งนี้ความถี่ในการตรวจอัลตราซาวนด์จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแลการฝากครรภ์ โดยรายละเอียดการตรวจแต่ละครั้งมีดังนี้

  • ไตรมาสที่ 1 ควรทำการอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่าเป็นการท้องนอกมดลูกหรือในมดลูก เพื่อกำหนดอายุครรภ์ และกำหนดวันคลอด
  • ไตรมาสที่ 2 จะทำการตรวจความสมบูรณ์ของอวัยวะทารกในครรภ์ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 18-20 สัปดาห์ 
  • ไตรมาสที่ 3 จะเป็นการตรวจดูความเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ น้ำหนักทารก รวมถึงตรวจดูความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเป็นการวางแผนกำหนดคลอด คำนวณวันคลอดได้ง่าย ๆ

 

วิธีคำนวณอายุครรภ์กำหนดคลอด

 

วิธีคำนวณอายุครรภ์กำหนดคลอด

การนับอายุครรภ์ทำให้คุณแม่ทราบกำหนดคลอดได้คร่าว ๆ โดยคำนวณจาก 2 วิธีนี้

  • นับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วบวกเพิ่ม: หลังจากคุณแม่ทราบวันแรกของการมีประจำเดือนครั้ง

ล่าสุดแล้ว ให้บวกเพิ่มไปอีก 9 เดือน และบวกต่ออีก 7 วัน จะได้กำหนดคลอด 
เช่น วันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 1 เม.ย. 66 + 9 เดือน + 7 วัน จะได้กำหนดคลอด คือ วันที่ 8 ม.ค. 67

  • นับตามวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วนับย้อนหลัง: หลังจากคุณแม่ทราบวันแรกของการมีประจำเดือนครั้ง

ล่าสุดแล้วให้นับไปก่อน 1 ปี แล้วนับย้อนหลัง 3 เดือน จากนั้นบวกเพิ่มไปอีก 7 วัน จะได้กำหนดคลอด 
เช่น วันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 1 เม.ย. 66 + 1 ปี - 3 เดือน + 7 วัน จะได้กำหนดคลอด คือ วันที่ 7 ม.ค. 67


จะเห็นได้ว่าการคำนวณอายุครรภ์วันคลอดทั้งสองวิธีจำได้กำหนดคลอดที่ใกล้เคียงกัน แต่การใช้การคาดคะเนกำหนดคลอดแบบนี้สามารถใช้ได้กับคุณแม่ที่มีประจำเดือนมาตรงรอบและสม่ำเสมอเท่านั้น สำหรับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตรงรอบ คุณแม่จะใช้การอัลตราซาวนด์กับวันที่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดมาคำนวณควบคู่กับไปเพื่อให้ได้กำหนดคลอดและอายุครรภ์ที่ใกล้เคียงมากที่สุด


อย่างไรก็ตาม อายุครรภ์ และกำหนดเวลาคลอดอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ขึ้นซึ่งคุณหมอจะคอยตรวจเช็กเป็นระยะเมื่อคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์จากคุณหมอ พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลลูกน้อยในครรภ์และการเตรียมตัว เมื่อคุณแม่มีอาการใกล้คลอดเพื่อให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างดีตั้งแต่ในครรภ์และแรกคลอด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. นับอายุครรภ์อย่างไรให้แม่น!, รพ.เปาโล
  2. อายุครรภ์ (Gestational age) มีวิธีนับอย่างไรบ้างให้ได้ผลที่แม่นยำ, BNH Hospital
  3. อายุครรภ์ : การนับอายุครรภ์ & คำนวณวันคลอด (อย่างแม่นยำ !!), medthai
  4. วิธีนับอายุครรภ์ นับอย่างไร มีวิธีการนับที่แม่นยำแบบไหนบ้าง, theasianparent

อ้างอิง ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2566

 

บทความแนะนำ

อาการแพ้ท้องแทนเมีย มีจริงไหม เกิดจากอะไร รับมือยังไงดี

อาการแพ้ท้องแทนเมีย มีจริงไหม เกิดจากอะไร รับมือยังไงดี

อาการแพ้ท้องแทนเมีย ผู้ชายแพ้ท้องแทนเมียได้จริงไหม อาการแบบนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ไปดูสาเหตุ อาการ และวิธีรับมือ เมื่อว่าที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องแทนเมีย

อาการครรภ์เป็นพิษ มีสาเหตุจากอะไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ควรระวัง

อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ต้องระวัง

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คลอดธรรมชาติ มีขั้นตอนการคลอดลูกอย่างไร พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คลอดธรรมชาติ น่ากลัวไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร

คลอดลูกธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังแม่คลอด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้องท่าไหน ปลอดภัยที่สุด

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย

คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน และ ท่านอนคนท้อง 8-9 เดือน แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ท้อง ไปดูท่านอนคนท้องที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่กัน