อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 14, 2024
2นาที

หลังจากตรวจพบการตั้งครรภ์ในสัปดาห์แรกมาแล้ว สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อาการคนท้อง 2 สัปดาห์เป็นอย่างไร เชื่อว่าตอนนี้คุณแม่หลายคนคงตื่นเต้น ดีใจ กังวล และสับสนปนเปกันไปหมด ใครที่กำลังกังวลลองมาดูคำแนะนำดี ๆ สำหรับคุณแม่และลูกน้อยในท้องกันเลย

สรุป

  • ในสัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงเตรียมพร้อมรองรับไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ในทางการแพทย์
  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่รวดเร็วของคนท้อง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ตกขาว มีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด คัดตึงเต้านม อารมณ์แปรปรวน ปวดท้อง เหนื่อยล้า เป็นต้น
  • ในช่วงเริ่มต้นตั้งครรภ์คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้อง โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต ดื่มนมที่มีไขมันต่ำเป็นประจำ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่การท้องสัปดาห์ที่ 2 ยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่อยู่ในช่วงระยะเวลาของการตกไข่ หรือไข่ตกเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มดลูกเตรียมพร้อมรองรับไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ปวดหน่วงท้องน้อย ผิดปกติหรือไม่ 

อาการปวดท้องน้อยในช่วงนี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้หากคุณอยู่ในระยะเวลาตกไข่ ในช่วงเวลานี้ผู้หญิงบางคนจะรู้สึกปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งจะเป็นข้างขวาหรือข้างซ้ายก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าไข่ตกอยู่ฝั่งไหน เพราะโดยปกติแล้วไข่จะตกสลับข้างกันในแต่ละเดือนค่ะ นอกจากนี้ คุณแม่อาจพบอาการอื่น ๆ เช่นเดียวกับอาการคนท้องตามมา เช่น เจ็บหน้าอก มีเลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอด ตกขาว เป็นต้น

 

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

ในระยะนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการการดังต่อไปนี้

  • ตกขาว ช่วงของการตกไข่จะทำให้ร่างกายขับของเหลวที่คล้ายไข่ขาวดิบหรือวุ้น ในลักษณะเป็นเมือกที่ทั้งหนาและเหนียวออกมากจากช่องคลอดมากขึ้น
  • เลือดออกกะปริบกะปรอยจากช่องคลอด คุณแม่ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์หลายคนคงตกใจเมื่อเห็นเลือดออกในช่วงนี้ ความจริงแล้วเลือดที่ไหลออกมาเป็นเลือดล้างหน้าเด็กที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่แล้วเข้าไปฝังตัวที่บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้มีเลือดออกมาเล็กน้อยไม่เกิน 3 วัน เท่านั้นเอง
  • ปวดท้อง อาการปวดท้องเมื่อมีการตั้งครรภ์จะปวดบริเวณท้องน้อย ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องเล็กน้อยไม่รุนแรงมากนักและเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เหมือนกับปวดท้องประจำเดือนที่ปวดท้องบริเวณหน้าท้องและปวดนานมากกว่า 1 วัน
  • อารมณ์แปรปรวน คนท้องจะมีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าปกติ อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเดี๋ยวเศร้าซึมเดี๋ยวตื่นเต้นสลับกันไป บางคนมีอารมณ์แปรปรวนไปจนกระทั่งคลอดเลยค่ะ ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ในระหว่างตั้งครรภ์
  • คัดเต้านม คนท้องที่มีอาการคัดเต้านมหลังเริ่มมีการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการนี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เต้านมของคุณแม่ขยายเต่งตึง และอาจรู้สึกเจ็บได้เมื่อโดนสัมผัสค่ะ

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

เนื่องจากในสัปดาห์ที่ 2 ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นทำให้ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากไข่ของคุณแม่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มแล้ว ไข่ที่ถูกผสมนี้จะค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้าไปยังท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวในมดลูก หมายความว่าได้เกิดกระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของการตั้งครรภ์เท่านั้น

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 2 สัปดาห์ หากกระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์ ในขณะนี้ลูกน้อยยังเป็นเพียงตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมาก

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์ 2 สัปดาห์

  • ตัวอ่อนจะค่อย ๆ เติบโตและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
  • โดยเริ่มจากระบบประสาท
  • จากนั้นจะเริ่มแบ่งเซลล์ออกเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนมีหน้าตาคล้ายกับเด็กทารกมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ท้อง 2 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์

1. ทานอาหารที่ส่งเสริมการเติบโตของลูกในท้อง

ในช่วงแรกที่มีการตั้งครรภ์คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในท้อง โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต เช่น

  • อาหารที่มีโฟเลตสูง มักเป็นอาหารจำพวกผักใบเขียว ผลไม้สีเหลืองอมส้ม หรือธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ หน่อไม้ฝรั่ง และส้ม เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาระบบประสาทของทารก
  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก สามารถพบได้ในผักใบเขียว เช่น ใบยอ ตำลึง เมล็ดถั่วแห้ง ไข่แดง ตับ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดให้เพียงพอต่อระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกายของคุณแม่และลูกน้อย
  • อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่ เพราะโปรตีนมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์และพัฒนาสมองของทารกน้อยในครรภ์
  • อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม คุณแม่สามารถรับได้จากนม ปลาตัวเล็ก และผักใบเขียวบางชนิด เพื่อความแข็งแรงของคุณแม่และเสริมสร้างกระดูกและฟันให้กับลูกน้อย

 

2. ดื่มนมเป็นประจำ

ในนมอุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีส่วนช่วยในการคงมวลกระดูกของคุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเป็นตะคริว และช่วยนำไปเสริมสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อย ดังนั้น คนท้องจึงควรดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว และควรเป็นนมไขมันต่ำจะดีต่อคุณแม่ที่สุด

 

3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

คนท้องควรดื่มน้ำให้ได้วันละประมาณ 2 ลิตร หรือประมาณ 8-10 แก้ว เพื่อให้ร่างกายคุณแม่นำไปสร้างน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวลูกน้อยและให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับลูกน้อยในครรภ์ได้

 

4. เข้าพบแพทย์

การเข้ารับการตรวจครรภ์และฝากครรภ์ในช่วงเริ่มต้นการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทำเป็นอันดับแรกเมื่อรู้ว่าตั้งท้อง เพราะคุณหมอจะทำการตรวจเช็กสุขภาพร่างกายของคุณแม่ ตรวจหาความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้อง แนะนำพฤติกรรมการทานอาหาร การดำเนินชีวิต รวมถึงติดตามพัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

 

นอกจากการดูแลตัวเองเบื้องต้นโดยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มนมเป็นประจำ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอแล้ว คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจและฝากครรภ์จากคุณหมอ เพราะจะทำให้คุณแม่ทราบพัฒนาการทารกในครรภ์ รู้ว่าควรดูแลตัวเองอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ต้องระวังในระหว่างตั้งครรภ์บ้าง โดยคุณหมอจะพยายามลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้องได้ ทำให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างสบายใจเพื่อเตรียมต้อนรับสมาชิกใหม่ที่กำลังจะเกิดมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 1 and 2 Weeks Pregnant, what to expect
  2. นับวันตกไข่ให้เป๊ะ! ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. อาการคนท้อง กับก่อนมีประจำเดือนต่างกันอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  4. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  6. ‘โภชนาการที่ดี’ สารอาหารและพลังงานเพื่อลูกรัก, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 13 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

1นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 2 เดือน อายุครรภ์ 2 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 3 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 3 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 3 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม
บทความ
เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ผิดปกติไหม

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน คุณแม่ท้องหรือเปล่า ไปดูสาเหตุของประจำเดือนมาช้ากัน

9นาที อ่าน

View details การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก
บทความ
การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร การปฎิสนธิเป็นกระบวนการสำคัญในการตั้งครรภ์ การปฎิสนธิกับการนับวันไข่ตกเกี่ยวข้องกันอย่างไร ไปดูวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งท้องกัน

2นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องแทนเมีย มีจริงไหม เกิดจากอะไร รับมือยังไงดี
บทความ
อาการแพ้ท้องแทนเมีย มีจริงไหม เกิดจากอะไร รับมือยังไงดี

อาการแพ้ท้องแทนเมีย มีจริงไหม เกิดจากอะไร รับมือยังไงดี

อาการแพ้ท้องแทนเมีย ผู้ชายแพ้ท้องแทนเมียได้จริงไหม อาการแบบนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ไปดูสาเหตุ อาการ และวิธีรับมือ เมื่อว่าที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องแทนเมีย

2นาที อ่าน

View details คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง
บทความ
คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือคนท้องปวดหลัง

คนท้องปวดหลัง เกิดจากอะไร หากคนท้องปวดหลังบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ไหม ไปดูวิธีลดอาการปวดหลังของคุณแม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกัน

7นาที อ่าน

View details ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
บทความ
ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน นับวันตกไข่แบบไหนเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับคนอยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ การนับวันตกไข่ช่วยให้คุณแม่มีลูกได้ง่ายขึ้นจริงไหม ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี
บทความ
คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

คุณแม่ปวดท้องน้อยหลังคลอด อันตรายไหม รับมืออย่างไรดี

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยและมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไรบ้าง

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินแตงโมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินแตงโมได้ไหม ในแตงโมมีสารอาหารอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ ต้องกินเท่าไหร่ถึงพอดี ไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง ควรกินในปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม หากกินมากเกินจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ไหม

7นาที อ่าน

View details ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์
บทความ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ พร้อมวิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

7นาที อ่าน

View details ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า
บทความ
ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

ทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

5นาที อ่าน

View details อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี
บทความ
อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออารมณ์คนท้องระยะแรกยังไงดี

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน
บทความ
หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม มีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์
บทความ
ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องแบบไหน ที่บอกให้รู้ว่าแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน