อาการท้องไม่รู้ตัว คุณแม่สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์ที่ถูกต้อง

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

17.02.2024

อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณแม่บางคนอาจจะไม่มีอาการแพ้ท้อง หรือไม่ค่อยรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ซึ่งอาการท้องไม่รู้ตัว อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

headphones

PLAYING: อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการท้องไม่รู้ตัว พบได้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เป็นท้องแรก หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าท้อง
  • วิธีสังเกตอาการระยะแรกของการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนขาด น้ำหนักตัวเพิ่ม วิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน
  • หากรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ควรซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง

 

อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เพราะร่างกายคนท้องแต่ละคนแตกต่างกัน ผู้หญิงบางคนตั้งครรภ์แต่แทบจะไม่เกิดอาการแพ้ท้องเลย ส่วนรูปร่างที่เปลี่ยนไป น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ก็อาจคิดไปได้ว่า อ้วนขึ้น ซึ่งอาการท้องไม่รู้ตัวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการท้องไม่รู้ตัว ระยะแรกของการตั้งครรภ์ มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

1. ไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ

ว่าที่คุณแม่บางคนตั้งครรภ์เป็นท้องแรก และอาจไม่มีอาการแพ้ท้องมากนัก และไม่เคยมีประสบการณ์ตั้งครรภ์มาก่อน อาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าท้อง

 

2. ประจำเดือนขาด แต่ไม่คิดว่าตั้งครรภ์

ผู้หญิงบางคนมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้คิดได้ว่า ประจำเดือนขาดจากสาเหตุอื่น

 

3. ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ผลเป็นลบ

อาจใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แล้วยังตรวจไม่พบ สาเหตุที่ท้องแต่ตรวจไม่ขึ้นอาจเป็นไปได้ว่าตรวจเร็วเกินไป ต้องรอระยะเวลาก่อนตรวจซ้ำ

 

4. การคุมกำเนิดไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

การคุมกำเนิดใด ๆ ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องไม่รู้ตัวได้

 

5. ไม่ทันสังเกตความเปลี่ยนของร่างกาย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายคนท้องแต่ละคนแตกต่างกัน อาจทำให้ไม่ทันได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

6. ขนาดท้องเล็กมาก

ขนาดท้องของคนท้องอาจมีขนาดที่เล็กมาก แม้ว่าจะตั้งครรภ์แล้วหลายเดือน อาจทำให้คิดว่า น้ำหนักขึ้นหรืออ้วนขึ้นมากกว่า

 

7. คิดว่าโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก เพราะอายุเยอะ

เมื่ออายุมากขึ้น อาจทำให้เข้าใจไปเองว่า มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยาก จึงไม่ทันสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

 

วิธีสังเกตสัญญาณเตือนเบื้องต้นว่ากำลังตั้งครรภ์

การท้องไม่รู้ตัว อาจเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ หากประจำเดือนขาด หรือรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่คุณแม่สังเกตได้ โดยคุณแม่สามารถลองตรวจอาการคนท้องระยะแรกที่พบได้ เช่น

  • ประจำเดือนขาดเป็นระยะเวลานาน
  • น้ำหนักขึ้นหรือรู้สึกว่าอ้วนขึ้น
  • หงุดหงิดง่าย มีอารมณ์แปรปรวน
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการปวดหลัง
  • เจ็บหน้าอกหรือคัดตึงเต้านม
  • หัวนมมีสีเข้มขึ้น
  • อาเจียนและรู้สึกคลื่นไส้

 

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจเองได้ รู้ผลไว

หากสังเกตร่างกายของตัวเองว่ามีความผิดปกติไปจากเดิม มีสัญญาณบ่งบอกว่า อาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ ควรซื้อที่ตรวจครรภ์หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจ เพื่อป้องกันอาการท้องไม่รู้ตัว การตั้งครรภ์จะได้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก โดยอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา แต่ควรเลือกชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ตามที่เภสัชกรแนะนำ โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

 

1. ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม จะมีแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์และถ้วยตวง ให้เก็บปัสสาวะในถ้วยตวง นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์จุ่มลงไปตามคำแนะนำและวิธีใช้ จุ่มทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที โดยจุ่มปัสสาวะไม่ให้เกินขีดลูกศร แล้วนำออกมาวางรออีก 5 นาที

 

2. ที่ตรวจครรภ์แบบหยด

อุปกรณ์ที่มีในที่ตรวจครรภ์แบบหยด จะมีตลับตรวจครรภ์ หลอดหยด และถ้วยตวงปัสสาวะ ให้เก็บปัสสาวะในถ้วยตวง ก่อนจะนำหลอดหยดมาดูดน้ำปัสสาวะ แล้วหยดลงตลับตรวจครรภ์ ตามคำแนะนำและวิธีใช้ ราว 3-4 หยด โดยใช้เวลาในการรอผลตรวจครรภ์ประมาณ 5 นาที

 

3. ที่ตรวจครรภ์แบบปัสสาวะผ่าน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจครรภ์มีเพียงอย่างเดียว คือ แท่งตรวจครรภ์ วิธีการทดสอบให้นำฝาครอบออก แล้วปัสสาวะผ่าน ตามคำแนะนำและวิธีใช้ ประมาณ 30 วินาที และรออ่านผลประมาณ 5 นาที

 

การอ่านผลตรวจชุดทดสอบการตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์จะมีแถบวัดที่หน้าแสดงผล โดยมีตัวอักษรสำคัญ 2 ตัว ได้แก่ C (Control Line) และ T (Test Line) ควรอ่านผลหลังจากรอประมาณ 5 นาที เพื่อความแม่นยำ ซึ่งจะแสดงผลออกมา

  1. ท้อง 2 ขีด: เรียกว่า ผลบวก การแสดงผลจะขึ้นทั้งอักษร C และ T แม้ว่าจะขึ้นเป็นขีดจาง ๆ ก็มีแนวโน้มว่ากำลังตั้งครรภ์ หากขึ้น 2 ขีดไม่ชัด ควรรอประมาณ 2-3 วัน จึงทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง
  2. ไม่ท้อง 1 ขีด: เรียกว่า ผลลบ การแสดงผลจะขึ้นที่อักษร C เพียง 1 ขีด แสดงว่าไม่น่าจะมีการตั้งครรภ์ อาจรอเวลาเพื่อทำการตรวจซ้ำอีกครั้งให้แน่ใจ

 

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่แสดงว่ากำลังตั้งครรภ์ หลั่งจากรกหลังเกิดการปฏิสนธิแล้วประมาณ 6 วัน ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีปริมาณสูงขึ้นในช่วง 8-12 สัปดาห์หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจเมื่อเลยรอบประจำเดือนแล้วประมาณ 7 วัน และควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง เว้นประมาณ 2-3 วันในแต่ละครั้ง โดยอ่านวิธีใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อความแม่นยำควรใช้อุปกรณ์ตรวจตอนเช้าหรือก่อนทานอาหาร หากใช้แล้วไม่ขึ้นขีด ไม่มีการแสดงผลทดสอบแต่ยังไม่มั่นใจ สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์ชิ้นใหม่มาใช้ตรวจอีกครั้ง

 

อาการท้องไม่รู้ตัว อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับแม่และลูกในท้อง จึงควรตรวจร่างกายเป็นประจำ และสังเกตความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากไม่มั่นใจว่า ตั้งครรภ์หรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “ท้องไม่รู้ตัว” มีอยู่จริง, โรงพยาบาลราชสีมา ฮอสพิทอล
  2. ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
  3. อาการท้องไม่รู้ตัวและสัญญาณเตือน ที่คุณแม่สามารถสังเกตเองได้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. ผลจากที่ตรวจครรภ์...แม่นยำแค่ไหนกันนะ?, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินโยเกิร์ต เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ โยเกิร์ตดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสลัดผักได้ไหม กินผักสดบ่อย จะอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ประโยชน์ของผักสลัดมีอะไรบ้าง ผักประเภทไหนที่คนท้องควรเลี่ยง ไปดูกันว่าคนท้องกินผักอะไรได้บ้าง

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม คุณแม่ท้องทาเล็บบ่อย จะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า สารเคมีในน้ำยาทาเล็บ ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกในท้องบ้าง อยากทำเล็บต้องระวังอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน แผลสมานไม่สนิท เกิดจากอะไร

แผลฝีเย็บไม่ติดกัน เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด แผลจะอักเสบไหม อันตรายกับคุณแม่หลังคลอดหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บไม่ติดกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก