พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

พาหะธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่คนอยากมีลูกต้องรู้

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มิ.ย. 28, 2024
7นาที

รู้หรือเปล่า! พาหะธาลัสซีเมีย อาจแฝงอยู่ในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะคนที่เป็นพาหะไม่ได้มีอาการแสดงออกของโรค ไม่กระทบต่อสุขภาพ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่คุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนที่จะมีลูกน้อย ควรทำความรู้จักและเข้าใจพาหะธาลัสซีเมียหรือโรคธาลัสซีเมียว่าส่งผลกระทบต่อลูกน้อยเพียงใด เพื่อเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

 

สรุป

  • พาหะธาลัสซีเมีย เป็นการได้รับยีนที่ผิดปกติมากจากคุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่ง คนที่เป็นแล้วแม้จะไม่มีอาการผิดปกติแสดงออก แต่คนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกได้
  • คุณแม่ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียตั้งครรภ์ก็สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติถึงทารกในครรภ์ได้ เพราะโรคธาลัสซีเมียนั้นเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • อาการของโรคธาลัสซีเมียจะแสดงออกโดยแบ่งระดับตั้งแต่อาการน้อยหรือไม่มีอาการไปจนถึงอาการรุนแรงมากที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุความเสี่ยงที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือภายหลังคลอดไม่นาน
  • การได้ตรวจคัดกรองก่อนแต่งงานหรือวางแผนจะมีลูกนั้น จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พาหะธาลัสซีเมีย หากไม่ได้รับการตรวจเราอาจจะไม่รู้เลยว่ามี “ธาลัสซีเมีย” แฝงอยู่ในร่างกาย เพราะคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะมีสุขภาพปกติและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกันทั่วไปแต่เพราะโรคธาลัสซีเมียนั้นเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่เริ่มวางแผนมีลูก เพื่อไม่ให้ส่งความเสี่ยงไปถึงลูกน้อย การตรวจหาพาหะธาลัสซีเมีย จึงเป็นเรื่องสำคัญก่อนตั้งครรภ์ไม่น้อย!

 

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร

พาหะธาลัสซีเมีย เป็นการได้รับยีนที่ผิดปกติมากจากคุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่ง คนที่เป็นแล้วแม้จะไม่มีอาการผิดปกติแสดงออก แต่คนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกได้ และเมื่อลูกได้รับยีนผิดปกติทั้งจากพ่อและแม่ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมีย้ ซึ่งจะมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา และเมื่อเป็นแล้วก็ไม่อาจรักษาให้หายขาด

 

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากยีนที่ผิดปกติของคุณพ่อคุณแม่ คือโรคเลือดจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการสร้างฮีโมโกลบินที่เป็นโปรตีนสำคัญในเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ตั้งแต่เกิดและเป็นโรคที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาและบางรายอาจรุนแรงขึ้นอยู่กับพาหะธาลัสซีเมียแต่ละชนิด โดยจะมีอาการตั้งแต่โลหิตจางน้อย ไปจนถึงโลหิตจางมาก ตัวเหลืองซีด มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตับและม้ามโต และปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรงมากทารกอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือภายหลังคลอดได้


พาหะธาลัสซีเมียในทารก มีกี่ชนิด

พาหะธาลัสซีเมียในทารก ที่ทำให้เกิดโรคธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • เบต้า-ธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) ซึ่งเป็นพาหะที่ไม่ค่อยรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ แต่จะส่งผลกับทารกตั้งแต่แรกเกิด โดยอาจมีอาการทารกตัวเหลืองซีดเพราะความไม่สมบูรณ์ของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง จึงทำให้ต้องรับเลือดตั้งแต่เล็ก
  • แอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) พาหะชนิดนี้ค่อนข้างรุนแรง หากได้รับยีนชนิดนี้ อาจมีผลทำให้ทารกเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือภายหลังคลอดได้

 

พาหะธาลัสซีเมีย จะแสดงอาการอะไรออกมาให้เห็น

คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียโดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากลูกน้อยเป็นโรคธาลัสซีเมียอาการของโรคจะแสดงออกโดยแบ่งระดับตั้งแต่อาการน้อยหรือไม่มีอาการไปจนถึงอาการรุนแรงมากที่สุด ได้แก่

  • โรคธาลัสซีเมียชนิดที่แสดงอาการน้อยถึงไม่มีอาการ อาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อทารกมีไข้สูง อาจมีภาวะซีดลงและมีดีซ่านร่วมด้วย
  • โรคธาลัสซีเมียชนิดที่แสดงอาการปานกลางถึงรุนแรงมาก ทารกมักแสดงอาการภายใน 2 ปีแรกหลังเกิด พบว่ามีอาการซีด ตัวเหลือง คล้ายเป็นดีซ่าน ตาเหลือง ท้องโตจากการที่ตับและม้ามโต หายใจลำบาก มีกระดูกที่ใบหน้าผิดปกติ เช่น โหนกแก้มสูง จมูกแบน คางและกระดูกขากรรไกรผิดปกติ ทำให้มีลักษณะรูปหน้าที่ไม่คล้ายพ่อแม่ และร่างกายแคระแกร็น มีพัฒนาการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย
  • โรคธาลัสซีเมียชนิดที่แสดงอาการรุนแรงมากที่สุด ทารกจะมีอาการบวมน้ำ ผิวซีดมาก ท้องโตจากการที่ตับและม้ามโต และหัวใจวาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือภายหลังคลอดไม่นาน โดยระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะมีอาการความดันโลหิตสูง ตัวบวม หรือครรภ์เป็นพิษ

 

พาหะธาลัสซีเมีย จะแสดงอาการอะไรออกมาให้เห็น

 

ทำไมต้องตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

ธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียสามารถถ่ายทอดไปยังลูกน้อยได้ ซึ่งการได้ตรวจคัดกรองก่อนแต่งงานหรือวางแผนจะมีลูกนั้น จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบว่าลูกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ หากพบว่ามีคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย คุณหมอก็จะสามารถวางแผนการวินิจฉัยและแนะนำการป้องกันได้อย่างเหมาะสม เช่น ในบางกรณีคุณหมอจะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่มีการตรวจเลือดเพิ่มอย่างละเอียดเป็นพิเศษ หรือการตรวจ DNA ที่ถึงแม้จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและอาจใช้เวลานาน แต่ก็จะทำให้ตรวจพบได้ชัดเจนว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดไหน เพื่อวินิจฉัยว่าลูกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมียมากหรือน้อยแค่ไหน และตรวจวินิจฉัยอาการของโรคธาลัสซีเมียที่อาจเกิดขึ้นกับทารกว่ารุนแรงหรือไม่รุนแรง 

การตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคธาลัสซีเมียจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบว่า

  • ตัวเราเป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ เพื่อเป็นการวางแผนก่อนแต่งงานหรือวางแผนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันลูกน้อยที่จะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย
  • หากพบว่าตัวเราเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ควรแนะนำให้คนในครอบครัวได้ไปตรวจเลือดด้วยเช่นกัน เพราะมีโอกาสที่จะมียีนและเป็นพาหะธาลัสซีเมียได้มากกว่าคนทั่วไป
  • ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ส่วนอีกคนปกติ ทารกที่เกิดมาก็จะไม่มีความเสี่ยงเป็นโรคธาลัสซีเมียที่รุนแรง แต่ถ้าเป็นพาหะธาลัสซีเมียทั้งคู่ ทารกอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียที่รุนแรงได้

 

ตรวจหาธาลัสซีเมีย มีวิธีอะไรบ้าง

การตรวจเลือดเพื่อหาพาหะธาลัสซีเมียมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจได้ด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร สามารถเจาะเลือดตรวจได้ทันที หลังจากรอผลตรวจก็จะทราบได้ว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ โดยแบ่งวิธีการตรวจเลือดได้เป็น 3 วิธีได้แก่

  • การตรวจคัดกรอง เป็นการตรวจเลือดเบื้องต้นเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เช็กว่าค่าความเข้มข้นของเลือด และขนาดของเม็ดเลือดแดงผิดปกติหรือไม่ เป็นการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและใช้ตรวจได้ในโรงพยาบาลทั่วไป มีขั้นตอนการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทราบผลได้ว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ แต่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียชนิดใด หากคุณพ่อคุณแม่ได้รับผลตรวจเป็นบวก ก็อาจต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน เพื่อหาว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดใด
  • การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน เป็นการตรวจหาฮีโมโกลบินชนิดต่าง ๆ ว่ามีชนิดใดที่ขาดไป และเพื่อแยกได้ว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดใด แต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตรวจคัดกรอง และสามารถตรวจได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงเรียนแพทย์
  • การตรวจ DNA เป็นการตรวจเลือดที่มีความเฉพาะเจาะจงและใช้ขั้นตอนในการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และแพทย์ผู้ชำนาญในการตรวจ DNA ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ได้ผลชัดเจน แม่นยำ และดีที่สุด สามารถทราบได้ถึงชนิดของพาหะธาลัสซีเมีย ความเสี่ยงของโรค และอาจคาดคะเนความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน

 

ในกรณีที่ตรวจพบว่าคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากผลตรวจเลือดพบว่าเป็นโรคธาลัสซีเมีย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและวินิจฉัยว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดใดและอาการรุนแรงของโรคมีมากน้อยแค่ไหน

 

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ส่งผลอะไรกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง

โดยปกติแล้วผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะไม่แสดงออกถึงอาการผิดปกติใด ๆ ไม่กระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากสังเกตว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หรือผิวซีดเหลืองขึ้น ถึงแม้ว่าอาจจะไม่กระทบต่อสุขภาพมาก แต่ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ คุณพ่อคุณแม่ควรไปหาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจากคุณหมอ

 

โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ส่งผลอะไรกับลูกบ้าง

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มาเจาะตรวจเลือดตอนฝากครรภ์แล้วพบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมีย อันตรายที่จะเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยในระหว่างตั้งครรภ์คือส่งผลให้ทารกเป็นโรคธาลัสซีเมียตั้งแต่กำเนิด หากยิ่งพบว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงแบบเดียวกันทั้งคู่ ก็จะส่งให้ทารกเสี่ยงเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตได้ตั้งแต่ในครรภ์ และเนื่องจากโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจึงมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรง หากคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย โอกาสของลูกที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมากหรือน้อย หรือไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย ขึ้นอยู่กับ

  • กรณีที่คุณพ่อและคุณแม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย 100 เปอร์เซ็นต์
  • กรณีที่คุณพ่อและคุณแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียด้วยกันทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ 25 เปอร์เซ็นต์ โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 50 เปอร์เซ็นต์ และโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย 25 เปอร์เซ็นต์
  • กรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ส่วนอีกคนปกติ โอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ 50 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 50 เปอร์เซ็นต์
  • กรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมีย ส่วนอีกคนปกติ โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 100 เปอร์เซ็นต์
  • กรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมียส่วนอีกคนเป็นพาหะธาลัสซีเมีย โอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย 50 เปอร์เซ็นต์ และเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 50 เปอร์เซ็นต์

 

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่วางแผนจะมีลูก การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียก่อนการตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางหรือป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกน้อยต้องเสี่ยงเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย

 

มีพาหะธาลัสซีเมีย สามารถมีลูกได้ไหม

ในกรณีที่คุณพ่อหรือคุณแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่เป็นพาหะธาลัสซีเมียสามารถมีลูกได้ แต่ทารกก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นพาหะธาลัสซีเมียซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่วางแผนจะมีเจ้าตัวน้อยควรเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อวินิจฉัยการตรวจดูว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดใด รุนแรงมากหรือน้อย และส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงถึงตัวลูกมากน้อยแค่ไหน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกิดมามีโรคธาลัสซีเมียติดตัวหรือส่งผลกระทบต่อตัวทารกให้น้อยที่สุด และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน มีวิธีการผสมเทียมเพื่อทำเด็กหลอดแก้วช่วยในการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดอัตราเสี่ยงและป้องกันไม่ให้ทารกเกิดมาเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงได้

 

วิธีดูแลตัวเอง หากมีพาหะธาลัสซีเมีย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าเป็นพาหะธาลัสซีเมียนั้นสามารถดูแลรักษาสุขภาพตัวเองได้อย่างปกติ เช่นการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนทั่วไปตามปกติ แต่หากตรวจพบว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียพาหะชนิดใดและส่งผลรุนแรงต่อร่างกายอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยทั่วไปโรคธาลัสซีเมียสามารถดูแลรักษาสุขภาพและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น

  • ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิก ซึ่งกรดโฟลิกจะมีในผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี กะหล่ำปลี หรือในผลไม้ เช่น ส้ม อะโวคาโด และมะนาว เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • งดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น พวกเครื่องในสัตว์ ตับ เลือด หรือผักโขม เป็นต้น
  • ควรงดยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงหนักหรือประเภทที่มีความรุนแรง เพราะอาจทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย ควรออกกำลังกายแต่พอดี และหยุดพักทันทีเมื่อรู้สึกเหนื่อย
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดและควรงดสูบบุหรี่
  • ควรเข้ารับการตรวจฟันทุก ๆ 6 เดือน เนื่องจากโรคนี้อาจส่งผลให้ฟันผุง่าย

 

เนื่องจากโรคธาลัสซีเมียนั้นเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ส่งผลให้กระบวนการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลหิตจางที่ส่งผ่านไปสู่ลูกน้อยได้ ซึ่งอาการของโรคมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการไปจนถึงอาการที่รุนแรงมากส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อเป็นแล้วนอกจากเข้ารับการรักษา ดูแลสุขภาพ และไปตามนัดที่คุณหมอสั่งหากพบว่ามีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณเป็นพาหะธาลัสซีเมีย โดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า, โรงพยาบาลพญาไท
  2. โลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคพันธุกรรมที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลพญาไท
  3. ทำไมคู่สมรสต้องตรวจธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  4. ธาลัสซีเมีย ความผิดปกติของยีนส์ถ่ายทอดทางพันธุกรรม, โรงพยาบาลเพชรเวช
  5. ธาลัสซีเมียโรคโลหิตจางแฝงทางพันธุกรรม, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 26 มกราคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง
บทความ
ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่านอนคนท้อง ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่าไหนที่แม่ท้องควรเลี่ยง

ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ ท่านอนคนท้อง-ท่านั่งคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ ท่าไหนที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการปวดเมื่อยไม่สบายตัว

5นาที อ่าน

View details วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม
บทความ
วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

วิธีดูลักษณะท้องของคนท้อง ดูยังไงว่าท้องหรือพุง มองออกเลยไหม

ไขข้อข้องใจ พุงคนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน ลักษณะท้องของคนท้องกับคนทั่วไปต่างกันยังไง มีวิธีสังเกตยังไง ไปดูลักษณะท้องของคนท้องและพุงคนท้องกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย
บทความ
คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม แบบไหนไม่อันตราย

มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง คนท้องมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม หลั่งในตอนท้องอันตรายไหมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องบ้าง

7นาที อ่าน

View details ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม
บทความ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรก อันตรายไหม

รู้จักกับอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษเริ่มแรกเป็นอย่างไร ภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวัง พร้อมวิธีดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม
บทความ
ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ 2 ขีดแบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องไหม

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด คุณแม่ตรวจครรภ์ 2 ขีดจางมาก ๆ บ่งบอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เจ้าตัวเล็กหรือเปล่านะ ไปดูวิธีตรวจครรภ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์กัน

6นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะเกินไปจะอันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ท้อง

6นาที อ่าน

View details คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายไหม พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อนอันตรายไหม คุณแม่ตั้งครรภ์รับมืออย่างไรดี หากมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

5นาที อ่าน

View details มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม
บทความ
มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

7นาที อ่าน

View details ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหนกว่าจะคลอด
บทความ
ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหนกว่าจะคลอด

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

6นาที อ่าน