อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ ได้ 29 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว อวัยวะต่าง ๆ ของทารกเช่น สมอง หัวใจ ปอด ก็เริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 8-11 กิโลกรัม และมีอาการท้องผูก ท้องอืด แน่นท้อง และริดสีดวงทวาร หรือคุณแม่บางท่านอาจเกิดอาการหน้ามืด หัวใจเต้นแรงเมื่อช่วงเวลานอน คุณแม่อาจเปลี่ยนท่านอนก็สามารถช่วยให้อาการหัวใจเต้นแรงบรรเทาลงได้เช่นกัน

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารกมากขึ้น และอาจเกิดอาการหายใจแรง เนื่องมาจากขนาดท้องของคุณแม่ที่ขยายใหญ่ขึ้น เวลาลุกหรือนั่งก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายด้วยเช่นกัน
  • สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์อายุ 29 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มมีการขยายของอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ปอด หัวใจ น้ำหนักของทารกจะอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลกรัม ทารกจะมีการบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ซึ่งจะทำให้คุณแม่นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เต็มที่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ได้ 29 สัปดาห์ อวัยวะของทารก เช่น ปอด หัวใจ และอื่น ๆ จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกในครรภ์ดิ้น ขยับตัวเพิ่มมากขึ้นจนคุณแม่รู้สึกได้

 

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ ลูกดิ้นบ่อยขึ้นเพราะอะไร

ทารกในครรภ์อายุ 29 สัปดาห์ เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และคุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการดิ้นที่มากขึ้นของทารก โดยความถี่ในการดิ้นของทารกนั้นปกติจะอยู่ที่ 4 ครั้งต่อเวลา 1 ชั่วโมง หากใน 1 ชั่วโมงทารกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง เป็นแบบนี้ติดต่อกันแสดงว่าเกิดความผิดปกติกับตัวของทารก ให้คุณแม่รีบเข้าพบแพทย์โดยทันที

 

อาการคนท้อง 29 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

 

อาการคนท้อง 29 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

1. ปวดศีรษะ

คุณแม่จะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ เนื่องมาจากฮอร์โมนของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีสาเหตุจากความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น แต่หากมีอาการปวดบริเวณขมับ ปวดที่หน้าผาก ร่วมกับอาการตาพร่ามัว ตรงนี้คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

2. คันที่ผิวหนังหน้าท้อง

อาการคันที่ผิวหนังหน้าท้องถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์เกือบทุกคน โดยเกิดจากระดับของฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากคลอด อาการคันผิวหนังหน้าท้องก็จะค่อย ๆ หายเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

 

3. นอนไม่ค่อยหลับ

เมื่อตั้งครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 29 มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ปัสสาวะบ่อย คุณแม่จึงจะนอนไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่เพียงพอ ดังนั้นก่อนเข้านอนคุณแม่ไม่ควรดื่มน้ำเยอะเพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะกลางดึกได้ ไม่ควรยกของหนักหรือมีการเกร็งกล้ามเนื้อระหว่างวัน ควรยืดกล้ามเนื้อก่อนเข้านอนก็จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

 

4. ท้องผูก

อาการท้องผูกที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถบรรเทาอาการนี้ได้โดยการรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ ซึ่งจะมีกากใยช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ ลดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

 

5. อาการบวม

หากคุณแม่มีอาการบวมที่ใบหน้า มือหรือขาทั้งสองข้างบวม และมีลักษณะกดแล้วบุ๋ม ผิวหนังไม่คืนตัว อาจเป็นสัญญาณอันตรายของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ หรือภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ซึ่งคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

 

ท้อง 29 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

เมื่ออายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าท้องมีการขยายใหญ่ขึ้นจนเห็นได้ชัด อาจจะเกิดการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูก เป็นต้น คุณแม่ควรดูแลตัวเองโดยการรับประทานผักและผลไม้ ดื่มน้ำ 10-12 แก้วต่อวัน ก็จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องผูกได้

 

ท้อง 29 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 29 สัปดาห์ มีขนาดเปรียบเสมือนลูกฟักทอง และมีความยาวประมาณ 36 เซนติเมตร ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของ สมอง ปอด และกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 29 สัปดาห์

  • ทารกในครรภ์จะมีความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 36-38 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลกรัม
  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น แขน ขา สมอง หัวใจ และปอด เป็นต้น
  • ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงแรก อาจจะมีการเตะและต่อยจนคุณแม่รู้สึกได้

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์

ดื่มนม 1-2 แก้วต่อวัน

คุณแม่ควรดื่มนมโดยเฉพาะนมพร่องมันเนย เนื่องจากคุณแม่ต้องการแคลเซียมมากขึ้น เนื่องจากทารกจะมีการดึงแคลเซียมจากคุณแม่เพื่อเสริมสร้างกระดูก ฟัน ซึ่งหากคุณแม่ดื่มนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจก่อให้เกิดอาการฟันผุและกระดูกพรุนได้

 

รับประทานผลไม้

คุณแม่ควรรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายในช่วงที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากผักและผลไม้จะช่วยลดอาการท้องผูกและขับถ่ายเป็นปกติ

 

ลดกิจกรรมการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ

คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ระหว่างตั้งครรภ์แต่ควรออกกำลังกายเบา ๆ เป็นหลัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อทารกในครรภ์มากเกินไป เช่น การเดิน การปั่นจักรยานอยู่กับที่ก็ได้เช่นกัน

 

ดื่มน้ำให้มาก ๆ

คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยในการขับถ่ายและช่วยสร้างน้ำคร่ำซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันการกดทับทารกและสายสะดือ น้ำคร่ำยังช่วยให้ทารกมีพัฒนาการของระบบทางเดินอาหารอีกด้วย หรือคุณแม่อาจดื่มเป็นน้ำผลไม้ ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ช่วยป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย

 

หมั่นทาครีมบำรุงผิวที่หน้าท้อง

กรณีที่คุณแม่มีปัญหาท้องลายหรือผิวแห้ง แนะนำควรทาครีมบำรุงผิวเพื่อรักษาสุขภาพผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ และช่วยลดปัญหาหน้าท้องลายได้เป็นอย่างดี โดยควรเลือกใช้ครีมบำรุงผิวหรือโลชั่นชนิดที่มีความเข้มข้น เพราะจะสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ดีและนานกว่าแบบครีมหรือโลชั่นทั่วไป และควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น เพราะจะทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ผิวแห้ง ลอกและแตกได้

 

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่างเช่น หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นจนเห็นได้ชัด มีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นเช่น แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูก นอนไม่ค่อยหลับ คันผิวหนังหน้าท้อง เป็นต้น คุณแม่ควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีที่สุด เช่นการออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะสมกับช่วงอายุครรภ์ 29 สัปดาห์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีน ผักและผลไม้ ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียดวิตกกังวลจนเกินไป ก็จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมีความสุขมากขึ้น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่29, Siamhealth
  2. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. หน้าท้องลาย..ปัญหาหนักใจของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  4. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  5. นับลูกดิ้นอย่างไร...ให้รู้ว่าทารกปลอดภัยนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  6. 5 สัญญาณผิดปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์, โรงพยาบาลเปาโล
  7. โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  8. 6 ปัญหาผิวช่วงตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรับมือ, โรงพยาบาลบางปะกอก
  9. เคล็ดลับการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  10. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์, hellokhunmor

อ้างอิง ณ วันที่ 15 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้