คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

17.02.2024

ท้อง 2 เดือน ร่างกายของคุณแม่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นทุกวัน ช่วงนี้คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพ ใส่ใจเรื่องอาหารและโภชนาการให้เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยในท้องแข็งแรง

headphones

PLAYING: คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • แม่ท้อง 2 เดือน เริ่มมีอาการแพ้ท้องมากขึ้น ควรเลือกรับประทานอาหารในปริมาณน้อย แต่แยกเป็นมื้อย่อย กินบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน
  • ขนาดท้องของอายุครรภ์ 2 เดือน อาจยังไม่ใหญ่มากจนสังเกตเห็นได้ แต่ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการมากมายเกิดขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ขนาดของท้องจะยังไม่ใหญ่มาก ทำให้คนภายนอกสังเกตได้ยากกว่า คุณแม่กำลังมีน้องอยู่ในท้อง แม้ว่าคุณแม่จะท้อง 2 เดือน แล้วก็ตาม และเมื่ออายุครรภ์ 2 เดือน คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องมาก ทำให้น้ำหนักตัวไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง

 

อายุครรภ์ 2 เดือน เด็กในท้องจะเป็นอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน หรือ ท้อง 8 สัปดาห์ แม้ว่าขนาดท้องจะยังไม่ใหญ่มากนัก แต่ภายในท้องของคุณแม่ เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ขนาดของตัวอ่อนจะมีความยาวราว ๆ 4-25 มิลลิเมตร ด้านพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน หากใช้เครื่องอัลตราซาวด์จะเห็นการเต้นของหัวใจได้ในช่วง 6 สัปดาห์ มีการสร้างและพัฒนาอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่

  • หัวใจ
  • ตา
  • แขน
  • ขา
  • ระบบประสาทและสมอง มีการเติบโตมากขึ้น

 

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ท้อง 2 เดือน

คนอื่นอาจจะไม่ค่อยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของแม่ท้อง 2 เดือน แต่คุณแม่เองจะสัมผัสได้อย่างชัดเจน เช่น

  • หน้าท้องเริ่มขยาย: อายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้หน้าท้องขยายตัวมากขึ้น
  • หน้าอกและเต้านมใหญ่ขึ้น: เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 คุณแม่จะรู้สึกได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6 ถึงเต้านมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะต่อมน้ำนมและไขมันเติบโตขึ้น อาจเห็นเป็นเส้นเลือดที่เต้านม หัวนมมีสีคล้ำขึ้น เต้านมของคุณแม่ยังรู้สึกไวต่อสัมผัส หากกดบริเวณเต้านมจะรู้สึกเจ็บได้
  • รู้สึกคัดเต้านม: เกิดอาการคัดตึงเต้านมได้ เพราะเลือดในร่างกายไปเลี้ยงบริเวณเต้านม
  • มีตกขาว: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายแม่ท้อง 2 เดือน ทำให้เกิดตกขาวในคนท้องได้ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่เปลี่ยนแปลง เลือดจึงไหลเวียนมาคั่งที่บริเวณช่องคลอด ทำให้เกิดเป็นตกขาว

 

อาการที่แม่ท้อง 2 เดือนต้องเจอ

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย: คุณแม่ท้อง 2 เดือน จะเจอกับอาการอ่อนเพลียได้บ่อย รู้สึกเหนื่อยได้ง่าย
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย: คุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน จะหงุดหงิดง่าย มีอารมณ์แปรปรวนได้ เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่ที่เปลี่ยนแปลง ในบางรายอาจมีความรู้สึกซึมเศร้าได้ คุณแม่อาจรู้สึกวิตกกังวลเรื่องลูกในท้องว่าจะแข็งแรงหรือไม่ และอาจกลัวการคลอดลูกได้ด้วย
  • คลื่นไส้อาเจียน: อาการคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นมากขึ้น เมื่อท้อง 2 เดือน สาเหตุสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนคนท้อง เกิดความรู้สึกวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย และคุณแม่บางคนจะรู้สึกคลื่นไส้มากขึ้นหลังการดื่มน้ำหรือทานอาหาร
  • เบื่ออาหารหรือเหม็นกลิ่นอาหาร: คุณแม่บางคนจะรู้สึกไม่อยากทานอะไร รู้สึกเบื่ออาหาร หรือเหม็นกลิ่นอาหารได้ หากคุณแม่รู้สึกพะอืดพะอม ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม หรือเลือกดื่มน้ำขิง จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้

 

อาหารที่คุณแม่ท้อง 2 เดือน ต้องเน้นรับประทาน

อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ แต่คุณแม่มักจะมีอาการแพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย จึงควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย กินทีละน้อย แต่กินหลายมื้อต่อวัน เพื่อควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โดยบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกอาหารให้หลากหลาย และกินในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่

  • โปรตีน: ดีต่อการเจริญเติบโตของทารก และพัฒนาการทางสมอง พบมากในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม และไข่ หรือถั่วเมล็ดแห้ง
  • แร่ธาตุเหล็ก: สำคัญในการสร้างเม็ดเลือด พบมากในเครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และไข่แดง หากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ อาจเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการสมองทารก
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส: ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน พบได้ในนม ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้แข็ง ธัญพืช และผักเขียวเข้ม
  • ไอโอดีน: ไอโอดีนมีส่วนสำคัญ ช่วยพัฒนาระบบประสาทและการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง มีมากในอาหารทะเล หรือเกลือเสริมไอโอดีน
  • โฟเลต: ช่วยในการสร้างเซลล์สมองของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน ควรเลือกรับประทานตับและผักใบเขียว เช่น กุยช่าย และหน่อไม้ฝรั่ง

 

อาหารที่แม่ท้อง 2 เดือนควรหลีกเลี่ยง

  • อาหารรสจัด ทั้งเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด และเผ็ดจัด
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือยาดอง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาและกาแฟ
  • เลิกกินอาหารดิบ หรืออาหารที่คนท้องไม่ควรกิน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • ไม่ควรกินอาหารหมักดอง

 

ท้อง 2 เดือน ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ

การดูแลและใส่ใจตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน กำลังมีลูกน้อยที่เจริญเติบโตอยู่ภายในท้อง จึงต้องเลือกสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ให้กับร่างกาย

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่: ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง และไม่ควรทานอาหารรสจัด
  • ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป: คุณแม่ท้อง 2 เดือน สามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรเล่นกีฬาหรือกิจกรรมโลดโผน และไม่ควรออกกำลังกายหนัก ให้เลือกออกกำลังกายเบา ๆ อาจเป็นการเดินเล่น ว่ายน้ำ หรือโยคะสำหรับคนท้อง เมื่อออกกำลังกายแล้ว 10-15 นาที ควรพักดื่มน้ำ โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรระวังไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป
  • ไม่ควรซื้อยามากินเอง: อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ทารกในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะ พัฒนาระบบประสาทและสมอง การซื้อยาหรือวิตามินมากินเอง อาจส่งผลร้ายแทนที่จะเป็นผลดี ไม่ว่าจะเป็นยา วิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่ท้องและทารกในครรภ์

 

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อาจมีอาการแพ้ท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และยังมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย จึงควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ หมั่นออกกำลังกายเบา ๆ แต่สม่ำเสมอ กินวิตามินหรือยาบำรุงตามที่แพทย์แนะนำ หากิจกรรมผ่อนคลายตัวเอง จะช่วยลดความเครียด ทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น และส่งผลดีต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน), โรงพยาบาลเปาโล
  3. รับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  4. พัฒนาการของทารกในครรภ์, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. สุขใจ ได้เป็นแม่, unfpaและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  6. แบบนี้สิท้องแล้ว, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. ว่าที่คุณแม่มือใหม่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  8. กรมอนามัย แนะหญิงท้องหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง เน้นกินปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ นม, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  9. กรมอนามัย แนะอาหารหญิงท้อง เตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์จนคลอด, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  10. โภชนาการหญิงตั้งครรภ์, ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช
  11. 10 ข้อห้ามที่ “คนท้อง” ต้องรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก