เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ค. 24, 2024
7นาที

น้ำหนักทารกในครรภ์จะมากหรือน้อย เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ของแม่ท้อง กิจกรรมที่แม่ท้องทำตอนตั้งครรภ์ หรือโรคที่เกิดขึ้นกับแม่ตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ครรภ์เป็นพิษ ส่งผลต่อน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือมากเกินไป และส่งผลต่อความเสี่ยงในช่วงคลอดอีกด้วย

 

สรุป

  • น้ำหนักตัวของแม่ตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ด้วย หากแม่ท้องมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะคลอดออกมาตัวเล็กเกินไป มีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ และอาจเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย
  • ทารกในครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีความเสี่ยงการคลอดไหล่ติด ทารกบาดเจ็บที่กระดูก บาดเจ็บที่เส้นประสาทบริเวณคอ หรือขณะคลอดทำให้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจ ความเสี่ยงสำหรับแม่ท้อง คือ ช่องคลอดบาดเจ็บ หรือตกเลือดหลังคลอดได้
  • การประเมินน้ำหนักด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonography) เป็นการตรวจวัดที่แม่นยำมากกว่าการคลำหน้าท้อง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทารกในครรภ์น้ำหนักตัวน้อยอันตรายหรือไม่

ทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินเกณฑ์ อันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ เช่น

  • ทารกขนาดเล็กตามธรรมชาติ หากเกิดจากลักษณะทางพันธุกรรม เช่น แม่ท้องมีรูปร่างเล็ก เป็นต้น แต่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ หรือคลอดก่อนกำหนด ถือว่าไม่อันตราย ทั้งนี้ควรให้แพทย์เป็นผู้ดูแลและวินิจฉัย
  • ทารกขาดอาหารหรือเจริญเติบโตช้า ที่เกิดจากการขาดสารอาหารหรือภาวะทุพโภชนาการ สัมพันธ์เกี่ยวกับการทำงานของรกผิดปกติ หรือเกิดจากโรคทางหลอดเลือดของแม่ท้อง ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง โรคไตบางชนิดของแม่ตั้งครรภ์ สาเหตุเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจทำให้สุขภาพของทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง
  • ทารกมีโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งอาจมีอันตรายได้

 

ชั่งน้ำหนักทารกในครรภ์ ทำได้โดยวิธีไหนบ้าง

การชั่งน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ ทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  1. คาดคะเนขนาดตัวทารก (Tactile assessment of fetal size) ในครรภ์ด้วยมือของสูติแพทย์ จากการตรวจร่างกายแม่ท้อง แต่วิธีการนี้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้สูง
  2. ประเมินน้ำหนักตัวทารกด้วยการประเมินน้ำหนักของแม่ตั้งครรภ์ (Maternal Self-Estimation) วิธีนี้ใช้ในการประเมินน้ำหนักในครรภ์หลัง ๆ และใช้ประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์เมื่อครบกำหนดคลอด
  3. ใช้คลื่นความถี่สูง หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasonography) ใช้วัดสัดส่วนของทารกด้วยวิธีการวัดความยาว การวัดความกว้างของศีรษะทารก การวัดรอบวงศีรษะ การวัดเส้นรอบท้อง และวัดความยาวกระดูกต้นขา

 

คุณแม่สามารถชั่งน้ำหนักทารกในครรภ์ได้ด้วยการอัลตราซาวด์

 

น้ำหนักลูกในครรภ์น้อยเกินไป เสี่ยงเป็นอะไรบ้าง

ทารกในครรภ์น้ำหนักตัวน้อย มีแนวโน้มเป็นทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม รวมถึงเสี่ยงจะคลอดก่อนกำหนด คือ แม่ท้องอาจคลอดบุตรในระหว่างที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์อีกด้วย ทารกในครรภ์ น้ำหนักน้อยเกินไป มีความเสี่ยง ดังนี้

  • ทารกมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ เพราะปอดอาจจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เกิดภาวะหายใจลำบากตั้งแต่แรกคลอดได้
  • ผิวหนังทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ทำให้มีผิวหนังบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนง่ายทำให้เกิดภาวะตัวเย็นได้ง่าย
  • ทารกมีปัญหาระบบทางเดินอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้การย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี เป็นสาเหตุทำให้ทารกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
  • ระบบภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกน้อยเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ทารกมีระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการหัวใจล้มเหลวได้

 

น้ำหนักลูกในครรภ์มากเกินไป เสี่ยงเป็นอะไรบ้าง

ทารกในครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีแนวโน้มจะเป็นทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 4,000 กรัม ทารกที่มีน้ำหนักมาก มีความเสี่ยงดังนี้

  • การบาดเจ็บจากการคลอด ทำให้มีโอกาสต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหลังคลอด
  • ทารกที่คลอดออกมาน้ำหนักตัวมากกว่า 5,000 กรัม มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ปัจจุบันแบ่งอัตราความเสี่ยงน้ำหนักทารกตัวโตเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 4,000-4,499 กรัม 4,500-4,999 กรัม และ มากกว่า 5,000 กรัม
  • ทารกอาจเกิดความพิการทางสมอง เนื่องจากการคลอดลำบากมีภาวะคลอดติดไหล่ทำให้สมองของทารกขาดออกซิเจน ซึ่งความรุนแรงทางสมองของทารกขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ขาดออกซิเจนยาวนานเพียงใด
  • ทารกมีความเสี่ยงเสียชีวิตจากภาวะคลอดยาก

 

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ตามเกณฑ์

น้ำหนักทารกในครรภ์ตามเกณฑ์ แต่ละเดือน มีดังนี้

  • เดือนแรก - ปฏิสนธิ เป็นช่วงแรกของไข่ผสมกับอสุจิ และฝังตัวในผนังมดลูก เริ่มต้นการแบ่งเซลล์
  • เดือนที่ 2 - พัฒนาการเริ่มต้น เมื่อตัวอ่อนแบ่งเซลล์ที่ผนังมดลูกแล้ว เริ่มมีพัฒนาการ ขนาดศีรษะทารกที่ใหญ่ขึ้น หัวใจเต้นตุบ ๆ ทารกจะมีรูปร่างกลม ๆ มีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
  • เดือนที่ 3 - สมองและกล้ามเนื้อทำงานประสานกัน ในช่วงนี้อวัยวะบนใบหน้าของทารกเกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่ดวงตายังปิดอยู่ ตอนนี้ทารกในครรภ์มีขนาดยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
  • เดือนที่ 4 - หญิงหรือชาย ร่างกายเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และอัลตราซาวด์มองเห็นเพศทารกได้ ตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม
  • เดือนที่ 5 - รับรู้โลกภายนอกครรภ์แม่ ทารกช่วงนี้จะเติบโตรวดเร็วมาก เริ่มมีพัฒนาการด้านสัมผัสรับรู้รสชาติ กลิ่น เสียง แม้ดวงตาของทารกจะยังปิดอยู่ ทารกได้ยินเสียงของแม่ และรับรู้สัมผัสได้เมื่อแม่ลูบท้อง ตอนนี้ทารกจะมี ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 400 กรัม
  • เดือนที่ 6 - ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทารกสามารถบิดตัวไปมา ระบบอวัยวะในร่างกายพัฒนาขึ้นมาก สามารถรับรู้เสียงจากภายนอก เสียงแม่ เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 600 กรัม
  • เดือนที่ 7 - เริ่มลืมตาแล้ว หนังตาของทารกเริ่มเปิด ตาจะมองเห็นแสงผ่านทางหน้าท้องของแม่ได้ จะขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 1,000-1,200 กรัม
  • เดือนที่ 8 - เตรียมคลอด ร่างกายของทารกสมบูรณ์เหมือนทารกแรกเกิด ร่างกายแข็งแรง ศีรษะของทารกเริ่มหันมาทางปากมดลูก เพื่อเตรียมความพร้อมคลอดในเวลาไม่นาน ตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2,000-2,500 กรัม
  • เดือนที่ 9 - ทารกคลอดแล้ว ในเดือนสุดท้ายนี้ทารกอยู่ในท่าพร้อมคลอดได้ตลอด ทารกกลับตัวศีรษะอยู่ใกล้ปากมดลูก คุณแม่ต้องสังเกตอาการที่จะคลอดอยู่เสมอ ตอนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2,800-3,000 กรัม

 

หากแม่ท้องดูแลตนเองอย่างดี และดูแลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการคนท้อง เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตอน ตั้งครรภ์น้อยเกินไปหรือมากเกินไป เพราะน้ำหนักของแม่ท้องมีผลต่อน้ำหนักทารกในครรภ์ หากแม่ท้องดูแลตนเองดี การตั้งครรภ์เป็นไปโดยปกติ เพิ่มโอกาสคลอดเองตามธรรมชาติให้สูงขึ้น เพราะการคลอดแบบธรรมชาติทำให้ทารกได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์จากแม่ตั้งแต่แรกคลอด อาทิ B. lactis ที่เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ทารกหลังคลอด เพราะการคลอดธรรมชาติส่งผลดีต่อแม่ท้องและทารกแรกเกิด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. น้ำหนัก ครรภ์ น้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อย่างไร, hellokhunmor
  3. ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (IUGR), pobpad
  4. เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวเกินผิดปกติหรือไม่?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ทารกน้ำหนักตัวน้อย, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3
  6. ภาวะทารกตัวโต (macrosomia), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  7. ทารกในครรภ์ตัวโต, haamor
  8. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  9. น้ำหนักทารกในครรภ์ พัฒนาการและการดูแลอย่างถูกวิธี, hellokhunmor
  10. ความหมายของเอ็ดเวิร์ดซินโดรม, pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง
บทความ
ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง ขนาดท้องแต่ละเดือนจะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจริงไหม ไปดูขนาดท้องแต่ละเดือนของแม่กันภ์

8นาที อ่าน

View details ปวดฉี่บ่อย แต่ฉี่นิดเดียวในคนท้อง เป็นอย่างไร พร้อมแชร์วิธีรับมือ?
บทความ
คนท้องอั้นฉี่แล้วปวดท้องน้อย ฉี่แล้วเจ็บจี๊ดทำยังไงดี

ปวดฉี่บ่อย แต่ฉี่นิดเดียวในคนท้อง เป็นอย่างไร พร้อมแชร์วิธีรับมือ?

ปวดฉี่บ่อยแต่ฉี่นิดเดียวคนท้อง เกิดจากอะไร คนท้องอั้นฉี่แล้วปวดท้อง อันตรายไหม คุณแม่ปวดฉี่แต่ฉี่ไม่ออกตั้งครรภ์ ทำยังไงได้บ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

6นาที อ่าน

View details 10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก
บทความ
10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

10 อาการคนท้องเริ่มแรก พร้อมอาการเตือนคนเริ่มท้องระยะแรก

รวมอาการคนท้องเริ่มแรก อาการเตือนคนเริ่มท้อง อาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ไปดูสัญญาณเตือนอาการคนท้องระยะแรกที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้กัน

View details ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์
บทความ
ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องแบบไหน ที่บอกให้รู้ว่าแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องเบิกอะไรได้บ้าง
บทความ
เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องเบิกอะไรได้บ้าง

เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องเบิกอะไรได้บ้าง

แม่ตั้งครรภ์เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมอย่างไร อะไรบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถฝากครรภ์และเบิกประกันสังคมได้ ไปหาคำตอบกัน

6นาที อ่าน

View details เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง
บทความ
เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง

รวมเมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน เมนูสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่มือใหม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง ไปดูเมนูอาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน

11นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ คุณแม่มือใหม่นับอายุลูกน้อยในครรภ์รายสัปดาห์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ นับแบบไหนดี ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง
บทความ
อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการคนแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเริ่มเมื่อไหร่ คุณแม่มือใหม่แพ้ท้องพะอืดพะอมตลอดเวลา ต้องแก้ยังไง ไปดูสาเหตุและอาการที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมวิธีรับมืออาการคนแพ้ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย
บทความ
คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่าย

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดจากอะไร หากคนท้องนอนไม่หลับบ่อย ๆ จะเกิดอะไรกับร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยในครรภ์บ้าง พร้อมวิธีดูแลร่างกายตัวเอง

6นาที อ่าน

View details อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
บทความ
อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ อาการเจ็บท้องเตือนอันตรายไหม คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

7นาที อ่าน

View details อยากได้ลูกสาวต้องทำยังไง เคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว
บทความ
อยากได้ลูกสาวต้องทำยังไง เคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวต้องทำยังไง เคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม
บทความ
มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม

มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม

มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ช่วงหลังหมดประจำเดือน คืออะไร คุณแม่มีมูกไข่ตกท้องไหม สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ต่างจากตกขาวยังไง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ
บทความ
คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

6นาที อ่าน

View details เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม
บทความ
เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน คุณแม่ท้องหรือเปล่า ไปดูสาเหตุของประจำเดือนมาช้ากัน

9นาที อ่าน

View details คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง
บทความ
คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร หากคนท้องปวดหลังบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไหม ไปดูวิธีลดอาการปวดหลังของคุณแม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ
บทความ
คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม จริงไหมที่คนท้องไม่ควรไปงานศพ

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

7นาที อ่าน