อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ช่วงเวลาสำคัญของคุณแม่ที่เข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 3 แล้ว ช่วงเวลานี้ร่างกายของคุณแม่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป เต้านมขยายใหญ่ หัวนมมีสีคล้ำขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มีน้ำนม โภชนาการและอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ ก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของลูก

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่า หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น จนอาจเห็นเป็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง หัวนมก็มีสีคล้ำขึ้น ลักษณะของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปก็เพราะมีเนื้อเยื่อ ไขมัน และเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น
  • โภชนาการและสารอาหารที่สำคัญของแม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ ควรได้รับสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของทารก
  • ควรเลือกใช้ชุดชั้นในสำหรับคนท้อง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เต้านมของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ 9 สัปดาห์ เต้านมจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น เห็นได้ว่า เส้นเลือดบริเวณเต้านมจะขยาย อาจเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังจากหลอดเลือดดำที่ขยายตัวให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนหัวนมก็จะใหญ่ขึ้นเช่นกัน และมีสีคล้ำขึ้น อาจพบว่ามีก้อนนูนเกิดขึ้นใต้วงแขน เพราะรักแร้เป็นส่วนปลายของเต้านมที่เติบโตขึ้น สาเหตุที่ทำให้เต้านมของคุณแม่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ขยายใหญ่ขึ้น เพราะมีเนื้อเยื่อไขมัน รวมถึงเลือดไปเลี้ยงบริเวณเต้านมเพิ่มมากขึ้น

 

คุณแม่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ควรเน้นทานอาหารแบบไหน

 

คุณแม่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ควรเน้นทานอาหารแบบไหน

โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ และคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เลือกรับประทานเมนูอาหารคนท้องให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เช่น

  • วิตามินบี 2 วิตามินบี 2 มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงพัฒนาการทางสมองของลูก พบได้มากในนมและผลิตภัณฑ์จากนมอย่างโยเกิร์ต รวมถึงเนื้อสัตว์ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
  • วิตามินบี 6 มีส่วนช่วยในการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและระบบประสาท พบได้ทั้งเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง รวมถึงข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง กล้วย และถั่วเมล็ดแห้ง
  • วิตามินบี 12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต เซลล์สมองจะได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยง มีสารอาหาร ออกซิเจน อย่างเพียงพอ ซึ่งจะพบวิตามินบี 12 ได้มากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และนม
  • โอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 3 ดีเอชเอ (Omega-3 DHA) จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตได้ คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ จึงควรเลือกรับประทานปลาทะเลน้ำลึก
  • โฟเลต โฟเลตมีความจำเป็นในการสร้างสารพันธุกรรม สร้างเซลล์สมอง ระบบประสาทและไขสันหลัง และยังช่วยให้เลือดมีความสมบูรณ์ โฟเลตพบได้ในตับ ผักและผลไม้ เช่น ผักโขม บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง และแคนตาลูป

 

อาการคนท้อง 9 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  • มีอารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
  • อาการแพ้ท้องอาจยังคงอยู่ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาจไม่รู้สึกอยากอาหาร

 

ท้อง 9 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ หรือเข้าสู่เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่แต่ละคนจะมีขนาดท้องที่แตกต่างกัน แต่ขนาดท้องจะยังสังเกตเห็นได้ยาก เพราะทารกในครรภ์มีขนาดที่เล็กมาก ซึ่งขนาดท้องของคุณแม่จะเริ่มใหญ่ขึ้น และสังเกตเห็นได้ในช่วงไตรมาสที่ 2

 

ท้อง 9 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 9 สัปดาห์มีขนาด เล็กมาก ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เท่านั้น ศีรษะและลำคอมีพัฒนาการมากขึ้น เริ่มมองเห็นอวัยวะสำคัญ เช่น จมูก และดวงตาก็เริ่มมีเปลือกตาแล้ว

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 9 สัปดาห์

  • เริ่มเห็นแขนขามีการเคลื่อนไหว
  • อวัยวะสำคัญต่าง ๆ เริ่มเห็นได้ เช่น ดวงตา จมูก ปาก
  • หัวใจแข็งแรงและเต้นถี่ขึ้น

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์

1. เลือกสวมใส่เสื้อชั้นในคนท้อง

ระหว่างตั้งครรภ์ควรเลือกใส่ชุดชั้นในสำหรับคนท้อง เพราะขนาดหน้าอกของคุณแม่จะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นต้องเลือกชุดชั้นในที่รับน้ำหนักได้ดี มีโครงเป็นรูปกระเช้า จะช่วยกระจายน้ำหนักของเต้านมได้ สายเสื้อในควรกว้างเพื่อกระจายน้ำหนักที่บริเวณหัวไหล่ มีตะขอปรับได้หลายระดับ เพราะเต้านมของคุณแม่จะค่อย ๆ ขยายมากขึ้น ส่วนกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย ช่วยประคองน้ำหนักของท้องที่ใหญ่ขึ้นได้ กางเกงชั้นในสำหรับคนท้องที่ดียังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย

 

2. หากิจกรรมผ่อนคลาย

แม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาจจะมีความเครียดหรือวิตกกังวลเกิดขึ้นได้ ควรดูแลจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดส่งผลต่อลูกในท้องได้ เมื่อรู้สึกเครียด ร่างกายคุณแม่จะไม่สดชื่นทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอนไม่หลับได้ จึงควรหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลงหรือดูหนัง

 

3. ออกกำลังกายให้เหมาะสม

คนท้อง 9 สัปดาห์สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เลือกประเภทการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก เช่น การเดินออกกำลังกาย โดยคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลหรือบุคลาการทางการแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

 

คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ ควรบำรุงผิวพรรณ

ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ ควรเลือกที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี เหมาะกับผิวที่บอบบาง แพ้ง่าย และควรรักษาความสะอาด โดยล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว เมื่ออาบน้ำแล้วควรบำรุงด้วยโลชั่นเพื่อคงความชุ่มชื้นให้ผิวพรรณ และควรใช้ครีมกันแดดสำหรับคนท้อง เป็นประจำทุกวัน

 

คุณแม่ท้อง 9 สัปดาห์ ควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

คุณแม่ท้องควรให้แพทย์ได้ตรวจร่างกาย ติดตามอาการของคุณแม่ ตรวจเช็คพัฒนาการของทารกในครรภ์ การพบแพทย์ตามนัดจะช่วยให้คุณแม่ดูแลครรภ์ 9 สัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งได้รับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้อง เทคนิคสำคัญในการดูแลอายุครรภ์ 9 สัปดาห์ คุณแม่ควรคุมน้ำหนักให้พอดีตามที่แพทย์แนะนำ ดูแลสุขภาพร่างกาย สุขภาพช่องปาก รวมทั้งปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ใส่สบาย ไม่อึดอัด หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ พยายามไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

 

เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ร่างกายคุณแม่จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเต้านมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีความเหนื่อยล้า เกิดอาการอ่อนเพลียได้ คุณแม่ควรใส่ใจสุขภาพ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะเจ้าตัวน้อยต้องการสารอาหารที่มาช่วยในการเจริญเติบโต เพื่อให้ลูกแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. รับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  2. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  3. สารอาหารสำคัญ คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  4. การรับประทาน โอเมก้า 3 ดีเอชเอ อาจป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้, คลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. 8 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในขณะตั้งครรภ์, Pobpad
  6. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  7. เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  8. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  9. เคล็ดไม่ลับ..ดูแลผิวพรรณในยามตั้งครรภ์ให้สวยใส, โรงพยาบาลเปาโล
  10. วิธีเลือกชุดชั้นในของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  11. คุณแม่ท้อง...ออกกำลังกายยังไงให้ฟิตและยังปลอดภัย, โรงพยาบาลพญาไท
  12. Your Pregnancy Week by Week: Weeks 9-12, WebMD

อ้างอิง ณ วันที่ 12 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน