อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
มี.ค. 5, 2020

ใกล้ได้เจอลูกน้อยเข้ามาทุกที สำหรับแม่ท้อง 33 สัปดาห์ เดินทางเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในระหว่างนี้ จะพบว่า ร่างกายเตรียมความพร้อมเข้าสู่การคลอดทุกทีแล้ว ในช่วงนี้อาการที่สำคัญและอาจรู้สึกทำให้คุณแม่บางคนรู้สึกตกใจโดยเฉพาะแม่ท้องแรก คือ อาการเจ็บท้องหลอก ข้อสังเกตสำหรับคุณแม่อาการเจ็บท้องนี้จะหายไปในระยะเวลาไม่นานและจะไม่เจ็บถี่ขึ้นเพราะไม่ใช่การเจ็บท้องคลอด

 

สรุป

  • เจ็บท้องหลอกหรือเจ็บท้องเตือน คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ หรือช่วงไตรมาสที่ 3 เป็นสัญญาณของร่างกายเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารก
  • อาการที่พบได้บ่อยของแม่ท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ หน้าท้องของคุณแม่เริ่มขยายใหญ่ขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่คล่องแคล่ว และอาจเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ เวลาไอจาม หรือหัวเราะ เพราะมดลูกที่กดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้พื้นที่กักเก็บปัสสาวะลดลง คุณแม่ไม่ควรแก้ปัญหานี้ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง หรือกลั้นปัสสาวะเพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่ท้องและทารกในครรภ์ได้
  • ทารกในครรภ์อายุ 33 สัปดาห์ ทารกน้อยเจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น อวัยวะทั้งภายนอกและภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น หากเปรียบเทียบขนาดร่างกายของทารกกับผลไม้ เปรียบได้กับสับปะรด ในช่วงนี้ทารกมีขนาดความยาวประมาณ 17.20 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 4.23 ปอนด์ หรือราว 1,919 กรัม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

แม่ท้อง 33 สัปดาห์ เรียกว่า อยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้คุณแม่จะได้พบกับอาการสำคัญอีกอาการหนึ่งที่แม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ต้องเจอ “เจ็บท้องหลอก” หรือ “เจ็บท้องเตือน”  (Braxton Hicks Contractions) ซึ่งอาการเจ็บเตือนนี้จะเริ่มมีอาการตอนตั้งครรภ์ประมาณเดือนที่ 8 ในระหว่างนี้มดลูกของแม่ตั้งครรภ์จะขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนตัวต่ำลงมา หากใช้มือคลำหน้าท้องจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อนแข็ง ๆ แม่ท้องจะเริ่มมีอาการเจ็บท้องหลอก เกิดจากมดลูกบีบตัวทำให้ท้องแข็งเกร็ง แต่การเจ็บท้องหลอกจะยังไม่เป็นจังหวะที่แน่นอน ไม่เจ็บเพิ่มขึ้นจากเดิม และระยะเวลาเจ็บท้องไม่ยาวนาน เป็นเพียงการส่งสัญญาณของร่างกายให้รู้ว่า ร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงเตรียมพร้อมคลอดทารก ไม่ใช่สัญญาณเตือนว่าคุณแม่จะคลอดทารก

 

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ควรรับประทานอะไรบ้าง

อาหารสำหรับแม่ท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 3 ยังมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา หากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งมีในอาหารประเภท เนื้อปลา เนื้ออกไก่ ไข่ ตับ ถั่วต่าง ๆ นมจืดพร่องมันเนย ชีส โยเกิร์ต หรือในปลาเล็กปลาน้อยทอดรับประทานได้ทั้งก้าง ช่วยเพิ่มแคลเซียมได้อย่างดีสำหรับแม่ท้องที่ไม่สามารถดื่มนมได้ นอกจากนี้ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ ช่วยเพิ่มกากใย และช่วยในเรื่องการขับถ่าย

 

อาการคนท้อง 33 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

1. ขี้ร้อน

คนท้องมักจะรู้สึกว่าตนเองขี้ร้อนมากกว่าปกติ เหงื่อไหลออกมามาก และเหงื่อออกง่าย สาเหตุสำคัญคือ ร่างกายของแม่ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในร่างกายหลายอย่าง เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ไตทำงานมากขึ้น หัวใจสูบฉีดโลหิตมากขึ้น เพราะต้องใช้เลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ทำให้ในช่วงนี้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายของคุณแม่มากขึ้นกว่าเดิม เลยทำให้คุณแม่กลายเป็นคนขี้ร้อน บางคนเป็นทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน ดังนั้น การดื่มน้ำอย่างเพียงพอช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย ทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น รวมถึงการสวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้อย่างดี อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนอบอ้าว ช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

 

2. น้ำนมไหล

แม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ เต้านมของแม่ท้องจะขยายใหญ่ขึ้นมาก เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ หัวนมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและตั้งชันมากกว่าปกติ บริเวณลานหัวนมของแม่ท้องจะเริ่มมีสีคล้ำและขยายวงใหญ่มากขึ้น ช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ แม่ท้องมักมีอาการคัดตึงเต้าและคุณแม่บางคนจะเริ่มมีของเหลวสีเหลือง เรียกว่า โคลอสตรัม (colostrum) หรือน้ำนมเหลือง ไหลออกจากเต้านม แม้จะไหลออกมาก่อนกำหนดคลอดก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเต้านมเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมแม่แก่ทารกหลังคลอด หรือคุณแม่คนใดไม่มีน้ำนมเหลืองไหลออกมา ไม่ถือว่าผิดปกติและไม่มีผลต่อการให้นมแม่แก่ทารกหลังคลอดแต่อย่างใด

 

3. ปวดศีรษะ

คนท้องมักมีอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ อาจเกิดความเครียดและฮอร์โมนเพศระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักเกิดอาการวิงเวียน หรือแม่ท้องบางคนอาจเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ อาการปวดหัวมักเกิดจากการกดทับของเส้นเลือดใหญ่ที่นำเลือดจากร่างกายกลับสู่หัวใจในช่วงตั้งครรภ์ไม่ดีเท่าคนปกติ จึงเกิดอาการเวียนหัว ปวดหัวได้ง่าย อาการปวดหัวที่มักพบใน คนท้อง ได้แก่

  • ปวดหัวไมเกรน คนท้องกว่าร้อยละ 80 มีอาการปวดหัวไมเกรน โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • ปวดหัวจากความเครียด ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตึงตัว มักมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย ร้าวไปที่ขมับทั้งสองข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดแบบบีบรัด
  • ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ปวดหัวรุนแรงและกะทันหัน มีลักษณะปวดข้างเดียว ปวดบริเวณรอบดวงตา ภายในหนึ่งวันอาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้หลายครั้ง

 

4. ปัสสาวะเล็ด

ขนาดครรภ์ของแม่ท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้พื้นที่ในการกักเก็บปัสสาวะลดลง แม่ท้องจึงรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยจนบางคนมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือหัวเราะ เพราะเวลาที่แม่ท้องไอ จาม หรือหัวเราะ จะไปเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกไปทางท่อปัสสาวะได้ สิ่งที่แม่ท้องไม่ควรปฏิบัติ คือ

  • กลั้นปัสสาวะ แม่ท้องไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดได้
  • ดื่มน้ำน้อยลง แม่ท้องบางคนเลือกดื่มน้ำน้อยลงเพราะคิดว่า จะทำให้ปวดปัสสาวะลดลง แต่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพราะอาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ เพิ่มภาระให้ไตทำงานหนักตามไปด้วย แม่ท้องควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1-2 ลิตร เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดอาการขาดน้ำและปัสสาวะไม่มีกลิ่นแรง

 

อาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะถี่ หรือปัสสาวะเล็ด จะเริ่มดีขึ้นเมื่อมดลูกลอยตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ไม่กดเบียดกระเพาะปัสสาวะมากนัก จะลดการปัสสาวะบ่อยลงได้ นอกจากนี้การฝึกขมิบอุ้งเชิงกราน ให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานกระชับตึง  ช่วยทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น แม่ท้องสามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อการบริหารที่ถูกวิธี ช่วยลดปัญหาปัสสาวะเล็ดได้

 

5. แสบร้อนกลางทรวงอก

สำหรับแม่ตั้งครรภ์ อาการแสบร้อนกลางทรวงอกหรือกรดไหลย้อน เกิดขึ้นได้ง่ายและมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อย

  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ระบบภายในร่างกาย รวมถึงช่องท้องของคุณแม่
  • ขนาดมดลูกที่ขยายใหญ่ตามการเจริญเติบโตของทารก กดเบียดกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย และมักจะเป็นช่วงเวลาหลังรับประทานอาหารและช่วงเวลากลางคืน  หลีกเลี่ยงกรดไหลย้อน ทำได้ดังนี้ 
    • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อไก่
    • รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ปกติรับประทานวันละ 3 มื้อ อาจแยกย่อยเป็นวันละ 5 มื้อ รับประทานมื้อละน้อย ๆ เคี้ยวช้า ๆ ให้ละเอียด
    • ไม่รับประทานอาหารช่วงก่อนนอน เพราะอาหารย่อยไม่ทัน ย่อยยาก ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย
    • หลีกเลี่ยงอาหารมัน รสจัด เผ็ด เพราะส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย
    • ท่านอน ท่านอนมีความสำคัญ แม่ท้องหาตัวช่วยด้วยการใช้หมอนหนุนเพื่อยกระดับหน้าอกให้สูงขึ้น ป้องกันกรดไหลย้อนได้

 

ท้อง 33 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

แม่ท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ในช่วงนี้หน้าท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นมาก ไปพร้อมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น ประกอบกับเม็ดสีผิวทำงานมากกว่าปกติ ทำให้คุณแม่บางคนมีปัญหาหน้าท้องลาย ควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มเร็วเกินไป รวมถึงใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและยืดหยุ่นให้กับผิวหน้าท้อง

 

ท้อง 33 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ  33 สัปดาห์ ขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ เปรียบได้กับสับปะรด ทารกมีขนาดความยาวตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า วัดได้ประมาณ 17.20 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 4.23 ปอนด์ หรือราว 1,919 กรัม

 

ในช่วงนี้ทารกในครรภ์ ขนเส้นบาง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วร่างกายทารกน้อยเริ่มหลุดร่วง ทำให้เริ่มเห็นเล็บเท้าชัดเจน รูม่านตาเริ่มตอบสนองต่อแสง และความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูกเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นกะโหลกศีรษะของทารกที่ยังคงนิ่มอยู่

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 33 สัปดาห์

ทารกในครรภ์อายุ 33 สัปดาห์ จะมีพัฒนาการด้านร่างกาย ดังนี้

  • กระดูกแข็งแรงมากขึ้น
  • ผิวหนังเริ่มเหมือนคนปกติ
  • สมองพัฒนาอย่างเต็มที่
  • เส้นประสาททำงานได้เต็มที่
  • ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน
  • ทารกเริ่มรับแสง เสียง และความเจ็บปวดได้

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 33 สัปดาห์

1. เปิดใจพูดคุยกับคู่ครอง หรือคนในครอบครัว

แม่ท้อง 33 สัปดาห์  การเปิดใจพูดคุยกับคู่ครอง หรือคนในครอบครัว มีความสำคัญและจำเป็น เพราะสาเหตุต่าง  ๆ ดังนี้

  • เป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มเกิดความกังวลถึงการคลอด กลัวการคลอด เช่น จะคลอดแบบไหนดี จะเจ็บมากหรือไม่ การคลอดจะปลอดภัยหรือไม่ ลูกคลอดออกมาจะสมบูรณ์แข็งแรงหรือไม่ จะครบ 32 หรือไม่ จะเลี้ยงลูกได้หรือไม่
  • ส่งผลให้แม่ตั้งครรภ์เกิดความกังวลใจ ความเครียด หงุดหงิดใจได้ง่าย
  • ช่วงนี้คุณพ่อและสมาชิกในครอบครัวควรพูดคุยสร้างความสบายใจ
  • รวมถึงวางแผนการคลอด การเลี้ยงดูทารก เพื่อให้คุณแม่คลายกังวล

 

2. ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

ช่วงอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ คุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้น คือ

  • นัดทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อประเมินสุขภาพแม่ท้อง ในช่วงนี้จะเป็นการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณน้ำตาลและโปรตีนในร่างกาย
  • ตรวจเช็กความดันโลหิต การติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
  • รวมถึงคุณหมอจะนัดตรวจอัลตราซาวด์เพื่อติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ รวมถึงให้คำแนะนำเบื้องต้นถึงวิธีการคลอด การไปพบคุณหมอตามนัดจึงมีความสำคัญมาก

 

3. ฝึกหายใจเตรียมตัวคลอด

การไปตรวจครรภ์และพบคุณหมอตามนัด ในช่วงนี้แม่ท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์

  • มักจะได้รับคำแนะนำถึงวิธีการฝึกหายใจเพื่อเตรียมตัวคลอด เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นแก่คุณแม่
  • ข้อดีของการฝึกหายใจเพื่อเตรียมตัวคลอดสำหรับคุณแม่ คือ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างคลอด และเพิ่มกำลังในการเบ่งคลอดให้มากขึ้นด้วย

 

4. วิธีการฝึกการหายใจสำหรับแม่ท้อง

  • เมื่อมีสัญญาณการบีบตัวของมดลูก ให้คุณแม่หายใจเข้า และหายใจออก ให้เต็มที่ 1 ครั้ง
  • ขั้นตอนต่อไป ให้คุณแม่หายใจเข้าทางจมูกแบบตื้น เร็ว และเบา จำนวน 4-6 ครั้ง ติดต่อกันเร็ว ๆ คล้ายกับกำลังหายใจหอบ
  • จากนั้นให้คุณแม่หายใจออกโดยการห่อปาก เป่าลมออกทางปากเบา ๆ 1 ครั้ง พยายามรักษาสมดุลไปพร้อมกับการหายใจเข้า ให้คุณแม่หายใจเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกว่ามดลูกจะเริ่มคลายตัว
  • เมื่อมดลูกคลายตัวแล้ว จะทำให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลง การหายใจแบบลึก และช้าช่วยทำให้แม่ท้องรู้สึกผ่อนคลาย  และช่วยนำออกซิเจนไปให้ทารกในครรภ์ได้มากขึ้น

 

5. ใช้หมอนหนุนเท้าให้สูง

แม่ท้องอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ มักมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เท้าชา ตะคริว ขาบวม เท้าบวม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกาย
  • ท่านอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขนาดท้องที่ขยายใหญ่เป็นอุปสรรคต่อการนอน
  • การหาอุปกรณ์เป็นตัวช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบาย ด้วยการใช้หมอนหนุนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อช่วยพยุงตัว โดยเฉพาะหมอนรองปลายเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อการไหลเวียนเลือดได้อย่างสะดวก
  • การใช้หมอนหนุนทำให้คุณแม่นอนหลับสนิทดียิ่งขึ้น เพราะการนอนหลับพักผ่อน นอนหลับสนิท ช่วยให้แม่ท้องมีจิตใจสดชื่นแจ่มใส

 

แม่ท้อง 33 สัปดาห์ เป็นระยะการตั้งครรภ์ระยะที่สามหรือระยะสุดท้าย ร่างกายและจิตใจเกิดการเปลี่ยนแปลง ขนาดท้องที่ขยายใหญ่ สภาพจิตใจที่กังวลเกี่ยวกับการคลอดและทารกในครรภ์ ส่งผลให้แม่ท้องเกิดความเครียดได้ ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงการไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจดูความพร้อมของแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงการฝึกหายใจสำหรับการคลอด เพราะการคลอดธรรมชาติทารกแรกคลอดจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์จากแม่ตั้งแต่แรกคลอด อาทิ B.Lactis ที่เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  2. คำแนะนำ คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน), โรงพยาบาลเปา
  3. โรคของต่อมไทรอยด์ในสตรีตั้งครรภ์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. น้ำนมแม่ ภูมิต้านทานที่ดี ช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับลูก, โรงพยาบาลบางปะกอก
  5. ปวดหัวไมเกรนในคนท้อง….ยาตัวไหนใช้ได้บ้างนะ, โรงพยาบาลขอนแก่น
  6. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor Muscle Training), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  7. ไม่ดีแน่… ถ้าปล่อยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสู้กับ “กรดไหลย้อน”, โรงพยาบาลเปาโล
  8. ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ > 28 สัปดาห์ ), โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  9. เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  10. 9 สิ่งควรทำ ใน 9 เดือน ที่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  11. เมื่อคุณแม่มือใหม่เตรียมคลอด ตอนที่ 2, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. มือบวม เท้าบวมขณะตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุใด?, โรงพยาบาลพญาไท
  13. พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือนในท้องแม่, Pobpad
  14. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  15. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  16. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าวๆเปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, hellokhunmor
  17. มาฝึกหายใจเตรียมตัวสำหรับการคลอดกัน, โรงพยาบาลพญาไท


อ้างอิง ณ วันที่ 15 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ของเตรียมคลอด คุณแม่ควรเตรียมของไปคลอดอะไรบ้าง
บทความ
ของเตรียมคลอด คุณแม่ควรเตรียมของไปคลอดอะไรบ้าง

ของเตรียมคลอด คุณแม่ควรเตรียมของไปคลอดอะไรบ้าง

รวมของใช้เตรียมคลอด คุณแม่เตรียมของไปคลอดอย่างไรให้ครบ อะไรที่คุณแม่ควรพกไปด้วยบ้าง ไปดูสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อมกัน

View details อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 10 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 18 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 34 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 34 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 34 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 34 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง
บทความ
โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

โปรตีนสำหรับคนท้อง สารอาหารสำคัญช่วยลูกในครรภ์ฉลาดแข็งแรง

หลักการง่าย ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการรับประทานอาหารนั่นคือ ทานให้หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ แต่หากทำไม่ได

View details แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้เนียนสวย
บทความ
แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้เนียนสวย

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดให้เนียนสวย

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดและรอยผ่าคลอดให้แผลสวยหายไวและฟื้นตัวเร็ว ไปทำความรู้จักกับประเภทของรอยผ่าคลอดที่แม่ควรรู้กัน

View details 12 เมนูอาหารคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง ดีต่อสุขภาพครรภ์
บทความ
12 เมนูอาหารคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง ดีต่อสุขภาพครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง ดีต่อสุขภาพครรภ์

รวมเมนูคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง เมนูไหนที่ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่และลูกน้อยให้แข็งแรง ไปดูเมนูคนท้องและอาหารสำหรับคนท้องที่ดีกับลูกน้อยในครรภ์กัน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกรกฎาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกรกฎาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกรกฎาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกรกฎาคม 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนกรกฎาคม 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม

ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน คุณแม่ผ่าคลอดครั้งที่ 3 อันตรายไหม ส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณแม่หรือเปล่า ไปดูข้อควรรู้การผ่าคลอดกัน

5นาที อ่าน

View details ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม
บทความ
ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

ท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อาการที่พบได้ทั่วไปในช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ อาการท้องแข็งบ่อยเป็นอย่างไร ไปดูวิธีป้องกันอาการท้องแข็งบ่อยกัน

5นาที อ่าน

View details ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน
บทความ
ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน

คุณแม่ท้อง 8 เดือน มีอาการแบบไหน ท้อง 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ 8 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

8นาที อ่าน

View details ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์
บทความ
ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอไหม อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร สัญญาณเตือนคนท้องแบบไหน ที่บอกให้รู้ว่าแม่ท้อง 1 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

7นาที อ่าน

View details คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง
บทความ
คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องท้องเสียไตรมาส 3 ปวดท้องบิด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องท้องเสีย เกิดจากอะไร คนท้องท้องเสียไตรรมาส 3 อันตรายหรือไม่ อาการท้องเสียมีผลกระทบกับลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน มาดูวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้กัน

6นาที อ่าน

View details คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด
บทความ
คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด

คนท้องท้องอืด ไม่สบายท้อง แก้ยังไงดี พร้อมเมนูอาหารแก้ท้องอืด

คนท้องท้องอืด อาหารไม่ย่อย ทำอย่างไรดี อาการคนท้องท้องอืด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและเกิดขึ้นได้ทุกไตรมาส ไปดูวิธีรับมือคนท้องท้องอืดและเมนูอาหารแก้ท้องอืดกัน

9นาที อ่าน

View details ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน
บทความ
ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง สัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าลูกใกล้กลับหัวแล้ว  คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
บทความ
จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอก ดีกับลูกจริงไหม จุกนมหลอก มีข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง

จุกหลอกใช้ได้ตอนไหน จุกหลอกหรือจุกนมหลอกช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและป้องกันลูกน้อยดูดนิ้วตัวเองได้จริงหรือไม่ ไปดูข้อดีและข้อเสียของจุกหลอกที่คุณแม่ควรรู้ไว้กัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องย้อมผมได้ไหม คำถามคาใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน อยากสวยตอนตั้งครรภ์แต่ถูกห้ามให้ย้อมผม มาดูกันว่าในยาย้อมผมจะมีสารเคมีอะไรที่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์บ้าง

7นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มใช้งานยังไง มีความแม่นยำแค่ไหนสำหรับตรวจการตั้งครรภ์ครั้งแรก ไปดูวิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเลือกซื้อที่ตรวจครรภ์

8นาที อ่าน