คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
การนับอายุครรภ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการนับอายุครรภ์ช่วยให้สูตินรีแพทย์สามารถวินิจฉัย วางแผน แจ้งกำหนดวันคลอดได้ ทำให้คุณแม่ได้รู้ถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ แต่ละไตรมาส และทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตนเองในขณะตั้งครรภ์ เพื่อเฝ้าสังเกตอาการตนเองว่า มีความปกติ หรือผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกันให้มีการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ คุณแม่ร่างกายแข็งแรง ทารกในครรภ์สมบูรณ์ มีพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ในครรภ์
PLAYING: คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
สรุป
- ในการตั้งครรภ์มีระยะทั้งหมด 9 เดือน แบ่งเป็นไตรมาส 3 ไตรมาส การนับอายุครรภ์นับเป็นสัปดาห์ คือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
- คุณแม่สามารถนับอายุครรภ์ได้เอง เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด (ไม่ใช่วันสุดท้ายของประจำเดือน) นับเป็นแบบสัปดาห์
- การนับอายุครรภ์ มีประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ ช่วยให้ได้ทราบขนาดของทารก และพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมในแต่ละไตรมาส, ช่วยให้สูตินรีแพทย์วางแผนการตรวจครรภ์ในแต่ละไตรมาส การนับอายุครรภ์จะช่วยให้คาดคะเนวันที่ทารกจะคลอดได้อีกด้วย
- การนับอายุครรภ์ผิด อาจทำให้กำหนดวันคลอดคลาดเคลื่อน ทำให้การคาดคะเนพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก ในแต่ละไตรมาส แต่ละเดือนผิดพลาด ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ท้อง 1 เดือน มีกี่สัปดาห์
- อายุครรภ์ 1 เดือนกี่สัปดาห์ เริ่มนับอย่างไร
- ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ นับเป็นเดือน หรือเป็นสัปดาห์ดี
- คุณแม่นับอายุครรภ์ผิด จะเป็นอันตรายหรือเปล่า
- การนับอายุครรภ์ มีผลกับกำหนดวันคลอดไหม
- ตารางเปรียบเทียบอายุครรภ์ เดือนและสัปดาห์
- การตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส คุณแม่ควรดูแลครรภ์ให้ถูกวิธี
คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ท้อง 1 เดือน มีกี่สัปดาห์
การนับอายุในการตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ในการตั้งครรภ์มีทั้งหมด 9 เดือน แบ่งนับเป็นสัปดาห์คือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
- คุณแม่ท้องไตรมาสแรก
- คุณแม่ท้องไตรมาสที่ 2
- คุณแม่ท้องไตรมาสที่ 3
อายุครรภ์ 1 เดือนกี่สัปดาห์ เริ่มนับอย่างไร
ตามหลักทางการแพทย์ สูตินรีแพทย์จะเริ่มนับอายุครรภ์จากวันแรกของวันที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ เป็นวันแรกของการเริ่มตั้งครรภ์ของคุณแม่ นับจากวันแรกไปจนครบ 40 สัปดาห์ เช่น อายุครรภ์เดือนที่ 1 เท่ากับ สัปดาห์ที่ 1-4 อายุครรภ์เดือนที่ 2 เท่ากับ สัปดาห์ที่ 5-8 อายุครรภ์เดือนที่ 3 เท่ากับ สัปดาห์ที่ 9-13
ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ นับเป็นเดือน หรือเป็นสัปดาห์ดี
คุณแม่สามารถนับอายุครรภ์ได้เอง ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด (ไม่ใช่วันสุดท้ายของประจำเดือน) นับเป็นแบบสัปดาห์ แต่ที่มีหน่วยนับอายุครรภ์เป็นเดือนนั้น เนื่องมาจากการนับสัปดาห์แล้วมาคำนวณในแบบเป็นเดือน
คุณแม่นับอายุครรภ์ผิด จะเป็นอันตรายหรือเปล่า
การนับอายุครรภ์มีประโยชน์สำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ นับอายุครรภ์ช่วยให้สูตินรีแพทย์วางแผนการตรวจครรภ์ในแต่ละไตรมาส ช่วยให้ได้ทราบขนาดของทารก และพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสมในแต่ละไตรมาส และที่สำคัญ การนับอายุครรภ์จะช่วยให้สูตินรีแพทย์คาดคะเนกำหนดวันคลอดได้อีกด้วย
ดังนั้นการนับอายุครรภ์มีประโยชน์อย่างมากทั้งคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์ การนับอายุครรภ์ผิด จะทำให้การคาดคะเนพัฒนาการต่าง ๆ ของทารก ในแต่ละไตรมาส แต่ละเดือนผิดพลาด ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทำให้กำหนดวันคลอดคลาดเคลื่อน การนับอายุครรภ์ทำให้คุณแม่และแพทย์ได้ทราบว่า ตั้งครรภ์มากี่สัปดาห์ การนับอายุครรภ์แท้จริงแล้ว สูติแพทย์จะยึดนับเอาวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดมาคำนวณอายุของครรภ์คุณแม่
นอกจากนี้ คุณแม่ควรนับและจดการมีประจำเดือนในทุก ๆ เดือน เพื่อการคำนวณอายุครรภ์และวันคลอด ได้อย่างแม่นยำและถูกต้องหากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถใช้ชุดตรวจครรภ์เพื่อตรวจเบื้องต้นได้ หากทราบผลว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด และฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
การนับอายุครรภ์ มีผลกับการกำหนดวันคลอดไหม
การนับอายุครรภ์ มีผลดีกับการกำหนดวันคลอด เพราะทำให้คาดคะเนวันคลอดได้ว่าทารกจะคลอดเดือนไหน เป็นการวางแผนตรวจครรภ์ของสูตินรีแพทย์ในช่วงใกล้คลอด และการคลอด เพื่อจะได้รับมือกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ ส่วนคุณแม่เองนั้นก็จะได้เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ เตรียมของใช้ต่าง ๆ ในการคลอดทารกด้วย
หากคุณแม่ต้องการทราบกำหนดวันคลอดแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง สามารถคำนวณได้ เช่นเดียวกับการคำนวณอายุครรภ์ ซึ่งจะคำนวณด้วยการนำวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด บวกไปอีก 1 ปี ลบ 3 เดือน บวกไปอีก 7 วัน คุณแม่ก็จะได้วันกำหนดคลอดแบบคร่าว ๆ ยกตัวอย่าง เช่น
- มีประจำเดือนวันแรกของครั้งล่าสุด คือวันที่ 9 ตุลาคม 2567 บวก 1 ปี เท่ากับวันที่ 9 ตุลาคม 2568, ลบอีก 3 เดือน เท่ากับวันที่ 9 กรกฎาคม 2568, บวก 7 วัน เท่ากับวันที่ 16 กรกฎาคม 2568
ตารางเปรียบเทียบอายุครรภ์ เดือนและสัปดาห์
การตั้งครรภ์ของคุณแม่แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่
การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1
- เดือนที่ 1 : สัปดาห์ที่ 1 ถึง 4
- เดือนที่ 2 : สัปดาห์ที่ 5 ถึง 8
- เดือนที่ 3 : สัปดาห์ที่ 9 ถึง 13
การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2
- เดือนที่ 4 : สัปดาห์ที่ 14 ถึง 17
- เดือนที่ 5 : สัปดาห์ที่ 18 ถึง 22
- เดือนที่ 6 : สัปดาห์ที่ 23 ถึง 27
การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3
- เดือนที่ 7 : สัปดาห์ที่ 28 ถึง 31
- เดือนที่ 8 : สัปดาห์ที่ 32 ถึง 35
- เดือนที่ 9 : สัปดาห์ที่ 36 ถึง 40
การตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส คุณแม่ควรดูแลครรภ์ให้ถูกวิธี
- ฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
- ดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะ
- ทานอาหารคนท้องที่มีประโยชน์ เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก และผลไม้
- ไม่สูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายแบบพอดี ไม่หนักเกินไป ควรเริ่มหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8-14 ชั่วโมง
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง
- ดูแลรักษาสุขภาพฟัน ขูดหินปูน
- ในกรณีที่ไม่มีข้อห้าม มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของสูตินรีแพทย์
การนับอายุครรภ์มีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในเรื่องของการติดตามพัฒนาการทารกในครรภ์ และการรับมือดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้การนับอายุครรภ์ ยังส่งผลดีต่อการวางแผนการตรวจติดตามสุขภาพ พัฒนาการของทารกในครรภ์ ของสูตินรีแพทย์ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันรับมือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ฉะนั้นก่อนการฝากครรภ์ คุณแม่ควรจดจำการมีประจำเดือนในครั้งสุดท้ายของตนเองให้ดี เพื่อการคำนวณอายุครรภ์ที่แม่นยำในการตั้งครรภ์
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง
- ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้น ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์อย่างไร
- 12 เมนูคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง กินอะไรให้ดีกับลูกน้อย
- โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์แค่ไหน
- อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 1 อาหารคนท้องอ่อน สำหรับคุณแม่และลูกน้อย
- คลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
- คลอดธรรมชาติ น่ากลัวไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร
- ของใช้เตรียมคลอดก่อนไปคลอด เตรียมของไปคลอดยังไงให้ครบ
- อยู่ไฟหลังคลอด ยังจำเป็นอยู่ไหมสำหรับคุณแม่หลังคลอด
- คนท้องนอนหงายได้ไหม ท่านอนคนท้อง 1-3 เดือน ท่าไหนปลอดภัย
- โปรแกรมตามติด 9 เดือนในครรภ์ของลูกน้อยพร้อมบทความพัฒนาการต่าง ๆ
อ้างอิง:
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- How Many Weeks, Months and Trimesters in a Pregnancy?, what to expect
- นับอายุครรภ์อย่างไรให้แม่น!, โรงพยาบาลเปาโล
- นับอายุครรภ์ อย่างไร วิธีคำนวณอายุครรภ์ ที่ถูกต้อง, hellokhunmor
- วิธีนับอายุครรภ์ นับอย่างไรให้แม่นยำ, pobpad
อ้างอิง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567