ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
พ.ย. 18, 2024
6นาที

ท้องแตกลาย เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนกังวลใจ แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจของคุณแม่ได้ ท้องแตกลายป้องกันอย่างไร ท้องแตกลายยิ่งเกายิ่งลายจริงไหม ท้องแตกลายตั้งครรภ์จะหายเองได้ไหม จำเป็นต้องเลเซอร์หรือเปล่า มาไขข้อข้องใจเรื่องท้องแตกลาย พร้อมเคล็ดลับลดรอยแตกลายที่คุณแม่ทำได้ง่าย ๆ จากบทความนี้

 

สรุป

  • ท้องแตกลายเกิดจากการที่ผิวหนังขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ มักพบบ่อยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงท้องแตกลายมากเป็นพิเศษ ได้แก่ คุณแม่ผิวแห้ง คุณแม่อายุน้อย คุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นเร็ว คุณแม่ที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักเกิน และคุณแม่ที่มีประวัติครอบครัวมีผิวแตกลาย
  • รอยแตกลายที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ จางลงหลังคลอด แต่จะไม่ได้หายไปทั้งหมด ดังนั้น การป้องกันโดยการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นและยืดหยุ่นตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสเกิดรอยแตกลายได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท้องแตกลายตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

ท้องแตกลาย เป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เกิดจากการที่ผิวหนังขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ มักเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ท้อง สะโพก บั้นท้าย รวมถึงหน้าอกของคุณแม่ด้วย แม้ว่ารอยแตกลายจะไม่อันตราย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจของคุณแม่หลังคลอด การดูแลผิวอย่างเหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยลดความรุนแรงของรอยแตกลายได้

 

ทำไมคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ถึงท้องแตกลาย

สาเหตุหลักที่ทำให้ท้องแตกลาย เนื่องจากเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินที่ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่นและคงตัวได้รับผลกระทบ เมื่อท้องคุณแม่โตขึ้นผิวหนังบริเวณหน้าท้องจึงถูกยืดขยายออกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่นและขาดความชุ่มชื้น จึงเกิดเป็นรอยแดงและแตกลายขึ้น ส่วนคุณแม่ผิวแห้ง คุณแม่อายุน้อย คุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นเร็ว คุณแม่ที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักเกิน และคุณแม่ที่มีประวัติครอบครัวมีผิวแตกลาย ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดรอยแตกลายขึ้นกับคุณแม่ได้เช่นกัน

 

อาการท้องแตกลาย จะเริ่มแสดงให้เห็นตอนไหน

โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นรอยแตกลายได้ใน ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่บางคนอาจจะเริ่มเห็นได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สอง โดยรอยแตกลายมักจะปรากฏเป็นเส้นสีแดงหรือม่วงคล้ำ บริเวณที่พบได้บ่อยคือ หน้าท้อง สะโพก ต้นขา และบางครั้งอาจพบที่หน้าอกด้วย โดยรอยแตกลายแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ รอยแตกลายระยะเริ่มต้นจะมีสีแดงหรือม่วงคล้ำ ดูสดใหม่ และอาจมีอาการคันหรือแสบได้เล็กน้อย รอยแตกลายระยะสุดท้ายจะค่อย ๆ จางลงจนเป็นสีขาว ผิวหนังบริเวณรอยแตกลายจะบางลง และดูเป็นรอยบุ๋ม

 

วิธีป้องกันผิวหน้าท้อง ลดโอกาสท้องแตกลาย

คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจ เพราะเราสามารถป้องกันรอยแตกลายได้หลายวิธี เพียงคุณแม่ต้องเริ่มตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ผิวของคุณแม่แข็งแรง ลดโอกาสท้องแตกลาย และลดความรุนแรงของผิวแตกลาย พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงตั้งครรภ์ ดังนี้

1. คุมน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์

แต่ละไตรมาสคุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักช่วงท้อง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายได้ โดยเคล็ดลับควบคุมน้ำหนัก ทำได้โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารแปรรูป และขนมหวาน เพราะมีไขมันและน้ำตาลสูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผิวหนังยืดตัวอย่างรวดเร็วเกินไป และเกิดรอยแตกลายได้ง่าย

 

2. ลดการอาบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อนจัด

การอาบน้ำอุ่น หรือร้อนจัดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวแห้งและแตกง่าย ควรอาบน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่พอดี ไม่ร้อนจัด หลังจากอาบน้ำเสร็จ ควรทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ในผิว ควรเลือกใช้สบู่สูตรอ่อนโยนต่อผิวและมีส่วนผสมของมอยส์เจอร์ไรเซอร์ หลีกเลี่ยงสบู่ที่มีสารเคมีรุนแรง

 

3. ทาครีมป้องกันท้องลายตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

คุณแม่ควรเริ่มทาครีมบำรุงผิวหรือออยล์ที่แพทย์แนะนำตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และควรทาครีมให้ทั่วบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยแตกลายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การทาครีมบำรุงผิวจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นให้กับผิว ทำให้ผิวมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงตั้งครรภ์ และคุณแม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะอ่อนโยนต่อผิวเป็นพิเศษ

 

4. ห้ามเกาโดยเด็ดขาด

ช่วงตั้งครรภ์ ผิวหนังของคุณแม่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกคันได้บ่อย ๆ แต่ถึงจะคันแค่ไหนก็ห้ามเกาเด็ดขาด เพราะการเกาจะทำให้ผิวหนังอักเสบ และทำให้เกิดรอยแตกลายได้ง่าย หากรู้สึกคัน ให้ใช้ครีมหรือออยล์บำรุงผิวที่อ่อนโยน ทาเบา ๆ บริเวณที่คัน เพื่อช่วยลดอาการคันและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

 

ท้องแตกลาย ยิ่งเกา รอยแตกลายยิ่งเพิ่มขึ้นจริงไหม

 

ท้องแตกลาย ยิ่งเกา รอยแตกลายยิ่งเพิ่มขึ้นจริงไหม

เนื่องจากผิวมีการยืดขยายตัวอย่างรวดเร็ว และผิวแห้งทำให้เกิดรอยแตกลายและมีอาการคัน หากยิ่งเกาจะยิ่งทำให้เกิดรอยแตกลายเพิ่มมากขึ้น และลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบทำให้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้รอยแตกลายหายยากขึ้นไปอีก

 

ท้องแตกลายตั้งครรภ์ หายเองได้ไหม

รอยแตกลายที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้น ถึงแม้ว่าหลังคลอดผิวหนังจะค่อย ๆ กระชับขึ้น แต่รอยแตกลายเหล่านั้นจะยังคงอยู่ เพียงแต่สีอาจจางลงไปบ้าง และไม่หายไปทั้งหมด ดังนั้น การป้องกันดูแลโดยการบำรุงให้ผิวแข็งแรงชุ่มชื้นตั้งแต่เนิ่น ๆ คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายได้

 

คุณแม่ท้องแตกลาย จำเป็นต้องเลเซอร์ไหม

การเลเซอร์รักษารอยแตกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่หลายท่านพิจารณา แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ทั้งนี้ การตัดสินใจว่าจะเลเซอร์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของรอยแตกลาย ประเภทของผิว ความสะดวกในการเข้ารับการรักษา ค่าใช้จ่าย และความคาดหวังผลลัพธ์ หากคุณแม่กังวลเรื่องรอยแตกลาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อประเมินสภาพผิว และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด พร้อมให้คำแนะนำที่ตรงกับความต้องการของคุณแม่

 

เคล็ดลับลดรอยท้องแตกลาย ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้าน

ท้องแตกลายเป็นเรื่องธรรมชาติของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อเกิดรอยแตกลายขึ้น เรามาหาวิธีลดรอยท้องแตกลาย เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณแม่หลังคลอดกันดีกว่า มีวิธีที่คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและและยืดหยุ่น คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ประเภท ชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนช่วยให้ขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้มากขึ้น

 

2. กินอาหารที่มีประโยชน์

การกินอาหารคนท้องที่มีประโยชน์ และสารอาหารครบถ้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยบำรุงผิวและลดโอกาสการเกิดรอยแตกลาย ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี อาหารที่มีวิตามินหลากหลายและอาหารที่มีโปรตีน

 

3. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดีแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผิวพรรณของคุณแม่อย่างมาก ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นลดปัญหาผิวแตกลายได้ด้วย

 

4. นวดหน้าท้อง

การนวดเบา ๆ บริเวณท้อง เอว สะโพก และต้นขาด้วยน้ำมันธรรมชาติ เช่น น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว ช่วยบำรุงผิวและอาจลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายได้ ควรทาตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์เช้าและเย็น การนวดช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และยังช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นและแข็งแรงมากขึ้น ลดโอกาสในการเกิดรอยแตกลาย

 

5. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด

เนื่องจากน้ำที่อุ่นจัดจะทำให้ผิวแห้ง ระคายเคือง ท้องแตกลายง่าย ควรใช้น้ำอุ่นที่พอรู้สึกสบายตัว ไม่ร้อนเกินไป

 

6. ทาครีมบำรุงทุกวัน

การทาครีมบำรุงผิวเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญมากในการลดและป้องกันรอยแตกลาย ควรเลือกครีมบำรุงผิวที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อย่างล้ำลึก ทาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เช่น ทาตอนเช้าและก่อนนอน หรือทุกครั้งหลังอาบน้ำ เน้นบริเวณที่มีรอยแตกลาย ระหว่างทาครีมควรนวดเบา ๆ เพื่อช่วยให้ครีมซึมเข้าสู่ผิวและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ที่สำคัญอย่าปล่อยให้ผิวแห้ง เพราะการที่ผิวแห้งจะทำให้รอยแตกลายลุกลามได้ง่าย ดังนั้นควรทาครีมบำรุงเป็นประจำเพื่อคงความชุ่มชื้นให้กับผิว

 

คุณแม่ได้ทราบแล้วว่า ท้องแตกลายเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถป้องกันและลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายได้ ด้วยการดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากรอยแตกลายเกิดขึ้นแล้ว การดูแลผิวอย่างถูกวิธีจะช่วยลดเลือนรอยแตกลายให้จางลงได้ เพื่อให้คุณแม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตหลังคลอดได้อย่างมั่นใจดังเดิม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ผิวแตกลาย รอยแตกตามร่างกาย (Stretch Marks), โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  2. 5 วิธีแก้ปัญหา ท้องแตกลายของคุณแม่ท้อง, โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ สมุย
  3. Taking the Itch Out of Stretch Marks, healthline
  4. 13 วิธีรักษาผิวแตกลาย & ลดรอยแตกลายอย่างได้ผล !!, Medthai

อ้างอิง ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ของใช้เตรียมคลอดก่อนไปคลอด เตรียมของไปคลอดยังไงให้ครบ
บทความ
9 ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด

ของใช้เตรียมคลอดก่อนไปคลอด เตรียมของไปคลอดยังไงให้ครบ

รวมของใช้เตรียมคลอด คุณแม่เตรียมของไปคลอดอย่างไรให้ครบ อะไรที่คุณแม่ควรพกไปด้วยบ้าง ไปดูสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อมกัน

View details อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details สิทธิประกันสังคมคนท้อง เบิกได้เท่าไหร่ เบิกอะไรได้บ้าง
บทความ
สิทธิประกันสังคมคนท้อง

สิทธิประกันสังคมคนท้อง เบิกได้เท่าไหร่ เบิกอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคมคนท้อง เบิกได้เท่าไหร่ เบิกอะไรได้บ้าง
 

View details การผ่าคลอดกับคลอดเองต่างกันยังไง พร้อมข้อดีข้อเสีย
บทความ
การผ่าคลอดกับคลอดเองต่างกันยังไง พร้อมข้อดีข้อเสีย

การผ่าคลอดกับคลอดเองต่างกันยังไง พร้อมข้อดีข้อเสีย

คลอดเองกับผ่าคลอดต่างกันยังไง การผ่าคลอดมีกี่แบบ คุณแม่มือใหม่เลือกผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติดี พร้อมขั้นตอนเตรียมผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติที่แม่ควรรู้
 

View details ไข่ตก คืออะไร นับวันไข่ตกยังไงให้แม่นยำ พร้อมอาการไข่ตกที่ควรรู้
บทความ
นับวันไข่ตก อาการไข่ตก วันตกไข่ คืออะไร นับอย่างไรให้แม่นยำ

ไข่ตก คืออะไร นับวันไข่ตกยังไงให้แม่นยำ พร้อมอาการไข่ตกที่ควรรู้

ไข่ตก คืออะไร คุณแม่มือใหม่นับวันไข่ตกอย่างไรให้แม่นยำ อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงอาการไข่ตก พร้อมวิธีนับวันไข่ตกด้วยตัวเอง ไปดูกัน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมิถุนายน 2567 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

1นาที อ่าน

View details บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลังที่คุณแม่ควรรู้
บทความ
บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง

บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลังที่คุณแม่ควรรู้

บล็อกหลัง คืออะไร บล็อกหลังคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดบล็อกหลังช่วยให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลงแค่ไหน พร้อมข้อดี-ข้อเสียและวิธีรับมือเมื่อต้องบล็อกหลัง

1นาที อ่าน

View details น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้
บทความ
น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรู้

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน คุณแม่ต้องระวังหรือไม่ ขณะตั้งครรภ์หากน้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร ไปดูอาการน้ำคร่ำรั่วที่แม่ควรรู้กัน

1นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้
บทความ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน ตั้งครรภ์ 7 เดือน ที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ท้อง 7 เดือน อายุครรภ์ 7 เดือน มีอาการแบบไหน ทารกในครรภ์ 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 7 เดือน พร้อมวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 2 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

2นาที อ่าน

View details ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง
บทความ
ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน ประจำเดือนมาช้า สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน คุณแม่ท้องหรือเปล่า ไปดูสาเหตุของประจำเดือนมาช้ากัน

2นาที อ่าน

View details การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก
บทความ
การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับคนอยากมีลูก

การปฏิสนธิ คืออะไร การปฎิสนธิเป็นกระบวนการสำคัญในการตั้งครรภ์ การปฎิสนธิกับการนับวันไข่ตกเกี่ยวข้องกันอย่างไร ไปดูวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งท้องกัน

2นาที อ่าน

View details ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไรบ้าง
บทความ
ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อนๆ ห้ามกินอะไรบ้าง

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไรบ้าง

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน อะไรบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกต้องระวัง คนท้องอ่อน ๆ ไม่ควรกินอะไร คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามทำอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อลูกในครรภ์ 

2นาที อ่าน

View details เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องมีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง
บทความ
เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องมีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง

เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ คุณแม่ท้องมีสิทธิเบิกอะไรได้บ้าง

แม่ตั้งครรภ์เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้เท่าไหร่ เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมอย่างไร อะไรบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถฝากครรภ์และเบิกประกันสังคมได้ ไปหาคำตอบกัน

2นาที อ่าน

View details วิธีเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33
บทความ
วิธีเช็คผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

วิธีเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

เช็กสิทธิประกันสังมมาตรา 33 คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ไปดูวิธีเช็คผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร ที่คุณแม่ควรรู้กัน

2นาที อ่าน

View details 7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง
บทความ
7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

รวมวิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย คุณแม่ทำได้เลยที่บ้านหลังคลอด ช่วยลดไขมันให้คุณแม่กลับมาหุ่นสวยอีกครั้ง พร้อมอาหารไขมันดี เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด

2นาที อ่าน